• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
Image
Image
Image
Image
เทคนิคการอ่านและการประยุกต์ใช้กฎหมายความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม

เทคนิคการอ่านและการประยุกต์ใช้กฎหมายความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ

หลักสูตร เทคนิคการอ่านและการประยุกต์ใช้กฎหมายความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม

ระหว่างวันที่ 20 – 21 ตุลาคม 2568

ณ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล

**************************************************

  1. 1. หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบัน การดำเนินงานของสถานประกอบกิจการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรงงานอุตสาหกรรม หรือธุรกิจประเภทอื่นใด ล้วนต้องเผชิญกับความท้าทายที่ซับซ้อนและหลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม การปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ไม่เพียงแต่เป็นข้อกำหนดทางกฎหมายที่ต้องปฏิบัติตามเท่านั้น แต่ยังเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างองค์กรที่ยั่งยืน มีความรับผิดชอบต่อสังคม และสามารถแข่งขันได้ในระยะยาวอีกด้วย กฎหมายความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมมีบทบาทสำคัญในการควบคุม กำกับดูแล และส่งเสริมให้สถานประกอบกิจการดำเนินการโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของพนักงาน สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี รวมถึงการป้องกันและลดผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม

อย่างไรก็ตาม ความซับซ้อนของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยมีจำนวนมากและมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ทำให้บุคลากรที่รับผิดชอบในส่วนงานดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน เจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อม วิศวกรสิ่งแวดล้อม คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน คณะกรรมการสิ่งแวดล้อม หรือผู้ตรวจติดตามระบบภายในองค์กร อาจประสบปัญหาในการทำความเข้าใจแนวคิด เจตนารมณ์ และขอบข่ายของกฎหมายแต่ละฉบับได้อย่างถ่องแท้ การขาดความเข้าใจที่ถูกต้องหรือไม่ครอบคลุม อาจนำไปสู่การตีความผิดพลาด การปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด หรือแม้กระทั่งการละเลยในประเด็นสำคัญ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ การเจ็บป่วยจากการทำงาน การถูกฟ้องร้องดำเนินคดี หรือการได้รับโทษตามกฎหมาย รวมถึงผลกระทบต่อภาพลักษณ์และชื่อเสียงขององค์กร

นอกจากนี้ การบริหารจัดการกฎหมายความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่การรับทราบข้อกฎหมายเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความสามารถในการประเมินความสอดคล้องของกฎหมายแต่ละฉบับกับสภาพการดำเนินงานจริงขององค์กร การนำกฎหมายไปประยุกต์ใช้ในการปรับปรุง แก้ไขประเด็นความปลอดภัย อาชีวอนามัย สภาพแวดล้อมในการทำงาน และสิ่งแวดล้อมภายในโรงงาน หรือสถานประกอบกิจการได้อย่างถูกต้องตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ซึ่งต้องอาศัยทักษะในการวิเคราะห์ การรวบรวมข้อมูล การจัดทำทะเบียนกฎหมาย การจัดทำแบบตรวจสอบ และการตรวจประเมินความสอดคล้อง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าองค์กรมีการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างครบถ้วนและต่อเนื่อง หากบุคลากรที่เกี่ยวข้องขาดความรู้และทักษะในส่วนนี้ ก็จะทำให้การบริหารจัดการด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

ด้วยเหตุผลดังกล่าว การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและพัฒนาทักษะเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการอ่าน การตีความ และการประยุกต์ใช้กฎหมายความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับบุคลากรในสถานประกอบกิจการ เพื่อให้พวกเขาสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนองค์กรให้มีการดำเนินงานที่ปลอดภัย ถูกสุขลักษณะ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ดังนั้น คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง จึงได้ตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างบุคลากรที่มีศักยภาพในการบริหารจัดการกฎหมายความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม โดยเล็งเห็นว่าการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการจะช่วยให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ได้เรียนรู้จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ และมีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน อันจะนำไปสู่การพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการประยุกต์ใช้กฎหมายได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ จึงได้ดำเนินการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ "เทคนิคการอ่านและการประยุกต์ใช้กฎหมายความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม" ขึ้น

  1. วัตถุประสงค์หลักสูตร (Objective)
    • เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจถึงแนวทางการบริหารกฎหมายความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม
    • เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมทราบถึงแนวคิด เจตนารมณ์ และขอบข่ายของกฎหมายความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม
    • เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถประเมินความสอดคล้องกฎหมายความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมแต่ละฉบับได้อย่างถูกต้องตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย
    • เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำกฎหมายความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมไปประยุกต์ใช้ ปรับปรุง แก้ไขประเด็นความปลอดภัย อาชีวอนามัย สภาพแวดล้อมในการทำงาน และสิ่งแวดล้อมในโรงงาน หรือสถานประกอบกิจการได้อย่างถูกต้องตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย
  1. วิธีการฝึกอบรม (Methodology)

การบรรยาย

  • ภายในสถานประกอบกิจการ (In-house training)
  • การทำกิจกรรมกลุ่ม พร้อมการนำเสนอ

 

  1. ระยะเวลาการฝึกอบรม (Course Duration)

          ระหว่างวันที่ 20 – 21 ตุลาคม 2568 (เวลา 09:00 – 16:00 น. – จำนวน 2 วัน)

4.1  ทฤษฎีและปฏิบัติ   12  ชั่วโมง (2 วัน)

4.2   ผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องเข้ารับการฝึกอบรมเต็มเวลาตลอดหลักสูตร และต้องได้รับการประเมินความรู้ ทั้งก่อนและหลังการฝึกอบรมจึงจะได้รับวุฒิบัตรเพื่อแสดงว่าผ่านการฝึกอบรม

  1. สถานที่ดำเนินงาน (Venue)                      

ณ ห้องประชุมรองศาสตราจารย์ (พิเศษ) เล็ก มอญเจริญ (4218) ชั้น 2 อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

  1. กลุ่มเป้าหมายของผู้เข้าอบรม (Who Should Attend)

          ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน เจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อม วิศวกรสิ่งแวดล้อม คณะกรรมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน คณะกรรมการสิ่งแวดล้อม ผู้ตรวจติดตามระบบภายในองค์กร

 

  1. จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม (Number of Attendees/Course)

           จำนวน 40 คน/หลักสูตร

 

  1. อัตราค่าลงทะเบียน (Registration Fee Per Delegate)

 - ท่านละ 4,000 บ. (รวมอาหารว่าง และอาหารกลางวัน)

 - โปรโมชั่นพิเศษ รับส่วนลด 10% ทันที สำหรับผู้ลงทะเบียนและชำระเงินภายในวันที่ 29 สิงหาคม 2568  

 

  1. ผู้รับผิดชอบ/หัวหน้าโครงการ

           รองศาสตราจารย์ ดร. กฤตณะ พฤกษากร

           คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

  1. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจถึงแนวทางการบริหารกฎหมายความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม และทราบถึงแนวคิด เจตนารมณ์ และขอบข่ายของกฎหมายความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสามารถประเมินความสอดคล้องกฎหมายความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมแต่ละฉบับได้อย่างถูกต้องตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ตลอดจนสามารถนำกฎหมายความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมไปประยุกต์ใช้ ปรับปรุง แก้ไขประเด็นความปลอดภัย อาชีวอนามัย สภาพแวดล้อมในการทำงาน และสิ่งแวดล้อมในโรงงาน หรือสถานประกอบกิจการได้อย่างถูกต้องตามเจตนารมณ์ของกฎหมายได้ต่อไป

 

กำหนดการโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ

“เทคนิคการอ่านและการประยุกต์ใช้กฎหมายความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม”

ระหว่างวันที่ 20 – 21 ตุลาคม 2568  

ณ ห้องประชุมรองศาสตราจารย์ (พิเศษ) เล็ก มอญเจริญ (4218) ชั้น 2 อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

เวลา

รายละเอียด

วันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม 2568

08:30 – 09:00 น.

ลงทะเบียน และทดสอบก่อนการฝึกอบรม (Pre-Test)

09:0009:05 น.

กล่าวต้อนรับผู้เข้ารับการฝึกอบรมและกล่าวเปิดโครงการฯ

โดย คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 

09:05 – 12:00 น.

-          ทบทวนความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และมาตรการควบคุม

-          แนวคิดการบริหารกฎหมายความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม

-          ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย

-          กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และกฎหมายสิ่งแวดล้อม

ฝึกปฏิบัติการ 1 โครงสร้างกฎหมาย

ฝึกปฏิบัติการ 2 เทคนิคการอ่านและการทำความเข้าใจกฎหมาย

วิทยากรบรรยาย (Facilitator) - อ.วัชรพล เดชกุล (วศ.ม.วิศวกรรมความปลอดภัย)

12:00 13:00 น.

รับประทานอาหารกลางวัน

13:00 16:30 น.

ฝึกปฏิบัติการ 2 เทคนิคการอ่านและการทำความเข้าใจกฎหมาย (ต่อ)

วิทยากรบรรยาย (Facilitator) - อ.วัชรพล เดชกุล (วศ.ม.วิศวกรรมความปลอดภัย)

16:30 – 16:45 น.

ถาม - ตอบ อภิปราย สรุปผล

วันอังคารที่ 21 ตุลาคม 2568

08:30 – 09:00 น.

ลงทะเบียน

09:00 – 12:00 น.

ฝึกปฏิบัติการ 3 เทคนิคการรวบรวมกฎหมายสิ่งแวดล้อม

ฝึกปฏิบัติการ 4 เทคนิคการจัดทำทะเบียนกฎหมายความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม

ฝึกปฏิบัติการ 5 เทคนิคการรวบรวมเอกสาร หรือแบบรายงานที่ต้องดำเนินการ หรือส่งให้เจ้าพนักงาน

วิทยากรบรรยาย (Facilitator) - อ.วัชรพล เดชกุล (วศ.ม.วิศวกรรมความปลอดภัย)

12:00 13:00 น.

รับประทานอาหารกลางวัน

13:00 16:30 น.

แนวทางการประเมินความสอดคล้องกฎหมายความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม

ฝึกปฏิบัติการที่ 6 ประเมินความสอดคล้องกฎหมายความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม

แนวทางการจัดทำแบบตรวจสอบกฎหมายความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม

ฝึกปฏิบัติการ 7 จัดทำแบบตรวจสอบกฎหมายความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม

ฝึกปฏิบัติการ 8 การตรวจประเมินความสอดคล้องการปฏิบัติตามกฎหมาย และดำเนินการแก้ไขหากพบไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้

วิทยากรบรรยาย (Facilitator) - อ.วัชรพล เดชกุล (วศ.ม.วิศวกรรมความปลอดภัย)

16:30 – 16:45 น.

ถาม - ตอบ อภิปราย สรุปผล ทดสอบหลังการฝึกอบรม (Post-Test)

 

**หมายเหตุ – กำหนดการอบรมอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

 

ผู้ประสานงานโครงการอบรม

น.ส. วิลินธร ชูโต (เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม)

โทร 02441 5000 ต่อ 2225, มือถือ 0961566999

อีเมล: vilinthorn.xut@mahidol.ac.th

 

 

 


© 2025 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.