• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
  • การจัดการโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเชิงกอล์ฟเพื่อยกระดับสู่จุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงกอล์ฟระดับโลก (ปีที่ 1)

    (Supply chain Management of Golf tourism to be World Class Golf Destination)

    อ.ดร.รัชพงษ์ กลิ่นศรีสุข

    โครงการวิจัย เรื่อง การจัดการโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเชิงกอล์ฟเพื่อยกระดับสู่จุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงกอล์ฟระดับโลก (ปีที่ 1) ดำเนินการโดยคณะผู้วิจัย ได้แก่ อ.ดร.รัชพงษ์ กลิ่นศรีสุข จากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผศ.ดร. ประพัฒชนม์ จริยพันธุ์ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง อ.ดร.ศิวพร คุณภาพดีเลิศ จากมหาวิทยาลัยบูรพา อ.ดร. ดนัยทัญ พงษ์พัชราธรเทพ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคุณวรรณวิสา อุ่นคำ จากศูนย์วิจัยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและนวัตกรรมเพื่อการค้าบนมุมมองความยั่งยืน คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)  ระยะเวลาระหว่างวันที่ 1 ธ.ค. 256130 พ.ย. 2562 มีที่มาและความสำคัญจากประเทศไทยยังมีช่องว่างของฝั่งอุปทานการให้บริการท่องเที่ยวเชิงกอล์ฟ จึงควรเร่งพัฒนาและปรับปรุงการให้บริการท่องเที่ยวเชิงกอล์ฟ เพื่อให้กอล์ฟเป็นธุรกิจที่มีอนาคต (Sunset Industry) และยกระดับความสามารถในการแข่งขันไปสู่การพัฒนาคุณภาพการบริการสนามกอล์ฟและสิ่งอำนวยความสะดวกที่สร้างประสบการณ์ให้แก่นักท่องเที่ยวเชิงกอล์ฟ ดังนั้น การศึกษาในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การจัดการโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเชิงกอล์ฟให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของนักท่องเที่ยวเชิงกอล์ฟได้ ทั้งการศึกษาฝั่งอุปสงค์ อุปทาน และพัฒนาPlatform การท่องเที่ยวเชิงกอล์ฟในการสร้างการรับรู้ข้อมูลการท่องเที่ยวเชิงกอล์ฟประเทศไทยเพิ่มขึ้น

    โครงการดังกล่าวได้รับความร่วมมือจากผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ได้แก่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวเชิงกอล์ฟและเอเจนซี่ครอบคลุมทั่วภูมิภาคของประเทศ และต่างประเทศ (จีน ญี่ปุ่น เวียดนาม สเปน และนิวซีแลนด์) มีรายละเอียดการดำเนินงาน ประกอบด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกภาครัฐและเอกชน  สำรวจสนามกอล์ฟในพื้นที่ศึกษา และเก็บข้อมูลการสำรวจการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการท่องเที่ยวเชิงกอล์ฟที่มีศักยภาพตามบริบทของแต่ละพื้นที่ รวมทั้งการจัดประชุม Focus Group ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมกันแสดงความคิดเห็นทิศทางการพัฒนาPlatform

    ผลสำเร็จของงานวิจัยมีผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป้าหมายที่ 8 การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ, เป้าหมายที่ 12 แผนการบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืน และเป้าหมายที่ 15 การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศน์ทางบก กล่าวคือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน สามารถนำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านการสร้างเครือข่ายและความร่วมมือของผู้ที่เกี่ยวข้องในโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเชิงกอล์ฟอย่างเข้มแข็ง การส่งเสริมจัดการแข่งขันกอล์ฟระดับนานาชาติ การสร้างความหลากหลายและคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการการท่องเที่ยวเชิงกอล์ฟ การกระตุ้นอุปสงค์การท่องเที่ยวเชิงกอล์ฟทั้งในประเทศและต่างประเทศ และการพัฒนาสู่การเป็นผู้นำอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงกอล์ฟ ไปเป็นข้อมูลประกอบการวางแผนการจัดการโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเชิงกอล์ฟไทยเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์กอล์ฟ แหล่งท่องเที่ยว และการบริการท่องเที่ยวเชิงกอล์ฟได้ตรงกับความต้องการของนักท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

     ทั้งนี้ ผู้สนใจข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ อ.ดร.รัชพงษ์ กลิ่นศรีสุข ศูนย์วิจัยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและนวัตกรรม โทร. 02 441 5000 ต่อ 1233 This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. หรือทางเว็บลิงค์: http://elibrary.trf.or.th/project_content.asp?PJID=SIP62T0001

  • อุทยานธรณีสตูล

    นักวิจัย

    • ผศ.ดร.ปรมิตา พันธ์วงศ์
    • รศ.ดร.นาฏสุดา ภูมิจำนงค์

    อุทยานธรณีคืออะไร อุทยานธรณีเป็นมรดกทางธรรมชาติ ก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ สู่ชุมชน สังคมในท้องถิ่น ผ่านการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา ส่งผลให้มรดกทางธรรมชาติเกิดการอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

    ทำไมสตูลจึงได้รับการรับรองเป็นอุทยานธรณีโลกแห่งแรกของประเทศไทย

    สตูลมีความร่ำรวยด้านฟอสซิลมากมายและพบหินอายุเก่าแก่ต่างๆถึง 6 อายุ สาหร่าย

    สโตมาโตไร ถ้ำ โบราณคดี ธรรมชาติที่โดดเด่น สถาปัตยกรรม ชาติพันธุ์มานิ ชุมชน วัฒนธรรม และการบริหารจัดการที่มีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนโดยเฉพาะชุมชนในพื้นที่

    อุทยานธรณีสตูลอายุเท่าไร?

    ธรณีวิทยาของภูมิประเทศอุทยานธรณีสตูลเป็นพื้นทะเลที่มีอายุมากกว่า 500 ล้านปีก่อนในสมัยแคมเบรียนซึ่งเป็นช่วงที่พื้นทะเลเป็นทรายเต็มไปด้วยสัตว์หน้าตาแปลก ๆ หลายชนิด สิ่งมีชีวิตบางชนิดที่มีลักษณะคล้ายแมงดาทะเลในปัจจุบันถูกเรียกว่าไตรโลไบต์ซึ่งฟอสซิลบนเกาะตะรุเตาเป็นหลักฐานว่าเคยมีสัตว์ชนิดนี้อยู่บริเวณนั้น

    ถ้ำทะลุ-ป่าดึกดำบรรพ์

     

    ถ้ำทะลุเป็นการเกิดถ้ำที่เรียกว่า วาโดส (Vadose cave)  ถ้ำวาโดสได้รับการพัฒนาส่วนใหญ่อยู่เหนือชั้นน้ำใต้ดิน  ภายในเขตวาโดสการระบายน้ำจะไหลออกมาอย่างอิสระภายใต้แรงโน้มถ่วงและโซนเหนือน้ำใต้ดินที่เรียกว่าโซนวาโดสนี้เนื่องจากโซนนี้มีอากาศการพัฒนาของถ้ำในเขตวาโดสส่วนใหญ่เกิดจากการกัดเซาะเนื่องจากน้ำไหล ลักษณะทางเดินในถ้ำของการพัฒนาวาโดสเป็นแนวตั้ง ร่องลึกที่พื้นทางเดินและชั้นบนผนัง ถ้าร่องรอยการกระทำของน้ำเป็นริ้วๆคล้ายเปลือกหอย (scallops) จะถูกพบที่ส่วนล่างของทางเดินน้ำที่ไหลเร็วทางเดินอาจแห้งหรืออาจมีลำธารและน้ำตกไหลอยู่ เนื่องจากแรงโน้มถ่วงควบคุมการไหลของน้ำหมายความว่าทางเดินในถ้ำวาโดส ทั้งหมดจะระบายน้ำลงสู่ที่ต่ำลักษณะของถ้ำวาโดส คือเพดานไม่มีการกัดกร่อนและการไล่ระดับสีลงอย่างต่อเนื่อง รูปแบบทางเดินหลักคดเคี้ยวและมีกุมภลักษณ์ (pothole) ทางเดินมักจะปรากฏเป็นรูปรูกุญแจ

    ที่ตั้ง หมู่ 2 ต. เขาขาว อ. ละงู จ. สตูล

    ลักษณะทางธรณี ถ้ำทะลุเป็นถ้ำแห้งขนาดความยาวประมาณ 80 เมตร หินยุคโอโดวิเชียนเช่นเดียวกับถ้ำที่พบในจังหวัดสตูล สีหินปูนคล้ำและพบฟอสซิลพวกนอติลอยด์จำนวนมาก ผนังถ้ำพบร่องรอยการกระทำของน้ำเป็นลักษณะกลมเว้าเห็นได้อย่างชัดเจนหรือที่เรียกว่ากุมลักษณ์บริเวณผนังถ้ำบางพื้นที่ ร่องรอยเหล่านี้บ่งชี้ว่าถ้ำทะลุเคยมีน้ำไหลผ่านซึ่งเป็นกระแสน้ำที่มีความเร็วและปริมาณมาก ปากถ้ำอยู่สูงจากระดับผิวดินเดิมเล็กน้อย เมื่อเดินเข้าสู่ตัวถ้ำ พบรอยพื้นถ้ำเก่าที่มีการทรุดตัวลงและเมื่อออกจากตัวถ้ำพบหลุมยุบดึกดำบรรพ์พื้นที่ประมาณ 12 ไร่ สันนิษฐานได้ว่าน้ำที่มีปริมาณมากได้ไหลออกจากตัวถ้ำและอาจมาจากบริเวณทิศทางรอบๆหลุ่มยุบและซึมลงใต้ผิวดินที่มีโครงสร้างของหินปูนและเมื่อน้ำฝนที่มีคุณสมบัติเป็นกรดคาร์บอนิคอ่อนไหลลงสู่ด้านล่างจะทำให้ชั้นหินปูนเกิดการละลายทำให้ผิวดินด้านบนค่อนๆทรุดจมตัวลงและเพิ่มขนาดความกว้างขึ้นเรื่อยๆเมื่อระยะเวลายาวนาน   

    หลุมยุบ (sinkhole) เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างหนึ่งที่ดินยุบตัวลงเป็นหลุมลึกและมีเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 1-200 เมตร ลึกตั้งแต่ 1 ถึงมากกว่า 20 เมตร เมื่อแรกเกิดปากหลุมมีลักษณะเกือบกลมและมีน้ำขังอยู่ก้นหลุม ภายหลังน้ำจะกัดเซาะดินก้นหลุมกว้างขึ้น ลักษณะคล้ายลูกน้ำเต้า ทำให้ปากหลุมพังลงมาจนเหมือนกับว่าขนาดของหลุมยุบกว้างขึ้น โดยปกติหลุมยุบจะเกิดในบริเวณที่ราบใกล้กับภูเขาที่เป็นหินปูน เนื่องจากหินปูนมีคุณสมบัติละลายน้ำ ที่มีสภาพเป็นกรดอ่อนประกอบกับภูเขาหินปูนมีรอยเลื่อนและรอยแตกมากมาย สังเกตเห็นได้ว่าภูเขาหินปูนมีหน้าผาชัน หน้าผาเป็นรอยเลื่อนและรอยแตกในหินปูนนั่นเอง บริเวณใดที่รอยแตกของหินปูนตัดกันจะเป็น บริเวณที่ทำให้เกิดโพรงได้ง่าย โพรงหินปูนถ้าอยู่พ้นผิวดินก็คือถ้ำ ถ้าไม่โผล่เรียกว่าโพรงหินปูนใต้ดิน ซึ่งจำแนกเป็น 2 ระดับ คือ โพรงหินปูนใต้ดินระดับลึก ( ลึกจากผิวดินมากกว่า 50 เมตร) และโพรงหินปูนใต้ดินระดับตื้น ( ลึกจากผิวดินไม่เกิน 50 เมตร) ส่วนใหญ่หลุมยุบจะเกิดในบริเวณที่มีโพรงหินปูนใต้ดินระดับตื้น (dmr.go.th)

    บริเวณพื้นที่หลุมยุบ ปัจจุบันมีสภาพคล้ายป่าดิบชื้นเนื่องจากถูกโอบล้อมด้วยแนวเทือกเขาหินปูน แสงแดดส่องถึงพื้นล่างค่อนข้างจำกัด ต้นไม้ส่วนมากเป็นพืชดั้งเดิมในท้องถิ่น นอกจากนี้บริเวณชะง่อนหินปูนพบต้นเขากวางอ่อนซึ่งเป็นพืชประจำถิ่นของบริเวณถ้ำเขาทะลุบริเวณหลุมยุบ  

     

     

     

     

     

     

     

     

     

  • อุทยานธรณีสตูล

    นักวิจัย

    • ผศ.ดร.ปรมิตา พันธ์วงศ์
    • รศ.ดร.นาฏสุดา ภูมิจำนงค์

     อุทยานธรณีสตูล

    “อุทยานธรณีสตูล” (Satun Geopark) ตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย ครอบคลุม 4 อำเภอของจังหวัดสตูล คือ ทุ่งหว้า มะนัง ละงู และอำเภอเมือง ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาหินปูน มีเกาะน้อยใหญ่ และชายหาดที่สวยงาม นักท่องเที่ยวสามารถสัมผัสกับธรรมชาติอันบริสุทธิ์ ความหลากหลายทางประวัติศาสตร์ และวิถีชีวิตผู้คนที่ผูกพันกับพื้นที่แห่งนี้

    ผืนดินแห่งนี้ได้บันทึกหลักฐานของโลกใต้ทะเลเมื่อ 500 ล้านปีก่อน ที่อุดมไปด้วยสิ่งมีชีวิตยุคเก่าเกิดเป็นแหล่งสร้างออกซิเจนให้กับโลกในช่วงเวลานั้นต่อมามีการยกตัวของเปลือกโลกก่อเกิดเป็นเทือกเขา และถ้ำ ซึ่งได้กลายเป็นบ้านหลังแรกของมนุษย์โบราณ ปัจจุบันผู้คนก็ยังดำรงชีวิตโดยใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของแผ่นดินนี้อยู่ และก่อเกิดเป็นวัฒนธรรมประเพณีที่มีเอกลักษณ์

    วันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2561 UNESCO ได้ประกาศอย่างเป็นทางการให้พื้นที่แหล่งธรณีวิทยาของจังหวัดสตูลเป็นอุทยานธรณีโลก อุทยานธรณีสตูลเกิดขึ้นจากความต้องการของคนในพื้นที่จังหวัดสตูลที่มีแหล่งมรดกทางธรณีวิทยาที่ทรงคุณค่าและมีความสำคัญหลายแห่ง เช่น ถ้ำเลสเตโกดอน ถ้ำภูผาเพชร ถ้ำเจ็ดคต น้ำตกวังสายทอง ปราสาทหินพันยอด ฯลฯ โดยการสนับสนุนทางวิชาการของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรธรณี จังหวัดสตูล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งชุมชนและองค์กรท้องถิ่นที่มีแหล่งมรดกทางธรณีเหล่านี้ได้รวมตัวกันพัฒนาเพื่อให้เกิดการอนุรักษ์แหล่ง มีการพัฒนาการบริหารจัดการการศึกษาและการสื่อความหมายแหล่งการท่องเที่ยวและการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน

     

    ที่ตั้ง ถ้ำภูผาเพชร ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 9 บ้านควนดินดำ ตำบลปาล์มพัฒนา อำเภอมะนัง อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอ27 กิโลเมตร ตามถนนที่ลาดยางตลอดสายจนถึงบริเวณถ้ำตั้งอยู่บนเทือกเขาหินปูน ในเขตทิวเขานครศรีธรรมราช ซึ่งเรียกว่า เขาบรรทัด ปากถ้ำหันไปทางทิศตะวันออก ทางขึ้นไม่ค่อยลาดชันนัก ความสูงจากพื้นราบถึงปากถ้ำประมาณ50 เมตร ใช้เวลาในการเดินทางจากพื้นราบถึงจุดเข้าถ้ำประมาณ20 นาที

    ชื่อเดิมของถ้ำภูผาเพชร คือ “ถ้ำลอด ถ้ำยาว หรือถ้ำเพชร” เนื่องจากถ้ำมีความยาว ลักษณะคดเคี้ยว แบ่งเป็นหลายตอน ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อย เมื่อกระทบกับแสงไฟ ผนังถ้ำมีประกายแวววาวเหมือนเพชร จึงเป็นที่มาของชื่อถ้ำเพชร ภายหลังชื่อเต็มอย่างเป็นทางการว่า ถ้ำภูผาเพชร

    ประวัติ เมื่อปี พ.ศ. 2517 ครอบครัวของนายช่วงและนางแดง รักทองจันทร์ ได้ย้ายเข้ามาอาศัยบริเวณถ้ำยาวเป็นครอบครัวแรก ในปีพ.ศ.2535 มีพระธุดงค์รูปหนึ่งมาตั้งสำนักบริเวณถ้ำยาว อยู่ได้หนึ่งปีก็จากไป ก่อนจากไปท่านได้บอกชาวบ้านว่าได้เห็นทางเข้าไปในถ้ำยาว มีถ้ำน้อยใหญ่อีกหลายถ้ำ บางถ้ำมีพื้นที่กว้างขวางสวยงาม กระทั่งปี พ.ศ.2540 นายศักดิ์ชัย บุญคง สมาชิก อบต. ตำบลปาล์มพัฒนาได้ทำการสำรวจร่วมกับทางราชการและราษฏรถ้ำภูผาเพชรจึงได้เปิดโฉมหน้าให้คนทั่วไปได้รู้จักกันทุกวันนี้

    1. ห้องเสาค้ำสุริยันและห้องหัวพญานาค

    เป็นเสาหินที่มีขนาดสูงใหญ่จึงได้ชื่อว่า “เสาค้ำสุริยัน” การเกิดของเสาหิน (cave column) เกิดจากเมื่อหินงอกหินย้อยมารวมเข้าด้วยกันโครงสร้างภายในของหินงอกหินย้อยตามแกนการเติบโตมักประกอบด้วยวงแหวนศูนย์กลางรอบช่องกลวง วงแหวนเหล่านี้แสดงถึงการเติบโตของหินงอก

     

    หินย้อยรูปร่างคล้ายหัวพญานาคเป็นหินน้ำไหลขนาดใหญ่ประกอบด้วยหินย้อยหลายรูปแบบทั้งแบบที่เป็นม่านหินย้อยและรูปร่างแบบลูกชินรักบี้ 

    2. ห้องม่านเพชร

    3. ห้องปะการัง

    ปะการังถ้ำ(Subaerial cave corals) เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการสะสมตะกอนถ้ำแบบรูพรุนที่พัฒนาขึ้นเมื่อสารละลายซึมออกมาจากผนังถ้ำโดยสะสมชั้นของผลึกแคลไซต์ท่อแคปิลลารีไม่ก่อตัวและการเติบโตสามารถพัฒนาได้ในพื้นที่ขนาดใหญ่มีเนื้อหยาบและอาจคล้ายกะหล่ำดอก

    หินงอกน้ำกระจาย (splashing stalagmite)หินงอกก่อตัวขึ้นเมื่อน้ำที่มีแร่แคลไซต์กระเด็นลงบนพื้นรูปร่างของหินงอกขึ้นอยู่กับแรงโน้มถ่วง (หินงอกมีลักษณะปลายมนในขณะที่หินย้อยมีลักษณะแหลม) และมักจะมีถ้วยสาดอยู่ที่ส่วนท้ายหรือคล้ายกับเทียนจากการโปรยลงของน้ำแร่

    ทำนบน้ำ(Rimstone) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าGours เกิดจากการที่หินน้ำไหลเป็นประเภทของตะกอนถ้ำ ในรูปแบบของเขื่อนหินทำนบน้ำเกิดจากน้ำที่ไหลลงมาตามความลาดชันชั้นน้ำบางมากบนพื้นที่ค่อนข้างใหญ่มีพื้นผิวขนาดใหญ่ เนื่องจากพื้นผิวขนาดใหญ่ทำให้น้ำสูญเสียคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศในถ้ำและเป็นผลให้แคลไซต์ตกตะกอนเกิดทำนบน้ำขนาดใหญ่ติดต่อลดหลั่นกันลงมา

     

    4. ห้องวังค้างคาวและโคมศิลาเพชร

    ห้องชมค้างคาวเป็นลานขนาดกว้างพื้นถ้ำเดิมที่ได้รับอิทธิพลของน้ำและมีร่องรอยพื้นถ้ำยุบตัวลงในอดีตมีค้างคาวอาศัยบนเพดานถ้ำจำนวนมาก

    โคมศิลาเพชรเป็นหินงอกลักษณะคล้ายโคมไฟสีเหลืองขนาดใหญ่ยังมีน้ำละลายแคลเซียมคาร์บอเนตไหลผ่านเพดานถ้ำมาทับถม  

    5. ห้องดอกบัวคว่ำ

    ดอกบัวคว่ำเป็นกลุ่มหินย้อยและบริเวณฐานเป็นหินงอกน้ำไหลที่มีสีสรรแปลกตาการก่อตัวของหินย้อย-หินงอกเกิดขึ้นภายใต้สภาวะความเป็นกรด-ด่าง กลุ่มหินย้อยก่อตัวโดยการสะสมของแคลเซียมคาร์บอเนตและแร่ธาตุอื่นๆ ซึ่งตกตะกอนจากสารละลายน้ำแร่

    6. ห้องลานเพลิน

    ลานเพลินเป็นหินย้อยประเภทหินน้ำไหล (flowstone) สารละลายของน้ำที่เคลื่อนที่ไปตามพื้นหรือผนังที่ลาดเอียงทำให้เกิดชั้นแคลเซียมคาร์บอเนต (แคลไซต์) แร่ธาตุเหล่านี้จะละลายในน้ำและจะถูกทับถมเมื่อน้ำสูญเสียคาร์บอนไดออกไซด์ที่ละลายน้ำไปจึงทำให้แร่ธาตุเหล่านี้สะสมอยู่ หินน้ำไหลมักเป็นสีขาวหรือโปร่งแสงแต่อาจมีสีต่างๆ จากแร่ธาตุที่ละลายในน้ำ

    7. ห้องอ่างศิลาน้อยและห้องอ่างศิลาใหญ่

     

    อ่างศิลาน้อยเกิดการตกผลึกของแร่แคลไซต์คลุมพื้นผิวและผนังถ้ำบนผนังถ้ำยังมีการแตกของเพดานถ้ำทำให้เกิดหินย้อยและรวมทั้งหินย้อยแบบหลอดโซดา

    อ่างศิลาใหญ่ (Rimstone Pools) เกิดจากน้ำที่ไหลลงมาตามความลาดชัน ชั้นน้ำบางมากบนพื้นที่ค่อนข้างใหญ่มีพื้นผิวขนาดใหญ่ เนื่องจากพื้นผิวขนาดใหญ่ทำให้น้ำสูญเสียคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศในถ้ำและเป็นผลให้แคลไซต์ตกตะกอนเกิดทำนบน้ำขนาดใหญ่ติดต่อลดหลั่นกันลงมา

    8. ลานแสงมรกต

     

    เป็นไฮไลต์ของถ้ำภูผาเพชรแห่งหนึ่งเป็นลานโล่งกว้างด้านเหนือของถ้ำเกิดจากบริเวณผนัง/หลังคาถ้ำทางด้านเหนือเกิดการถล่มตัวลงมาของหินขนาดใหญ่ทำให้แสงผ่านเข้ามาได้มีรูปร่างคล้ายหัวใจจึงทำให้เกิดตะไคร่น้ำและพืชสีเขียวขนาดเล็กติดตามก้อนหินขนาดใหญ่ที่ถล่มลงมาเคลือบเป็นสีเขียวคล้ายมรกต

    9. ห้องพญานาคพัน

    อยู่ด้านในลึกสุดของถ้ำภูผาเพชรปรากฎร่องรอยน้ำโบราณ สันนิษฐานว่าเป็นระดับน้ำในอดีตที่ท่วมแช่ขังพื้นที่โถงนี้เป็นเวลายาวนานมากและเมื่อถ้ำมีการวิวัฒนาการเกิดการยกตัวของแผ่นดินหรือการทรุดตัวของของแผ่นดินรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของเส้นทางน้ำ ร่องรอยนี้ยังปรากฎให้เห็นอย่างชัดเจนจนถึงปัจจุบัน

    CO2

    มีผลต่อการหายใจของผู้มาเยือนถ้ำและการเกิดหินงอกหินย้อยภายในถ้ำ ปกติถ้ำที่มีเพดานสูงหรือมีน้ำไหลผ่านจะมีปริมาณ CO2 อยู่ประมาณ 300 - 600 ppm  โดยทั่วไปปริมาณCO2 สูงกว่า 1,000 ppm อาจทำให้เกิดการหายใจที่ไม่สะดวก ภายในถ้ำปกติสภาพอากาศจะค่อนข้างสม่ำเสมอมากกว่าสภาพอากาศนอกถ้ำ ถ้ำภูผาเพชรพบว่าปริมาณ CO2  จากบริเวณปากถ้ำจนลึกเข้าไปในถ้ำจนสุดห้องมรกต มีค่าประมาณ 400-600 ppm ซึ่งจัดว่าอยู่ในระดับที่ปลอดภัยสำหรับผู้มาเยือน และควรที่จะทำการตรวจวัดอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยในช่วงที่มีผู้มาเยือนหนาแน่น เพื่อจะใช้เป็นปัจจัยในการจัดการการเที่ยวถ้ำ

    อุณหภูมิภายในถ้ำ

    อุณหภูมิภายในถ้ำส่วนมากจะสม่ำเสมอทั้งช่วงกลางวันและกลางคืน เนื่องจากถ้ำส่วนมากจะมีช่องเปิด เพียง 1 ช่อง คือช่องทางเข้า หรือ 2 ช่อง คือช่องทางเข้าและช่องทางออกด้านท้ายถ้ำ จึงทำให้อุณหภูมิภายในถ้ำค่อนข้างสม่ำเสมอเมื่อเปรียบเทียบกับอุณหภูมินอกถ้ำที่จะผันแปรไปตามช่วงเวลา แต่อุณหภูมิภายในถ้ำอาจสูงขึ้นเนื่องจากการนำสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในถ้ำ เช่นการใช้หลอดไฟส่องสว่าง การใช้ตะเกียงน้ำมันก๊าด นอกจากนี้จำนวนนักท่องเที่ยวที่มากอาจส่งผลให้อุณหภูมิในถ้ำเกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากค่าเฉลี่ยปกติ อุณหภูมิในถ้ำที่สูงขึ้นส่งผลต่อการระเหยของน้ำภายในถ้ำซึ่งส่งผลต่อการเกิดหินย้อยหินงอกและอาจส่งผลกระทบต่อทั้งผู้เข้ามาเยือนถ้ำและสิ่งมีชีวิตบางชนิดที่อาศัยในถ้ำตลอดช่วงชีวิต

     

     

     

     

     

     

  • การจัดการความรู้ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์​โดยชุมชนในอุทยานโลกสตูล

    แหล่งทุน​: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ​

    นักวิจัย

    • ผศ.ดร.ปรมิตา พันธ์วงศ์
    • รศ.ดร.นาฏสุดา ภูมิจำนงค์

    วิวัฒนาการโลก โลกมีอายุประมาณ 4,600 ล้านปี

    ในทางธรณีประวัติ มหายุคพรีแคมเบรียน (Precambrian Era) เป็นมหายุคเริ่มแรกสุดของโลกครอบคลุมช่วงเวลาตั้งแต่โลกเกิดขึ้น (4,600 ล้านปี) จนถึง 545 ล้านปี ซึ่งทั้งเทียบอายุของโลกนับตั้งแต่เกิดขึ้นมาช่วงเวลาของมหายุคพรีแคมเบรียนคิดเป็น 87% ของอายุทั้งหมดของโลกเนื่องจากเป็นยุคแรกเริ่มของโลกกระบวนการต่างๆที่เกิดขึ้นบนโลก การจัดระบบระเบียบของแร่ภายในเนื้อโลกและการปรับแต่งพื้นโลกเป็นส่วนใหญ่ทำให้มหายุคพรีแคมเบียนจึงเป็นยุคที่ไม่ค่อยมีสิ่งมีชีวิตโดดเด่น

    กำเนิดโลก

    กำเนิดโลก

    อุทยานธรณีสตูล

    “อุทยานธรณีสตูล” (Satun Geopark) ตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย ครอบคลุม 4 อำเภอของจังหวัดสตูล คือ ทุ่งหว้า มะนัง ละงู และอำเภอเมือง ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาหินปูน มีเกาะน้อยใหญ่ และชายหาดที่สวยงาม นักท่องเที่ยวสามารถสัมผัสกับธรรมชาติอันบริสุทธิ์ ความหลากหลายทางประวัติศาสตร์ และวิถีชีวิตผู้คนที่ผูกพันกับพื้นที่แห่งนี้ ผืนดินแห่งนี้ได้บันทึกหลักฐานของโลกใต้ทะเลเมื่อ 500 ล้านปีก่อน ที่อุดมไปด้วยสิ่งมีชีวิตยุคเก่าเกิดเป็นแหล่งสร้างออกซิเจนให้กับโลกในช่วงเวลานั้นต่อมามีการยกตัวของเปลือกโลกก่อเกิดเป็นเทือกเขา และถ้ำ ซึ่งได้กลายเป็นบ้านหลังแรกของมนุษย์โบราณ ปัจจุบันผู้คนก็ยังดำรงชีวิตโดยใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของแผ่นดินนี้อยู่ และก่อเกิดเป็นวัฒนธรรมประเพณีที่มีเอกลักษณ์ วันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2561 UNESCO ได้ประกาศอย่างเป็นทางการให้พื้นที่แหล่งธรณีวิทยาของจังหวัดสตูลเป็นอุทยานธรณีโลก อุทยานธรณีสตูลเกิดขึ้นจากความต้องการของคนในพื้นที่จังหวัดสตูลที่มีแหล่งมรดกทางธรณีวิทยาที่ทรงคุณค่าและมีความสำคัญหลายแห่ง เช่น ถ้ำเลสเตโกดอน ถ้ำภูผาเพชร ถ้ำเจ็ดคต น้ำตกวังสายทอง ปราสาทหินพันยอด ฯลฯ โดยการสนับสนุนทางวิชาการของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรธรณี จังหวัดสตูล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งชุมชนและองค์กรท้องถิ่นที่มีแหล่งมรดกทางธรณีเหล่านี้ได้รวมตัวกันพัฒนาเพื่อให้เกิดการอนุรักษ์แหล่ง มีการพัฒนาการบริหารจัดการการศึกษาและการสื่อความหมายแหล่งการท่องเที่ยวและการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน  

    วิวัฒนาการถ้ำและหลุมยุบ

    ถ้ำและหลุมยุบ

    ถ้ำและหลุบยุบ

    ประวัติ ถ้ำเลสเตโกดอน เป็นถ้ำหินปูนที่เกิดจากการละลาย และอิทธิพลจากระดับน้ำทะเลขึ้น-ลง มีปากทางเข้าถ้ำ 2 ทาง ทางที่ 1 เปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรณีวิทยา ตั้งอยู่ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล ทางเข้าที่ 2 ตั้งอยู่ตำบลลิพัง อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรังและปากถ้ำทางออกเชื่อมต่อกับบริเวณป่าชายเลน ที่ตำบลลิพัง อำเภอปะเหลียนอยู่ในความดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า ถ้ำเลสเตโกดอนมีเส้นทางแนวโถงหลัก 1 โถง และโถงย่อย 2 โถง โดยแนวโถงหลักเป็นเส้นทางท่องเที่ยว และโถงย่อยเป็นเส้นทางศึกษาวิจัย มีทั้งโถงบกและโถงน้ำรวมระยะทางทั้งสิ้น 3,389.01 เมตร โดยระยะทางแบ่งได้ดังนี้ เส้นทางท่องเที่ยวมีระยะทางรวม 2,569.62 เมตร เส้นทางเก็บไว้เพื่อการวิจัย เส้นทางศึกษาโถงถ้ำน้ำมีระยะทาง 706.66 เมตรเส้นทางศึกษาโถงถ้ำบกมีระยะทาง 112.73 เมตร

    ที่มาของชื่อถ้ำ “สเตโกดอน” “Stegodon” คือช้างโบราณ อายุ 1.8 ล้านปี ได้สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยแล้ว ในเดือนเมษายน 2551 ชาวบ้านได้เข้าไปที่ถ้ำวังกล้วย เพื่อจับกุ้งก้ามกรามขณะดำน้ำจับกุ้งอยู่นั้น ได้พบซากดึกดำบรรพ์ (ฟอสซิล) ลักษณะเป็นหินสีน้ำตาลไหม้ น้ำหนักประมาณ 5.3 กิโลกรัมยาวประมาณ 44 เซนติเมตร สูงประมาณ 16 เซนติเมตร ห่างจากปากทางเข้าถ้ำด้านหมู่บ้านคีรีวงประมาณ 1.6 กิโลเมตรจึงเก็บซากนั้นไว้ นักวิชาการด้านธรณีวิทยาได้มาศึกษาพบว่า ฟอสซิลดังกล่าว เป็นซากกระดูกขากรรไกรพร้อมฟันกราม ซี่ที่ 2 และ 3 ด้านล่างขวาของช้างดึกดำบรรพ์สกุลสเตโกดอน อายุประมาณ 1.8 -0.01 ล้านปีมาแล้ว อยู่ในยุคไพลสโตซีนในมหายุคซีโนโซอิก (ร่วมสมัยกับมนุษย์ยุคหิน) ช้างเอลลิฟาส 1.1 ล้านปี เขี้ยวและฟันกรามแรดโบราณสกุลคิโลธิเรียม และเกนดาธิเรียมฯลฯ นักธรณีวิทยาได้สันนิษฐานว่า ฟอสซิลช้างโบราณที่พบอาจถูกกระแสน้ำทะเลพัดพาเข้ามาในถ้ำ นับเป็นการค้นพบฟอสซิลสัตว์งวงแห่งแรกของภาคใต้ ถ้ำวังกล้วยเป็นถ้ำริมทะเลมีน้ำขึ้นน้ำลง ช่วงน้ำขึ้นจะอยู่ในระดับ 2 เมตร จากพื้นถ้ำภายในฟอสซิลกว่า 200 ชิ้น ที่สำคัญๆ คือฟันช้างสเตโกดอน ฟันช้างเอลลิฟาส เขี้ยวและฟันแรดคิโลธิเรียม เแรดเกนดาธิเรียม เขากวาง ซี่โครงกวาง เป็นต้น (www.dmr.go.th)

    ถ้ำเลสเตโกดอน

    ถ้ำเลสเตโกดอน

    1. หินย้อยนางฟ้า

    2. ห้องประติมากรรมฝาผนัง (จุดพักผ่อนลงเดินยืดเส้นยืดสาย ให้ดูผนังถ้ำ สอดแทรกความรู้ โล่หิน หินน้ำไหล ในช่วงหน้าฝนคล้ายน้ำตก เต่าหินโบราณ)

    3. ลานหยาดพิรุณ (จุดที่มีหินย้อยหลอดกาแฟ จินตนาการเป็นก้อนเมฆ การเกิดหินย้อยที่แตกต่างกัน อธิบายถึงการกำเนิดหินย้อย)

    4. สามแยกรูปตัวY ทางขวามือทางแยกสามารถเชื่อมโยงไปยังถนน ตรัง-สตูล เส้นทางนี้ไม่ใช้เพื่อการท่องเที่ยว เป็นบริเวณที่พบฟอสซิลช้างดึกดำบรรพ์) แยกซ้ายออกสู่ทะเลซึ่งเป็นเส้นทางที่ใช้ในการท่องเที่ยว

     5. หัวใจช้าง (จิตนาการว่าลอดท้องช้างและเจอหัวใจช้าง แนะนำให้นักท่องเที่ยวกำหนดอายุของหินย้อย แวะถ่ายรูป เจอปอดช้าง มีลักษณะใหญ่กว่าหัวใจช้าง)

     6. ท้องพระโรง เล่าความเชื่อของชาวบ้านเป็นบริเวณที่เพดานถ้ำสูงที่สุดและธรรมชาติสร้างอักษรโบราณรูปทรงเหมือนเสาโรมัน แนะนำให้นักท่องเที่ยวเข้าใจเรื่องการอนุรักษ์

    7. ตามหัวใจที่ปลายอุโมงค์ จุดสุดท้าย ภายในตัวถ้ำ และจะให้นักท่องเที่ยวตามหาฟอสซิล

  • การจัดการความรู้ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยชุมชนในอุทยานธรณีโลกสตูล

    Knowledge Management of Creative Tourism by Communities in Satun Geopark

    ผศ.ดร. ปรมิตา พันธ์วงศ์

    โครงการวิจัย การจัดการความรู้ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยชุมชนในอุทยานธรณีโลกสตูล ดำเนินงานโดย คณะผู้วิจัยจากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้แก่ ผศ.ดร. ปรมิตา พันธ์วงศ์ รศ.ดร.นาฏสุดา ภูมิจำนงค์ และ ดร.โทมัส นีล สเตวาส โดยได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำปีงบประมาณ 2564 ระยะเวลาดำเนินงานระหว่างวันที่ 13 มี.ค. 2563 - 12 มี.ค. 2564 มีที่มาและความสำคัญจากการท่องเที่ยวโดยชุมชน เป็นเป้าหมายหนึ่งในการพัฒนาของ UNESCO เพื่อที่จะลดปัญหาความเหลื่อมล้ำและขจัดความยากจนในพื้นที่ แต่การท่องเที่ยวเชิงธรณี (geopark) สำหรับประเทศไทยยังอยู่ในช่วงการเริ่มต้นพัฒนา กิจกรรมในการท่องเที่ยวต่าง ๆ มีความเสี่ยงที่อาจถูกทำลายคุณค่าที่ดึงดูดผู้ท่องเที่ยวเชิงนิเวศเนื่องจากสภาพแวดล้อมอันบอบบางเสื่อมสภาพลง จึงต้องพยายามทำความเข้าใจผลกระทบที่มีต่อความหลากหลายทางภูมิศาสตร์และพยายามปกป้อง รวมทั้งขยายแหล่งมรดกทางธรณีวิทยาแห่งอื่นๆ ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนอุทยานธรณีโลกสตูล ทำการวิเคราะห์ สังเคราะห์ วิพากษ์เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ที่นำไปใช้พัฒนาด้านการท่องเที่ยว พัฒนากลไกเพื่อให้การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเกิดความยั่งยืน และสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปขยายผลหรือเพิ่มประสิทธิภาพในพื้นที่อื่น ๆ ในระดับประเทศต่อไป 

    โครงการดังกล่าวได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานระดับกระทรวง ได้แก่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรธรณี กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา อุตสาหกรรมจังหวัด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคธุรกิจ และกลุ่มนำเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่อำเภอมะนัง อำเภอทุ่งหว้า และอำเภอละงู จังหวัดสตูล         มีวิธีการดำเนินงาน ได้แก่ การประยุกต์ทฤษฎี knowledge spiral ร่วมกับแนวคิดการพัฒนาการท่องเที่ยวบนฐานชุมชน และการท่องเที่ยวปลายทางยั่งยืน มาวิเคราะห์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง การวิจัยเอกสาร ศึกษาบริบทชุมชน สังเกต สัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่ม และประชุมเชิงปฏิบัติการ จัดทำร่างคู่มือสรุปองค์ความรู้การท่องเที่ยวโดยชุมชนอุทยานธรณีโลกสตูล

      ผลสำเร็จของงานวิจัยมีผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป้าหมายที่ 8 การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ กล่าวคือ มีการสร้างโอกาสการจ้างงานสำหรับชุมชนท้องถิ่น ส่งเสริมพัฒนาเศรษฐกิจระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่น เกิดการอนุรักษ์มรดกทางธรรมชาติทุกด้านอย่างองค์รวม เสริมสร้างคุณค่ามรดกทางธรณีวิทยาและวัฒนธรรมในพื้นที่ โดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถเรียนรู้ประวัติศาสตร์เชิงพื้นที่ ทำให้เกิดความตระหนักและความเข้าใจในการเก็บรักษาข้อมูลทางภูมิศาสตร์ เอื้ออำนวยต่อการขยายองค์ความรู้มรดกทางธรณีวิทยาให้เป็นที่กว้างขาง นอกจากนั้นยังบรรลุการอนุรักษ์ทรัพยากรธรณีวิทยา ทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง และทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามเป้าหมายที่ 14 การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล และเป้าหมายที่ 15 การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศน์ทางบกอีกด้วย 

    ทั้งนี้ ผู้สนใจข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ ผศ.ดร.ปรมิตา พันธ์วงศ์ โทร.02 441 5000 ต่อ 1313 อีเมล์: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. หรือทางเว็บลิงค์: http://www.thai-explore.net/search_detail/result/10939

  • โครงการอบรม หลักสูตร การตรวจประเมินการจัดการสิ่งแวดล้อม

    หัวข้อ

    รายละเอียด 

    SDG goal หลัก:

    12 แผนการบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืน

    ชื่องานวิจัย:

    โครงการอบรม หลักสูตร การตรวจประเมินการจัดการสิ่งแวดล้อม

    คณะ:

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ปีที่ดำเนินโครงการ:

    2564

    ที่มาและความสำคัญ:

    เป็นการฝึกอบรมให้ผู้ที่สนใจการตรวจประเมินการจัดการสิ่งแวดล้อม” ซึ่งหน่วยงาน องค์กรต่างๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่นISO 14001, สำนักงาน สีเขียว (Green Office) เป็นต้น

    หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย:

    สำนักงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา

    ระดับความร่วมมือ:

    ประเทศ

    รายละเอียดผลงาน:

    สามารถสร้างจิตสำนึกและความตระหนัก นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่การบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ส่งผลให้ลดค่าใช้จ่ายของสำนักงานต่าง ๆ และสามารถลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศลงได้

    การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา (ถ้ามี):

    -

    รางวัลที่ได้รับ (ถ้ามี):

    -

    ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

    (ระบุวันที่มีการนำไปใช้):

    สร้างแนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว (Green Office) เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่การบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

     

    Web link อ้างอิงการดำเนินงาน:

    https://en.mahidol.ac.th/th/RACEM

    ข้อมูลการติดต่อ:

    รองศาสตราจารย์ ดร.สยาม อรุณศรีมรกต

    โทร. 0-2441-5000 ต่อ2304  โทรศัพท์มือถือ08-1649-2158

    E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

    รูปภาพประกอบ:

      

     

    SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ:

    6, 7, 8, 9, 11, 13

  • การพัฒนาระบบการประเมินความยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย

    Developing a Sustainability Evaluation Mechanism for Institution of Higher Education in Thailand (2019) 

    โครงการวิจัย เรื่อง การพัฒนาระบบการประเมินความยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ดำเนินงานโดยคณะผู้วิจัย ได้แก่ อ. ดร. อรันย์ ศรีรัตนา ทาบูกานอน สังกัดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผศ.อลิษา สหวัชรินทร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ อ.ดร.สัณห์ รัฐวิบูลย์ จากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ โดยได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ประจำปีงบประมาณ 2562 ระยะเวลาระหว่างวันที่ 30 ส.ค. 2562 - 29 ส.ค. 2563 มีที่มาและความสำคัญจากสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทยมีความหลากหลายทั้งในเชิงขนาด ที่ตั้ง และวัฒนธรรม ปัจจัยดังกล่าวส่งผลต่อการประเมินคะแนนความยั่งยืนที่ปรากฎใน UI Green Metric จึงมุ่งเน้นการพัฒนาระบบการประเมินความยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษาที่มีความยืดหยุ่น และสามารถนำไปประยุกต์ในบริบทความหลากหลายของสถาบันการศึกษา ดังนั้นการวิจัยในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการประเมินการพัฒนาที่ยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษาที่มีความยืดหยุ่น สามารถนำไปประยุกต์ในบริบทความหลากหลายของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย รวมทั้งเผยแพร่ระบบการประเมินการพัฒนาที่ยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษาของโครงการสู่สาธารณะ

    โครงการดังกล่าวได้รับความร่วมมือจากผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ที่มีที่ตั้งทั้งในเขตเมืองและนอกเมือง ได้แก่  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มหาวิทยาลัยนอร์ทเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการวิจัย มีรายละเอียดวิธีการดำเนินงานประกอบด้วย การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง การพัฒนา (ร่าง) ระบบการประเมินความยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษา การทดสอบระบบประเมิน และการเผยแพร่ผลลัพธ์โครงการ

    ผลสำเร็จของงานวิจัยมีผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป้าหมายที่ 4 การศึกษาที่เท่าเทียม กล่าวคือ สถาบันอุดมศึกษาของรัฐขนาดใหญ่และขนาดกลางจะมีทางเลือกเกณฑ์การประเมินความยั่งยืนซึ่งประกอบด้วย Best Practice หรือตัวชี้วัดสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ สถาบันอุดมศึกษาขนาดเล็กมีระบบนำทางที่พิจารณาถึงข้อจำกัดสถาบันที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการประเมินความยั่งยืนสอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ สถาบันอุดมศึกษาของเอกชนสามารถเพิ่มอัตราผลตอบแทนได้ในระยะยาว นอกจากนั้นยังมีความสอดคล้องกับเป้าหมายที่ 6 7 และ 8 โดยพบว่าสถาบันอุดมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการมีวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ และระบบการบริหารจัดการองค์กร มีกลไกสนับสนุนการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน มีความปลอดภัยและความเป็นอยู่ที่ดี การจัดการขยะและน้ำเสีย รวมทั้งมีระบบการศึกษาที่ส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน อันเกี่ยวข้องกับตัวชี้วัดด้านการจัดการน้ำและสุขาภิบาล ด้านพลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้ และด้านการจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ ตามลำดับ 

    ทั้งนี้ ผู้สนใจข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ อ.ดร. อรันย์ ศรีรัตนา ทาบูกานอน อีเมล์: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it., This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. หรือรับชมได้ทางออนไลน์ที่ http://susathai.net/

  • Research title: Evaluating Value for Money of Alternative Public Private Partnership for Pak Bara Port Management Effectiveness

    Researcher name: Dr.Ratchaphong Klinsrisuk

    แผนงานการประเมินความคุ้มค่าทางการเงินของรูปแบบโครงการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการท่าเรือปากบารา

    A Public-Private Partnership (PPP) can be described as a co-operation between the public and the private sector in which the government and the private sector carry out a project together on the basis of an agreed division of tasks and risks, and with each party retaining its own identity and responsibilities. This study starts with assessing the qualitative and quantitative risks (through the risk assessment matrix and stress test analysis respectively) confronting port operators of the Pak Bara Deep-sea Port project with the goal of identifying a set of principles for the equitable sharing of each risk between the public and private sector parties involved. Analytical results revealed that Build-Operate-Transfer (BOT) with Net Cost Concession was best suited to the project. Next, the study examines the extent to which PPP enhances the effective delivery of public services in the project through a comparison of public and PPP performance indicators using Value for Money (VfM) and Cost-Benefit Analysis (CBA). It was found that the flexible operating efficiency of PPP can be improved and can be better value for money (VfM) than the Public Sector Comparator (PSC) tool. Finally, the study identifies the socio-economic benefits which the scheme anticipates to deliver by Economic Internal Rate of Return (EIRR) and outlines recommendations for achieving competitive advantage by best practice considerations. In conclusion, through EIRR it was determined that the socio-economic benefits of the Pak Bara Deep-sea Port project far outweighed the costs and should be launched with self-autonomous management by private sector, fair and equitable sharing of benefits based on the economic situation, serious environmental management plans, and high technology systems for trade and logistics. In addition, engagement on the part of local people and general improvements to become a maritime hub for tourism, fisheries, and commercial activities should be encouraged.

    แผนงานการประเมินความคุ้มค่าทางการเงินของรูปแบบโครงการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการท่าเรือปากบารา

    การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (Public Private Partnership: PPP) เป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ที่มีการตกลงแบ่งขอบเขตการดำเนินงานและความเสี่ยงไว้อย่างชัดเจนว่าใครควรเป็นผู้แบกรับความเสี่ยงไว้และต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง แผนงานนี้จึงเริ่มจากการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ด้วยตารางประเมินความเสี่ยงและการทดสอบสภาวะวิกฤตทางการเงิน บนเงื่อนไขที่ว่าภาครัฐและภาคเอกชนจะต้องได้รับการจัดสรรความเสี่ยงอย่างยุติธรรมในแต่ละประเภทความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับโครงการลงทุนก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา ซึ่งผลจากการวิจัยเกี่ยวกับการจัดสรรความเสี่ยงครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่ารูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนที่เหมาะสมต่อโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา คือ การลงทุนในรูปแบบ Build-Operate-Transfer (BOT) ที่มีลักษณะการจัดสรรรายได้แบบ Net Cost และเมื่อทราบถึงรูปแบบการร่วมลงทุนที่เหมาะสมแล้ว แผนงานนี้จึงได้ทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการให้บริการสาธารณะ ระหว่างการลงทุนโดยภาครัฐ และการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ด้วยการนำหลักการวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางการเงิน (Value for Money: VFM) และการวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ (Cost-Benefit Analysis: CBA) มาใช้ในการประเมินเพื่อเปรียบเทียบ ผลปรากฏว่า การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนมีความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า จึงก่อให้เกิดความคุ้มค่าทางการเงินมากกว่าการลงทุนโดยภาครัฐแต่เพียงผู้เดียว และในท้ายที่สุด แผนงานนี้ยังได้ทำการวิเคราะห์เพิ่มเติมครอบคลุมไปถึงการประเมินผลประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์และสังคมที่คาดว่าจะเกิดขึ้น โดยการนำอัตราผลตอบแทนภายในทางเศรษฐศาสตร์มาใช้ในการประเมิน และมีจัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันให้แก่โครงการด้วยการศึกษาจากแนวปฏิบัติที่ดีเพิ่มเติม ซึ่งผลการศึกษาพบว่า โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบาราจะก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจมากกว่าต้นทุนที่เกิดขึ้น และโครงการควรได้รับการสนับสนุนให้มีการบริหารจัดการด้วยตนเองจากภาคเอกชนอย่างเต็มรูปแบบ มีการกำหนดสัดส่วนการจัดสรรรายได้ที่คำนึงถึงสภาวะเศรษฐกิจเป็นสำคัญ มีแผนการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวด มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในเพื่อการอำนวยความสะดวกทางการค้าและโลจิสติกส์ มีตัวแทนภาคประชาชนท้องถิ่นเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในโครงการ และท้ายที่สุด ควรพัฒนาท่าเรือน้ำลึกปากบาราให้กลายเป็นศูนย์กลางด้านการขนส่งสินค้าควบคู่ไปกับการพัฒนาการท่องเที่ยวและการประมง

  • Research title: Marketing strategies for improving golf tourism management for selected golfer segmentation

    Researcher name: Dr. Ratchaphong Klinsrisuk

    Marketing strategies for improving golf tourism management for selected golfer segmentation

    The purpose of this research is to study the structure of golf tourism in Thailand both demand and supply sides. At the beginning, decision factors of golf destination selection were studied. Facilities capabilities for golf tourism in Thailand were studied and compared to the best practice. These lead to the development of marketing strategies for improving golf tourism in Thailand. Primary and secondary data related to marketing strategies for golf tourism were collected. Sample groups are the foreign tourists who come to play golf and other activities in the provinces that are tourist destination. Further, marketing mix strategy was used as a tool for marketing strategy development. It suggests that vision of golf tourism should be “To be the best alternative golfing destination by 2020”. Mission of golf tourism should be increasing income from golf tourism which composed of two ideas. The first idea is the development of product and service package to encourage more golf tourisms to come and stay longer in Thailand. Another idea is to make word of mouth in positive direction for presenting concept of Thai golf as “Create Your Ultimate Golf Lifestyle”. The researchers suggest five marketing strategies, 1) Present Thai golf theme as “Create Your Ultimate Golf Lifestyle” continuously 2) Develop Thailand tourism as a leading industry for golf tourism 3) Improve service quality to give good experiences and memorizes to the tourists for promoting the tourists to come back again 4) Increase travel opportunity by arranging national golf tournament and 5) Support golf course sustainability management, as the Thailand golf tourism improvement direction.

    แผนงานการกำหนดกลยุทธ์การตลาดในการพัฒนารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงกีฬากอล์ฟสำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมาย

    แผนงานวิจัยนี้ศึกษาโครงสร้างการท่องเที่ยวเชิงกีฬากอล์ฟของประเทศไทยทั้งอุปสงค์และอุปทานของการท่องเที่ยวเชิงกีฬากอล์ฟ โดยศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกสถานที่เล่นกอล์ฟของนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมายและประเมินศักยภาพของระบบอำนวยความสะดวกในการให้บริการกีฬากอล์ฟเชิงท่องเที่ยวของประเทศไทยเปรียบเทียบกับ Best practice เพื่อนำไปสู่การกำหนดกลยุทธ์การตลาดในการพัฒนารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงกีฬากอล์ฟสำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมาย ในการศึกษานี้ทำการสำรวจและเก็บข้อมูลทั้งข้อมูลปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำกลยุทธ์ทางการตลาดการท่องเที่ยวเชิงกีฬากอล์ฟสำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้ามาเล่นกอล์ฟในประเทศไทยและทำกิจกรรมอื่นๆ ควบคู่ไปกับการเล่นกอล์ฟตามพื้นที่ศึกษาในจังหวัดที่มีสนามกอล์ฟในแต่ละภูมิภาคที่มีราคาค่าใช้บริการสูงและเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ และใช้ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดเป็นเครื่องมือในการจัดทำกลยุทธ์การตลาดนี้ ผลวิจัยได้เสนอแนะกลยุทธ์ทางการตลาดในการพัฒนารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงกีฬากอล์ฟโดยได้จัดทำวิสัยทัศน์ในการเป็น “To be the best alternative golfing destination by 2020” และมีพันธกิจ คือ เพิ่มรายได้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงกอล์ฟ ประกอบด้วย 2 พันธกิจ ได้แก่ พัฒนาคุณภาพแพ็คเกจผลิตภัณฑ์และการบริการเพื่อกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวกลุ่มกอล์ฟท่องเที่ยวมากขึ้น อยู่นานขึ้น และเกิดการบอกกันปากต่อปากในประสบการณ์เชิงบวก และสร้างชื่อเสียงของการนำเสนอแบรนด์กอล์ฟของประเทศไทย “Create Your Ultimate Golf Lifestyle” รวมทั้ง เสนอแนะกลยุทธ์การตลาด 5 ข้อ ดังนี้ 1) นำเสนอแบรนด์กอล์ฟของประเทศไทย ในการเป็น “Create Your Ultimate Golf Lifestyle” อย่างต่อเนื่อง 2) พัฒนาสู่การเป็นผู้นำอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงกอล์ฟ 3) พัฒนาคุณภาพการบริการเพื่อให้เกิดประสบการณ์การท่องเที่ยวที่น่าประทับใจ และการกลับมาท่องเที่ยวซ้ำ 4) เพิ่มโอกาสการท่องเที่ยวจากการจัดการแข่งขันกอล์ฟระดับนานาชาติ และ 5) สนับสนุนการจัดการสนามกอล์ฟอย่างยั่งยืน

  • หัวข้อ

    รายละเอียด

    ชื่อโครงการ

    MU-SDGs Case Study

    การศึกษา และวิเคราะห์เชิงระบบของอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ที่มีผลต่อการหนุนเสริมโมเดลเศรษฐกิจ BCG

    Investigating and Systematically Analyzing the Effects of Eco-Industry on BCG Economy Model

    แหล่งทุน

    สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

    ส่วนงานหลัก

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ส่วนงานร่วม

    วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัย มหิดล

    ผู้ดำเนินการหลัก

    รศ.ดร.กิติกร จามรดุสิต

    ผู้ดำเนินการร่วม

    รศ.ดร.วิริยะ เตชะรุ่งโรจน์

    ดร.ภาณุวัฒน์ ประเสริฐพงษ์

    คำอธิบาย

    การพัฒนาข้อเสนอแนะแก่ระบบสนับสนุนวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมที่มีผลต่อการหนุนเสริมการขับเคลื่อนกลุ่มอุตสาหกรรมตามกรอบยุทธศาสตร์โมเดลเศรษฐกิจ BCG โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน ได้แก่การวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวกับแผนการด้านBCG ของประเทศไทยด้วยเทคนิคการจับกลุ่มคำ ลาเทนต์ ดิลิชเลท์ อัลโลเคชั่น (LDA) การวิเคราะห์งานวิจัยด้านBCG ในระดับประเทศไทยและระดับโลกด้วยวิธีวิเคราะห์บรรณมิติ (Bibliometric Analysis) และการพัฒนาโมเดลข้อเสนอแนะด้วยการสัมภาษณ์แบบกลุ่มและการวิเคราะห์องค์ประกอบด้วยวิธีQ-Methodology

    เนื้อหาMU-SDGs Case Study

    ความสำคัญ

    ผลจากที่ประเทศไทยใช้ทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ ส่งผลต่อความเสื่อมโทรมของทรัพยากรและการลดลงของความหลากหลายทางชีวภาพ เกิดของเหลือทิ้งที่สร้างมลพิษ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาสุขภาพ จึงต้องใช้งบประมาณจำนวนมากเพื่อแก้ปัญหา อีกทั้งยังไม่สามารถสร้างมูลค่าให้กับทรัพยากรได้เต็มศักยภาพ เกิดการพัฒนาแบบกระจุกตัว และก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างภาคส่วนต่างๆ  ปัจจุบันรัฐบาลจึงได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy :BCG Model) พ.ศ.2564-2569 พร้อมด้วย คณะกรรมการบริหารการพัฒนาเศรษฐกิจBCG เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจที่พัฒนาต่อยอดจากจุดแข็งของประเทศไทย การหนุนเสริมเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนตามกรอบแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ จำเป็นต้องมีกรอบแผนยุทธศาสตร์เพื่อส่งเสริมงานวิจัยให้มีบทบาทในการหนุนเสริม และต่อยอดการขับเคลื่อนตามกรอบยุทธศาสตร์ที่มีความเชื่อมโยง สอดคล้อง เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ตอบโจทย์การเติบโตบนพื้นฐานการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

     

    การศึกษานี้เป็นการศึกษารวบรวมข้อมูลสถานภาพ และข้อมูลเชิงลึกของการดำเนินงานของอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ และการขับเคลื่อนประเทศตามกรอบยุทธศาสตร์โมเดลเศรษฐกิจ BCG เพื่อนำมาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรมตามหลักวิชาการ ข้อมูลแนวทางตามกรอบยุทธศาสตร์ระดับชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แผนยุทธศาตร์การขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยโมเดลBCG รวมถึงความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยเน้นหลักการของอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ในเรื่องของการเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากร และการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ผสานกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มุ่งเป้าหมายสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน อันจะนำสู่ผลลัพธ์ของข้อเสนอแนะที่จะเป็นส่วนหนุนเสริมให้เกิดจุดคานงัดในการผลักดัน และมีผลต่อการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์การสนับสนุนทุนวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการผลักดันภาคอุตสาหกรรมของประเทศเพื่อขับเคลื่อนตามกรอบยุทธศาสตร์โมเดลBCG ทั้งนี้ได้ทำการศึกษาทั้งในกรอบภาพใหญ่ของกลุ่มอุตสาหกรรมที่เป็นเป้าหมายตามกรอบยุทธศาสตร์โมเดลBCG และกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเลียม และปิโตรเคมีที่กำหนดเป็นโมเดลในการศึกษาเชิงลึก

     

    วัตถุประสงค์โครงการ

    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะแก่ระบบสนับสนุนวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมที่มีผลต่อการหนุนเสริมการขับเคลื่อนกลุ่มอุตสาหกรรมตามกรอบยุทธศาสตร์โมเดลเศรษฐกิจ BCG คณะผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ได้แก่การวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวกับแผนการด้านBCG ของประเทศไทยด้วยเทคนิคการจับกลุ่มคำ ลาเทนต์ ดิลิชเลท์ อัลโลเคชั่น (LDA) การวิเคราะห์งานวิจัยด้านBCG ในระดับประเทศไทยและระดับโลกด้วยวิธีวิเคราะห์บรรณมิติ (Bibliometric Analysis) และการพัฒนาโมเดลข้อเสนอแนะด้วยการสัมภาษณ์แบบกลุ่มและการวิเคราะห์องค์ประกอบด้วยวิธีQ-Methodology

     

    ผลการดำเนินงาน

    ผลการวิเคราะห์เอกสารด้วย LDA พบว่ามีประเด็นหลักรวม 13 หัวข้อจากเอกสารที่เกี่ยวกับแผนการด้านBCG โดยประเด็นสำคัญที่เป็นหัวข้อที่พบมากในแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ได้แก่การสร้างความร่วมมือ (Collaboration) และนวัตกรรม (Innovation) ซึ่งนับเป็นประเด็นสำคัญในการขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจBCG ผลการวิเคราะห์บรรณมิติพบว่างานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับBCG ของประเทศไทยมีความกระจุกตัวอยู่ในบางหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเท่านั้น ข้อเสนอแนะคือควรมีงานวิจัยสหวิทยาการข้ามศาสตร์ และงานวิจัยที่เริ่มจากการตั้งโจทย์จากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมากขึ้น เป็นต้น ผลการพัฒนาโมเดลข้อเสนอแนะด้วยการสัมภาษณ์แบบกลุ่มและการวิเคราะห์องค์ประกอบด้วยQ-Methodology สรุปว่าประเทศไทยสามารถใช้วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจBCG รวม 4 รูปแบบ (Models) ได้แก่ (1) การมุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (2) การสร้างมาตรการส่งเสริม และแรงจูงใจ อย่างมีประสิทธิภาพ (3) การสร้างความร่วมมือเพื่อการพัฒนารากฐานงานวิจัย วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม และ (4) การสนับสนุนการพัฒนาท้องถิ่นอย่างมีส่วนร่วม

     

    The objective of this research is to develop suggestions for a science, research and innovation system that supports industrial advancement according to the BCG economy model. This research incorporated a mixed-method including an analysis of Thailand’s BCG-related documents using an unsupervised machine learning - topic modelling - algorithm called latent Dirichlet allocation (LDA), an analysis of research on the Thai and international levels using a bibliometric analysis method, and a development of suggestion models using inductive qualitative interviews and Q-methodology factor analysis.

     

    The results of LDA found that there are 13main topics that were discussed in BCG-related documents. The two most frequently found topics in the Action Plan - “collaboration” and “innovation” - are the key factors driving the BCG economy model. The bibliometric analysis found that Thailand’s BCG-related research often concentrates on a few technology-related topics. Suggestions include a more emphasis on multidisciplinary research and research that is initiated by other key stakeholders. Further, this research used Q-methodology to suggest four models for a science, research and innovation system of Thailand. The four models are (1)sustainable innovation acceleration, (2)efficient incentive programs, (3)collaborative research infrastructure, and (4)decentralized inclusive support.

     

    การนำไปใช้ประโยชน์

    สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้นำผลการวิจัยไปจัดทำนโยบายและกำหนดยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนโมเดล BCG ด้านการวิจัย วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม (ววน.)

     

    ผลงานตีพิมพ์

    อยู่ระหว่างการพัฒนาบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ

    ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

     

    ผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก

    ผลกระทบในระดับประเทศ การบูรณาการข้อมูลทำให้เห็นถึงสถานภาพของการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ภายในประเทศที่ผ่านมาและการขับเคลื่อนประเทศตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG ของภาคส่วนต่างๆและเชื่อมโยงจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อเสนอแนะเชิงบริหารจัดการ ข้อเสนอแนะเชิงกลยุทธ์ด้านงานวิจัยและพัฒนาไปใช้ในการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมตามโมเดลเศรษฐกิจBCG

    SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

    9

    SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

    8

    รูปหน้าปก

    รูปหน้ารายละเอียด

    Key Message

     

    ข้อเสนอแนะเชิงบริหารจัดการและการพัฒนาระบบนิเวศที่มีส่วนหนุนเสริม งานวิจัย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมตามนโยบายโมเดลเศรษฐกิจ BCG

    Links ข้อมูลเพิ่มเติม

     

    -

    สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

    ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

    Partners/Stakeholders

    -

    ตัวชี้วัดTHE Impact Ranking

    -

  • หัวข้อ

    รายละเอียด

    ชื่อโครงการ

    MU-SDGs Case Study

    แผนงานการศึกษากลไกทางการเงินสำหรับการบริหารจัดการมรดกทางธรรมชาติเพื่อการท่องเที่ยวบนความยั่งยืน

    Study of Financial Mechanism for Natural Heritage Management on Sustainable Tourism Perspective

    แหล่งทุน

    หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)

    ส่วนงานหลัก

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ส่วนงานร่วม

    -

    ผู้ดำเนินการหลัก

    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธรรมรัตน์ พุทธไทย 

    ผู้ดำเนินการร่วม

    อาจารย์ทัศนาวลัย ตันติเอกรัตน์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง จ.ตรัง)

    คำอธิบาย

     

    การปิดอุทยานแห่งชาติเพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติได้ฟื้นฟู อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเชิงพื้นที่ การจัดการกลไกทางการเงินเป็นเครื่องมือที่จะช่วยเสนอแหล่งที่มาของรายได้และวิธีการจัดสรรด้านการเงินเพื่อชดเชยกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบ เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการพื้นที่อนุรักษ์และการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

    เนื้อหาMU-SDGs Case Study

    ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการ

    เพื่อจัดทำโมเดลต้นแบบกลไกทางการเงินสำหรับการบริหารจัดการมรดกทางธรรมชาติเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

    การดำเนินการ

    1. กำหนดแผนการดำเนินโครงการโดยภาพรวม และโครงการย่อยทั้ง2 โครงการ

    2. ประสานงานกับอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอข้อมูลด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปคัดเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมในการใช้ประโยชน์ด้านCommercial area

    3. รวบรวมชั้นของข้อมูลเพื่อนำไปสู่การซ้อนทับของข้อมูล (Overlay)

    4. ประมวลผลเพื่อเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมด้านCommercial area ของอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จังหวัดตรัง

    5. ร่วมสัมภาษณ์และลงพื้นที่กับโครงการวิจัยย่อย เพื่อกำกับติดตามความก้าวหน้าของโครงการย่อยให้เป็นไปในทิศทางการดำเนินการวิจัยที่วางไว้

    6. สัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคชุมชน วิเคราะห์เกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างเศรษฐกิจ สังคม การจ้างงาน และการใช้ทรัพยากรเพื่อการท่องเที่ยว และฐานข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพที่สำคัญ

    7. รวบรวมข้อมูลจากโครงการย่อยเพื่อจัดทำรูปแบบกลไกทางการเงินสำหรับการบริหารจัดการมรดกทางธรรมชาติเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

    8. สัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคชุมชน เพื่อทำให้ทราบความเห็นเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการจัดทำกลไกทางการเงินสำหรับการบริหารจัดการมรดกทางธรรมชาติเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

    9. นำข้อมูลความเห็นที่ได้มาเพิ่มเติม/ปรับปรุงผลวิจัยเกี่ยวกับกลไกทางการเงินสำหรับการบริหารจัดการมรดกทางธรรมชาติเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จังหวัดตรัง

    10. รวบรวมข้อมูลทั้งหมดเพื่อจัดทำโมเดลต้นแบบกลไกทางการเงินสำหรับการบริหารจัดการมรดกทางธรรมชาติเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จังหวัดตรัง

    ผลการดำเนินงาน

    พบว่า กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากการปิดอุทยานเป็นแรงงานที่อยู่ในกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ลดลง โดยกลุ่มที่มีความเปราะบางมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเปราะบางที่เป็นแรงงานไร้ทักษะ เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ซึ่งเป็นสาขาตัวแทนบริษัทนำเที่ยวและการขายสินค้าเพื่อการท่องเที่ยว ได้แก่ พนักงานบริการร้านอาหาร มัคคุเทศก์ พนักงานโรงแรม และกลุ่มชุมชนในพื้นที่ กลุ่มผู้ได้ประโยชน์จากนิเวศบริการ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการที่ระบบนิเวศดีขึ้น ได้แก่ นักท่องเที่ยวกลุ่มดำน้ำลึก นักท่องเที่ยวเพื่อการพักผ่อนทั่วไป และผู้ประกอบการที่ได้รับประโยชน์จากมรดกอาเซียน งานวิจัยนี้ได้นำเสนอโมเดลต้นแบบกลไกทางการเงินสำหรับการบริหารจัดการมรดกทางธรรมชาติเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ใช้การบริหารจัดการผ่านกองทุนที่เรียกว่า กองทุนการพักฟื้นระบบนิเวศเพื่อความยั่งยืน ซึ่งกองทุนนี้มีการบริหารจัดการผ่านหน่วยงานด้านเทคนิค เป็นคณะกรรมการที่พิจารณาการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน หน่วยงานด้านวิชาการ เป็นคณะกรรมการที่ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ และหน่วยงานติดตามและประเมินผล เป็นคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการใช้เงินทุน แหล่งที่มาของเงินทุนมาจาก 3 ช่องทาง ได้แก่ การจัดเก็บค่าธรรมเนียมที่ได้ประโยชน์จากนิเวศบริการจากกลุ่มผู้ได้ประโยชน์จากนิเวศบริการ การรับบริจาค และการระดมเงินลงทุน โดยช่องทางการใช้จ่ายเงินของกองทุนมี2 ช่องทาง ได้แก่1) การจ่ายเงินให้กับผู้ดูแลระบบนิเวศ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการปิดอุทยานโดยได้รับเงินชดเชยจากการปิดอุทยานแล้ว ต้องมีหน้าที่ดูแลระบบนิเวศ และ2) การยกระดับการเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยว ซึ่งมีแนวทางส่งเสริม ประกอบด้วย1) การปล่อยกู้ให้กับสมาชิกเพื่อการพัฒนากิจการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม2) การฝึกอบรมให้กับสมาชิกเพื่อยกระดับความรู้3) การสนับสนุนงานวิชาการ4) การพัฒนาNature-Based infrastructure และสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยว และ5) การส่งเสริมการท่องเที่ยวรูปแบบอื่นในช่วงนอกฤดูกาลการท่องเที่ยวเพื่อการเป็นจุดหมายปลายทางที่สามารถเดินทางท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี

    การนำไปใช้ประโยชน์

     

    มีผลงานตีพิมพ์

     

    Abstract

    From the policy concept of closing national parks for natural resource restoration, it is an idea that pays attention to the economy and conservation of natural resources at the same time. However, it will affect the tourism economy when the national park is closed. Local communities and entrepreneurs will lose their income and employment during the national park closure. Meanwhile, natural resources recover through increased ecological integrity and biodiversity. The ultimate goal of the research is to propose a financial mechanism for the management of natural heritage for sustainable tourism. The scope of the study area is Hat Chao Mai National Park in Trang province.

     

    The results of this research found that the group affected by the closure of the national parks was a decline in tourism activity. The most vulnerable groups were unskilled workers who were the most affected. These unskilled workers are travel agencies and sales of tourism products, such as restaurant service staff, tour guides, hotel staff and community groups in the area. Beneficiaries who benefit from the better ecosystem are tourists in scuba diving groups, leisure tourists and entrepreneurs who benefit from ASEAN heritage parks. Finally, this research presents a model financial mechanism for managing natural heritage for sustainable tourism. It is managed through the so-called fund of “Sustainable Ecosystem Recovery Fund”. This fund is managed through technical department who is a committee that considers financial assistance, academic department who is a committee that provides academic assistance and monitoring and evaluation agency who is a committee for monitoring and evaluating the use of funds. This fund receives funding from three major sources - collecting fees from beneficiaries’ groups, donations, and fundraising. There are two methods of expenditure of funds for the fund: 1)payments to the ecosystem administrator who affected by the closure of the national park has received compensation for the closure of the park. and must be responsible for maintaining ecosystems and 2)upgrading to tourism destinations, consisting of 1)lending to members for the development of environmentally friendly businesses 2)training for members to upgrade their knowledge 3)supporting academic work 4)developing nature-based infrastructure and tourism facilities and 5)promoting tourism during the low season as a tourism destination that can be traveled all year round.

    ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

    งานวิจัยนี้จะสามารถทำให้ทราบรูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนทั้งการวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐกิจ กรณีการปิดอุทยานแห่งชาติเพื่อพักฟื้นทรัพยากรธรรมชาติ และการประเมินผลประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์และแรงจูงใจทางการเงินเพื่อสนับสนุนการพักฟื้นทรัพยากรธรรมชาติ

    ผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก

    ระดับชุมชน - โมเดลต้นแบบกลไกทางการเงินสำหรับการบริหารจัดการมรดกทางธรรมชาติเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จังหวัดตรัง

    ระดับประเทศ-สร้างโมเดลต้นแบบกลไกทางการเงินสำหรับการบริหารจัดการมรดกทางธรรมชาติเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีปิดอุทยานแห่งชาติต่าง ๆ ภายในประเทศ เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติได้ฟื้นฟู

    SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

    8

    SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

    12

    รูปหน้าปก 

    รูปหน้ารายละเอียด

    ไฟล์แนบรูป

    Key Message

    การวิเคราะห์กลไกทางการเงินที่สามารถชดเชยรายได้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปิดอุทยานแห่งชาติ ก่อให้เกิดความสามารถในการรักษาสมดุลระหว่างผู้ที่ใช้ประโยชน์และผู้เสียประโยชน์หรือกลุ่มเปราะบาง

    Links ข้อมูลเพิ่มเติม

     

    สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

    ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

    Partners/Stakeholders

    การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานตรัง

    อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม – เกาะลิบง

    ผู้ประกอบการที่เกี่ยวกับท่องเที่ยว ชุมชนในพื้นที่ อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม

    ตัวชี้วัดTHE Impact Ranking

     

  • หัวข้อ

    รายละเอียด

    ชื่อโครงการ

    MU-SDGs Case Study

    การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันหลังสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

    Development of Health Tourism Destination for Destination Competitiveness after COVID-19 Pandemic

    แหล่งทุน

    หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)

    ส่วนงานหลัก

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ส่วนงานร่วม

    -

    ผู้ดำเนินการหลัก

    อาจารย์ ดร.รัชพงษ์ กลิ่นศรีสุข

    ผู้ดำเนินการร่วม

    ดร.พรรณิภา อนุรักษากรกุล มหาวิทยาลัยบูรพา

    คำอธิบาย

     

    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำกลยุทธ์การตลาดสำหรับการเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยศึกษาการแบ่งกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย และศึกษาการเตรียมอุปทานการท่องเที่ยวผ่านการวางแผนกลยุทธ์การตลาดให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพให้ได้รับความพึงพอใจ จนนำไปสู่การกลับมาท่องเที่ยวซ้ำ

    เนื้อหาMU-SDGs Case Study

     

    ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการ

    1) เพื่อจัดกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเชื่อมโยงกับทรัพยากรหลักในท้องถิ่น วิถีชีวิต วัฒนธรรม การท่องเที่ยวรูปแบบอื่น 3) เพื่อศึกษาองค์ประกอบสำคัญต่อการสร้างความสามารถในการแข่งขันของจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 4) เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพของการเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเหนือคู่แข่ง และ5) เพื่อจัดทำกลยุทธ์การตลาดสำหรับการเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

     

    การดำเนินการ

    1) การเก็บข้อมูลทุติยภูมิ โดยทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลปฐมภูมิโดยสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อนำไปสู่การสร้างแบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อนำไปสู่การจัดกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของประเทศไทยซึ่งมุ่งเน้นไปที่ปัจจัยรูปแบบการดำเนินชีวิต (Lifestyle factor) เพื่อทำให้ทราบพฤติกรรมเฉพาะสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงลึกได้มากยิ่งขึ้น

    2) การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดกลุ่มของนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของประเทศไทยด้วยปัจจัยรูปแบบการดำเนินชีวิต จากนั้นจึงศึกษาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเชื่อมโยงกับทรัพยากรหลักในท้องถิ่น วิถีชีวิต วัฒนธรรม การท่องเที่ยวรูปแบบอื่นเพื่อทำให้ทราบจุดเด่นเกี่ยวกับทรัพยากรและสิ่งดึงดูดใจของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพแต่ละพื้นที่ของประเทศไทยด้วยเครื่องมือการวิเคราะห์ลำดับชั้น (Analytic Hierarchy Process: AHP) และนำไปเป็นข้อมูลนำเข้าสำหรับศึกษาองค์ประกอบสำคัญต่อการสร้างความสามารถในการแข่งขันของจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพด้วยเครื่องมือImportance Performance Analysis (IPA)

    3) การวิเคราะห์ฉากทัศน์ของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในอนาคตด้วยเครื่องมือScenario analysis และวิเคราะห์ศักยภาพของการเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพกับต่างประเทศด้วยเทคนิคDiamond model

    4) การสังเคราะห์ผลวิจัยเพื่อจัดทำกลยุทธ์การตลาดสำหรับการเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

     

    ผลการดำเนินงาน

    1) กลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของประเทศไทยที่แบ่งด้วยปัจจัยรูปแบบการดำเนินชีวิต มี 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่ม Passive Relaxer เป็นกลุ่มอายุมากกว่า 55 ปี รูปแบบการใช้ชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ 2) กลุ่มHealth Lover มีอายุอยู่ในช่วงระหว่าง 35-55 ปี มาแบบครอบครัว หรือกลุ่มเพื่อน รูปแบบการใช้ชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ 3) กลุ่มRejuvenate Searcher มีอายุอยู่ในช่วงระหว่าง 25-35 ปี มาแบบกลุ่มเพื่อน รูปแบบการใช้ชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ เป็นกลุ่มที่ตระหนักด้านสุขภาพ ใช้ชีวิตอย่างกระฉับกระเฉง และชอบอยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ 4) กลุ่มHealth Retriever มีอายุอยู่ในช่วงระหว่าง 45-65 ปี มาแบบคู่รัก รูปแบบการใช้ชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ต้องการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสุขภาพ

    2) องค์ประกอบสำคัญต่อการสร้างความสามารถในการแข่งขันของจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ได้แก่ 2.1) ความโดดเด่นของทรัพยากรและผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ2.2) คุณภาพการบริการ2.3) โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ2.4) การจัดการองค์ความรู้และความสามารถเชิงนวัตกรรม และ 2.5) การตลาดและการจัดการจุดหมายปลายทาง

    3) องค์ประกอบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่ควรมีการพัฒนา ได้แก่ สภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่พักมีความกลมกลืนและใกล้ชิดกับธรรมชาติ ความหลากหลายของการบริการการแพทย์ทางเลือก การบริการตามรูปแบบการดำเนินชีวิตเพื่อสุขภาพและสุขภาวะที่ดี (Lifestyle based services) การบริการสปาเพื่อการบำบัดและฟื้นฟูร่างกาย ทักษะการบริการของแพทย์และเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์และบุคลากรด้านการส่งเสริมสุขภาพ การฝึกอบรมพนักงานด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และจำนวนของโรงแรม/รีสอร์ทที่ผ่านการรับรองมาตรฐานระดับสากล

    4) กลยุทธ์การตลาดสู่การเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ได้แก่ 4.1) ใช้ความโดดเด่นของทรัพยากรของพื้นที่เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์4.2) ออกแบบสำหรับการสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพใหม่ๆ ได้แก่Lift up to Life, Hamonize Your Senses, Disconnect to Connect, Too Sensational Therapy 4.3) พัฒนาSupply side เพื่อรองรับการสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และ 4.4) วางแผนกิจกรรมการตลาดและช่องทางการสื่อสารมุ่งเน้นการตลาดออนไลน์

     

    การนำไปใช้ประโยชน์

    มีผลงานตีพิมพ์

     

    Abstract

    The purposes of this research are to 1)classify health tourists into clusters 2)study how health tourism is linked to local resources, lifestyles, cultures, and other forms of tourism 3)study the key components to building the competitiveness of health tourism destination 4)analyze the elements of destination competitiveness for health tourism and 5)indicate marketing strategies for health tourism destination. The scope of the study using purposive sampling was Chiang Mai, Bangkok and its vicinity, Chonburi, Phuket, Krabi and Surat Thani.

    The results of the research revealed that there are 4 groups of health tourists in Thailand divided by lifestyle factors, namely 1)Passive Relaxer who are over 55 years old, health- related lifestyle about happy with their own life, paying attention to both physical and mental health and seek new destinations to relax. 2)Health Lover who are between 35-55 years, traveling with family or friends, health- related lifestyle about relax and de-stress at work and work-life balance. 3) 3)Rejuvenate Searcher who are between 25-35 years old, traveling with friends, health- related lifestyle about active lifestyle and like being close to nature. 4)Health Retriever who are between 45-65 years old, traveling with couples, health- related lifestyle about healing and rehabilitation. The research is to study the tourism elements of health tourism in Thailand for competitiveness and meet the needs of health tourists cluster that there are 5 main components: 1)Unique resources and products of Health tourism 2)Service quality 3)Health tourism-related infrastructure and facilities 4)Innovative knowledge and competence management and 5)Marketing and destination management. The results analysis includes the potential of tourism components as a health tourism destination in Thailand with the IPA (Importance Performance Analysis). Elements of health tourism that should be developed include the environment and accommodation atmosphere in harmony and close to nature, variety of alternative medicine services, lifestyle-based services, spa services for healing and rejuvenation, service skills of physicians and medical staff and health promotion personnel, training of staff in health tourism and capacity of hotels/resorts certified to international standards.

    Moreover, this research illustrates the competitiveness of health tourism in Thailand compared to leading countries with diamond model and present a marketing strategy to become health tourism destination. Finally, the study has proposed marketing strategies that consist of four strategies as follows; 1)Use the unique resource of the area to develop a unique product (Signature product) 2)Design for creating new health tourism experiences such as Lift up to Life, Hamonize Your Senses, Disconnect to Connect, Too Sensational Therapy 3)Develop supply side to support the creation of health tourism experiences and 4)Plan marketing activities and communication channels focusing on online marketing.

    ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

    จัดทำกลยุทธ์การตลาดสำหรับการเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยศึกษาการแบ่งกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายโดยศึกษาลักษณะพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของประเทศไทย เนื่องจากนักท่องเที่ยวย่อมมีลักษณะพฤติกรรมที่แตกต่างกันไป และศึกษาการเตรียมอุปทานการท่องเที่ยวผ่านการวางแผนกลยุทธ์การตลาดให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพให้ได้รับความพึงพอใจ สร้างประสบการณ์เหนือความคาดหวัง และสร้างความมั่นใจในเรื่องความปลอดภัยของการรับบริการด้านสุขภาพและการท่องเที่ยวจนนำไปสู่การกลับมาท่องเที่ยวซ้ำ เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ทางอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศและส่งเสริมนโยบายการพัฒนาและฟื้นฟูการท่องเที่ยวจากสถานการณ์วิกฤต COVID19 ได้ในระยะยาว

    ผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก

    ระดับชุมชน – สร้างความเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพกับทรัพยากรหลักในท้องถิ่น วิถีชีวิต วัฒนธรรม การท่องเที่ยวรูปแบบอื่น ในพื้นที่ศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ พัทยา กทม. และปริมณฑล ภูเก็ต กระบี่ และสุราษฎร์ธานี

    ระดับประเทศ –  พัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่หน่วยงานภาครัฐมีบทบาทสำคัญในการช่วยผลักดันให้เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและสามารถสร้างความสามารถทางการแข่งขันได้ทั้ง 4 ธีม ผ่านกรอบแนวคิดเชิงกลยุทธ์ 4C ประกอบด้วยCollaboration, Capacity building, Connection, Communication และสร้างศักยภาพของการเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเหนือคู่แข่ง

    SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

    8

    SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

    12

    รูปหน้าปก

    รูปหน้ารายละเอียด

    การออกแบบสำหรับการสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในประเทศไทย

    Key Message

     

    การพัฒนากลยุทธ์การตลาดจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของประเทศไทย เพื่อช่วยเพิ่มรายได้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และส่งเสริมนโยบายการพัฒนาและฟื้นฟูการท่องเที่ยวจากสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ได้ในระยะยาว

    Links ข้อมูลเพิ่มเติม

     

     

    สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

    ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

    Partners/Stakeholders

    มหาวิทยาลัยบูรพา

    ตัวชี้วัดTHE Impact Ranking

    -

  • หัวข้อ

    รายละเอียด

    ชื่อโครงการ

    MU-SDGs Case Study

    การยกระดับศักยภาพการแข่งขันการท่องเที่ยวเช่าเหมาลำยอร์ชเพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว

    Improving Competitiveness in Yacht Charter Tourism for Increasing

    Opportunity of Tourism Revenue

    แหล่งทุน

    กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)

    ส่วนงานหลัก

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ส่วนงานร่วม

    -

    ผู้ดำเนินการหลัก

    อ.ดร.รัชพงษ์ กลิ่นศรีสุข

    ผู้ดำเนินการร่วม

    -

    คำอธิบาย

     

    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเช่าเหมาลำยอร์ช วิเคราะห์ความสามารถทางการแข่งขันของการท่องเที่ยวเช่าเหมาลำยอร์ช และเสนอแนะการยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวเช่าเหมาลำยอร์ช โดยเริ่มจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเช่าเหมาลำยอร์ช และสำรวจมารีน่า โดยมีพื้นที่ศึกษาจังหวัดภูเก็ต แล้ววิเคราะห์ผลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

    เนื้อหาMU-SDGs Case Study

     

    ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการ

    เพื่อศึกษาโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเช่าเหมาลำยอร์ช วิเคราะห์ความสามารถทางการแข่งขันของการท่องเที่ยวเช่าเหมาลำยอร์ช และเสนอแนะการยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวเช่าเหมาลำยอร์ช

     

    การดำเนินการ

    การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเช่าเหมาลำยอร์ช และสำรวจมารีน่า โดยมีพื้นที่ศึกษาจังหวัดภูเก็ต แล้ววิเคราะห์ผลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

     

    ผลการดำเนินงาน

    โซ่อุปทานการท่องเที่ยวเช่าเหมาลำยอร์ชในจังหวัดภูเก็ตสามารถแบ่งออกได้ 3รูปแบบ ได้แก่ 1) การเช่าแบบซุปเปอร์ยอร์ช 2) Luxury charter และ 3)One day trip charter และพบปัญหาสำคัญในโซ่อุปทาน จากนั้นวิเคราะห์สภาพแวดล้อมการแข่งขันของธุรกิจการท่องเที่ยวเช่าเหมาลำยอร์ชด้วยเครื่องมือFive force model พบว่า ธุรกิจการเช่าแบบOne day trip charter มีสภาพแวดล้อมการแข่งขันสูงต่อการทำธุรกิจ ซึ่งหมายถึงมีโอกาสถูกทดแทนด้วยสินค้าและบริการอื่นๆ และจำนวนคู่แข่งมาก ส่วนธุรกิจการเช่าแบบSuperyacht charter และLuxury charter ยังมีโอกาสในการทำธุรกิจอีกมาก เนื่องจากมีผู้ประกอบการน้อยราย และผู้ประกอบการใหม่เข้ามาทำธุรกิจยาก รวมถึงเป็นการท่องเที่ยวที่มีความเฉพาะตัว สินค้าและบริการอื่นไม่สามารถทดแทนได้ หลังจากนั้นวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันของการท่องเที่ยวเช่าเหมาลำยอร์ช ด้วยDiamond Model แล้วรวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่ได้มาวิเคราะห์ศักยภาพของการเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเช่าเหมาลำยอร์ชด้วยSWOT analysis และจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยเพื่อคัดเลือกปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่สำคัญที่ส่งผลต่อความสามารถทางการแข่งขันของการท่องเที่ยวเช่าเหมาลำยอร์ชสำหรับประเทศไทย

     

    การนำไปใช้ประโยชน์

    ระดับเชิงนโยบายกับหน่วยงานต่างๆ เช่น กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงคมนาคม เป็นต้น ที่สามารถนำผลวิจัยไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการวางแผนเชิงนโยบายสำหรับพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเช่าเหมาลำยอร์ชทั้งระบบที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และระดับเชิงปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการที่อยู่ในอุตสาหกรรมยอร์ช เช่น ผู้จัดการมารีน่า ผู้ประกอบการธุรกิจให้เช่าเรือยอร์ช เป็นต้น และสามารถนำผลวิจัยไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการวางแผนพัฒนาและยกระดับการท่องเที่ยวเช่าเหมาลำยอร์ช เพื่อสร้างความสามารถทางการแข่งขันในการเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเช่าเหมาลำยอร์ช

     

    Abstract

    The purpose of research objectives is to 1) study about yacht charter tourism supply chain, 2) analyze the competitiveness of yacht charter tourism and 3) recommend the improving competitiveness in yacht charter tourism. The scope of the study is Phuket. Data were collected from relevant literature reviews, surveys marinas in Phuket and in-depth interviews with stakeholders in the yachting sector using semi-structured interviews.

    The research results show that the yacht charter tourism supply chain in Phuket can be divided into 3 types: 1) Superyacht charter 2) Luxury charter 3) One day trip charter. Supply chain bottlenecks of yacht charter tourism were investigated. To analyze the competitive environment of the yacht charter tourism business using Five force model, it was found that One day trip charter has a highly competitive environment for doing business. This means that it is likely to be replaced by other products and services and many competitors. Superyacht charter and Luxury charter also have many business opportunities because there are few operators and new entrepreneurs entering the business are difficult as well as being a unique travel destination and the products cannot be substituted. After that, the competitiveness of yacht charter tourism was analyzed with Diamond Model and data analysis summarizes collected data to analyze the potential of yacht charter tourism destinations with SWOT analysis. The study prioritizes factors to select important internal and external factors affecting the competitiveness of yacht charter tourism in Thailand. The overview of the assessment results of the level of competence of Thai entrepreneurs of yacht charter tourism can be concluded that the sum of the weighted scores of the internal factor assessment is equal to 3.5144 total and the weighted score of the external factor assessment is equal to 2.9398. The results can be interpreted that Thai yacht charter tourism industry are highly organizational strengths and medium chance of responding to external factors. The suggestion should use the growth and build strategy.

    Therefore, the study has proposed the recommendations for the improving competitiveness in yacht charter tourism that consist of five strategies as follows; 1) Empowering Partners about increasing the number of marinas, strengthening the Thai shipbuilding and yacht maintenance industry 2) Creating Transformation about removing regulatory barriers to immigration for yachtsmen and their crew, encourage foreign businessmen to enter the business charter and develop human resources related to yacht charter 3) Advancing Experience Development about designing impressive travel experiences, organized access to popular attractions and facilitate nautical tourists who will go to cross- border travel by yacht in the ASEAN region 4) Leveraging Momentum about brand building and communicating to the target audience, prepare local people to integrate yacht charter tourism supply chain and 5) Strengthening Enablers about developing strategies to drive yacht tourism action plans, establishing a committee to drive the action plan and amended the definition of Thai ships.

    ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

    งานวิจัยนี้ทำการศึกษาโดยครอบคลุม 3 ประเด็น ได้แก่

    1) ศึกษาโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเช่าเหมาลำยอร์ช

    2) วิเคราะห์ความสามารถทางการแข่งขันของการท่องเที่ยวเช่าเหมาลำยอร์ช

    3) เสนอแนะการยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวเช่าเหมาลำยอร์ช

    โดยขอบเขตของพื้นที่ศึกษาเป็นจังหวัดภูเก็ต ซึ่งภาพรวมของผลการประเมินระดับความสามารถของผู้ประกอบการไทยที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเช่าเหมาลำยอร์ชจากงานวิจัย สามารถแปลผลได้ว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเช่าเหมาลำยอร์ชของไทยมีศักยภาพสูง และมีโอกาสปานกลางในการเติบโต ควรใช้กลยุทธ์การเติบโต เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดและรายได้ (Grow and build) สามารถนำผลวิจัยไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการวางแผนพัฒนาและยกระดับการท่องเที่ยวเช่าเหมาลำยอร์ช เพื่อสร้างความสามารถทางการแข่งขันในการเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเช่าเหมาลำยอร์ช

    ผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก

    เพื่อส่งเสริมการยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการไทย จึงควรมีความร่วมมือของผู้ส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรมยอร์ชเพื่อช่วยกันผลักดันและขับเคลื่อนร่วมกัน ซึ่งควรประกอบไปด้วย

    -          หน่วยงานภาครัฐ เช่น กรมเจ้าท่า กรมศุลกากร กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมสรรพากร กรมตำรวจ กรมสรรพสามิต กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นต้น

    -          หน่วยงานภาคเอกชน เช่น ผู้ประกอบการเช่าเหมาลำยอร์ช ผู้ให้บริการมารีน่า เอเจนซี่ยอร์ช เอเจนซี่ซุปเปอร์ยอร์ช ผู้จำหน่ายอุปกรณ์ อะไหล่ และชิ้นส่วนเรือยอร์ช บริษัทต่อเรือและซ่อมบำรุงรักษาเรือยอร์ช เป็นต้น

    -          ภาควิชาการ และภาคชุมชนที่เกี่ยวข้องกับในพื้นที่ และขจัดอุปสรรคสำคัญโดยเฉพาะกฎหมายเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการทำธุรกิจและส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ

    SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

    8

    SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

     

     

    รูปหน้าปก

    รูปหน้ารายละเอียด

    Key Message

     

    การยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวเช่าเหมาลำยอร์ชประกอบด้วย 5 ข้อ ได้แก่

    1) Empowering Partners เกี่ยวกับการเพิ่มจำนวนมารีน่าเพื่อรองรับการขยายตัว

    ของอุตสาหกรรมยอร์ช สร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมบำรุงเรือยอร์ชของไทย

    2) Creating Transformation เกี่ยวกับการขจัดอุปสรรคด้านกฎระเบียบในการเข้าเมืองของเรือยอร์ชและลูกเรือส่งเสริมให้นักธุรกิจต่างชาติเข้ามาประกอบธุรกิจเช่าเหมาลำ พัฒนาบุคลากรด้านธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเช่าเหมาลำยอร์ชที่มีมาตรฐานสากล

    3) Advancing Experience Development เกี่ยวกับการออกแบบประสบการณ์ท่องเที่ยวให้น่าประทับใจ จัดระเบียบการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม อำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวทางน้ำที่จะไปประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน

    4) Leveraging Momentum เกี่ยวกับการสร้างแบรนด์และสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมาย สร้างความพร้อมให้กับคนท้องถิ่น

    5) Strengthening Enablers เกี่ยวกับการจัดทำยุทธศาสตร์เพื่อขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการการท่องเที่ยวเชิงยอร์ช และจัดตั้งคณะขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ และแก้ไขคำจำกัดความคำว่าเรือ

    Links ข้อมูลเพิ่มเติม

     

     

    สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

    ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

    Partners/Stakeholders

    -          กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

    -          กระทรวงคมนาคม

    -          กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

    -          กระทรวงต่างประเทศ

    -          กระทรวงอุตสาหกรรม

    -          กระทรวงแรงงาน

    -          กระทรวงคมนาคม

    -          กระทรวงการคลัง

    -          กระทรวงพาณิชย์

    -          กรมเจ้าท่า

    -          กรมศุลกากร

    -          กรมโยธาธิการและผังเมือง

    -          กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

    -          กรมสรรพากร

    -          กรมตำรวจ

    -          กรมสรรพสามิต

    -          กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

    -          สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

    -          สำนักงานโยธาธิการและผังเมือง

    -          ผู้จัดการมารีน่า

    -          ผู้ประกอบการธุรกิจให้เช่าเรือยอร์ช

    -          สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต

    -          สภาอุตสาหกรรมจังหวัดภูเก็ต

    -          สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต

    -          หอการค้าภูเก็ต

    -          สมาคมธุรกิจเรือยอร์ชไทย เป็นต้น

    ตัวชี้วัดTHE Impact Ranking

    -

  • หัวข้อ

    รายละเอียด

    ชื่อโครงการ

    MU-SDGs Case Study

    การวางแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเล : การประยุกต์สู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่

    Marine Spatial Planning: Application to local practices 

    แหล่งทุน

    สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

    ส่วนงานหลัก

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    ส่วนงานร่วม

    1. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

    2. Research Center for Coastal Zone and islands, First Institute of

    Oceanography, Ministry of Natural Resources, Qingdao, China

    ผู้ดำเนินการหลัก

    ศ. ดร.สุวลักษณ์ สาธุมนัสพันธุ์

    ผู้ดำเนินการร่วม

    1. อาจารย์ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง : คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

    2. Dr. Zhiwei Zhang: Research Center for Coastal Zone and islands, First Institute of Oceanography, Ministry of Natural Resources, Qingdao, China

    คำอธิบาย

     

    โครงการได้รวบรวมองค์ความรู้ทั้งในระดับสากลและระดับชาติ และจัดการประชุมผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง อันจะนำมาซึ่งข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนการวางแผนการใช้ประโยชน์ทางทะเลสำหรับประเทศไทย และสามารถต่อยอดผลการศึกษาไปสู่การวิจัยในพื้นที่นําร่องต่อไป

     

    เนื้อหาMU-SDGs Case Study

     

    วัตถุประสงค์

    การรวบรวมและทบทวนความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับ MSP ทั้งในระดับนานาชาติและระดับชาติ เพื่อให้ได้มาซึ่งภาพรวมองค์ความรู้ สถานภาพการดำเนินงาน  แรงขับเคลื่อน และปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของMSP ซึ่งจะนำไปสู่การจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางเพื่อการขับเคลื่อนMSP

    สำหรับประเทศไทย

    การดำเนินการ

    1) การรวบรวมองค์ความรู้ระดับนานาชาติอย่างเป็นระบบ 2) การรวบรวมองค์ความรู้ระดับชาติ (Grey Literature Review) และพันธกรณี นโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง3) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเลของประเทศไทย และ 4) การจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการขับเคลื่อนการวางแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเลสำหรับประเทศไทย

    ผลการดำเนินงาน

    1) ภาพรวมองค์ความรู้ MSP: ผลงานวิจัยและบทความทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับMSP ในระดับสากลบนฐานข้อมูลScopus ในช่วงปี พ.ศ. 2546 - 2565 (มิถุนายน 2565) มีจำนวนทั้งสิ้น 1,825 ฉบับ ตีพิมพ์อยู่ในวารสารชั้นนำระดับโลกที่รวบรวมงานวิจัยด้านนโยบายทางทะเลและการจัดการทะเลและชายฝั่ง การผลิตผลงานวิจัยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดยมีการกระจายตัวตามสังกัดผู้เขียนอยู่ในภูมิภาคยุโรปสูงสุด (60%) ผลงานวิจัยส่วนใหญ่เป็นบทความวิชาการ (77%) ทั้งนี้ ในส่วนของบทความทางวิชาการของประเทศไทยที่ปรากฎในฐานข้อมูลนานาชาติตามช่วงเวลาที่สืบค้นพบว่ามีเพียง 1 ฉบับเท่านั้นในขณะผลงานวิจัยMSP ในประเทศไทย จากการสืบค้นในฐานข้อมูลระดับชาติ ช่วงปี พ.ศ. 2546 -2565 พบว่ามีผลงานที่เกี่ยวข้องกับMSP ค่อนข้างจำกัด

    2) สถานภาพ/การพัฒนา และแรงขับเคลื่อนMSP : สรุปสถานภาพและการพัฒนาMSP ทั่วโลก โดยโดยมีกระบวนการทำMSP ซึ่งจำแนกได้  6 ระยะ ครอบคลุม10 ขั้นตอน (Ehler and Douvere, 2009)  ในระดับนานาชาติMSP มีจุดเริ่มต้นจากการฟื้นฟูและอนุรักษ์แนวปะการังGreat Barrier Reef ในออสเตรเลียปี พ.ศ.2518 ซึ่งปัจจุบันมีสถานภาพอยู่ในช่วงการทบทวนแก้ไขแผนการจัดการ (ระยะที่6) ตามมาด้วยเขตการใช้ประโยชน์ในทะเลของจีนในปี พ.ศ.2532 ที่ปัจจุบันโครงการส่วนใหญ่ของประเทศจีนอยู่ในช่วงการติดตามประเมินผลและทบทวนแผนการจัดการแล้ว (ระยะ5-6) เช่นเดียวกับMSP ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา และการประยุกต์ใช้ในรูปแบบต่าง ๆ ทั่วยุโรป และจากการสนับสนุนของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยสมุทรศาสตร์ (IOC) ขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 ปัจจุบัน ประเทศหมู่เกาะขนาดเล็ก เช่น ฟิจิ ปาปัวนิวกินี และมอนต์เซอร์รัต รวมถึงประเทศในภูมิภาคแอฟริกาเริ่มเตรียมการพัฒนาแผนและพัฒนาแผนการจัดการแล้ว(ระยะ1-2) เพื่อผลักดันMSP ลงไปสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง ขณะที่ประเทศไทยมีการดำเนินงานผ่านโครงการนำร่องMSP (Flagship Project) ประจำปีงบประมาณ2564 มีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก โดยดำเนินโครงการMSP ในพื้นที่นำร่องสามแห่ง ได้แก่ เกาะล้าน และเกาะสีซัง จังหวัดชลบุรี (ระยะ2) และพื้นที่อ่าวพังงา(จังหวัดพังงา กระบี่และภูเก็ต) (ระยะ1)

    แรงขับเคลื่อน MSP จำแนกได้  17 ประเด็น เมื่อพิจารณาภาพรวมในระดับสากล แรงขับเคลื่อนMSP ที่กล่าวถึงมากที่สุดสามอันดับแรก คือ ความกังวลด้านการอนุรักษ์ (21.2%) ความกังวลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ (18.4%) และความขัดแย้งระหว่างการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ (16.0%) ตามลำดับ ขณะที่แรงขับเคลื่อนสำคัญของประเทศไทยที่กล่าวถึงมากที่สุดสามอันดับแรก คือ ความกังวลด้านการอนุรักษ์ (28.9) ความชัดแย้งการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ (23.7%) และนโยบายและภาระผูกพันด้านกฎหมาย (23.7%) ตามลำดับ

    3) ปัจจัยทีส่งผลต่อความสำเร็จของMSP: ประเทศที่นำMSP ไปประยุกต์ใช้และมีความก้าวหน้าหรือมีความสำเร็จ  มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จ คือ การมีข้อมูลที่ดีบนฐานทางวิทยาศาสตร์ มีการพัฒนาฐานข้อมูลและระบบในการจัดการประมวลผลที่มีประสิทธิภาพ การมีส่วนร่วมที่มีความหมาย จากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่หลากหลายและต่อเนื่อง และที่สำคัญคือการมีหน่วยงานผู้รับผิดชอบและกฎหมายที่ชัดเจนและเข้มแข็ง ในขณะที่ประเทศซึ่งกำลังเริ่มพัฒนาแผนMSP ของตน ในที่นี้หมายรวมถึงประเทศไทยด้วย ยังต้องพิจารณาปรับปรุง/แก้ไขในหลายปัจจัยทั้งปัจจัยข้อมูลและโปรแกรมประมวลผลที่มีประสิทธิภาพ หน่วยงานผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน ศักยภาพและความรู้ความเข้าใจของเจ้าหน้าที่ต่อMSP กฎหมายที่สนับสนุนMSP งบประมาณสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง นโยบายเชิงปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ

    4) ข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนMSP สำหรับประเทศไทย มี7 ประเด็น ได้แก่:

    (1) การมีนโยบายเชิงปฏิบัติที่ชัดเจน (2) ความชัดเจนของหน่วยงานที่มีภาระหน้าที่เกี่ยวข้องกับMSP (3) การพัฒนาขีดความสามารถของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง (4) ความยั่งยืนและเพียงพอทางการเงิน (5) ข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ การเข้าถึงข้อมูลและการจัดทำแผนที่การใช้ประโยชน์ทางทะเลในภาพรวมของประเทศ (6) การบูรณาการ (7) กระบวนการมีส่วนร่วมที่มีคุณภาพ

     

    การนำไปใช้ประโยชน์

    1. การนำเสนอปากเปล่า ในการประชุมเผยแพร่ผลงาน/สัมมนาระดับชาติ: 

    1.1 หัวข้อ “การทบทวนสถานภาพการวางแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเลในระดับสากล” สำหรับการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์ทางทะเล ครั้งที่ 7 พ.ศ.2565 ภายใต้หัวข้อ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อทะเลที่ยั่งยืน วันที่ 6 กันยายน 2565 (จัดโดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ร่วมกับสมาคมวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งประเทศไทยและมหาวิทยาลัยรามคำแหง, แหล่งอ้างอิงhttps://drive.google.com/drive/folders/1ci-SrvQiJQ4ARzC2UKJlpmw4yl_BcZ6C?fbclid=IwAR2sncyz2y2CmOkY3Gjve8mEOnmlg4Bqd8E_ianExvubw8o2OKteosFHZ3A)

    1.2 หัวข้อ “การวางแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเลคืออะไร และประยุกต์สู่การปฏิบัติได้อย่างไร” สำหรับการสัมมนาเชิงวิชาการเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศกับการวางแผนเชิงพื้นที่ทางทะเลตามแนวทางการจัดการแบบองค์รวม วันที่27 กุมภาพันธ์2566 (จัดโดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน), แหล่งอ้างอิงhttps://www.gistda.or.th/news_view.php?n_id=6779&lang=TH)

    2. การนำเสนอปากเปล่า ในการประชุมเผยแพร่ผลงาน/สัมมนาระดับนานาชาติ:

    หัวข้อ “MSP Enabling Conditions and Recommendations from Asia's Perspective” ในงานRegional Forum for Accelerating Marine Spatial Planning in the Western Pacific วันที่16 ธันวาคม2565 (จัดโดยThe Intergovernmental Oceanographic Commission of UNESCO, แหล่งอ้างอิงhttps://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/pf0000384990)

    3. การถ่ายทอดองค์ความรู้:

    3.1 หัวข้อการวางแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเล: การประยุกต์สู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่” โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร "การวางแผนเชิงพื้นที่ทางทะเล" ในช่วงวันที่31 กรกฎาคม -5 สิงหาคม2565 ณ โรงแรมเอราวัณพังงา ต.โคกกลอย อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา และช่วงวันที่ 12 - 16 มิถุนายน 2566 ณ โรงแรมนิภา การ์เด้น จังหวัดสุราษฎร์ธานี (จัดโดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, แหล่งอ้างอิงhttps://www.dmcr.go.th/detailAll/60809/nws/257 และ https://dmcrth.dmcr.go.th/omcrc/detail/17750/)

    3.2 หัวข้อ “การวางแผนการใช้พื้นที่ทะเล (Marine Spatial Planning : MSP)”  ในการอบรมหลักสูตรการคุ้มครองและจัดการทรัพยากรทางทะเลของประเทศไทย วันที่25 พฤษภาคม2566

    (จัดโดยศูนย์ฝึกอบรมสถาบันมหาสมุทรระหว่างประเทศประจำประเทศไทย (IOI Thailand) และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, แหล่งอ้างอิงhttps://www.ioinst.org/ioi-ocean-academy-1/thailand/)

    3.3 แลกเปลี่ยนประสบการณ์เขียนข้อเสนอการวิจัยและนวัตกรรม ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และโครงการวิจัยเรื่อง “การวางแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเล: การประยุกต์สู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่”  ในงานการชี้แจงกรอบการวิจัยและนวัตกรรมของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำปีงบประมาณ 2567 วันที่ 24 มิถุนายน2566 (จัดโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ,  แหล่งอ้างอิงhttps://www.nrct.go.th/news/การชี้แจงกรอบการวิจัยและนวัตกรรมของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ-วช-ประจำปีงบประมาณ-2567)

     

    ผลงานตีพิมพ์-

    ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

    เป็นโครงการวิจัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่ออนาคตของประเทศไทย เพราะมีการนำหลักการวางแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเล (Marine Spatial Planning: MSP) มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการ ส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์จากทะเลอย่างมั่นคงและยั่งยืน รักษาความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทางทะเลไปพร้อมกับการพัฒนาของภาคเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแนวทางเศรษฐกิจสีน้ำเงิน (Blue Economy)

    ผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก

    ระดับชุมชน:

    -          (การศึกษาในระดับพื้นที่มีแผนจะดำเนินงานต่อในปีที่ 2)

     

    ระดับประเทศ:

    ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น 4 ด้าน ได้แก่

    ด้านนโยบาย:  กำหนดทิศทางและขับเคลื่อน MSP ในระยะยาว และผลักดันให้เกิดการบรรลุSDGs โดยการดำเนินการตามMSP ที่เป็นรูปธรรมสามารถช่วยสนับสนุนให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายที่ 14 และเป้าหมายอื่น ๆ ที่สอดคล้อง เช่น เป้าหมายที่ 3 และ 8

    ด้านวิชาการ:สร้างองค์ความรู้ MSP สำหรับนักวิชาการและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

    ด้านสังคม: ช่วยลดความขัดแย้งในการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติและการใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเล ลดความเหลื่อมล้ำและความยากจนในสังคม

    ด้านเศรษฐกิจ: เพิ่มโอกาสให้ไทยได้พัฒนาเศรษฐกิจภาคทะเลให้เป็นBlue Economy และเพิ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่มีความยั่งยืนต่อไป

     

    ระดับโลก:

        -

    SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

    14

    SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

    3, 8

    รูปหน้าปก

    รูปหน้ารายละเอียด

     

    Key Message

     

    การวิจัย MSP จะช่วยขับเคลื่อนให้เกิดการดำเนินการวางแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเลอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ และเอื้อให้เกิดการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์ในทะเลไทยให้มีความสมดุลและยั่งยืนในระยะยาว

    Links ข้อมูลเพิ่มเติม

     

    สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

    ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

    Partners/Stakeholders

    ·        คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

    ·        Research Center for Coastal Zone and islands, First Institute of Oceanography, Ministry of Natural Resources, Qingdao, China

    ·        คณะอนุกรรมการจัดทำการแบ่งเขตการใช้ประโยชน์ทางทะเลของประเทศไทย และคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาและจัดการความรู้เพื่อผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (อจชล.) เพื่อดำเนินการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย ผ่านคณะกรรมการนโยบายการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (นปท.)

    ·        หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเลทั้งในระดับชาติและระดับพื้นที่ เช่น สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมประมง กรมเจ้าท่า กรมการท่องเที่ยว กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ  กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจังหวัด  ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลระดับจังหวัด สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค คณะกรรมการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจังหวัด  และคณะกรรมการประมงจังหวัด

    ตัวชี้วัดTHE Impact Ranking

    14.5.3

© 2025 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.