• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ปี 2567

รางวัลสถานศึกษาปลอดภัย ประจำปี 2566

19 มกราคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรันย์ ศรีรัตนา ทาบูกานอน รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและวิเทศสัมพันธ์ เป็นผู้แทนคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้ารับรางวัล “สถานศึกษาปลอดภัย” ประจำปี 2566 จากสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนครปฐม ณ ศูนย์เด็กเล็กวิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย ในพระราชูปถัมภ์ จังหวัดนครปฐม โดยได้รับเกียรติจากนายธงชัย อินทพงษ์ สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนครปฐม เป็นผู้มอบใบประกาศนียบัตร


การบรรยายหัวข้อ "หลักการและแนวทางการบริหารด้านการเงินและการคลัง"

18 มกราคม 2567 เวลา 13.00 – 16.00 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอื้อมพร มัชฌิมวงศ์ รองอธิการบดีฝ่ายการคลัง มหาวิทยาลัยมหิดล ให้เกียรติเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “หลักการและแนวทางการบริหารด้านการเงินและการคลัง” โดยมีเนื้อหาหลักประกอบด้วย ประวัติการคลังของไทยตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยด้านงานคลังที่ถูกนำมาปรับใช้ในระดับส่วนงาน ตลอดจนเครื่องมือการบริหารจัดการการเงินการคลัง และข้อแนะนำในการเบิกจ่ายเงิน รวมถึงกรณีศึกษาด้านการเงินและการคลังต่างๆ ณ ห้องประชุมศาสตรเมธี ดร.พงศ์พิศน์ ปิยะพงศ์ อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล


การบรรยายดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการฝึกอบรม “การพัฒนาศักยภาพความเป็นผู้นำ” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16 มกราคม - 15 กุมภาพันธ์ 2567 ณ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อให้บุคลากรของคณะพัฒนาทักษะและเพิ่มพูนศักยภาพของการเป็นผู้นำยุคใหม่ที่เตรียมพร้อมต่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน โดยมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรของคณะมีการทำงานร่วมกันเป็นทีมสอดคล้องตามค่านิยมองค์กรของคณะและมหาวิทยาลัยมหิดล


กิจกรรมพัฒนาทักษะกระบวนการคิดเชิงระบบ

เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2567 เวลา 13.30 - 16.30 น. นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม (ES) ชั้นปีที่ 1 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมกิจกรรม “พัฒนาทักษะกระบวนการคิดเชิงระบบ” โดยมี อาจารย์สัญชัย สูติพันธ์วิหาร ให้เกียรติเป็นวิทยากรนำกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการคิดเชิงระบบ การวางแผนงาน และประสบการณ์ที่เหมาะสมกับการเรียนและการทำงานร่วมกับผู้อื่น ตลอดจนเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับนักศึกษาก่อนการเรียนในระดับชั้นปีที่สูงขึ้น โดยกิจกรรมจัดขึ้น ณ ห้องประชุม (พิเศษ) เล็ก มอญเจริญ (4218) อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี หน่วยกิจการนักศึกษาและกิจกรรมพิเศษ งานบริการการศึกษา เป็นผู้ประสานงานหลักในการจัดกิจกรรม


บรรยายพิเศษหัวข้อ “นโยบายมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ม.มหิดล”

16 มกราคม - 15 กุมภาพันธ์ 2567 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการฝึกอบรม “การพัฒนาศักยภาพความเป็นผู้นำ” โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต คณบดี เป็นประธานกล่าวเปิดการอบรมฯ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัจฉราพร ขำโสภา รองคณบดีฝ่ายบริหาร กล่าวรายงานความเป็นมาของการดำเนินโครงการฯ

โครงการฝึกอบรม “การพัฒนาศักยภาพความเป็นผู้นำ” จัดขึ้นเพื่อให้บุคลากรของคณะพัฒนาทักษะและเพิ่มพูนศักยภาพของการเป็นผู้นำยุคใหม่ที่เตรียมพร้อมต่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน โดยเข้าใจและประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการบริหารจัดการด้านต่างๆ ควบคู่กับการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อปรับวิสัยทัศน์ในการทำงาน พร้อมทั้งการบริหารความหลากหลายโดยประยุกต์ใช้ทักษะการโน้มน้าวจูงใจ การติดต่อสื่อสาร การสอนงาน เพื่อให้มีส่วนร่วมในการทำงาน และสร้างทีมงานที่เป็นเลิศสอดคล้องตามค่านิยมองค์กรของคณะและมหาวิทยาลัยมหิดล

โดยการอบรมในวันนี้ ได้รับเกียรติจาก คุณพุฒิเศรษฐ์ ตันติเมฆิน ผู้อำนวยการกองกายภาพและสิ่งแวดล้อม สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “นโยบายมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ม.มหิดล” โดยมีเนื้อหาหลักเกี่ยวข้องกับข้อมูลเบื้องต้นเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) การเชื่อมโยง SDGs สู่การวางกรอบนโยบายของมหาวิทยาลัยในระยะต่างๆ ที่สอดคล้องและส่งเสริมเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนการดำเนินงานในปัจจุบันเพื่อก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้นำมหาวิทยาลัยที่ยั่งยืนของมหาวิทยาลัยมหิดล


ผู้บริหาร ENMU เข้าร่วมงานทำบุญเลี้ยงพระรำลึกอดีตคณบดีบัณฑิตวิทยาลัยผู้ล่วงลับ

16 มกราคม 2567 เวลา 09.30 น. รองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต คณบดี พร้อมด้วยผู้บริหารคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมงานทำบุญเลี้ยงพระรำลึกอดีตคณบดีบัณฑิตวิทยาลัยผู้ล่วงลับ ศาสตราจารย์ นายแพทย์สวัสดิ์ สกุลไทย์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ ดร.ณัฐ ภมรประวัติ และ ศาสตราจารย์ นายแพทย์อดุลย์ วิริยเวชกุล ประจำปี 2567 ครั้งที่ 17 ณ ลานชั้น 1 อาคารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล


พิธีเปิด “พื้นที่ให้บริการสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21

10 มกราคม 2567 เวลา 16.00 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มณฑิรา ยุติธรรม รองคณบดีฝ่ายนโยบาย แผนและคลัง เป็นผู้แทนคณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมพิธีเปิด “พื้นที่ให้บริการสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21” ภายใต้โครงการ “Mahidol Digital Convergence University (Mahidol DCU)” เพื่อรองรับปริมาณผู้ใช้งานที่เพิ่มมากขึ้น จัดขึ้นโดยหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ณ ชั้น 5 ห้องสมุดวิทยาเขตราชวิถี อาคารเอนกประสงค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

พื้นที่แห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต Playground Space @ Rajvithi Campus Library เป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล และธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ภายใต้โครงการ Digital Convergence University (DCU) ในการปรับปรุงและพัฒนาพื้นที่ห้องสมุดในมหาวิทยาลัยมหิดลให้มีความพร้อมในด้านเทคโนโลยี สภาพแวดล้อม และด้านอื่น ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่การเป็นต้นแบบแห่ง “Digital Convergence University” โดยเปิดให้บริการ ณ ชั้น 5 ของห้องสมุดวิทยาเขตราชวิถี ภายใต้แนวคิด “พื้นที่แห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต” เป็นศูนย์กลางของการใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการผลิตสื่อดิจิทัลในรูปแบบต่าง ๆ ด้วยการออกแบบพื้นที่สำหรับการจัดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ และเป็นพื้นที่การทำงานร่วมกัน ประกอบด้วยพื้นที่นั่งทำงานและพื้นที่นั่งอ่านหนังสือที่กว้างขวาง โดดเด่นทั้งด้านการออกแบบและการใช้งาน และให้บริการในรูปแบบรายบุคคลและแบบรายกลุ่ม พร้อมด้วยสื่อทัศนูปกรณ์ที่ทันสมัย เช่น “Creative Innovation Room” พื้นที่แห่งการจุดประกายความคิดสร้างสรรค์และไอเดียใหม่ ๆ รวมไปถึง “Studio” พื้นที่ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้บริการได้ถ่ายทอดจินตนาการไม่รู้จบ และ “Playground” พื้นที่รองรับการจัดกิจกรรมของผู้ใช้บริการในหลากหลายประเภท แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างผู้คน ซึ่งส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของนักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร ของมหาวิทยาลัยมหิดล

ทั้งนี้ Playground Space ชั้น 5 ห้องสมุดวิทยาเขตราชวิถี มหาวิทยาลัยมหิดล จะเป็นแหล่งเรียนรู้แห่งใหม่ใจกลางเมืองย่านถนนราชวิถี เปิดให้บริการทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.00 - 21.00 น. วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 09.00 - 17.00 น. และปิดให้บริการในวันหยุดนักขัตฤกษ์ โดยเปิดให้บริการเฉพาะนักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลเท่านั้น สำหรับบุคคลทั่วไปสามารถเข้าใช้งานห้องสมุดวิทยาเขตราชวิถีได้ที่ชั้น 6 - 7 โดยสามารถแลกบัตรประชาชนเพื่อเข้าใช้บริการในพื้นที่ดังกล่าวฯ ได้ที่เคาน์เตอร์บริการ หรือติดต่อสอบถามได้ที่ โทร 02-200-7672 ต่อ 611-13 หรือ https://www.facebook.com/RajvithiCampusLibrary/ ขอบคุณข้อมูลจาก หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล

ขอบคุณภาพจาก คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล และหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.