• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข่าวสิ่งแวดล้อม

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  19 ธันวาคม 2567

นายพรชัย  ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2567 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีการ่างกฎกระทรวงกำหนดทรัพย์สินที่ได้รับยกเว้นจากการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (ฉบับที่..) พ.ศ. …. จำนวน 2 ฉบับ ตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 หลักการและเหตุผล : ปัจจุบันพื้นที่สีเขียวเข้าข่ายเป็นที่ดินที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพซึ่งจะถูกจัดเก็บภาษีในอัตราที่สูง จึงทำให้ที่ผ่านมามีผู้ปรับเปลี่ยนที่ดินที่เป็นพื้นที่สีเขียวให้เป็นที่ดินที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมเพื่อให้เสียภาษีในอัตราที่ต่ำลง ทั้งนี้ พื้นที่สีเขียวดังกล่าวมีคุณค่าและคุณประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศวิทยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการช่วยดูดซับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และการช่วยลดปัญหาการกัดเซาะดินและชายฝั่ง

สาระสำคัญ: ยกเว้นภาษีให้แก่พื้นที่สีเขียว โดยกำหนดให้ที่ดินที่จะได้รับยกเว้นภาษีจะต้องเป็นที่ดินซึ่งปกคลุมด้วยพืชพรรณเป็นองค์ประกอบหลัก และมีประโยชน์เพื่อสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศการดำรงชีวิต หรือคุณภาพชีวิตของประชาชน ที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ตลอดปีภาษี ดังนี้

1. ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) ในประเภทการลด ดูดซับ และการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกจากภาคป่าไม้และการเกษตรจากคณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก เฉพาะโครงการที่สอดคล้องกับระเบียบวิธีลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจประเภทปลูกป่าและฟื้นฟูป่า

2. เป็นป่าชายเลน โดยมีรายละเอียดตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งประกาศกำหนด ทั้งนี้ ที่ดินที่เข้าข่ายได้รับยกเว้นจากการจัดเก็บภาษีดังกล่าวจะต้องไม่มีการใช้หาผลประโยชน์ เว้นแต่เป็นการขาย หรือการถ่ายโอนคาร์บอนเครดิตซึ่งได้รับการรับรองจากคณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก โดยจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2568 เป็นต้นไป

ผลที่คาดว่าจะได้รับ: ช่วยลดปัญหาการแผ้วถางพื้นที่สีเขียว สนับสนุนการอนุรักษ์และเพิ่มจำนวนพื้นที่สีเขียวโดยสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580 แผนการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ฉบับปรับปรุง) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มและพัฒนาพื้นที่สีเขียว ป่าอนุรักษ์ ป่าชุมชน ตลอดจนการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก

ที่มา : PPTVHD36.com (https://www.pptvhd36.com/wealth/economic/238868)


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  18 ธันวาคม 2567

ที่มา https://www.bangkokbiznews.com/environment/1157912#google_vignette

ธรรมชาติมากขึ้นทั่วโลกเป็นเป้าหมายที่สวยงาม ป่าที่เก่าแก่ปกป้องความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งมีชีวิตทั้งบนและใต้ดินผึ้งและผีเสื้อที่หึ่งบนทุ่งหญ้าดอกไม้ป่า แม่น้ำที่ไหลเร็วเต็มไปด้วยปลาที่ไหลลงสู่มหาสมุทรที่เต็มไปด้วยชีวิตที่มองไม่เห็น

เมื่อสองปีก่อน ที่งาน COP15 ในมอนทรีออล รัฐบาล 196 แห่งเห็นด้วยกับกรอบการทำงานที่ทะเยอทะยานที่สุดเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพที่เราเคยมีมา นั่นคือกรอบความหลากหลายทางชีวภาพระดับโลก ซึ่งรวมถึงเป้าหมายที่ชัดเจนในปี 2030 “เพื่อหยุดและย้อนกลับการสูญเสียธรรมชาติเพื่อให้ธรรมชาติอยู่บนเส้นทางสู่การฟื้นตัว”

เป้าหมายระดับโลกนี้เรียบง่าย ควรมีความหลากหลายทางชีวภาพในตอนท้ายของทศวรรษนี้มากกว่าตอนเริ่มต้นหนึ่งในความท้าทายที่สำคัญในตอนนี้คือการหาวิธีวัดการฟื้นฟูธรรมชาติเพื่อทราบว่าประสบความสำเร็จหรือไม่

การปฏิบัติตามกฎระเบียบ ท้ายที่สุดแล้ว มันเกี่ยวกับพวกเราทุกคนที่มีส่วนร่วมในการฟื้นฟูธรรมชาติ ท้ายที่สุดแล้วสิ่งที่สำคัญจริงๆ คือการได้เห็นความหลากหลายทางชีวภาพที่เฟื่องฟู ปลา ผีเสื้อ ผึ้ง นกมากมาย จากนั้นเท่านั้นที่สามารถมั่นใจได้ว่ากลยุทธ์การบรรเทาผลกระทบได้ผล และเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ที่ดีสามารถเติบโตต่อไปได้


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  17 ธันวาคม 2567

ที่มา: https://mthai.com/news/pr/379577.html

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) พร้อมด้วย นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัด ทส. ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม นายประเสริฐ ศิรินภาพร เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และผู้บริหาร ทส. ร่วมขบวนเดินรณรงค์ เที่ยวงานกาชาดแบบเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดใช้ Single-use plastic คัดแยกขยะก่อนทิ้ง เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ณ สวนลุมพินี กรุงเทพมหานคร

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรี ทส. กล่าวว่า งานกาชาดประจำปี 2567 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 11 – 22 ธันวาคม 2567 ช่วงเวลา 11.00 – 22.00 น. ภายใต้แนวคิด “ทศมราชา 72 พรรษาถวายพระพร” โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ได้ร่วมออกร้านกาชาด บริเวณร้านกาชาดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โซนที่ 3 ส่วนราชการ ภายใต้แนวคิด “ทศมราชา นทีชีวา ประชาร่มเย็น” อีกทั้งมีกิจกรรมภายในร้านกาชาด ทส. ที่น่าสนใจหลายกิจกรรม ทั้งการแสดงนิทรรศการโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 รวม 21 โครงการ กิจกรรมให้ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม การคัดแยกขยะ กิจกรรมร่วมถ่ายภาพกับโมเดลน้องหมูเด้ง การแสดงจาก 20 มาสคอตของหน่วยงานในสังกัด ทส. การแสดงดนตรี ตลอดจนร่วมลุ้นรางวัลกับกิจกรรมสอยดาว รวมทั้งการแจกกล้าไม้และน้ำดื่ม ตลอด 12 วัน

นอกจากนี้ ทส. โดยกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม หรือ กรมลดโลกร้อน ได้จัดกิจกรรมรณรงค์เชิญชวนประชาชนที่มาเที่ยวงานร่วมกันงดใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว จำนวน 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ ถุงพลาสติกหูหิ้ว (ถุงก๊อบแก๊บ) แก้วพลาสติกและหลอดพลาสติก และโฟมบรรจุอาหาร อีกทั้งเชิญชวนให้พกถุงผ้า กระบอกน้ำส่วนตัว และเดินทางมาเที่ยวงานโดยรถสาธารณะ เพื่อร่วมกันลดการสร้างขยะใหม่อันจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งขอความร่วมมือจากหน่วยงาน ร้านค้า และผู้มาเที่ยวงานร่วมกันคัดแยกขยะก่อนทิ้ง ซึ่งภายในงานจะมีเจ้าหน้าที่ และจิตอาสา จากสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร ให้คำแนะนำการคัดแยกขยะตามจุดต่าง ๆ โดยขยะที่มีการคัดแยกแล้วจะถูกนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี โดยขยะเศษอาหาร สำนักงานเขตนำไปทำปุ๋ยอินทรีย์ ส่วนที่เหลือจะถูกนำเข้าโรงงานหมักทำปุ๋ยอินทรีย์ของกรุงเทพมหานคร คัดแยกขวดพลาสติกใสและขยะรีไซเคิลอื่น ๆ นำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล ส่วนขยะทั่วไป ได้รวบรวมส่งกำจัดอย่างถูกสุขลักษณะ


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  16 ธันวาคม 2567

สภาผู้บริโภคเรียกร้องทบทวนประกาศรับรอง “เทคโนโลยีปรับแต่งจีโนม” ชี้ขัดต่อความปลอดภัยทางชีวภาพ เสี่ยงกระทบระบบนิเวศ เกษตรอินทรีย์ และผู้บริโภค

สภาผู้บริโภคยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขอให้เพิกถอนประกาศกระทรวง เรื่อง “การขอรับรองสิ่งมีชีวิตที่พัฒนาจากเทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนมเพื่อใช้ประโยชน์ในภาคการเกษตร พ.ศ. 2567” เนื่องจากอาจก่อให้เกิดผลกระทบระยะยาวต่อเกษตรกรทั่วไป เกษตรอินทรีย์ ความเสียหายต่อระบบนิเวศ และอาจนำไปสู่การผูกขาดจากการจดสิทธิบัตร ซึ่งในอนาคตผู้บริโภคอาจเสี่ยงกินอาหารที่ไม่ปลอดภัย หรือได้รับสารอาหารที่มีสิ่งปนเปื้อนที่อาจเป็นอันตราย ประกอบกับประกาศฉบับดังกล่าวยังขัดแย้งกับพิธีสารคาร์ตาเฮน่า (Cartagena protocol on biosafety)* อีกทั้งยังไม่มีข้อมูลทางวิชาการสนับสนุน และขาดการประเมินอย่างรอบด้านอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม แม้อธิบดีกรมวิชาการเกษตรระบุว่า เทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนม (Genome Editing, GEd) ไม่มียีนถ่ายฝากจากสิ่งมีชีวิตอื่น ไม่จัดว่าเป็นพืชดัดแปลงพันธุกรรม หรือ GMOs และมีความปลอดภัยสูง แต่ตามนิยามของพิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ กลับระบุว่า สิ่งมีชีวิตที่พัฒนาจากเทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนม จัดเป็นสิ่งมีชีวิตที่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรม (Living Modified Organism) หรือ LMO ดังนั้น Ged จึงจัดเป็นพันธุวิศวกรรม ไม่ใช่การปรับปรุงพันธุ์ทั่วไป ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบระยะยาวจากการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศของยีนในสิ่งมีชีวิต ซึ่งหน่วยงานกำกับดูแลควรยึดแนวทางในการควบคุม กำกับ หรือสนับสนุน ตามวัตถุประสงค์ของพิธีสารคาร์ตาเฮนา เพื่อปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพจากความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมและเพื่อมั่นใจว่าจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่อาจส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ

ขอให้มีการทบทวนและเพิกถอนประกาศฉบับนี้ของประกาศกระทรวงเกษตร ดังนี้

1.นิยามในประกาศขัดแย้งกับพิธีสารคาร์ตาเฮน่าและไม่เป็นกลางทางวิชาการ

2.กล่าวอ้างถึงความปลอดภัยในการปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมโดยไม่มีการประเมินความเสี่ยง

3.ข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจากเทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนม

4.ขาดความพร้อมในการตรวจสอบและระบุสิ่งมีชีวิตและผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตที่พัฒนาจากเทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนม

5.ระบบเกษตรอินทรีย์ไม่ยอมรับสิ่งมีชีวิตและผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตที่พัฒนาจากเทคโนโลยีการปรับแต่งพันธุกรรม

ที่มา : สภาองค์กรของผู้บริโภค (https://www.tcc.or.th/genome-editing/)


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  15 ธันวาคม 2567

ที่มา https://www.seub.or.th/bloging/knowledge/2024-334/

‘มรดกโลก’ เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2515 ผ่านอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ (Convention Concerning the Protection of the World Cultural and Natural Heritage) โดยองค์การยูเนสโก (UNESCO) และได้กำหนดนิยามของมรดกโลกไว้ว่า ‘มรดกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติที่มีคุณค่าโดดเด่นเป็นเลิศในระดับสากล ควรค่าที่จะรักษาไว้’

โดยได้แบ่งประเภทของแหล่งมรดกโลกทั้งหมด 3 ประเภท คือ 1. มรดกโลกทางวัฒนธรรม (Cultural World Heritage) 2. มรดกโลกทางธรรมชาติ (Natural World Heritage) และ 3. มรดกโลกแบบผสมระหว่างวัฒนธรรมและธรรมชาติ (Mixed Cultural and Natural World Heritage)

ปัจจุบันประเทศไทย มีพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติ ทั้งหมด 3 แห่ง ได้แก่ 1. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง 2. กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ และ 3. กลุ่มป่าแก่งกระจาน

การเป็นมรดกโลกไม่เพียงแต่เป็นการแสดงความสำคัญของพื้นที่เท่านั้น แต่ยังเป็นสิ่งที่คอยย้ำเตือนถึงความรับผิดชอบและความตระหนักในการปกป้องและส่งต่อทรัพยากรที่มีคุณค่าเหล่านี้ให้กับคนรุ่นหลัง เพราะการได้สถานะมรดกโลกนั้นยากแล้ว แต่การรักษาความเป็นมรดกโลกไว้เป็นสิ่งที่ท้าทายยิ่งกว่า


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  14 ธันวาคม 2567

ที่มา: https://www.thansettakij.com/climatecenter/614380

กรมลดโลกร้อนเร่งผ่านร่าง พ.ร.บ. ลดโลกร้อน เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นรายงานเน้นความโปร่งใสด้านสิ่งแวดล้อม ลดก๊าซเรือนกระจกตามเป้า Net Zero อัปเดตความคืบหน้าของ ร่าง พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ ร่าง พ.ร.บ. Climate Change ที่จะเป็นกฎหมายสำคัญในการกำกับดูแลและสนับสนุนการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศกำลังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณา

นายกิตติศักดิ์ พฤกษ์กานนท์ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และความร่วมมือระหว่างประเทศ ได้เปิดเผยถึงความคืบหน้าร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวในการประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อ “รายงานความโปร่งใสรายสองปี ฉบับที่ 1” (Thailand’s First Biennial Transparency Report: BTR1) ณ ห้องประชุมวิภาวดี บอลรูม โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว กรุงเทพฯ ในวันที่ 12 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา โดยระบุว่า ในสัปดาห์หน้า ร่าง พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นี้จะถูกเสนอให้คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติเห็นชอบในหลักการ ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน หากร่างกฎหมายผ่านการอนุมัติในขั้นต้น จะถูกส่งต่อให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาภายในเดือนมกราคม 2568 จากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณารายละเอียดในชั้นกฤษฎีกา

เป้าหมายของการดำเนินงานครั้งนี้คือให้ร่าง พ.ร.บ. แล้วเสร็จภายในปี 2568 เพื่อรองรับแผนการลดก๊าซเรือนกระจกและเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศ ซึ่งถือเป็นความหวังสำคัญในการผลักดันไทยสู่การเป็นผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคต่อไป


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  13 ธันวาคม 2567

บริษัท ซี.พี.เวียดนาม คอร์ปอเรชั่น กิจการต่างประเทศในกลุ่ม บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ คว้าสองรางวัลสำคัญจากประเทศเวียดนาม ได้แก่ “100 อันดับแรก – องค์กรที่ยั่งยืนของเวียดนามในภาคการผลิต (CSI 100)” และรางวัลพิเศษ “5 อันดับแรก – องค์กรผู้บุกเบิกการนำเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในปี 2024” จากการประกาศผลรางวัลงค์กรที่ยั่งยืนประจำปี 2024 จากการดำเนินธุรกิจที่มีผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมนำโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งสร้างคุณค่าให้กับชุมชนและส่งเสริมความยั่งยืนทั้งในระดับประเทศและสากล

รางวัล CSI 100 จัดขึ้นโดยสภาธุรกิจเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งเวียดนาม (VBCSD) และหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนาม (VCCI) เพื่อยกย่ององค์กรที่ดำเนินธุรกิจสอดคล้องกับหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยใช้ดัชนี CSI เป็นเกณฑ์ชี้วัดสำคัญ ซี.พี.เวียดนามได้รับการยอมรับอย่างต่อเนื่องในฐานะองค์กรธุรกิจที่ยั่งยืน สะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการยกระดับการดำเนินงานให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และสานต่อพันธกิจร่วมกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ ภายใต้ปรัชญา “สามประโยชน์” ที่มุ่งสร้างประโยชน์แก่ประเทศชาติ สังคม และองค์กร

นอกจากนี้ การได้รับรางวัล “5 องค์กรผู้บุกเบิกด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก” ยังเป็นการยืนยันถึงความก้าวหน้าของ ซี.พี.เวียดนาม ในการเดินหน้าสู่เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 15 ต่อหน่วยการผลิต ภายในปี 2030 (เทียบกับปีฐาน 2020) และบรรลุการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050 โดยการลงทุนในอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน ใช้พลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์และชีวมวล รวมถึงการยุติการใช้ถ่านหินตั้งแต่ปี 2564 และการส่งเสริมโมเดล 3F Plus (Feed-Farm-Food-Plus) ที่บูรณาการเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อสร้างความยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อุปทาน

ซี.พี.เวียดนาม ยังริเริ่มโครงการปลูกต้นไม้จำนวน 1.5 ล้านต้นทั่วประเทศ แบ่งเป็น 500,000 ต้นในพื้นที่ดำเนินงาน และ 1,000,000 ต้นร่วมมือกับหน่วยงานท้องถิ่นและพันธมิตร ซึ่งสะท้อนถึงความตั้งใจในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสนับสนุนความหลากหลายทางชีวภาพ

ที่มา : มติชนออนไลน์ (https://www.matichon.co.th/publicize/news_4950302)


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  12 พฤศจิกายน 2567

ที่มา https://www.thairath.co.th/futureperfect/articles/2830427

เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2567 ที่ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอบ้านนา จ.นครนายก กลุ่มนักเรียนและประชาชนในชุมชนได้มารวมตัวกันภายใต้หลังคาพลังงานแสงอาทิตย์ที่เพิ่งติดตั้งใหม่ เพื่อรับฟังคำอธิบายจากหัวเว่ยและผู้ติดตั้งเกี่ยวกับการนำพลังงานสะอาดมาใช้ไม่เพียงแต่ในห้องสมุดสาธารณะ แต่ยังสร้างอนาคตที่สดใสและยั่งยืนยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอโครงการ “ดิจิทัลบัส เพื่อสังคม” (Digital Bus) ซึ่งได้เข้ามาถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับพลังงานสะอาด การตระหนักรู้ด้านอาชญากรรมทางไซเบอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมแบบไม่มีค่าใช้จ่ายทั้งนี้ ดิจิทัลบัส ดังกล่าวได้ทำการฝึกอบรมนักเรียนกว่า 4,500 คนใน 10 จังหวัดพื้นที่ห่างไกลทั่วประเทศไทยเพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะสำหรับอนาคตที่ยั่งยืน

โครงการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม ไม่เพียงแต่เป็นการบริจาคอุปกรณ์พลังงานแสงอาทิตย์ (PV) แต่เป็นการสร้างเส้นทางสู่ความยั่งยืนและโอกาสในการพัฒนา โดยการติดตั้งระบบพลังงานทดแทนในโรงเรียนและส่งเสริมทักษะทางเทคนิค โครงการนี้จึงเป็นการตอบโจทย์ความท้าทายในด้านการศึกษาและพลังงาน โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ขาดแคลนทรัพยากร


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.