• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

Post Formats

Evaluating Value for Money of Alternative Public Private Partnership for Pak Bara Port Management Effectiveness

Research title: Evaluating Value for Money of Alternative Public Private Partnership for Pak Bara Port Management Effectiveness

Researcher name: Dr.Ratchaphong Klinsrisuk

แผนงานการประเมินความคุ้มค่าทางการเงินของรูปแบบโครงการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการท่าเรือปากบารา

A Public-Private Partnership (PPP) can be described as a co-operation between the public and the private sector in which the government and the private sector carry out a project together on the basis of an agreed division of tasks and risks, and with each party retaining its own identity and responsibilities. This study starts with assessing the qualitative and quantitative risks (through the risk assessment matrix and stress test analysis respectively) confronting port operators of the Pak Bara Deep-sea Port project with the goal of identifying a set of principles for the equitable sharing of each risk between the public and private sector parties involved. Analytical results revealed that Build-Operate-Transfer (BOT) with Net Cost Concession was best suited to the project. Next, the study examines the extent to which PPP enhances the effective delivery of public services in the project through a comparison of public and PPP performance indicators using Value for Money (VfM) and Cost-Benefit Analysis (CBA). It was found that the flexible operating efficiency of PPP can be improved and can be better value for money (VfM) than the Public Sector Comparator (PSC) tool. Finally, the study identifies the socio-economic benefits which the scheme anticipates to deliver by Economic Internal Rate of Return (EIRR) and outlines recommendations for achieving competitive advantage by best practice considerations. In conclusion, through EIRR it was determined that the socio-economic benefits of the Pak Bara Deep-sea Port project far outweighed the costs and should be launched with self-autonomous management by private sector, fair and equitable sharing of benefits based on the economic situation, serious environmental management plans, and high technology systems for trade and logistics. In addition, engagement on the part of local people and general improvements to become a maritime hub for tourism, fisheries, and commercial activities should be encouraged.

แผนงานการประเมินความคุ้มค่าทางการเงินของรูปแบบโครงการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการท่าเรือปากบารา

การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (Public Private Partnership: PPP) เป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ที่มีการตกลงแบ่งขอบเขตการดำเนินงานและความเสี่ยงไว้อย่างชัดเจนว่าใครควรเป็นผู้แบกรับความเสี่ยงไว้และต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง แผนงานนี้จึงเริ่มจากการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ด้วยตารางประเมินความเสี่ยงและการทดสอบสภาวะวิกฤตทางการเงิน บนเงื่อนไขที่ว่าภาครัฐและภาคเอกชนจะต้องได้รับการจัดสรรความเสี่ยงอย่างยุติธรรมในแต่ละประเภทความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับโครงการลงทุนก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา ซึ่งผลจากการวิจัยเกี่ยวกับการจัดสรรความเสี่ยงครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่ารูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนที่เหมาะสมต่อโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา คือ การลงทุนในรูปแบบ Build-Operate-Transfer (BOT) ที่มีลักษณะการจัดสรรรายได้แบบ Net Cost และเมื่อทราบถึงรูปแบบการร่วมลงทุนที่เหมาะสมแล้ว แผนงานนี้จึงได้ทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการให้บริการสาธารณะ ระหว่างการลงทุนโดยภาครัฐ และการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ด้วยการนำหลักการวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางการเงิน (Value for Money: VFM) และการวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ (Cost-Benefit Analysis: CBA) มาใช้ในการประเมินเพื่อเปรียบเทียบ ผลปรากฏว่า การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนมีความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า จึงก่อให้เกิดความคุ้มค่าทางการเงินมากกว่าการลงทุนโดยภาครัฐแต่เพียงผู้เดียว และในท้ายที่สุด แผนงานนี้ยังได้ทำการวิเคราะห์เพิ่มเติมครอบคลุมไปถึงการประเมินผลประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์และสังคมที่คาดว่าจะเกิดขึ้น โดยการนำอัตราผลตอบแทนภายในทางเศรษฐศาสตร์มาใช้ในการประเมิน และมีจัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันให้แก่โครงการด้วยการศึกษาจากแนวปฏิบัติที่ดีเพิ่มเติม ซึ่งผลการศึกษาพบว่า โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบาราจะก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจมากกว่าต้นทุนที่เกิดขึ้น และโครงการควรได้รับการสนับสนุนให้มีการบริหารจัดการด้วยตนเองจากภาคเอกชนอย่างเต็มรูปแบบ มีการกำหนดสัดส่วนการจัดสรรรายได้ที่คำนึงถึงสภาวะเศรษฐกิจเป็นสำคัญ มีแผนการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวด มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในเพื่อการอำนวยความสะดวกทางการค้าและโลจิสติกส์ มีตัวแทนภาคประชาชนท้องถิ่นเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในโครงการ และท้ายที่สุด ควรพัฒนาท่าเรือน้ำลึกปากบาราให้กลายเป็นศูนย์กลางด้านการขนส่งสินค้าควบคู่ไปกับการพัฒนาการท่องเที่ยวและการประมง


Accordion Menu

Newsletter Subscribe

About The Flex

Good seasons, day place male evening life after together gathered let void she'd grass created days upon after above great. Creative, prolific and ever-ready to serve you.


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.