• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข่าวสิ่งแวดล้อม

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  25 กุมภาพันธ์ 2568

ที่มา https://www.biztalknews.com/economy/transportation/%E0%B8%A3%E0%B8%9F%E0%B8%A1-%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B8%A2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%A1-%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0/

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดย กองสิ่งแวดล้อม ฝ่ายพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินงานลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในการก่อสร้าง ช่วงเวลากลางคืน การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ตลอดแนวเส้นทางโครงการฯ โดยเริ่มตั้งแต่จุดก่อสร้าง Cut & Cover บริเวณถนนทหาร และบริเวณพื้นที่ก่อสร้างสถานีตลอดแนวถนนสามเสน ถนนพระสุเมรุ ถนนมหาไชย ถนนจักรเพชร ถนนประชาธิปก ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน รวมถึงตลอดแนวก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่งหลัก บนถนนสุขสวัสดิ์ จนไปสิ้นสุดบริเวณพื้นที่ก่อสร้างโรงจอดรถไฟฟ้า บริเวณด้านข้างด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษบางครุ 3 ของทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี – สุขสวัสดิ์)

สำหรับการลงพื้นที่ครั้งนี้ รฟม. ได้ตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมในช่วงเวลากลางคืนตามที่กำหนดไว้ในรายงาน EIA เช่น การติดตั้งรั้วทึบสูง 2 เมตร ตามแนวพื้นที่ก่อสร้าง การปิดคลุมกองวัสดุก่อสร้างที่ก่อให้เกิดฝุ่นละอองในระหว่างรอการใช้งานหรือรอการขนย้าย การทำความสะอาดล้อรถบรรทุกก่อนออกจากพื้นที่โครงการ การจัดทำทางเดินเท้าชั่วคราวทดแทนทางเดินเท้าเดิม รวมถึงตรวจสอบการติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างการติดป้ายสัญญาณจราจรและไฟกระพริบ เพื่อให้การดำเนินงานก่อสร้างโครงการฯ เป็นไปตามมาตรการลดกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนผู้ใช้เส้นทาง โดย รฟม. ได้เน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่ทุกคนปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัดต่อไป


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  24 กุมภาพันธ์ 2568

ที่มา: https://www.prachachat.net/local-economy/news-1758443

นายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดงาน Andaman  Sustainable Tourism Forum 2025  และพิธีลงนามความร่วมมือ Green Hotel Plus Phuket Sandbox

นายนราพัฒน์ กล่าวว่า การท่องเที่ยวถือเป็นเครื่องมือที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในทุกมิติด้วยต้นทุนทางวัฒนธรรมประเพณีของเรา เป็นที่มาที่ทำให้รัฐบาล ได้กำหนดขับเคลื่อนเป็นนโยบาย Soft Power ทำให้ปี 2567 สามารถ ขยายตัวการท่องเที่ยว 26.27% สร้างรายได้ให้กับประเทศจำนวน 1.67 ล้านล้านบาท ซึ่งวิกฤตที่โลกต้องเผชิญ คือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งมีผลการศึกษาคาดว่า อุณหภูมิของโลกจะสูงขึ้นเฉลี่ย 1.5 องศาเซลเซียส ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในวงกว้าง จากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศรวมถึงการปกป้องระบบนิเวศ และรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงพัฒนาเครื่องมือและกลไกที่จะสนับสนุนการขับเคลื่อน ได้แก่ “ร่างพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” และ “แผนปฏิบัติต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ” ซึ่งอยู่ระหว่างการเร่งพิจารณารับฟังความคิดเห็น ซึ่งจะเป็นพื้นฐานและเป็นเครื่องมือที่เข้ามารองรับการจัดการความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากภัยธรรมชาติ

นอกจากนี้ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามแนวทาง BCG Model จะช่วยสร้างสมดุลการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่กับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับสังคม ให้พร้อมต่อการขับเคลื่อนและเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ให้นำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  23 กุมภาพันธ์ 2568

ที่มา : www.The better.co.th

(https://www.thebetter.co.th/news/sustain-biz/27003)

กนอ. เดินหน้าขับเคลื่อน Green Transition ส่งเสริมใช้พลังงานสะอาดและเทคโนโลยีสีเขียว ลดการพึ่งพาฟอสซิล มุ่งสู่ Zero Emission

นายสุเมธ ตั้งประเสริฐ กรรมการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) รักษาการผู้ว่าการ กนอ.เปิดเผย ว่า บทบาทของการนิคมอุตสาหกรรมในการขับเคลื่อน Green..Transition หรือการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดและเทคโนโลยีสีเขียว จะสร้างความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ โดยพร้อมรับมือกับความท้าทายด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมในยุคปัจจุบัน

การเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดและเทคโนโลยีสีเขียวเป็นแนวโน้มสำคัญของโลกซึ่งภาคอุตสาหกรรมต้องปรับตัวเพื่อลดการพึ่งพาพลังงานฟอสซิลและเพิ่มการใช้พลังงานทดแทน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และพลังงานน้ำ ทั้งนี้ กนอ. ในฐานะหน่วยงานหลักที่ดูแลนิคมอุตสาหกรรม มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านนี้ โดยการส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดในโรงงานอุตสาหกรรม และจัดหาโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับพลังงานทดแทนให้กับผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม สำหรับเทคโนโลยีสีเขียว (Green Technology) เป็นเครื่องมือสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร เช่น การใช้ระบบจัดการพลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy Management) และการรีไซเคิลของเสียในกระบวนการผลิต

ปัจจุบันนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งได้เริ่มปรับตัวด้วยการนำเทคโนโลยีสีเขียวมาใช้ เช่น การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ การใช้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบปิด และการส่งเสริมการผลิตที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ (Low-carbon Production) “นิคมอุตสาหกรรม กำลังปรับตัวเพื่อเป็นศูนย์กลางการผลิตที่ยั่งยืน โดยการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับพลังงานสะอาดและเทคโนโลยีสีเขียว พร้อมส่งเสริมให้ผู้ประกอบการลดการใช้พลังงานฟอสซิล และเพิ่มการใช้พลังงานทดแทน ขณะเดียวกัน กนอ.ยังสนับสนุนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมสีเขียว เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเป็น Carbon Neutral หรือ Zero Emission ในอนาคตอันใกล้

นายสุเมธ กล่าวว่า กนอ.มุ่งเน้นสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อขับเคลื่อน Green..Transition..ผ่านนโยบายสนับสนุนและมาตรการจูงใจต่าง ๆ พร้อมผลักดันการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco-Industrial..Town)..ที่เน้นการจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้จะนำเทคโนโลยีดิจิทัลและเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น IoT และ AI มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพลังงานและลดการสูญเสียในกระบวนการผลิต ซึ่งการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดอาจต้องใช้งบประมาณสูง และบางครั้งอาจพบความไม่พร้อมทางเทคโนโลยี หรือการขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะ ดังนั้น กนอ.จะร่วมกับทุกภาคส่วนสนับสนุนการปรับตัวของผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม เพื่อเปลี่ยนกระบวนการผลิตและระบบการจัดการพลังงาน


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  22 กุมภาพันธ์ 2568

ที่มา https://www.vietnam.vn/th/nang-cao-nhan-thuc-hanh-dong-cua-moi-nguoi-ve-bao-ve-moi-truong

เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 ณ กรุงฮานอย ศูนย์การสื่อสารทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) จัดงานแถลงข่าวเพื่อแนะนำโครงการศิลปะเพื่อสภาพอากาศ – ฮาลอง 2025 (เทศกาลศิลปะเพื่อสภาพอากาศ ฮาลอง 2025)

นายกรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการเกี่ยวกับภารกิจและแนวทางแก้ไขเพื่อนำผลลัพธ์ของ COP 26 ไปใช้ อนุมัติยุทธศาสตร์ระดับชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและจัดทำแผนงานโดยรวมเพื่อบรรลุเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศที่มุ่งมั่น เพื่อแก้ไขปัญหานี้ รัฐบาลเวียดนามได้ออกกรอบทางกฎหมายเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างสอดประสานกัน

เราเชื่อว่าการสนับสนุนและการดำเนินการร่วมกันของธุรกิจและพันธมิตรในประเทศและต่างประเทศ จะสร้างแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่และชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ภายในโครงการอย่างแข็งขัน เพื่อมีส่วนสนับสนุนในการลดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  21 กุมภาพันธ์ 2568

ที่มา: https://www.naewna.com/business/863057

นายสุเมธ ตั้งประเสริฐ กรรมการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) รักษาการผู้ว่าการ กนอ.เปิดเผยว่า ทิศทางและบทบาทของการนิคมอุตสาหกรรมในการขับเคลื่อน Green Transition หรือการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดและเทคโนโลยีสีเขียว เพื่อสร้างความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ พร้อมรับมือกับความท้าทายด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมในยุคปัจจุบัน โดยการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดและเทคโนโลยีสีเขียวเป็นแนวโน้มสำคัญของโลก ซึ่งภาคอุตสาหกรรมต้องปรับตัวเพื่อลดการพึ่งพาพลังงานฟอสซิลและเพิ่มการใช้พลังงานทดแทน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และพลังงานน้ำ

ทั้งนี้ กนอ. ในฐานะหน่วยงานหลักที่ดูแลนิคมอุตสาหกรรม มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านนี้ โดยการส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดในโรงงานอุตสาหกรรม และจัดหาโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับพลังงานทดแทนให้กับผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม ทั้งนี้ เทคโนโลยีสีเขียว (Green Technology) เป็นเครื่องมือสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร เช่น การใช้ระบบจัดการพลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy Management) และการรีไซเคิลของเสียในกระบวนการผลิต ปัจจุบัน นิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งได้เริ่มปรับตัวด้วยการนำเทคโนโลยีสีเขียวมาใช้ เช่น การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ การใช้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบปิด และการส่งเสริมการผลิตที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ (Low-carbon Production)

นายสุเมธ กล่าวว่า นิคมอุตสาหกรรม กำลังปรับตัวเพื่อเป็นศูนย์กลางการผลิตที่ยั่งยืน โดยการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับพลังงานสะอาดและเทคโนโลยีสีเขียว พร้อมส่งเสริมให้ผู้ประกอบการลดการใช้พลังงานฟอสซิล และเพิ่มการใช้พลังงานทดแทน ขณะเดียวกัน กนอ. ยังสนับสนุนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมสีเขียว เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเป็น Carbon Neutral หรือ Zero Emission ในอนาคตอันใกล้


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  20 กุมภาพันธ์ 2568

ที่มา : www.77kaoded.com (https://www.77kaoded.com/news/mr-somroj-sumranchararat/14868)

             สำนักงานทรัพยากรน้ำที่ 9 ร่วมจัดกิจกรรมเนื่องในวันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก ที่บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่ยมที่ มย.2 (ผาอิง) ตำบลสะเอียบ อำเภอสองอำเภอสอง จังหวัดแพร่ มีนายดุลยธรรม ทวิชสังข์ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรน้ำที่ 9 นายเพลิน ขวัญนาค ผู้แทนสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 นายปรีชา โตมี ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดแพร่ นายวีรพล กึกก้อง ผู้แทนสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 3 แพร่ ถ่ายก้องไมตรี เทศสูงเนิน หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแม่ยม นายณัฐปคัลภ์ ศรีคำภา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสะเอียบ นายวิชา นรังศรี ประธานมูลนิธิพื้นที่ชุ่มน้ำไทย นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ ประธานมูลนิธิเพื่อการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ และนายศุภชัย บุญทิพย์ นายอำเภอสอง ร่วมกิจกรรม โดยมี นายชัยสิทธิ์ ชัยสัมฤทธิ์ผล รองผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เป็นประธาน

ในกิจกรรมดังกล่าว ถือเป็นการรณรงค์ให้ความรู้ความสำคัญของพื้นที่ชุ่มน้ำ ซึ่งมีความสำคัญต่อระบบนิเวศของประเทศไทยและของโลก การรับรู้ความเสื่อมถอยของระบบธรรมชาติพื้นที่ชุ่มน้ำ ที่หมดไปกับการพัฒนา ทำอย่างไรจะช่วยกันฟื้นฟูป้องกันให้พื้นที่ชุ่มน้ำยังคงอยู่ต่อไป นอกจากนั้นยังมีนิทรรศการการจัดการขยะ การปลูกผักอินทรีย์ในชุมชน พร้อมทั้งการแสดงของชนเผ่าพื้นเมือง อาทิ ชุมชนชาวอาข่าบ้านแม่พร้าว

นางสาวจิรัชญา จันทร์คำ ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์ ทรัพยากรน้ำที่ 2 แพร่ สำนักงานทรัพยากรน้ำที่ 9 กรมทรัพยากรน้ำ กล่าวว่า การจัดกิจกรรมดังกล่าวเป็นการสร้างจิตสำนึก ในการปกป้องพื้นที่ชุ่มน้ำตามคอนเซ็ป ประจำปี 2568 “การปกป้องพื้นที่ชุ่มน้ำเพื่ออนาคตของเรา” ซึ่งมีทุกภาคส่วนให้ความสำคัญมาร่วมงานรวมทั้งเด็กเยาวชนในพื้นที่โดยเฉพาะอุทยานแห่งชาติแม่ยม แบ่งพื้นที่ชุ่มน้ำระดับชาติ

นายวิชา นรังศรี ประธานมูลนิธิพื้นที่ชุ่มน้ำไทย กล่าวว่าทางมูลนิธิมีการสำรวจทรัพยากรชีวภาพมีความหลากหลายในพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและระบบนิเวศ นำกลับมาวิเคราะห์พบว่า พื้นที่ชุ่มน้ำมันหลายแห่ง ถูกคุกคามทำให้คุณภาพน้ำลดลงจำนวนมากสาเหตุหลักๆประการแรกคือการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ริมน้ำ ที่ทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง 2.อุตสาหกรรมทำให้แหล่งน้ำปนเปื้อนมลพิษ 3.สิ่งกีดขวางลำน้ำจากโครงการก่อสร้างของรัฐเป็นปัญหาต่อการขยายพันธุ์ปลาและสัตว์น้ำหลายชนิด และอีกประการคือการจับสัตว์น้ำที่ใช้เครื่องมือไม่เหมาะสมรวมทั้งภัยแล้งที่เป็นปัญหาใหญ่ทำให้ระบบนิเวศคุณภาพลดลง เกิดการพังทลายของหน้าดินไหลลงแหล่งน้ำเป็นตะกอนทับถมทำให้เกิดปัญหากับแหล่งน้ำนี่คือปัญหาใหญ่ๆ และโดยเฉพาะพื้นที่ชุ่มน้ำในอุทยานแห่งชาติแม่ยมเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลกว่า 1000 เมตรเป็นแหล่งที่อยู่สำคัญของนกยูง ซึ่งพื้นที่เหล่านี้น่าจะถูกยกระดับให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำนานาชาติ


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  19 กุมภาพันธ์ 2568

ที่มา https://www.posttoday.com/ai-today/719695

รถเก็บขยะ ถือเป็นยานพาหนะสำหรับลำเลียงขยะถูกทิ้งจากการใช้ชีวิตของผู้คนออกจากแหล่งชุมชน เป็นส่วนสำคัญและส่งผลโดยตรงต่อระบบจัดการขยะภายในเมือง ด้วยเหตุนี้นวัตกรรมที่นำมาใช้งานกับรถเก็บขยะจึงมีความสำคัญ โดยเฉพาะเมืองสมัยใหม่ที่ต้องการผลักดันให้เป็นเมืองอัจฉริยะ

ผลงานนี้เป็นของบริษัท Oshkosh Corporation กับการพัฒนา McNeilus Volterra ZFL รถเก็บขยะอัจฉริยะรุ่นล่าสุดของทางบริษัท ตัวรถอยู่ในรูปแบบรถบรรทุกพลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบ พร้อมแขนกลสำหรับใช้ในการยกถังขยะเทเข้ามาในตัวรถ ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ โดยไม่ต้องลงจากกรถแม้แต่ก้าวเดียว

ปัจจุบันรถเก็บขยะอัจฉริยะ McNeilus Volterra ZFL ได้รับการเปิดตัวไปแล้วก็จริงแต่ยังไม่มีการเปิดเผยข้อมูลวันวางจำหน่าย คงต้องรอดูกันต่อไปว่ารถยนต์คันนี้จะถูกนำมาใช้งานจริงเมื่อใด แต่เมื่อวันนั้นมาถึงคาดว่ารถเก็บขยะอัจฉริยะนี้จะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้แก่เจ้าหน้าที่เก็บขยะอีกมาก


สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  18 กุมภาพันธ์ 2568

ที่มา: https://www.naewna.com/local/862214

ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ข้อมูลจากรายงาน Climate Risk Index 2025 โดย Germanwatch จัดอันดับประเทศเสี่ยงสูงด้านสภาพภูมิอากาศระยะยาวในช่วง 30 ปี (1993 – 2022) โดยประเทศไทยถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 30 ลดลงจากอันดับ 9 เทียบกับ 4 ปีที่แล้ว (ช่วงปี 2000 – 2019) แต่ยังต้องเตรียมพร้อมตั้งรับและปรับตัวกับสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนภายใต้ภาวะโลกเดือดอย่างต่อเนื่อง

สาเหตุที่อันดับของประเทศไทยลดลงอย่างมาก มาจากหลายปัจจัย เช่น ตลอดช่วง 3 – 4 ปีที่ผ่านมา ประเทศอื่น ๆ เผชิญกับความสูญเสียและความเสียหายจากภัยพิบัติทางสภาพอากาศที่รุนแรงกว่า สำหรับผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยลดลงเนื่องจากการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น การปรับปรุงวิธีการประเมินดัชนีความเสี่ยง ซึ่งเพิ่มตัวชี้วัดจำนวนประชากรที่ได้รับผลกระทบ และปรับเปลี่ยนช่วงระยะเวลาที่นำมาใช้ในการประเมินดัชนีความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศระยะยาว จากเดิม 20 ปี เป็น 30 ปี

ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช กล่าวทิ้งท้ายว่า ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะไม่ติดอันดับต้น ๆ ของประเทศที่มีความเสี่ยงสูงแล้ว ประเทศไทยจะยังคงเผชิญกับผลกระทบต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น อุณหภูมิที่สูงเป็นประวัติการณ์ในช่วงฤดูร้อน ภัยแล้ง ปริมาณฝนที่ตกหนักผิดปกติ จนส่งผลให้เกิดน้ำท่วม ดินถล่ม เป็นต้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการเตรียมความพร้อมรับมือและการปรับตัวให้เข้ากับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยและคนไทยมีภูมิคุ้มกันต่อภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง ท่ามกลางภัยพิบัติที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นในอนาคต


© 2025 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.