• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ปี 2565

วันรำลึก รองศาสตราจารย์ ดร.นาท ตัณฑวิรุฬห์ ประจำปี 2565

28 พฤศจิกายน 2565 เวลา 8.00 - 11.00 น. รองศาสตราจารย์ ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดี พร้อมด้วยคณาจารย์ ศิษย์เก่า นักศึกษา และบุคลากรคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมงาน "วันรำลึก รองศาสตราจารย์ ดร.นาท ตัณฑวิรุฬห์ ประจำปี 2565" โดยภายในงานประกอบไปด้วยพิธีสักการะพระพุทธรัตนมงคลนาถ ไหว้ศาลพระภูมิและเจ้าที่ เคารพรูปเหมือน รองศาสตราจารย์ ดร.นาท ตัณฑวิรุฬห์ ทั้งนี้ ก่อนเริ่มพิธีทำบุญถวายสังฆทานและภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุสงฆ์ รองศาสตราจารย์ ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดี ได้รับมอบหนังสือ “ปกิณกทางนิเวศสังคมจากการเดินทาง นิเวศสังคมสัญจร ตะลอนรอบโลก เล่ม 1 - 7” จากรองศาสตราจารย์รุ่งจรัส หุตะเจริญ ที่ปรึกษาคณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ เพื่อเป็นวิทยาทานและเพื่อการศึกษาค้นคว้าด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมของคณะต่อไปในอนาคต ณ ห้องประชุมนาทตัณฑวิรุฬห์ (1103) อาคาร 1 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


กิจกรรม "สร้างแรงบันดาลใจ กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ"

23 พฤศจิกายน 2565 เวลา 13.00 น. - 16.00 น. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม "สร้างแรงบันดาลใจ กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ" โดยได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดี เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรมและร่วมแสดงความยินดีกับทีมนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม (ES) ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศและรองชนะเลิศอันดับ 1 ในงาน PTTEP Teenergy ปีที่ 8 กับการประกวดนวัตกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ครั้งที่ 2

โดยทีมที่ได้รางวัลชนะเลิศ ในหัวข้อ “PRESERVE” ได้แก่หัวข้อเรื่อง “กล่องฟื้นฟูหญ้าทะเล เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่งทะเลและเพิ่มพูนการกักเก็บคาร์บอน” ประกอบด้วย นางสาวภัคจิรา กาญจนวิชานนท์ ชั้นปีที่ 4, นางสาวปภาวรินท์ ทรงพัฒนาศิลป์ ชั้นปีที่ 4 ร่วมกับนักศึกษาจากวิทยาลัยนานาชาติ นายธนวินท์ ธีระแสงจันทร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ นายอิชฌน์ อมรเวชยกุล และคณะวิทยาศาสตร์ นางสาวณีรนุช สุดเจริญ โดยมี อ. ดร.บุญลือ คะเชนทร์ชาติ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

และทีมที่ได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ในหัวข้อ “PROTECT” ได้แก่หัวข้อเรื่อง “เครื่องดูดไมโครพลาสติก” ประกอบด้วยนางสาวชนัญชิดา พลภักดี ชั้นปีที่ 3, นายชนาธิป สีหราช ชั้นปีที่ 3 และนายภิญโญ จันทเลิศ ชั้นปีที่ 2 โดยมี อ. ดร.นรินทร์ บุญตานนท์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีสำหรับนักศึกษาในการแบ่งปันประสบการณ์ต่างๆ ที่จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจ รวมถึงจุดประกายความคิดความกล้าแสดงออก และส่งเสริมให้นักศึกษานำศักยภาพของตนเองออกมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งกับการการเรียน การใช้ชีวิต รวมถึงเพื่อความสำเร็จในการประกอบอาชีพต่อไปในอนาคต โดยมี หน่วยกิจการนักศึกษาและกิจกรรมพิเศษ เป็นผู้ประสานงานหลัก ณ ห้องประชุมศำสตรเมธี ดร.พงศ์พิศน์ ปิยะพงศ์ (4228) อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล ชั้น 2 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


New Frontiers in Environmental Exposure and Health Disparities Research

21 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09.00 - 11.00 น. รศ. ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดี พร้อมด้วย รศ.ดร.กาญจนา นาคะภากร ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อม ภาคปกติ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมรับฟังการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “New Frontiers in Environmental Exposure and Health Disparities Research” โดย Dr. Kelvin Fong จาก Department of Earth and Environmental Science, Faculty of Science, Dalhousie University ประเทศแคนาดา พร้อมหารือร่วมกับ Dr. Kelvin Fong ทั้งนี้โดยมี รศ. ดร.ชลัท ศานติวรางคณา ผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการ รศ. ดร.วรางคณา ศรีจำนงค์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายเครือข่ายความร่วมมือและบริการวิชาการ และ Dr. Sabri Bromage ผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศ สถาบันโภชนาการ เข้าร่วมหารือความเป็นไปได้ในการดำเนินงานวิจัยร่วมกันในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อสุขภาพของมนุษย์ในระบบนิเวศและวิถีทางสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านมลพิษทางอากาศ จากข้อมูลจากการสำรวจระยะไกล (Remote Sensing) เพื่อศึกษาผลกระทบของฝุ่น PM 2.5 ที่มีต่อภาวะโภชนาการในเด็กแรกเกิดกิจกรรมจัดขึ้น ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล


เทคนิคการเอาตัวรอดจากภัยคุกคาม และภัยไซเบอร์

เมื่อวันพุธที่ 16 พฤศจิกายน 2565 เวลา 13.00 -16.00 น. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม จัดกิจกรรม "เทคนิคการเอาตัวรอดจากภัยคุกคาม และภัยไซเบอร์" โดยได้รับเกียรติจากวิทยากร พ.ต.ต.หญิง สุธัญดา เอมเอก และ พ.ต.ต.หญิง เศวรัตน์ ปุริสาย จากกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ในหัวข้อ "เอาตัวรอดอย่างไรเมื่อเผชิญภัยไซเบอร์" และ ร.ต.อ.หญิง ภัสสราภรณ์ ไชยแก้ว พร้อมด้วย ร.ต.อ.หญิง กรฉัตร มาตรศรี และ ร.ต.อ.หญิง ศศิพันธ์ คงเอียด คณะวิทยากรจากกองกำกับการต่อต้านการก่อการร้าย กองบังคับการปฏิบัติการพิเศษ ในหัวข้อ "เอาตัวรอดอย่างไรเมื่อถูกคุมคามและยุทธวิธีการเอาตัวรอด"

กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้มีความรู้และทักษะในการเอาตัวรอดจากภัยไซเบอร์และการคุกคาม พร้อมยุทธวิธีการเอาตัวรอด โดยมีนักศึกษาและบุคลากรของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์และจากส่วนงานอื่นๆ ภายในมหาวิทยาลัยมหิดลเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 80 คน ณ ห้องประชุมเธียเตอร์ (4224) อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล ชั้น 2 อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


Sustainable Waste Management in a Circular Economy

3 พฤศจิกายน 2565 เวลา 12.00 น. รศ.ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดการอบรมนานาชาติในหัวข้อ “Sustainable Waste Management in a Circular Economy” จัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom ระหว่างวันที่ 3 - 22 พฤศจิกายน 2565 ทั้งนี้โดยมี คุณชิดชนก มาลยะวงศ์ ผู้อำนวยการภารกิจความร่วมมือกับต่างประเทศเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ พร้อมด้วย Mr. Ugur Turan, Expert of the Conference on Interaction and Confidence-Building Measures in Asia (CICA) Secretariat ให้เกียรติกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมอบรม
การอบรมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีและการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน รวมถึงการประยุกต์ใช้แนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารจัดการขยะมูลฝอย โดยมีตัวแทนจากหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมของทั้งภาครัฐและเอกชน จำนวน 21 คน จากประเทศต่างๆ ทั่วโลกเข้าร่วมการอบรม ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ (Thailand International Cooperation Agency: TICA) และ Conference on Interaction and Confidence-Building Measures in Asia (CICA) โดยมี ผศ.ดร.อัจฉรา อัศวรุจิกุลชัย ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อมภาคพิเศษ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้อำนวยการฝึกอบรม


ต้อนรับ Prof.Matthias Ruth, Pro-Vice Chancellor (Research) และผู้แทนจาก University of York สหราชอาณาจักร

วันที่ 31 ตุลาคม 2565 รองศาสตราจารย์ ดร.นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัชวีร์ ลีละวัฒน์ รองอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศและวิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล และศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ภัทรชัย กีรติสิน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับ Prof.Matthias Ruth, Pro-Vice Chancellor (Research) และผู้แทนจาก University of York สหราชอาณาจักร โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ ดร.เสาวคนธ์ รัตนวิจิตราศิลป์ คณบดีคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้แทนจากคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ร่วมให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์นที รักษ์พลเมือง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

ในโอกาสนี้ ผู้แทนจากส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหิดล ได้นำเสนอผลงานวิจัยใน 2 สาขา ได้แก่ สาขา Engineering and Environment และ สาขา Social Science and Humanities จากนั้น ได้เจรจาต่อยอดความร่วมมือในอนาคต อาทิ การริเริ่ม Seed Grant Funding เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการวิจัย การส่งเสริมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและบุคลากร รวมถึงการส่งเสริมให้ Knowledge translation ผ่านกิจกรรม Research Workshop และ Curriculum Development ซึ่งเป็นการต่อยอดความร่วมมือของเครือข่าย Worldwide Universities Network (WUN) โดยกองวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล

รายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://mahidol.ac.th/th/2022/mahidolir-york/


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.