• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
  • การจัดการความรู้เพื่อการบริหารจัดการพันธุ์ข้าว และกระบวนการจัดการเครือข่ายของ Young Smart Farmer เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม

    (Knowledge management for rice varieties and network management of Young Smart Farmer to cope with climate variability)

      

    หัวข้อ

    รายละเอียด

    SDG goal หลัก:

    12

    ชื่องานวิจัย:

    การจัดการความรู้เพื่อการบริหารจัดการพันธุ์ข้าว และกระบวนการจัดการเครือข่ายของ Young Smart Farmer เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม (Knowledge management for rice varieties and network management of Young Smart Farmer to cope with climate variability)

    คณะ:

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ผู้วิจัย:

    อ.ดร.นพพล อรุณรัตน์

    ที่มาและความสำคัญ:

    เพื่อให้มีการศึกษาและรวบรวมองค์ความรู้ในการบริหารจัดการพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับสภาพแต่ละพื้นที่ สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการเกษตร ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579)

    ขอบเขต/พื้นที่ศึกษา:

    รวบรวมและและจัดการองค์ความรู้เกี่ยวกับการคัดพันธุ์ข้าว วิเคราะห์กระบวนการสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ศึกษาในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้

    วัตถุประสงค์:

    เพื่อถอดกระบวนการเรียนรู้ การสั่งสม การถ่ายทอดองค์ความรู้ของเกษตรกรด้านการบริหารจัดการพันธุ์ข้าวในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย รวมถึงวิเคราะห์กระบวนการสร้างและการจัดการเครือข่ายของ Young Smart Farmer ที่มีการจัดการพันธุ์ข้าวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมและการใช้ประโยชน์เชิงนโยบายสาธารณะ  

    แหล่งทุนสนับสนุน:

    สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

    หน่วยงานที่ร่วมมือ:

    หน่วยงานเครือข่ายให้การสนับสนุน และส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล และกลุ่มคัดเลือกและผลิตภัณฑ์ข้าวชุมชนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดพิจิตร จังหวัดยโสธร และจังหวัดพัทลุง

     ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย:

    หน่วยงานเครือข่ายให้การสนับสนุน และส่งเสริมการเกษตร อปท. และเกษตรกรในพื้นที่

    ระดับความร่วมมือ:

    ประเทศ

    ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

    (ระบุวันที่มีการนำไปใช้):

    ประโยชน์เชิงนโยบายสาธารณะ ทั้งระดับนโยบาย (รัฐบาล) ระดับผู้บริหาร (หน่วยงานรับผิดชอบ) และระดับผู้ปฎิบัติ (ข้าราชการ เกษตรกร และประชาชนทั่วไป) โดยผ่านช่องทางการกระจายความรู้/สื่อระหว่างการวิจัย เช่น สื่อออนไลน์  สร้างเครือข่าย Young Smart Farmer สื่อสังคมออนไลน์  และการประชุมเชิงปฏิบัติการ อบรม ศึกษาดูงาน เพื่อให้เกิดการใช้ แบ่งปัน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน (31 มีนาคม 2563)  

    Web link อ้างอิงการดำเนินงาน:

    http://www.thai-explore.net/search_detail/result/9555

    รูปภาพประกอบ:

     

    SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ:

    13 15

  • ความมั่นคงด้านน้ำและระบบนิเวศในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาเพชรบุรีตอนล่าง

    (Water Security and Balance in Lower Part of Mae nam Phetchaburi Subbasin)

      

    หัวข้อ

    รายละเอียด

    SDG goal หลัก:

    6

    ชื่องานวิจัย:

    ความมั่นคงด้านน้ำและระบบนิเวศในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาเพชรบุรีตอนล่าง (Water Security and Balance in Lower Part of Mae nam Phetchaburi Subbasin)

    ชื่อผู้วิจัย:

    รศ.ดร.สุระ พัฒนเกียรติ

    คณะ:

    ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมภูมิสารสนเทศสิ่งแวดล้อมและทรัพายากร คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ที่มาและความสำคัญ:

    ลุ่มน้ำเพชรบุรีมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงปี พ.ศ.2545-2552 พบพื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างเพิ่มขึ้น ในขณะที่พื้นที่ป่าไม้ลดลง ซึ่งอาจส่งผลต่อปริมาณน้ำท่าและความสมดุลน้ำ รวมไปถึงความหลากหลายทางชีวภาพและการบริการของระบบนิเวศในพื้นที่ลุ่มน้ำ การวิจัยเพื่อการประเมินความสมดุลน้ำและความหลากหลายทางชีวภาพ จะทำให้การใช้ทรัพยากรน้ำ รวมถึงการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพเป็นไปอย่างยั่งยืนและมั่นคง

    ขอบเขต/พื้นที่ศึกษา:

    ศึกษาวิจัยความมั่นคงด้านน้ำ และมูลค่าการให้บริการของระบบนิเวศ ที่มีผลจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน รวมทั้งการประเมินทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าในพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาเพชรบุรีตอนล่าง

    วัตถุประสงค์:

    เพื่อจำแนกและคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินโดยใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ประเมินความสมดุลน้ำที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน และประเมินความหลากหลายทางชีวภาพของพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาเพชรบุรีตอนล่าง

    แหล่งทุนสนับสนุน:

    สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)

    หน่วยงานที่ร่วมมือ:

    มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

    ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย:

    กลุ่มผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและประมงในพื้นที่ กลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรม และผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

    ระดับความร่วมมือ:

    ประเทศ

    ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

    (ระบุวันที่มีการนำไปใช้):

    เป็นข้อมูลประกอบการวางแผนการพัฒนาเชิงพื้นที่ ทั้งด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อม และด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ (1 มกราคม 2563)

    Web link อ้างอิงการดำเนินงาน:

    https://drive.google.com/drive/folders/1uwuld_Ao19L8nox3KQKRQ6Rv9AMTu3iT

    รูปภาพประกอบ:

    ความมั่นคงด้านน้ำ
    ความมั่นคงด้านน้ำ

    SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ:

    SDG13 SDG15
  • โครงการค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

    หัวข้อ

    รายละเอียด

    SDG goal หลัก:

    15 การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศน์ทางบก

    ชื่อกิจกรรม/โครงการ:

    โครงการค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

    คณะ:

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม/โครงการ:

    เดือนตุลาคม – ธันวาคม พ.ศ. 2563

    สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ:

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย:

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ

    บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน)

    วัตถุประสงค์:

    มุ่งเน้นให้เยาวชนเกิดการเรียนรู้ ฝึกทักษะ การมีจิตสาธารณะ คิดเป็น ทำเป็น มีเหตุมีผล และรู้จักการคิดวิเคราะห์ผ่านกระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ ปลูกฝังเยาวชนให้เห็นถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม ตลอดจนส่งเสริมและเปิดโอกาสให้เยาวชนได้รับการเสริมสร้างทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม มุ่งหวังว่าเยาวชนที่จะเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ในอนาคตจะเป็นกลุ่มผู้นำที่จะเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงองค์ความรู้ที่ได้รับส่งต่อไปยังครอบครัว คนใกล้ชิด โรงเรียน ชุมชน และสังคม

    รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ

    เป็นการจัดกิจกรรมค่ายเยาวชนรูปแบบ Hybrid คือ มีวิธีการคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการแบบออนไลน์ และมีการศึกษาหาความรู้นอกห้องเรียนในพื้นที่จริง จ.เพชรบุรี

    กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม:

    นักเรียนสายวิทยาศาสตร์ที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 5 จากโรงเรียนทั้งของรัฐบาลและเอกชนทั่วประเทศ

    จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม:

    729 คน

    ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์จากกิจกรรม:

    เยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวัน และนำไปถ่ายทอดสู่ชุมชนและสังคมให้ได้รับทราบถึงความสำคัญของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ และเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนตลอดไป

    Web link เอกสารแนบ/รายงานข้อมูลเพิ่มเติม/

    เพื่ออ้างอิงผลลัพธ์หรือการดำเนินงาน:

    http://www.powergreencamp.com/

    SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ:

    12,13

     

     

     

  • การจัดการความรู้ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยชุมชนในอุทยานธรณีโลกสตูล

    Knowledge Management of Creative Tourism by Communities in Satun Geopark

    ผศ.ดร. ปรมิตา พันธ์วงศ์

    โครงการวิจัย การจัดการความรู้ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยชุมชนในอุทยานธรณีโลกสตูล ดำเนินงานโดย คณะผู้วิจัยจากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้แก่ ผศ.ดร. ปรมิตา พันธ์วงศ์ รศ.ดร.นาฏสุดา ภูมิจำนงค์ และ ดร.โทมัส นีล สเตวาส โดยได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำปีงบประมาณ 2564 ระยะเวลาดำเนินงานระหว่างวันที่ 13 มี.ค. 2563 - 12 มี.ค. 2564 มีที่มาและความสำคัญจากการท่องเที่ยวโดยชุมชน เป็นเป้าหมายหนึ่งในการพัฒนาของ UNESCO เพื่อที่จะลดปัญหาความเหลื่อมล้ำและขจัดความยากจนในพื้นที่ แต่การท่องเที่ยวเชิงธรณี (geopark) สำหรับประเทศไทยยังอยู่ในช่วงการเริ่มต้นพัฒนา กิจกรรมในการท่องเที่ยวต่าง ๆ มีความเสี่ยงที่อาจถูกทำลายคุณค่าที่ดึงดูดผู้ท่องเที่ยวเชิงนิเวศเนื่องจากสภาพแวดล้อมอันบอบบางเสื่อมสภาพลง จึงต้องพยายามทำความเข้าใจผลกระทบที่มีต่อความหลากหลายทางภูมิศาสตร์และพยายามปกป้อง รวมทั้งขยายแหล่งมรดกทางธรณีวิทยาแห่งอื่นๆ ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนอุทยานธรณีโลกสตูล ทำการวิเคราะห์ สังเคราะห์ วิพากษ์เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ที่นำไปใช้พัฒนาด้านการท่องเที่ยว พัฒนากลไกเพื่อให้การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเกิดความยั่งยืน และสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปขยายผลหรือเพิ่มประสิทธิภาพในพื้นที่อื่น ๆ ในระดับประเทศต่อไป 

    โครงการดังกล่าวได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานระดับกระทรวง ได้แก่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรธรณี กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา อุตสาหกรรมจังหวัด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคธุรกิจ และกลุ่มนำเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่อำเภอมะนัง อำเภอทุ่งหว้า และอำเภอละงู จังหวัดสตูล         มีวิธีการดำเนินงาน ได้แก่ การประยุกต์ทฤษฎี knowledge spiral ร่วมกับแนวคิดการพัฒนาการท่องเที่ยวบนฐานชุมชน และการท่องเที่ยวปลายทางยั่งยืน มาวิเคราะห์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง การวิจัยเอกสาร ศึกษาบริบทชุมชน สังเกต สัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่ม และประชุมเชิงปฏิบัติการ จัดทำร่างคู่มือสรุปองค์ความรู้การท่องเที่ยวโดยชุมชนอุทยานธรณีโลกสตูล

      ผลสำเร็จของงานวิจัยมีผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป้าหมายที่ 8 การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ กล่าวคือ มีการสร้างโอกาสการจ้างงานสำหรับชุมชนท้องถิ่น ส่งเสริมพัฒนาเศรษฐกิจระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่น เกิดการอนุรักษ์มรดกทางธรรมชาติทุกด้านอย่างองค์รวม เสริมสร้างคุณค่ามรดกทางธรณีวิทยาและวัฒนธรรมในพื้นที่ โดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถเรียนรู้ประวัติศาสตร์เชิงพื้นที่ ทำให้เกิดความตระหนักและความเข้าใจในการเก็บรักษาข้อมูลทางภูมิศาสตร์ เอื้ออำนวยต่อการขยายองค์ความรู้มรดกทางธรณีวิทยาให้เป็นที่กว้างขาง นอกจากนั้นยังบรรลุการอนุรักษ์ทรัพยากรธรณีวิทยา ทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง และทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามเป้าหมายที่ 14 การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล และเป้าหมายที่ 15 การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศน์ทางบกอีกด้วย 

    ทั้งนี้ ผู้สนใจข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ ผศ.ดร.ปรมิตา พันธ์วงศ์ โทร.02 441 5000 ต่อ 1313 อีเมล์: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. หรือทางเว็บลิงค์: http://www.thai-explore.net/search_detail/result/10939

  • MU Youth Camp

      

    หัวข้อ

    รายละเอียด

    SDG goal หลัก:

    11. เมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน

    ชื่อกิจกรรม/โครงการ:

    MU Youth Camp

    คณะ:

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม/โครงการ:

    1-5 เมษายน 2562

    สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ:

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย:

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยมหิดล

    วัตถุประสงค์:

    เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ กระบวนการเรียนรู้ และปลูกฝังให้ตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมในพื้นที่ของตนเอง โดยเน้นการสร้างพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจ และความรักที่มีต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัวเน้นให้เรียนรู้ผ่านกระบวนการวิทยาศาสตร์ที่เน้นให้คิด วิเคราะห์ แยกแยะ ทดลอง ออกแบบ หรือนำเสนอแนวคิดเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตและชุมชน

    รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ

    เป็นหลักสูตรระยะสั้นในช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อนของโรงเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นทั่วประเทศ ระยะเวลา 5 วัน หลักสูตรจะประกอบด้วยการบรรยายในห้องเรียน การฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ และในภาคสนาม ตลอดจนการทัศนศึกษานอกสถานที่ โดยบุคลากรที่มีความรู้ ความชำนาญในสาขาวิชาต่างๆ จากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก โดยบุคลากรเหล่านี้ มาร่วมกันกำหนดเนื้อหาทางวิชาการและวิธีการจัดการเรียนการสอนให้กับเยาวชนให้บรรลุวัตถุประสงค์สูงสุด

    กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม:

    นักเรียนระดับชั้นมํธยมศึกษาปีที่ 1-2

    - จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม:

    70 คน

    ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์จากกิจกรรม:

    เยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำไปลงมือปฏิบัติจริงโดยนำความรู้ ทักษะกระบวนการ ไปแก้ปัญหา ปรับปรุง หรือพัฒนาเกี่ยวกับประเด็นด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับชุมชน สังคม ประเทศอาเซียน และสากลต่อไป

    Web link เอกสารแนบ/รายงานข้อมูลเพิ่มเติม/

    เพื่ออ้างอิงผลลัพธ์หรือการดำเนินงาน:

    https://en.mahidol.ac.th/youthcamp/

    รูปภาพประกอบ:

     

     ค่ายเยวชนสิ่งแวดล้อม

    SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ:

    12 และ 15

  • โรงเรียนสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร

    หัวข้อ

    รายละเอียด

    SDG goal หลัก:

    11. เมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน

    ชื่อกิจกรรม/โครงการ:

    โรงเรียนสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร

    คณะ:

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม/โครงการ:

    20 เมษายน – 8 พฤษภาคม 2563

    สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ:

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย:

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ

    องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร

    วัตถุประสงค์:

    เพื่อเสริมสร้างให้เยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจ และเป็นการสร้างจิตสำนึกให้เยาวชนเห็นถึงคุณค่าและสำคัญในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

    รูปแบบการดำเนินกิจกรรม/โครงการ

    เป็นหลักสูตรอบรมระยะสั้นผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งเนื้อหาการสอน การฝึกทักษะจากการทดลอง พร้อมทั้งการปฏิบัติจริง มีการศึกษาดูงานนอกสถานที่ และการทำโครงงานกลุ่มด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ จะมีบุคลากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิ จากสถาบันการศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมกำหนดเนื้อหาและวิธีการจัดอบรมให้กับเยาวชน

    กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม:

    นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในจังหวัดสมุทรสาคร

    - จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม:

    102  คน

    ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์จากกิจกรรม:

    เยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ตลอดจนเพื่อสร้างเครือข่ายและแกนนำของเยาวชนในการสื่อสารไปสู่ครอบครัว โรงเรียน และชุมชนท้องถิ่นให้ร่วมกันพัฒนาและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของจังหวัดสมุทรสาครต่อไป

    Web link เอกสารแนบ/รายงานข้อมูลเพิ่มเติม/

    เพื่ออ้างอิงผลลัพธ์หรือการดำเนินงาน:

    https://en.mahidol.ac.th/th/samutsakhonenvischool

    รูปภาพประกอบ:

     

     

    SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ:

    12 14 และ 15

  • Project Title: Conservation of green area in Wat Pas: A case study of Ubon Ratchathani province.

    การอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวในวัดป่า กรณีศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี

    Researcher(s): Assoc. Prof. Sura Pattanakiat (Project manager), Assist. Prof. Thamarat Phutthai (Co-researcher), Uthaiwan Phewphan (Co-researcher)

    Affiliation: Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University

    Research Details (In Brief):
    This research involves the study of green areas within Wat Pas (forest monastery) in Ubon Ratchathani Province. Temporary plots were placed within the forest monastery study area, 20 meters by 50 meters in size, to study plant communities across 14 plots (13 forest monasteries). The findings suggests that the plant communities within the study areas can be classified into 2 main types, namely dry evergreen forest and dry dipterocarp forest. A list of forest monastery names, dominant species and diversity based on the Shannon-Weiner index, are shown in table 1

    Table 1. Dominant species and diversity index within each forest monastery

    In addition, the assessment of plant species within the green areas of the forest monasteries, using the International Union for Conservation of Nature (IUCN), found that there are 30 species of plants out of a total of 171 species that are on the IUCN red list. A majority of the species of plants are in the Dipterocarpaceae and Fabaceae family. These can be categorized in accordance to risk levels as Critically endangered (CR), Endangered (EN), Vulnerable (VU), Near threatened (NT) and Least concerned (LC). The status for each plant species, listed from CR to VU, are shown in table 2.

    Table 2. Plant species status under the IUCN red list

    ชื่อโครงการวิจัย: การอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวในวัดป่า กรณีศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี

    ชื่อผู้วิจัย: รองศาสตราจารย์ ดร.สุระ พัฒนเกียรติ (หัวหน้าโครงการ), ผศ.ดร.ธรรมรัตน์ พุทธไทย (ผู้ร่วมวิจัย), อุทัยวรรณ ผิวพรรณ (ผู้ร่วมวิจัย)

    ส่วนงาน: คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    รายละเอียดผลงานวิจัย (โดยย่อ):
    การศึกษาวิจัยนี้ได้ทำการสำรวจพื้นที่สีเขียวในวัดป่าโดยทำการวางแปลงชั่วคราวเพื่อศึกษาสังคมพืชในพื้นที่วัดป่า ขนาด 20x50 เมตร จำนวน 14 แปลง (13 วัด) สามารถจำแนกสังคมพืชออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ป่าดิบแล้ง และ ป่าเต็งรัง โดยแสดงรายชื่อวัด พรรณไม้เด่น และดัชนีความหลากหลายของ Shannon-Wiener ดังตารางที่ 1

    ตารางที่ 1 พรรณไม้เด่นและดัชนีความหลากหลายของ Shannon-Wiener ในแต่ละวัดป่า

     นอกจากนั้น ทำการประเมินสถานภาพของพืชที่อยู่ในพื้นที่สีเขียวของวัดป่า โดยใช้หลักเกณฑ์ของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติหรือ IUCN พบว่ามีพรรณไม้ที่อยู่ในบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ หรือ IUCN red list จำนวน 30 ชนิด จากพรรณไม้ทั้งหมด 171 ชนิด ส่วนใหญ่อยู่ในวงศ์ Dipterocarpaceae และ Fabaceae สามารถแบ่งออกได้ตามระดับความเสี่ยงคือ ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (Critically endangered; CR) ใกล้สูญพันธุ์ (Endangered; EN) มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (Vulnerable; VU) ใกล้ถูกคุกคาม (Near threatened; NT) และ มีความเสี่ยงน้อย (Least concerned; LC) โดยตารางที่ 2 แสดงสถานภาพของพันธุ์พืชในระดับ CR ถึง VU

    สถานภาพของพันธ์พืชตามหลักเกณฑ์ IUCN

    การติดต่อ:
    รองศาสตราจารย์ ดร.สุระ พัฒนเกียรติ
    โทรศัพท์ 02-441-5000 ต่อ 1221 หรือ 3344 อีเมล This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

  • การจัดการความรู้การทำนาแปลงใหญ่เพื่อการใช้ประโยชน์เชิงนโยบายสาธารณะ

    (Knowledge management of large scale agriculture for public policy)

      

    หัวข้อ

    รายละเอียด

    SDG goal หลัก:

    12

    ชื่องานวิจัย:

    การจัดการความรู้การทำนาแปลงใหญ่เพื่อการใช้ประโยชน์เชิงนโยบายสาธารณะ (Knowledge management of large scale agriculture for public policy)

    คณะ:

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ผู้วิจัย:

    รศ.ดร.นาฏสุดา ภูมิจำนงค์

    ที่มาและความสำคัญ:

    ปัจจุบันในระดับประเทศยังไม่พบการประเมินประสิทธิภาพของการทำนาแปลงใหญ่เปรียบเทียบการทำนาแบบรายย่อยโดยเฉพาะการวิจัยเชิงปริมาณ เช่น ความแตกต่างด้านต้นทุน และผลตอบแทนของเกษตรกร ความต้องการใช้น้ำ ความต้องการใช้พลังงาน และการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก งานวิจัยจึงมุ่งศึกษาตลอดห่วงโซ่การทำนาแปลงใหญ่ ครอบคลุมตลอดโครงสร้างการจัดการนาแปลงใหญ่ ตั้งแต่ระดับชาติไปจนถึงกลุ่มเกษตรกร

    ขอบเขต/พื้นที่ศึกษา:

    มีการศึกษา 3 ขั้นตอนได้แก่ ประเมินวัฎจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ ประเมินต้นทุน-ผลตอบแทน และกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน พื้นที่ศึกษาครอบคลุม พื้นที่ทำนาในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้  

    วัตถุประสงค์:

    เพื่อรวบรวมและถอดองค์ความรู้ วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ และจัดทำคู่มือสรุปองค์ความรู้การจัดการนาแปลงใหญ่แบบครบวงจร และการใช้ประโยชน์เชิงนโยบายสาธารณะ

    แหล่งทุนสนับสนุน:

    สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

    หน่วยงานที่ร่วมมือ:

    -

    ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย:

    กลุ่มเกษตรกร หน่วยงานด้านการพัฒนาที่ดิน หน่วยงานด้านการส่งเสริมการเกษตร และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ศึกษา

    ระดับความร่วมมือ:

    ระดับประเทศ

    ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

    (ระบุวันที่มีการนำไปใช้):

    ผลงานวิจัยมีคู่มือสรุปองค์ความรู้การจัดการนาแปลงใหญ่ และการใช้ประโยชน์เชิงนโยบายสาธารณะ โดยเป็นต้นแบบการจัดการความรู้กลุ่มเกษตรกร ที่ทำนาแปลงใหญ่ตามนโยบายรัฐบาล มีการต่อยอดสู่ระดับประเทศ เพื่อผลักดันแนวคิดการทำนาแปลงใหญ่ที่ก่อให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรที่ใช้ในการทำนาอย่างมีประสิทธิภาพ (30 กันยายน 2562)

    Web link อ้างอิงการดำเนินงาน:

    http://www.thai-explore.net/search_detail/result/8103

    รูปภาพประกอบ:

     

    Knowledge management of large scale agriculture for public policy

    SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ:

    13  15

  • การจัดการเขตพื้นที่ปลูกข้าวและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย: ทางเลือกและการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ

    (Management of Paddy Fields and Climate Change in Thailand: Alternative and managed Effectively)

      

    หัวข้อ

    รายละเอียด

    SDG goal หลัก:

    12

    ชื่องานวิจัย:

    การจัดการเขตพื้นที่ปลูกข้าวและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย: ทางเลือกและการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ (Management of Paddy Fields and Climate Change in Thailand: Alternative and managed Effectively)

    ชื่อผู้วิจัย:

    รศ.ดร.นาฏสุดา ภูมิจำนงค์

    คณะ:

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ที่มาและความสำคัญ:

    ระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยมีรากฐานสำคัญจากภาคเกษตรกรรมแต่ในขณะเดียวกันเกษตรกรกลับประสบปัญหาด้านการผลิตสินค้าเกษตรและการตลาดมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลผลิตทางการเกษตรเสียหาย เนื่องจากภัยธรรมชาติ (ภัยแล้ง และน้ำท่วม) การใช้ประโยชน์ที่ดินที่ไม่เหมาะสม และผลผลิตทางเกษตรล้นตลาด เนื่องจากเกษตรกรผลิตมากเกินไป ส่งผลให้ราคาผลผลิตตกต่ำ นอกจากนี้ ปัญหาการแทรกแซงราคาสินค้าเกษตร และความท้าทายจากภายนอก เช่น การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

    ขอบเขต/พื้นที่ศึกษา:

    พื้นที่ศึกษาครอบคลุม 3 ภาคคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดบุรีรัมย์ ภาคกลางจังหวัดชัยนาทและจังหวัดสุพรรณบุรี และภาคเหนือตอนล่างได้แก่จังหวัดพิจิตรและจังหวัดนครสวรรค์

    วัตถุประสงค์:

    1) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning) ของพื้นที่ปลูกข้าว

    2) เพื่อคาดการณ์ผลผลิตข้าวในอนาคตภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในแต่ละชั้นข้อมูลความเหมาะสมสำหรับการปลูกข้าว

    3) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะสำหรับขับเคลื่อนนโยบายภาครัฐในรูปแบบการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning) และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของภาคการเกษตรไทย (31 มกราคม 2563)

    แหล่งทุนสนับสนุน:

    สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)

    หน่วยงานที่ร่วมมือ:

    กรมพัฒนาที่ดิน

    ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย:

    เกษตรกร

    ระดับความร่วมมือ:

    ประเทศ

    ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

    (ระบุวันที่มีการนำไปใช้):

    ผลงานวิจัยเป็น การแบ่งพื้นที่ปลูกข้าว (Zoning) ที่มีความสัมพันธ์กับสภาพภูมิอากาศและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในแต่ละพื้นที่อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการลงทุนด้านวัตถุดิบ แรงงาน การจัดสรรน้ำเพื่อการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ

    Web link อ้างอิงการดำเนินงาน:

    -

    รูปภาพประกอบ:

     

    Management of Paddy Fields and Climate Change in Thailand: Alternative and managed Effectively

    SDG goal ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ:

    13,15

  • การจัดการโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเชิงกอล์ฟเพื่อยกระดับสู่จุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงกอล์ฟระดับโลก (ปีที่ 1)

    (Supply chain Management of Golf tourism to be World Class Golf Destination)

    อ.ดร.รัชพงษ์ กลิ่นศรีสุข

    โครงการวิจัย เรื่อง การจัดการโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเชิงกอล์ฟเพื่อยกระดับสู่จุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเชิงกอล์ฟระดับโลก (ปีที่ 1) ดำเนินการโดยคณะผู้วิจัย ได้แก่ อ.ดร.รัชพงษ์ กลิ่นศรีสุข จากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผศ.ดร. ประพัฒชนม์ จริยพันธุ์ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง อ.ดร.ศิวพร คุณภาพดีเลิศ จากมหาวิทยาลัยบูรพา อ.ดร. ดนัยทัญ พงษ์พัชราธรเทพ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคุณวรรณวิสา อุ่นคำ จากศูนย์วิจัยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและนวัตกรรมเพื่อการค้าบนมุมมองความยั่งยืน คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)  ระยะเวลาระหว่างวันที่ 1 ธ.ค. 256130 พ.ย. 2562 มีที่มาและความสำคัญจากประเทศไทยยังมีช่องว่างของฝั่งอุปทานการให้บริการท่องเที่ยวเชิงกอล์ฟ จึงควรเร่งพัฒนาและปรับปรุงการให้บริการท่องเที่ยวเชิงกอล์ฟ เพื่อให้กอล์ฟเป็นธุรกิจที่มีอนาคต (Sunset Industry) และยกระดับความสามารถในการแข่งขันไปสู่การพัฒนาคุณภาพการบริการสนามกอล์ฟและสิ่งอำนวยความสะดวกที่สร้างประสบการณ์ให้แก่นักท่องเที่ยวเชิงกอล์ฟ ดังนั้น การศึกษาในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การจัดการโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเชิงกอล์ฟให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของนักท่องเที่ยวเชิงกอล์ฟได้ ทั้งการศึกษาฝั่งอุปสงค์ อุปทาน และพัฒนาPlatform การท่องเที่ยวเชิงกอล์ฟในการสร้างการรับรู้ข้อมูลการท่องเที่ยวเชิงกอล์ฟประเทศไทยเพิ่มขึ้น

    โครงการดังกล่าวได้รับความร่วมมือจากผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ได้แก่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวเชิงกอล์ฟและเอเจนซี่ครอบคลุมทั่วภูมิภาคของประเทศ และต่างประเทศ (จีน ญี่ปุ่น เวียดนาม สเปน และนิวซีแลนด์) มีรายละเอียดการดำเนินงาน ประกอบด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกภาครัฐและเอกชน  สำรวจสนามกอล์ฟในพื้นที่ศึกษา และเก็บข้อมูลการสำรวจการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการท่องเที่ยวเชิงกอล์ฟที่มีศักยภาพตามบริบทของแต่ละพื้นที่ รวมทั้งการจัดประชุม Focus Group ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมกันแสดงความคิดเห็นทิศทางการพัฒนาPlatform

    ผลสำเร็จของงานวิจัยมีผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป้าหมายที่ 8 การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ, เป้าหมายที่ 12 แผนการบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืน และเป้าหมายที่ 15 การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศน์ทางบก กล่าวคือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน สามารถนำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านการสร้างเครือข่ายและความร่วมมือของผู้ที่เกี่ยวข้องในโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเชิงกอล์ฟอย่างเข้มแข็ง การส่งเสริมจัดการแข่งขันกอล์ฟระดับนานาชาติ การสร้างความหลากหลายและคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการการท่องเที่ยวเชิงกอล์ฟ การกระตุ้นอุปสงค์การท่องเที่ยวเชิงกอล์ฟทั้งในประเทศและต่างประเทศ และการพัฒนาสู่การเป็นผู้นำอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงกอล์ฟ ไปเป็นข้อมูลประกอบการวางแผนการจัดการโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเชิงกอล์ฟไทยเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์กอล์ฟ แหล่งท่องเที่ยว และการบริการท่องเที่ยวเชิงกอล์ฟได้ตรงกับความต้องการของนักท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

     ทั้งนี้ ผู้สนใจข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ อ.ดร.รัชพงษ์ กลิ่นศรีสุข ศูนย์วิจัยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและนวัตกรรม โทร. 02 441 5000 ต่อ 1233 This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. หรือทางเว็บลิงค์: http://elibrary.trf.or.th/project_content.asp?PJID=SIP62T0001

  • MU-SDGs Case Study*

    นิเวศวิทยาและประชากรช้างป่า (Elephas maximus) ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวงและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว

    (Ecology and Population of Wild Elephant (Elephas maximus) in Phu Luang and Phu Khieo Wildlife Sanctuary)

    ผู้ดำเนินการหลัก*

    รองศาสตราจารย์ ดร. รัตนวัฒน์ ไชยรัตน์

    ส่วนงานหลัก*

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    ผู้ดำเนินการร่วม

    ผศ.ดร.สุกัญญา เสรีนนท์ชัย

    ผศ.ดร.นพพล อรุณรัตน์

    นายจิรชัย อาคะจักร

    ดร.ศรินธร ไชยรัตน์

    นางสาวศิริกรณ์ ศรีโพธิ์

    ส่วนงานร่วม

    -กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

    -มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

    - มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

    เนื้อหา*

              โครงการศึกษานิเวศวิทยาและประชากรช้างป่า (Elephas maximus) ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวงและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวมีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินและเปรียบเทียบประชากร การกระจาย และความต้องการทางนิเวศวิทยาของช้างป่า เพื่อใช้ในการวางแผนการจัดการและการอนุรักษ์ และการลดผลกระทบระหว่างช้างป่าและชาวบ้านในการอยู่ร่วมกันโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่น และสังเคราะห์กลยุทธ์การสื่อสารและพัฒนาสื่อเสริมสร้างความเข้าใจและความตระหนักในการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างป่าด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น โดยทำการสำรวจโดยตรงและสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบ ช่วงเวลา และสถานที่ทำกิจกรรมของช้างป่า ตลอดจนผลกระทบในพื้นที่ร่วมกับการติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ป่าบริเวณรอยต่อระหว่างพื้นที่เกษตรกรรมกับแนวเขตของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว พบว่าช้างป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง ช้างป่าส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าชั้นกลาง (75%) พบพฤติกรรมการหากินมากที่สุดเวลา 15.01-19.00 น. พบธาตุแคลเซียมในกองมูลมากที่สุด (62.81%) พืชอาหาร พบธาตุเหล็ก (Fe) มากที่สุด (88.54%) ส่วน ขป ภูเขียว มีการกระจายใกล้เคียงกันทั้งในพื้นที่ป่าชั้นใน (34%) ป่าชั้นกลาง (30.8%) และป่าชั้นนอก (28.6%) พบการทำกิจกรรมมากที่สุดระหว่าง 22.01-24.00 น. พืชอาหารพบธาตุไนโตรเจน (N) มากที่สุด (56.16%) จากการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุแบบโลจิสติกในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จำนวน 66 ตัวอย่าง มีพื้นที่เหมาะสมมากที่สุด 169.58 ตร.กม. (18.62%) เป็นพื้นที่ราบด้านบนเทือกเขา พื้นที่เหมาะสมมาก 425.26 ตร.กม. (46.69%) พื้นที่ที่เหมาะสมปานกลาง 279.57 ตร.กม. (30.69%) ส่วนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว มีพื้นที่เหมาะสมมากที่สุด168.24 ตร.กม. (6.5%) พื้นที่เหมาะสมมาก983.62 ตร.กม. (37.99%) พื้นที่เหมาะสมปานกลาง704.77 ตร.กม. (27.22%)

     

              การศึกษาวิจัยเชิงสังคมด้านการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมและความตั้งใจในการแสดงพฤติกรรมเพื่อสร้างเสริมการอยู่ร่วมกันด้วยความเข้าใจกันระหว่างคนกับช้างป่า พบว่าปัญหาระหว่างคนกับช้างป่ามีมาอย่างต่อเนื่อง และมีความรุนแรงมากขึ้น กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้วางแนวทางการจัดการและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่ การจัดการช้างป่าในพื้นที่อนุรักษ์ และการจัดการช้างป่านอกพื้นที่อนุรักษ์ มีการจัดการต่าง ๆ เช่น การใช้รั้วผึ้ง โครงการฟื้นฟูอาหารช้าง ศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังช้างป่าด้วยระบบเตือนภัยล่วงหน้า เป็นต้น แนวทางการประกันภัยพืชผล เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรที่ส่งผลต่อการประกอบอาชีพและป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากช้างป่า รวมทั้งแนวทางการจัดการปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างอย่างยั่งยืน โดยการสร้างจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมของชุมชนด้วย เพื่อให้หน่วยงานในพื้นที่ได้นำแผนการจัดการและแนวทางต่าง ๆ นี้ ไปดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมและช่วยให้คนกับช้างป่าสามารถอยู่ร่วมกันได้ต่อไป

    SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

    SDG15

    เป้าประสงค์ย่อยในSDG หลัก*

    15.5, 15.7, 15.c

    SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

    SDG13

    เป้าประสงค์ย่อยในSDG อื่นๆ

    13.3

    Links ข้อมูลเพิ่มเติม*

    https://www.youtube.com/watch?v=JFCwyvbSzsY

    MU-SDGs Strategy*

    ยุทธศาสตร์ที่ 1

    Partners/Stakeholders*

    - คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ม. มหิดล

    - กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

    - มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

    - มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

    - สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทย

    - อุทยานแห่งชาติกุยบุรี จ. ประจวบคีรีขันธ์

    - เครือข่ายองค์กรอนุรักษ์สัตว์ป่ากุยบุรี

    - องค์กรชุมชน ต. พวา อ. แก่งหางแมว จ. จันทบุรี

    ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

          

    Key Message*

    การสร้างองค์ความรู้ด้านนิเวศวิทยาและประชากรของช้างป่าจากสองพื้นที่ศึกษาเพื่อสร้างความเข้าใจและความตระหนักในการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างป่าด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมและการลงมือปฏิบัติจริงของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่น

    ตัวชี้วัดTHE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

    15.2.3, 15.2.4 และ 13.3.3  

  • หัวข้อ

    รายละเอียด

    ชื่อโครงการ

    MU-SDGs Case Study

    การจัดการความรู้เพื่อการบริหารจัดการพันธุ์ข้าว และกระบวนการจัดการเครือข่ายของ Young Smart Farmer เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม (Knowledge management for rice varieties and network management of Young Smart Farmer to cope with climate variability)

    แหล่งทุน

    สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

    ส่วนงานหลัก

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ผู้ดำเนินการหลัก

    รศ.ดร.นพพล อรุณรัตน์

    ผู้ดำเนินการร่วม

     

    หน่วยงานเครือข่ายให้การสนับสนุน และส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล และกลุ่มคัดเลือกและผลิตภัณฑ์ข้าวชุมชนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดพิจิตร จังหวัดยโสธร และจังหวัดพัทลุง

    คำอธิบาย

     

    ถอดกระบวนการเรียนรู้ การสั่งสม การถ่ายทอดองค์ความรู้ของเกษตรกรด้านการบริหารจัดการพันธุ์ข้าวในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย รวมถึงวิเคราะห์กระบวนการสร้างและการจัดการเครือข่ายของ Young Smart Farmer เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและการใช้ประโยชน์เชิงนโยบายสาธารณะด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน

    เนื้อหา MU-SDGs Case Study

    ข้าวเป็นสินค้าเกษตรหลักที่สำคัญของประเทศไทย และเป็นอาหารหลักของคนไทย การปลูกข้าวให้ได้ผลผลิตดีนั้นมีปัจจัยหลายประการ ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของดิน ปริมาณน้ำ เทคโนโลยี แต่ที่สำคัญที่สุด คือ พันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ซึ่งให้ผลผลิตสูง ต้านทานโรคและแมลงศัตรูพืช ทนต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม และได้ผลผลิตตรงตามความต้องการของตลาด อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่พบในปัจจุบัน คือ เกษตรกรส่วนใหญ่ยังขาดแคลนเมล็ดพันธุ์คุณภาพดี และมักใช้เมล็ดพันธุ์ที่เก็บไว้เองต่อเนื่องกันหลายปี ทำให้เมล็ดพันธุ์ไม่บริสุทธิ์ ประกอบกับ ยังขาดความรู้เกี่ยวกับวิธีการคัดเลือกและเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์อย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ ในขณะที่การซื้อเมล็ดพันธุ์จากบริษัทเอกชนก็ยังไม่สามารถรับรองคุณภาพได้  การลงทุนสร้างโรงงานปรับปรุงคุณภาพเมล็ดพันธุ์หรือศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวเพิ่มเติม รัฐบาลจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนมาก

       งานวิจัยนี้ จึงมุ่งถอดกระบวนการเรียนรู้ การสั่งสม การถ่ายทอดองค์ความรู้ของเกษตรกรด้านการบริหารจัดการพันธุ์ข้าวในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย รวมถึงวิเคราะห์กระบวนการสร้างและการจัดการเครือข่ายของYoung Smart Farmer และจัดทำคู่มือและสื่อInfographic สรุปองค์ความรู้การบริหารจัดการพันธุ์ข้าวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและการใช้ประโยชน์เชิงนโยบายสาธารณะด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน

    คณะผู้วิจัยดำเนินงานด้วยการวิจัยเอกสาร ศึกษาบริบทชุมชน สัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่มและถอดบทเรียนจากกลุ่มเกษตรกร 4 ภาค 4 จังหวัด 4 อำเภอ 4 ตำบล คือ ภาคเหนือ: ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเหนือตอนล่าง: ตำบลหนองพระ อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: ตำบลกุดชุม อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร และภาคใต้: ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ผลการดำเนินงานที่สำคัญ พบว่า จุดเริ่มต้นของการก่อตั้งกลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์ขยาย เนื่องจากการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ดี มีคุณภาพ ประกอบกับราคาเมล็ดพันธุ์ข้าวตามท้องตลาดที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้ได้ผลผลิตไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้ประสบปัญหาต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ เกิดจากการตระหนักว่าเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นเมืองเริ่มสูญหายไป จึงมีความจำเป็นที่จะต้องอนุรักษ์และขยายพันธุ์สืบต่อไป เกษตรกรจะปลูกเมล็ดพันธุ์ชั้นพันธุ์ขยาย ในช่วงฤดูฝน เกษตรกรจะมีการร่วมกันวางแผน หารือ และแลกเปลี่ยนปัญหาทั้งก่อนเพาะปลูกและระหว่างเพาะปลูก รวมถึงร่วมกันตรวจแปลงอย่างน้อย 3 ครั้ง ก่อนการเก็บเกี่ยว ซึ่งทุกๆ ขั้นตอนของการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว เป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

    จุดเริ่มต้นของการสร้างกลุ่มและเครือข่าย Young Smart Farmer เกิดจากการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าว และร่วมกันอนุรักษ์เมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นเมือง ด้วยเหตุนี้ เกษตรกรจึงก่อตั้งกลุ่มโดยมีการจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน และเกิดเครือข่ายของเกษตรกรที่มีเป้าหมายเหมือนกัน สำหรับการทำกิจกรรมกลุ่มหรือปรับตัวดำรงอยู่ คือ กลุ่มดำเนินการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันภายในกลุ่ม เพื่อวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ต้องการเมล็ดพันธุ์ ซึ่งในทุกๆ พื้นที่ จะมีหน่วยงานภาครัฐเข้ามาช่วยสนับสนุนด้านความรู้ เทคนิค ควบคุมและตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าว ปัจจุบันการสื่อสารเข้าถึงมากยิ่งขึ้นสมาชิกสามารถติดต่อกันผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้ โดยส่วนใหญ่จะติดต่อกันผ่านทางแอปพลิเคชั่นไลน์ (LINE) หรือ เฟสบุ๊ค (Facebook) เพื่อร่วมกันแบ่งปันประสบการณ์ แลกเปลี่ยนความรู้ สร้างเครือข่าย รวมถึงเป็นการประชาสัมพันธ์ให้คนภายนอกได้รู้กลุ่ม และเป็นช่องทางในการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์และผลผลิตทางการเกษตร การจัดทำคู่มือสรุปองค์ความรู้ ภายใต้ชื่อ คู่มือนาแปลงใหญ่ฉบับชาวบ้าน มีขั้นตอนดังนี้ 1) ออกแบบเนื้อหา คำนึงถึงผู้ที่จะใช้ประโยชน์จากคู่มือเป็นสำคัญ 2) ทดสอบความเข้าใจของกลุ่มเป้าหมาย 3) ออกแบบรูปเล่มให้น่าหยิบ และน่าอ่าน 4) ผลิตและการเผยแพร่คู่มือสู่เกษตรกรในพื้นที่ศึกษาและหน่วยงานภาครัฐด้านการเกษตรในท้องถิ่นและส่วนกลาง การสนับสนุนปัจจัยการผลิตให้กับกลุ่มเกษตรกรที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ เช่น รถเกี่ยวข้าว เครื่องคัดแยกเมล็ดพันธุ์ และเครื่องอบข้าวเปลือกเพื่อลดความชื้น การสนับสนุนองค์ความรู้หรือเทคโนโลยี การจัดอบรมเสริมความรู้เกี่ยวกับการผลิตเมล็ดพันธุ์ขยาย และการพัฒนาพันธุ์หลักให้กับเกษตรกร การพัฒนาการข้อมูลพยากรณ์อากาศในระดับท้องถิ่น และคืนข้อมูลการพยากรณ์อากาศให้กับเกษตรกรผ่านหลายช่องทาง เช่น สื่อสังคมออนไลน์ (Line กลุ่มเกษตรกร, Facebook กลุ่มเกษตรกร) การเพิ่มทักษะในด้านการผลิต และการตลาด ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม และการสนับสนุนด้านเงินทุนให้แก่เกษตรกรรุ่นใหม่ เป็นจำเป็นที่หน่วยงานภาครัฐควรสนับสนุนเพื่อสร้างแรงจูงใจและไม่ส่งผลกระทบให้เกษตรกรรุ่นใหม่หันไปประกอบอาชีพเพื่อหารายได้นอกภาคการเกษตร

    SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

    12

    SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

    13 15

    Key Message

     

    การจัดการความรู้เพื่อการบริหารจัดการพันธุ์ข้าว และกระบวนการจัดการเครือข่ายของ Young Smart Farmer เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม

    Links ข้อมูลเพิ่มเติม

    http://www.thai-explore.net/search_detail/result/9555

    สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

    ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

    Partners/Stakeholders

    หน่วยงานเครือข่ายให้การสนับสนุน และส่งเสริมการเกษตร อปท. และเกษตรกรในพื้นที่

    ตัวชี้วัดTHE Impact Ranking

    13.3.1, 13.3.3, 13.3.4, 15.2.1, 15.2.5

  • หัวข้อ

    รายละเอียด

    ชื่อโครงการ

    MU-SDGs Case Study

    การใช้พื้นที่ซ้อนทับระหว่างช้างป่า (Elephas maximus) และชุมชน และการพัฒนาระบบเตือนภัยในภาคตะวันออกของประเทศไทย

    Overlapping use areas between wild elephants (Elephas maximus) and communities, and warning system development in the eastern part of Thailand

    แหล่งทุน

    ทุน Fundamental Fund ประเภทBasic Research Fund ภายใต้แผนงานย่อย: พัฒนานักวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล

    ส่วนงานหลัก

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ส่วนงานร่วม

    คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

    คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

    ผู้ดำเนินการหลัก

    รศ.ดร.รัตนวัฒน์ ไชยรัตน์

    ผู้ดำเนินการร่วม

    รศ.ดร.พรรณวิมล ตันหัน

    ผศ.สพ.ญ.ดร.กาญจนา อิ่มศิลป์

    ผศ.ดร.วิวัฒน์ วงศ์ก่อเกื้อ

    คำอธิบาย

    ศึกษาผลกระทบและทัศนคติ การติดตั้งกล้องดักถ่ายเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระจายเพื่อประเมินความเสี่ยง สร้างแผนที่แนวเชื่อมต่อที่ปลอดภัย การวิเคราะห์สารเคมีปนเปื้อนในพืชอาหาร และเครื่องมือแจ้งเตือนผ่านอินเตอร์เน็ตในพื้นที่ซ้อนทับภาคตะวันออกของประเทศไทย

    เนื้อหาMU-SDGs Case Study

    ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการ

    การลดลงของช้างป่าจากการสูญเสียพื้นที่ป่า การล่า และการใช้งาน ทำให้มีการคุ้มครองจนมีประชากรช้างป่าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ผนวกกับการพัฒนาพื้นที่เกษตรและแหล่งน้ำทำให้มีการออกมาหากินนอกพื้นที่จนกลายเป็นความขัดแย้งที่เพิ่มมากขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกระจาย ประชากร ปัจจัยดึงดูด การตกค้างของสารเคมี และพัฒนาเครื่องเตือนภัยในพื้นที่ชุมชน

    การดำเนินการ

    1. สำรวจทางตรง สัมภาษณ์และตั้งกล้องดักถ่ายภาพกิจกรรมและผลกระทบจากช้าง

    2. ทำแผนที่การกระจายและรูปแบบกิจกรรมเพื่อซ้อนทับกับกิจกรรมมนุษย์ ประเมินความเสี่ยงระหว่างช้างป่าและชุมชนเพื่อการจัดการ อนุรักษ์ ลดผลกระทบ และฟื้นฟูถิ่นที่อยู่อาศัยและหากินอย่างยั่งยืน

    5. วิเคราะห์การปนเปื้อนสารเคมีในพืชอาหารและกองมูล

    6. สร้างเครื่องเตือนภัยด้วยแสงเรเซอร์ผ่านเครือข่ายโทรศัพท์

    7. จัดประชุมเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ชุมชน

    ผลการดำเนินงาน

    ประชากรส่วนใหญ่ปลูกพืชเกษตร ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และมันสำปะหลัง ตั้งแต่ 10 ถึงมากกว่า 100 ไร่ มีปัญหากรรมสิทธิ์ เงินทุน น้ำ และการบุกรุกของช้างป่า ทำให้ไม่ต้องการให้ช้างทำลายผลผลิต ทรัพย์สินและชีวิต คิดว่าช้างออกมาหาอาหาร แหล่งน้ำและบังเอิญทำร้ายคนมากกว่า 10 ครั้ง/ปี ถ้าอยู่ติดป่าได้รับผลกระทบตลอดปี ได้รับผลกระทบ 1-2 ครั้ง/ปีในพื้นที่ใหม่ แต่ไม่ได้รับการเยียวยาหรือไม่คุ้มค่า มีความตระหนักในการอนุรักษ์แต่ไม่เห็นด้วยกับการคุ้มครองช้างในชุมชน ควรสร้างเครือข่ายแจ้งเตือนภัย ฟื้นฟูแหล่งอาหาร ประกันผลผลิต จัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ติดปลอกคอและใช้รั้วรังผึ้ง เนื่องจากมีแนวโน้มกระจายเพิ่มขึ้นระหว่างปี พ.ศ.2543 – 2564 จากการตั้งกล้องจำนวน 1,530 คืน พบช้างป่า 13 พื้นที่จาก 51 พื้นที่ จำนวน 94 ตัว มีอัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมีย1:1.14 เพศเมียต่อลูกอ่อน 1:0.5 อัตราการเพิ่ม 1:0.84 ร้อยละความหนาแน่น 26.05 ร้อยละการกระจาย 33.33 การกระจายสัมพันธ์กับระยะทางจากแหล่งน้ำและระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ทำกิจกรรมตั้งแต่เวลา 17.00-08.00 น. และเพิ่มสูงสุดที่ 23.00 น.ช่วงฤดูแล้งพบหย่อมถิ่นที่อยู่อาศัย 3,552 หย่อม พื้นที่ 5,136.95 ตร.กม. หย่อมรองรับประชากร 253 หย่อม ผสมพันธุ์ 8 หย่อม การใช้ประโยชน์รูปแบบอื่น ๆ 253 หย่อม ช่วงฤดูฝนพบ 1,961 หย่อมพื้นที่ 3,850.86ตร.กม. รองรับประชากร 223 หย่อม ผสมพันธุ์ 33 หย่อมการใช้ประโยชน์รูปแบบอื่น ๆ 1,705 หย่อม มีหย่อมที่สำคัญ 8 หย่อม ฤดูแล้งมีแนวเชื่อมต่อที่เหมาะสม 16 แนว ฤดูฝนมี 15 แนว ครอบคลุมพื้นที่เกษตรกรรม พืชยืนต้น ป่าดิบชื้น และป่าผลัดใบไม่พบการปนเปื้อนของสารฆ่าแมลงในกลุ่มออร์กาโนคลอรีนในพืชอาหารหลัก 10 ชนิด เครื่องมือเตือนภัยที่ทำงานได้ดีและอยู่ระหว่างพัฒนาประสิทธิภาพต่อไป

    การนำไปใช้ประโยชน์

    ภาครัฐ: กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

    ชุมชน: ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่า

    มีผลงานตีพิมพ์ระดับนานาชาติ Use of Human Dominated Landscape as Connectivity Corridors among Fragmented Habitats for Wild Asian Elephants (Elephas maximus) in the Eastern Part of Thailand.Diversity 2023;15(1):6.https://doi.org/10.3390/d15010006

    ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์

    เป็นการนำปัญหาที่พบในชุมชนมาทำการวิจัยด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์เพื่อให้ทราบแนวทางในการจัดการปัญหาที่ยั่งยืนจากผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงในพื้นที่ศึกษา พร้อมทั้งพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการลดผลกระทบให้กับชุมชนในพื้นที่ศึกษาและพื้นที่อื่น ๆ ที่ได้รับผลกระทบในรูปแบบที่เหมือนหรือใกล้เคียงกัน ซึ่งแตกต่างจากโครงการอื่น ๆ ที่เป็นการศึกษาปัญหาและเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหา ซึ่งบางครั้งอาจไม่สะท้อนความต้องการที่แท้จริงของชุมชนในพื้นที่ส่งผลให้การแก้ปัญหาจากโครงการวิจัยไม่ยั่งยืน

    ผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก

    ระดับชุมชน

    จากผลการศึกษาสามารถลดความขัดแย้งระหว่างชุมชนและช้างป่าได้ รวมถึงการใช้เครื่องมือเตือนภัยที่เป็นนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงจากการสูญเสียผลผลิต ทรัพย์สิน และชีวิตของชุมชนในพื้นที่ซ้อนทับ และลดหากมีการประยุกต์ใช้ข้อมูลจากโครงการฯ ไปใช้จริงในพื้นที่

    ระดับประเทศ

    ผลการศึกษาและนวัตกรรมที่ได้จากโครงการฯ สามารถนำไปต่อยอดและใช้กับพื้นที่อื่น ๆ ที่มีปัญหาในลักษณะเดียวกันในระดับประเทศ

    ระดับโลก

    ผลจากการวิจัยสามารถตีพิมพ์ผลงานในระดับนานาชาติ ซึ่งประเทศต่าง ๆ สามารถเรียนรู้ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาจากโครงการฯ โดยเฉพาะประเทศที่มีปัญหาความขัดแย้งระหว่างมนุษย์และช้างป่า (Human – elephant conflicts; HEC) ที่กำลังขยายตัวเพิ่มขึ้นในหลายภูมิภาคในโลก

    SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

    15

    SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

     

    11

    Key Message

    การลดความขัดแย้งระหว่างชุมชนและช้างป่าด้วยแผนที่ความเสี่ยงเพื่อการตัดสินในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิตของชุมชน การจัดการประชากรช้างป่า และการพัฒนานวัตกรรมการเตือนภัยเพื่อลดการสูญเสียชีวิตอย่างยั่งยืน

    Links ข้อมูลเพิ่มเติม

     

    สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

    ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

    อัลบั้มภาพ

     

    Partners/Stakeholders

    กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

    กรมป่าไม้

    ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่าในพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย

    องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต)

    หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับปัญหาช้างป่าทั้งระดับชุมชน อำเภอ จังหวัด และประเทศ

    ตัวชี้วัดTHE Impact Ranking

    15.2.1, 15.3.5

  • หัวข้อ

    รายละเอียด

    ชื่อโครงการ

    MU-SDGs Case Study

    การประเมินทางเลือกการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรณีศึกษา จังหวัดพิจิตร

    Alternative evaluation on land use management to cope with climate change: a case study in Phichit Province

    แหล่งทุน

    เงินรายได้มหาวิทยาลัยมหิดล

    ส่วนงานหลัก

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ส่วนงานร่วม

    -

    ผู้ดำเนินการหลัก

    รองศาสตราจารย์ ดร. นพพล อรุณรัตน์

    ผู้ดำเนินการร่วม

    -

    คำอธิบาย

    งานวิจัยนี้มุ่งเน้นค้นหารูปแบบการจัดการ การใช้ประโยชน์ที่ดิน ค้นหาระบบการปลูกพืชที่มีประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ รวมถึงกลยุทธ์เพื่อเสริมสร้างขีดดวามสามารถในการปรับตัวและรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคต

    เนื้อหาMU-SDGs Case Study

    ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการ

    1) เพื่อค้นหารูปแบบระบบการปลูกพืชในพื้นที่ที่ไม่เหมะสมสำหรับปลูกข้าว

    2) เพื่อประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นต์ และความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจของระบบการปลูกพืช

    3) เพื่อประเมินผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อแนวทางการปรับตัวของเกษตรกร

    4) เพื่อเสนอแนะแนวทำงกำรปรับตัวที่มีประสิทธิภาพเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน

    การดำเนินการ

    1) การค้นหารูปแบบระบบการปลูกพืชในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมสำหรับปลูกข้าว โดย

    ใช้การวิจัยเชิงสำรวจ 2) ประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นต์ และความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจของระบบการปลูกพืช โดยใช้หลักการของ Life cycle assessment of greenhouse gas emission (LCA-GHG) แบบCradle to gate เพื่อ

    ประเมินการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการวิเคราะห์ต้นทุน-ผลตอบแทนของเกษตรกร เพื่อประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ 3) ประเมินผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อแนวทางการปรับตัวของเกษตรกร โดยใช้

    แบบจำลอง Environmental Policy Integrated Climate (EPIC) version 0810 เพื่อประเมินผลผลิตพืช และ ใช้โปรแกรมCROPWAT 8.0 เพื่อคำนวณวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ และ 4) เสนอแนะแนวทางการปรับตัวที่มีประสิทธิภาพเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินในจังหวัดพิจิตร

    ผลการดำเนินงาน

    การศึกษานี้แนะนำรูปแบบการปลูกข้าว 3 รอบ ในเขตพื้นที่ชลประทาน ใน

    ขณะเดียวกัน ในพื้นที่นอกเขตชลประทาน แนะนำให้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง หรือถั่วเขียวหลังจากการปลูกข้าวรอบที่หนึ่ง (ข้าวนาปี)

    อีกทางเลือกหนึ่ง คือ การเปลี่ยนจากการปลูกข้าวเป็นการปลูกมันสำปะหลัง หรือการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปีละสองครั้ง เป็นทางเลือกที่ดีสาหรับเขตพื้นที่นอกเขตชลประทานเช่นกัน

    การนำไปใช้ประโยชน์

     

    มีผลงานตีพิมพ์

    1) Arunrat, N., Sereenonchai, S., Chaowiwat, W., Wang, C., Hatano, R. 2022.Carbon, Nitrogen and Water Footprints of Organic Rice and Conventional Rice Production over 4Years of Cultivation: A Case Study in the Lower North of Thailand. Agronomy, 12(2), 380.doi:10.3390/agronomy12020380

    2) Arunrat, N., Sereenonchai, S., Chaowiwat, W., Wang, C. 2022.Climate change impact on major crop yield and water footprint under CMIP6climate projections in repeated drought and flood areas in Thailand. Science of the Total Environment. 807, 150741.doi: 10.1016/j.scitotenv.2021.150741

    3) ผลิตนักศึกษาในโครงการ น.ส.ณฏวรรณ หวันวิเศษ (6337852 ENAT/M)

    ระดับปริญญา: วท.ม. (เทคโนโลยีที่เหมาะสม และ นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม)

    หัวข้อวิทยานิพนธ์: ASSESSMENT OF CARBON FOOTPRINT, WATER FOOTPRINT, COST AND RETURN OF ORGANIC RICE BASED ON CIRCULAR ECONOMY AND ORIGINAL ORGANIC RICE

     

    Abstract

    The objectives of this study are: 1)explore the suitable cropping system for unsuitable areas for rice cultivation using survey research; 2)evaluate carbon footprint, and cost and benefit of each cropping system using life cycle assessment of greenhouse gas emission (LCA-GHG) (Cradle to gate method); 3)assess the impact of climate change on farmers' adaptation approaches using a model Environmental Policy Integrated Climate (EPIC) version 0810 for estimating crop yields, and CROPWAT 8.0 for calculating water footprint; and 4)to propose the effective adaptation approaches to support decision-making in Phichit Province.

     

    Based on the field survey, there are 7 cropping systems that can cope with climate change: 1)planting rice three times per year (RRR); 2)planting rice two times per year (RR); 3)planting rice once a year and planting maize (RM); 4)planting rice once a year and planting soybeans (RS); 5)planting rice once a year and planting mung beans (RB); 6)Planting maize twice a year (MM) ;and 7)Planting cassava (CS). The carbon footprint intensity of organic rice was 0.34 kg CO2eq per kg of rice yield, which is less than conventional rice cultivation (carbon footprint intensity = 0.57 kg CO2eq per kg of rice yield). The total water footprint of conventional rice cultivation was 1,470.1 m3/ton, which was higher than organic rice (1,216.3 m3/ton). Under climate change scenarios, rice yields of RRR in irrigated area were expected to increase gradually in 3periods under SSP245, whereas they were predicted to slightly increase under SSP585.On the other hand, RR system was expected to decline in first rice (6.0-14.4 %)and second rice (7.4-17.7 %)under SSP585.Concerning planting maize, soybean and mung bean instead of the second rice, yields were predicted to have less impact under future climate change, especially mung bean. It was predicted that mung bean yield will increase slightly at all period under both the SSP245 and SSP585 scenarios. Moreover, switching from planting rice to be planting maize twice a year and cassava were expected that yields may not decline under future climate change. This study recommends an RRR cropping system in irrigated areas, while growing maize, soybean, or mung bean after the first rice crop is recommended for the rain-fed area. Alternatively, switching from growing rice to cassava or growing maize twice per year is a good option for the rain-fed area

    ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

    การค้นหาแนวทางในการทำการเกษตรที่ยั่งยืน ด้วยการประเมินประสิทธิภาพของ

    รูปแบบการจัดการการใช้ประโยชน์ที่ดิน ค้นหาระบบการปลูกพืชที่มีประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ รวมถึงกลยุทธ์เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการปรับตัวและรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคตจึงเป็นประเด็นที่จำเป็นต้องมีการศึกษาเพื่อสนับสนุนการลดพื้นที่การปลูกข้าวในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม และการช่วยเหลือเกษตรกรให้มีการปลูกพืชที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ สอดคล้องกับความต้องการของตลาด และมีผลตอบแทนที่เพียงพอจะทำให้เกษตรกรสามารถดำรงชีวิต

    และประกอบอาชีพการเกษตร สร้างความเข้มแข็งและยั่งยืน และมีความยืดหยุ่นต่อสภาพภูมิอากาศ (ภัยแล้ง และน้ำท่วม)

    ผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก

    ระดับชุมชน

    - ประโยชน์จากการค้นพบรูปแบบการจัดการการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีความเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ จะช่วยลดพื้นที่ปลูกข้าวที่ไม่เหมาะสม และแนวทางในการส่งเสริมรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่

    - ประโยชน์จากการค้นพบแนวทางการปรับตัวในการลดผลกระทบต่อน้ำท่วมและภัยแล้ง จะช่วยสนับสนุนการตัดสินใจและจูงใจเกษตรกรในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภำพมำกยิ่งขึ้น

    ระดับประเทศ

    - ประโยชน์จากการค้นพบระบบการปลูกพืชที่มีปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นต์น้อย และความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจสูง เป็นการสร้างความสมดุลระหว่างการเพิ่มผลกำไรให้กับเกษตรกรและการรักษาระบบนิเวศโดย

    การลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน และผลจากประมาณการณ์ประสิทธิภาพของระบบการปลูกพืชทางเลือกในอนาคต ช่วยในการกำหนดวางแผนในอนาคต เช่น แนวทางลดการใช้ทรัพยากรหรือวัตถุดิบ ลดกำรใช้พลังงานในการผลิต ลดการปลดปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม และพัฒนำกลไกกำรผลิตที่สะอาด เป็นต้น

    - เป็นต้นแบบการเรียนรู้การส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวที่ไม่เหมาะสมเป็นเกษตรกรรมทางเลือกอื่น และการพัฒนากลยุทธ์เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการปรับตัวและรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคตสู่พื้นที่อื่นๆ

     

    SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

    13

    SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

    2, 15

    รูปหน้าปก

    รูปหน้ารายละเอียด

     

    Key Message

    การค้นหาแนวทางการทำการเกษตรที่ยั่งยืน และสนับสนุนการลดพื้นที่การปลูกข้าวในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมด้วยการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจการเกษตรและรักษาสิ่งแวดล้อม

    Links ข้อมูลเพิ่มเติม

    -

    สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

    ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

    Partners/Stakeholders

    กรมพัฒนาที่ดิน

    กรมส่งเสริมการเกษตร

    กลุ่มเกษตรกร อ.สามง่าม อ.ตะพานหิน อ.วังทรายพูน อ.โพธิ์ประทับช้าง อ.บึงนาราง อ.ดงเจริญ และ อ.ทับคล้อ

    ตัวชี้วัดTHE Impact Ranking

    13.3.3, 2.5.1, 2.5.2

  • Population and distribution of wild Asian elephants (Elephas maximus) in Phu Khieo Wildlife Sanctuary, Thailand

    รศ.ดร.รัตนวัฒน์ ไชยรัตน์

  • หัวข้อ

    รายละเอียด

    ชื่อโครงการ

    MU-SDGs Case Study

    โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์วัวแดง (Bos javanicus) ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จังหวัดกาญจนบุรี ของมหาวิทยาลัยมหิดล Promoting Community Participation in Banteng (Bos javanicus) Conservation in Salakphra Wildlife Sanctuary

    แหล่งทุน

    เงินอุดหนุนกองทุนสิ่งแวดล้อม

    ส่วนงานหลัก

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ส่วนงานร่วม

    -

    ผู้ดำเนินการหลัก

    รศ.ดร.รัตนวัฒน์ ไชยรัตน์

    ผู้ดำเนินการร่วม

    นายเสรี นาคบุญ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาน้ำพุ

    คำอธิบาย

     

    โครงการนี้เน้นสภาพปัจจุบันของวัวแดงในพื้นที่ต่าง ๆ เทียบกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระที่เป็นต้นแบบในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และมีการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้และศึกษาธรรมชาติ พร้อมทั้งพัฒนาโปรแกรมสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการเรียนรู้ของเยาวชน ประชาชน และชุมชนบนพื้นฐานจากงานวิจัยด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจการจัดการอนุรักษ์วัวแดงในพื้นที่อนุรักษ์อื่น ๆ ต่อไป

    เนื้อหาMU-SDGs Case Study

     

    ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการ

    วัวแดงมีความสำคัญอย่างมากในระบบนิเวศ เนื่องจากทำหน้าที่ถ่ายทอดพลังงานและหมุนเวียนธาตุอาหารในป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และป่าประเภทอื่น ๆ ที่มีหญ้าขึ้นปะปนเนื่องจากระบบย่อยอาหารของวัวแดงช่วยกระตุ้นให้เมล็ดพรรณไม้งอกได้อย่างรวดเร็ว   ในประเทศไทยวัวแดงมีภัยคุกคามจากการบุกรุกพื้นที่ป่าที่ราบต่ำที่เป็นพื้นที่หากินส่วนใหญ่ของวัวแดง ซึ่งการบุกรุกพื้นที่ป่าและการล่าสัตว์ป่าของมนุษย์ถือเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อการลดจำนวนลงของประชากรวัวแดง  หากวัวแดงหมดไปจะส่งผลต่อการล่มสลายของระบบนิเวศเนื่องสัตว์ผู้ล่าชั้นบนสุด เช่น เสือโคร่งที่คอยควบคุมประชากรสัตว์ป่าชนิดอื่นต้องสูญพันธุ์ไปจากพื้นที่ด้วย

     

    ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาน้ำพุได้ริเริ่มจัดทำโครงการปล่อยวัวแดงคืนสู่ธรรมชาติครั้งแรกของโลกภายใต้การมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรต่าง ๆ เพื่อการศึกษา วิจัย ปกป้อง คุ้มครอง ขยายพันธุ์และประชาสัมพันธ์โครงการฯ อย่างไรก็ตาม เพื่อลดความเสี่ยงต่อการผสมพันธุ์แบบเลือดชิดของวัวแดงในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จึงจำเป็นต้องมีการสำรวจและจัดทำแผนการอนุรักษ์วัวแดงเพื่อใช้เป็นคู่มือใช้ในการอนุรักษ์ ส่งเสริมและพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้การอนุรักษ์วัวแดงที่สามารถต่อยอดและขยายผลไปสู่พื้นที่อนุรักษ์แห่งอื่น ๆ ต่อไป

     

    โครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการประสานความร่วมมือของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการอนุรักษ์วัวแดงและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ต้นแบบเพื่อความยั่งยืนในการบริหารจัดการชนิดพันธุ์สัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ การพัฒนาเครื่องมือและกลไกในการศึกษา จัดการ และเผยแพร่การอนุรักษ์วัวแดงอย่างมีส่วนร่วม

    และการบูรณาการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และสิ่งแวดล้อมศึกษาในการกระตุ้นประสบการณ์เกี่ยวกับชีวิตสัตว์ป่าในธรรมชาติ และการบริการเศรษฐกิจ-สังคมบนฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุมชน

     

    การดำเนินการ

    การสร้างองค์ความรู้ จิตสำนึก และความตระหนักเกี่ยวกับความสำคัญของการอนุรักษ์วัวแดโดยประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาสาสมัครอนุรักษ์วัววแดง และชุมชน รับฟังความคิดเห็นและจัดทำแผน มาตรการและคู่มือการอนุรักษ์วัวแดง คู่มือการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และสิ่งแวดล้อมศึกษาต่อชุมชนที่อยู่ในพื้นที่  พัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ภายใต้การมีส่วนร่วมของชุมชน  และนำเสนอข้อมูลโครงการต้นแบบสลักพระให้กับพื้นที่อนุรักษ์อื่น ๆ

     

    ผลการดำเนินการ

     

    ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

     

    ผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก

    ผลประโยชน์ต่อชุมชน

    1) กลุ่มเครือข่ายชุมชน 35 ชุมชน เข้าใจการอนุรักษ์วัวแดง และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อให้เกิดความยั่งยืน

    2) มีศูนย์เรียนรู้การอนุรักษ์วัวแดงในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ เกี่ยวกับการอนุรักษ์วัวแดง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำหรับ เยาวชน ประชาชน และชุมชนท้องถิ่น

    3) ประชาชนและชุมชน รวมทั้งภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ได้รับรู้ข้อมูลและข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์วัวแดงอย่างต่อเนื่องและมีบทบาทสำคัญในการขยายผล เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์วัวแดง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และความสำเร็จไปสู่ชุมชนอื่น ๆ

    4) ประชาชนและชุมชนมีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์วัวแดง โดยเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมภายใต้โครงการตั้งแต่การรับรู้ปัญหา ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมปฏิบัติ ร่วมติดตามประเมินผล และร่วมรับผลประโยชน์ ซึ่งเป็นผลงานที่ชุมชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงและจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงความคิดและพฤติกรรมด้านคุณค่าการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และขยายผลความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการไปสู่พื้นที่อื่นได้

    5) ได้ฐานข้อมูลวัวแดงในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระในการให้ความรู้เรื่องการอนุรักษ์วัวแดงให้แก่ชุมชนทั้งในท้องถิ่นและประชาชนทั่วไป

    ผลประโยชน์ต่อระบบนิเวศ

    1) ทำให้ระบบนิเวศป่าไม้ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีจำนวน 602,000 ไร่ ได้รับการปกป้องคุ้มครองโดยการมีส่วนร่วมของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของวัวแดง

    2) ความซับซ้อนของสายใยอาหารจะกลับมา โดยมีวัวแดงเป็นตัวกลางในระบบ

    SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

    15

    SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

     

     

    รูปหน้าปก (ที่จะโชว์หน้าเว็บ)

     

    รูปหน้ารายละเอียด

     

    Key Message

     

    การส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนรอบพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระในการอนุรักษ์การจัดการทรัพยากรสัตว์ป่า โดยผ่านกระบวนการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายในการปกป้อง คุ้มครอง และฟื้นฟู เพื่อการปกป้อง คุ้มครอง และฟื้นฟูพื้นที่อนุรักษ์ พื้นที่ป่าต้นน้ำ ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า

    Links ข้อมูลเพิ่มเติม

     

    สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

    ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

    อัลบั้มภาพ

     

    Partners/Stakeholders

    กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

    ชุมชนรอบเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ 28 ชุมชน

    ชุมชนของพื้นที่อนุรักษ์อื่น ๆ ที่ยังคงพบวัวแดงในพื้นที่ รวม 17 พื้นที่

    ตัวชี้วัดTHE Impact Ranking

    15.2.3, 15.3.5

  • นิเวศวิทยาของชะนีมือขาว ชะนีมงกุฎ และชะนีลูกผสม ในพื้นที่ซ้อนทับ
    The ecology of the white-handed gibbon, pileated gibbon and their hybrids in a contact zone

    อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เป็นเพียงแห่งเดียวในโลกที่มีการพบชะนีมือขาว และชะนีมงกุฏอาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกัน และสิ่งที่น่าสนใจคือ พบการจับคู่สร้างครอบครัวของชะนีต่างชนิด และมีชะนีลูกผสมเกิดขึ้น การมีพื้นที่ซ้อนทับระหว่างชนิดพันธุ์นับเป็นโอกาสอันดีในการศึกษากระบวนการเกิดสปีชีส์ใหม่ หรือศึกษากลไกที่ป้องกันการผสมข้ามสายพันธุ์ จากการเก็บข้อมูลภาคสนามกว่า 34 เดือน พบชะนีมือขาว 18 กลุ่ม ชะนีมงกุฎ 12 กลุ่ม ชะนีต่างชนิดจับคู่กัน 3 กลุ่ม และชะนีลูกผสม 2 กลุ่ม ในพื้นที่ซ้อนทับ โดยขนาดพื้นที่อาศัยของกลุ่ม การกินอาหารและถิ่นที่อยู่อาศัยของชะนีแต่ละชนิด ไม่มีความแตกต่างกัน แสดงให้เห็นความต้องการทรัพยากรเดียวกัน และมีการป้องกันอาณาเขตกันระหว่างชะนีต่างสปีชีส์ การพบชะนีลูกผสมเพียงไม่กี่ตัว ในพื้นที่ที่มีชะนีต่างชนิดอาศัยอยู่หลายตัวเช่นนี้ สะท้อนให้เห็นว่ามีกลไกการแบ่งแยกทางการสืบพันธุ์เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ชะนีลูกผสมที่พบ สามารถสืบพันธุ์และมีลูกได้ จึงไม่สามารถตัดความเป็นไปได้ที่ว่า กระบวนการเกิดลูกผสมอาจเป็นหนึ่งในการปรับตัวทางวิวัฒนาการของสัตว์ในกลุ่มชะนีก็เป็นได้


    Khao Yai National Park is the only site in the world having the white-handed gibbon and the pileated gibbon coexisted in the zone of contact. Interestingly, some mixed adult pairs and hybrid animals have been observed. The existence of natural contact zones between species provides an exciting opportunity to investigate how speciation works and what prevents species from interbreeding. After 34 months of fieldwork, we located 18 groups of lar gibbons, 12 groups of pileated gibbons, 3 groups of mixed, and 2 hybrid groups. Home range sizes, diet and habitat preferences did not vary significantly between species affecting the existence of interspecific territoriality. The low numbers of hybrid individuals found despite the abundance of the two species in the area reflects the existence of reproductive isolation. However, since we observed that hybrids with offspring we cannot discard the possibility of hybridization leading to adaptive evolution of gibbons.


    ที่มา: โครงการวิจัย การศึกษาพื้นที่อาศัย รูปแบบเส้นทางการใช้พื้นที่ และอาหารของชะนี (ชะนีมือขาว และชะนีมงกุฎ) โดย ดร.นอร์เบอร์โต อะเซนซิโอ

  • หัวข้อ

    รายละเอียด

    ชื่อโครงการ

    MU-SDGs Case Study

    อิทธิพลของสภาพภูมิอากาศต่อสัณฐานวิทยาของไซเลมตลอดฤดูกาลเติบโต: ข้อมูลเชิงลึกจากกายวิภาคของวงปีไม้ในระยะยาวในไม้สนเขตร้อนชื้นของประเทศไทย

    Climate influence xylem morphogenesis over the growing season: Insights from long term intra-ring anatomy in two tropical pines species, Thailand

    แหล่งทุน

    กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุนส่งเสริม ววน.)

    ส่วนงานหลัก

    คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

    ส่วนงานร่วม

    -

    ผู้ดำเนินการหลัก

    รศ.ดร.นาฏสุดา ภูมิจำนงค์

    ผู้ดำเนินการร่วม

    -

    คำอธิบาย

    ป่าฝนเขตร้อนถูกคุกคามอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนอันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การศึกษานี้จะศึกษาโครงสร้างทางกายวิภาคของในลำต้นของต้นสนเขตร้อน ประเมินการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลของปัจจัยแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดเซลล์ที่สังเกตจากวงปีไม้สน รวมถึงวิเคราะห์ค่าออกซิเจนไอโซโทปในเซลลูโลสของไม้ และหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าออกซิเจนไอโซโทปกับสภาพภูมิอากาศ เพื่อที่จะประเมินให้ชัดเจนขึ้นว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อต้นไม้ ป่าไม้ วัฏจักรชีวเคมี อย่างไร

    เนื้อหาMU-SDGs Case Study

     

    ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการ

    การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบนิเวศป่าเขตร้อนชื้น (tropical forest) ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นปอดของโลก การศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบในแต่ละชนิดต้นไม้และผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศระยะยาวมีการวิจัยน้อยมากในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงต้องการที่จะแสดงให้เห็นถึงการปรับตัวหรือผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อกระบวนการต่างๆในการสร้างเนื้อไม้ (xylogenesis) โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัณฐานวิทยาของไซเลมและกิจกรรมของเนื้อเยื่อเจริญ (cambial activity) เนื่องจากเนื้อไม้เป็นส่วนที่สะสมมวลชีวภาพมากที่สุด (carbon sequestration) นอกจากนี้ ต้นไม้ที่อายุแตกต่างกันอาจตอบสนองปัจจัยสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน

     

    การศึกษานี้จะศึกษาไม้สนสองใบและสามใบในพื้นที่ป่าสนตามธรรมชาติ เพื่อศึกษาทั้งขนาดความกว้างวงปีสัณฐานวิทยาของไซเลมและโครงสร้างกายวิภาคของไม้สนทั้งสองชนิด ประเมินว่าการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลของปัจจัยแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดเซลล์ที่สังเกตจากวงปีไม้สน นอกจากนี้ การติดตามกิจกรรมของเนื้อเยื่อเจริญ (cambial activity) จะดำเนินการโดยการติดตามกิจกรรมแคมเบียมต่อเนื่อง 3 ปี ประโยชน์ที่จะได้รับจากงานวิจัยนี้คือข้อมูลที่ชัดเจนด้านการเก็บกักคาร์บอนไดออกไซต์ในป่าเขตร้อนชื้น การเลือกปลูกไม้ให้เหมาะสมกับสภาพป่าฟื้นฟูและการสนับสนุนการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในพื้นที่ป่าไม้

     

    การดำเนินการ

    การศึกษากิจกรรมของแคมเบียมในไม้สนเขตร้อนของประเทศไทยโดยพื้นที่ศึกษา เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง จังหวัดตาก อุทยานแห่งชาติขุนตาล จังหวัดลำปาง สถานีวนวัฒนวิจัยแม่สะนาม และสวนป่าดอยบ่อหลวง จังหวัดเชียงใหม่ โดยทำการเก็บตัวอย่างแคมเบียม ตัดตัวอย่างด้วยเครื่องไมโครโทมที่ความหนา 15-20 ไมโครเมตร ทำการตรวจวัดกิจกรรมแคมเบียมและการพัฒนาของเนื้อไม้ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ วิเคราะห์ความสัมพันธ์กับสภาพอากาศโดยใช้สถิติความสัมพันธ์เพียร์สัน

     

    กายวิภาคของไซเลมในไม้สนทำการศึกษาโดยใช้เทคนิคการถ่ายภาพด้วยแสงซิงโครตรอน ขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางของทราคีค (tracheid)  หรือ เส้นผ่านศูนย์กลางลูเมน (lumen) และความหนาของผนังเซลล์ (cell wall thickness) จะเลือกทำการวัดจำนวน 10 แนว ของแต่ละวงปี โดยใช้โปรแกรมImageJ และใช้เทคนิคการdetrending เพื่อปรับข้อมูลที่อาจมีผลมาจากสรีระของต้นไม้ออกไปและสร้างเส้นดัชนีของแต่ละตัวแปรเพื่อนำไปวิเคราะห์ความสัมพันธ์กับสภาพอากาศใช้สถิติความสัมพันธ์เพียร์สัน

     

    ผลการดำเนินงาน

    กายวิภาคของไซเลมในไม้สนพบว่า อุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุดมีอิทธิพลต่อกายวิภาคของไม้สนสามใบ  ส่วนกิจกรรมแคมเบียมและการพัฒนาของเนื้อไม้ในไม้สนเขตร้อนมีความสัมพันธ์กับสภาพอากาศ กิจกรรมของแคมเบียมในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา เป็นช่วงพักตัวของเซลล์แคมเบียม ดังนั้นแคมเบีนมจึงไม่มีการแบ่งเซลล์ และสร้างเนื้อไม้

     

    การนำไปใช้ประโยชน์

     

    ผลงานตีพิมพ์

    Pumijumnong, N.; Muangsong, C.; Buajan, S.; Songtrirat, P.; Chatwatthana, R.; Chareonwong, U. Factors Affecting Cambial Growth

    Periodicity andWood Formation in Tropical Forest Trees: A Review.

    Forests 2023, 14, 1025. https://doi.org/10.3390/f14051025

    ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

    การศึกษาปริมาณออกซิเจนไอโซโทปจากเซลลูโลสวงปีไม้สนในไม้ต้นฤดู ไม้ปลายฤดู และทั้งวงปีไม้ซึ่งจะบันทึกความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกันยังมีการศึกษาค่อนข้างน้อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งยังไม่มีการศึกษาในประเทศไทย จึงมีความสำคัญเพื่อติดตามผลกระทบของสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปกับการตอบสนองของต้นไม้ในเขตร้อนชื้น

    ผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก

    เกิดผลกระทบระดับประเทศ ได้ข้อมูลเป็นแนวคิดเชิงนโยบายหรือแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการกักเก็บคาร์บอนในภาคป่าไม้ของประเทศไทย เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางของคาร์บอน (carbon neutrality) ของประเทศต่อไป

    SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

    13

    SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

    15

     

    รูปหน้าปก

     

    รูปหน้ารายละเอียด

     

    Key Message

     

    การศึกษาไม้สนสองใบและสามใบในพื้นที่ป่าสนตามธรรมชาติเพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบต่อต้นไม้ ป่าไม้ วัฏจักรชีวเคมี

    Links ข้อมูลเพิ่มเติม

     

    สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

    ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

    Partners/Stakeholders

    กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช

    ตัวชี้วัดTHE Impact Ranking

    -

© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.