• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ปี 2567

ผู้บริหาร ENMU เข้าร่วมงานทำบุญเลี้ยงพระรำลึกอดีตคณบดีบัณฑิตวิทยาลัยผู้ล่วงลับ

16 มกราคม 2567 เวลา 09.30 น. รองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต คณบดี พร้อมด้วยผู้บริหารคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมงานทำบุญเลี้ยงพระรำลึกอดีตคณบดีบัณฑิตวิทยาลัยผู้ล่วงลับ ศาสตราจารย์ นายแพทย์สวัสดิ์ สกุลไทย์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ ดร.ณัฐ ภมรประวัติ และ ศาสตราจารย์ นายแพทย์อดุลย์ วิริยเวชกุล ประจำปี 2567 ครั้งที่ 17 ณ ลานชั้น 1 อาคารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล


พิธีเปิด “พื้นที่ให้บริการสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21

10 มกราคม 2567 เวลา 16.00 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มณฑิรา ยุติธรรม รองคณบดีฝ่ายนโยบาย แผนและคลัง เป็นผู้แทนคณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมพิธีเปิด “พื้นที่ให้บริการสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21” ภายใต้โครงการ “Mahidol Digital Convergence University (Mahidol DCU)” เพื่อรองรับปริมาณผู้ใช้งานที่เพิ่มมากขึ้น จัดขึ้นโดยหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ณ ชั้น 5 ห้องสมุดวิทยาเขตราชวิถี อาคารเอนกประสงค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

พื้นที่แห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต Playground Space @ Rajvithi Campus Library เป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล และธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ภายใต้โครงการ Digital Convergence University (DCU) ในการปรับปรุงและพัฒนาพื้นที่ห้องสมุดในมหาวิทยาลัยมหิดลให้มีความพร้อมในด้านเทคโนโลยี สภาพแวดล้อม และด้านอื่น ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่การเป็นต้นแบบแห่ง “Digital Convergence University” โดยเปิดให้บริการ ณ ชั้น 5 ของห้องสมุดวิทยาเขตราชวิถี ภายใต้แนวคิด “พื้นที่แห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต” เป็นศูนย์กลางของการใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการผลิตสื่อดิจิทัลในรูปแบบต่าง ๆ ด้วยการออกแบบพื้นที่สำหรับการจัดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ และเป็นพื้นที่การทำงานร่วมกัน ประกอบด้วยพื้นที่นั่งทำงานและพื้นที่นั่งอ่านหนังสือที่กว้างขวาง โดดเด่นทั้งด้านการออกแบบและการใช้งาน และให้บริการในรูปแบบรายบุคคลและแบบรายกลุ่ม พร้อมด้วยสื่อทัศนูปกรณ์ที่ทันสมัย เช่น “Creative Innovation Room” พื้นที่แห่งการจุดประกายความคิดสร้างสรรค์และไอเดียใหม่ ๆ รวมไปถึง “Studio” พื้นที่ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้บริการได้ถ่ายทอดจินตนาการไม่รู้จบ และ “Playground” พื้นที่รองรับการจัดกิจกรรมของผู้ใช้บริการในหลากหลายประเภท แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างผู้คน ซึ่งส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของนักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร ของมหาวิทยาลัยมหิดล

ทั้งนี้ Playground Space ชั้น 5 ห้องสมุดวิทยาเขตราชวิถี มหาวิทยาลัยมหิดล จะเป็นแหล่งเรียนรู้แห่งใหม่ใจกลางเมืองย่านถนนราชวิถี เปิดให้บริการทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.00 - 21.00 น. วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 09.00 - 17.00 น. และปิดให้บริการในวันหยุดนักขัตฤกษ์ โดยเปิดให้บริการเฉพาะนักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลเท่านั้น สำหรับบุคคลทั่วไปสามารถเข้าใช้งานห้องสมุดวิทยาเขตราชวิถีได้ที่ชั้น 6 - 7 โดยสามารถแลกบัตรประชาชนเพื่อเข้าใช้บริการในพื้นที่ดังกล่าวฯ ได้ที่เคาน์เตอร์บริการ หรือติดต่อสอบถามได้ที่ โทร 02-200-7672 ต่อ 611-13 หรือ https://www.facebook.com/RajvithiCampusLibrary/ ขอบคุณข้อมูลจาก หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล

ขอบคุณภาพจาก คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล และหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล


นักศึกษาปี 1 พบปะอาจารย์ที่ปรึกษา

10 มกราคม 2567 เวลา 13.15 – 16.00 น. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม “นักศึกษาปี 1 พบปะอาจารย์ที่ปรึกษา” เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ได้พบปะพูดคุยกับประธานหลักสูตรฯ และอาจารย์ที่ปรึกษาเกี่ยวกับการการเรียนสอนในหลักสูตรฯ


โดยกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักศึกษาคณาจารย์ และบุคลากรภายในคณะ ควบคู่ไปกับการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ รวมถึงทักษะการคิด การพูด และการกล้าแสดงออกของนักศึกษาในหลักสูตรฯ ณ ห้องประชุมศาสตรเมธี ดร.พงศ์พิศน์ ปิยะพงศ์ อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล โดยมี หน่วยกิจการนักศึกษาและกิจกรรมพิเศษ งานบริการการศึกษา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ประสานงานหลัก


หลักสูตรการบริหารมหาวิทยาลัยยั่งยืน Green and Sustainable University

9 มกราคม 2567 เวลา 08.30 น. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดการฝึกอบรม “หลักสูตรการบริหารมหาวิทยาลัยยั่งยืน Green and Sustainable University” โดยได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการอบรมฯ และชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดโครงการฯ โดยมี ดร.สิริกร มณีรินทร์ นายกสภาสถาบันวิทยาลัยชุมชน กล่าวเปิดโครงการฯ และมอบนโยบายแนวทางการจัดการของวิทยาลัยชุมชน

โดยกิจกรรมการอบรมฯ ในช่วงเช้า รองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต ให้เกียรติเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “การพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) นโยบาย และยุทธศาสตร์การจัดการมหาวิทยาลัยสีเขียว และมหาวิทยาลัยยั่งยืน” (Green University Management Policy and Strategy and Sustainable University) และในช่วงบ่ายเป็นการบรรยายในหัวข้อ “กรอบและวิธีการประเมินตามตัวชี้วัดมหาวิทยาลัย สีเขียว (UI Green Metric World University Ranking) และ มหาวิทยาลัยยั่งยืน (THE Impact Ranking)” โดย คุณศศิวิมล ผุงเพิ่มตระกูล กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล

การฝึกอบรม “หลักสูตรการบริหารมหาวิทยาลัยยั่งยืน Green and Sustainable University” จัดขึ้นโดยสำนักงานวิทยบริการด้านสิ่งแวดล้อมคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระหว่างวันที่ 9 - 11 มกราคม 2567 เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การบริหารจัดการ การประเมินตามตัวชี้วัดระดับสากล การจัดเก็บข้อมูล การประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และแนวทางการขับเคลื่อน SDGs ในสถาบันอุดมศึกษา ให้แก่ผู้บริหาร และบุคลากรของสถาบันวิทยาลัยชุมชน โดยมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อยกระดับสถาบันวิทยาลัยชุมชนสู่ความยั่งยืน ผ่านกิจกรรมการอบรมซึ่งประกอบด้วยภาคบรรยายและการศึกษาดูงานมหาวิทยาลัยสีเขียว และมหาวิทยาลัยยั่งยืน พร้อมเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล


คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “การรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการในรูปแบบ PEER evaluation”

5 มกราคม 2567 เวลา 10.30 – 12.00 น. รองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “การรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการในรูปแบบ PEER evaluation” ใน “การประชุมวิชาการประจำปีด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ เครือข่ายภาคเหนือ ประจำปี 2566” ณ ห้องประชุมทองกวาว สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


โดยการประชุมดังกล่าวจัดขึ้นโดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในฐานะมหาวิทยาลัยเครือข่ายวิจัยภูมิภาคด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ภาคเหนือ ร่วมกับ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ รวมถึงเผยแพร่ประชาสัมพันธ์มาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการด้านต่างๆ ตลอดจนเพื่อติดตามการดำเนินงานด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัยแม่ข่ายในระดับภูมิภาค


ENMU ร่วมงานครบรอบวันเปิดศูนย์การแพทย์กาญจนภิเษกฯ

4 มกราคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต คณบดี พร้อมด้วยผู้บริหารคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมงานครบรอบวันเปิดศูนย์การแพทย์กาญจนภิเษก ในโอกาสครบรอบ 16 ปี ก้าวสู่ปีที่ 17 ประจำปีพุทธศักราช 2567 ณ ห้องประชุมภักดีบดินทร์ ชั้น 5 อาคาร กาญนาบริพัฒน์ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.