Senior technical consultant for implementing Wildlife and Protected Areas Finance Solutions
- National Mekong Committee Secretariats of Cambodia, Lao PDR, Thailand and Viet Nam
- Department of Hydrology and River Works, Ministry of Water Resources and Meteorology, Cambodia
- Natural Resources and Environment Research Institute, Ministry of Natural Resources and Environment, Lao PDR
- สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (Office of the National Water Resources )
- Southern Institute of Ecology, Ministry of Natural Resources and Environment, Viet Nam
- ผอ. ชลินศรี ไทยยิ่ง Water resources regional office 11
- จ่าเอก ศักดา สมศรี Department of Fishery
- นายศุภกิตติ์ ใสกระจ่าง Department of Fishery
- ผอ.ชาญยุทธ ชื่นตา Marine Department
- คุณบุญเลิศ แสงระวี EGAT
- Department of Disaster Prevention and Mitigation,Regional 13
- นายประเดิม ภาคแก้ว นายมนต์ชัย จันทร์ศิริ Pollution Control Department Regional 12
คำอธิบาย
เนื้อหา MU-SDGs Case Study
ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการ
โครงการริเริ่มทางการเงินเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ (BIOFIN) ภายใต้โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP Thailand) ดำเนินการในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ 2557 มุ่งเน้นการศึกษาวิจัยการบริหารจัดการระบบงบประมาณด้านความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย และกฎหมายระเบียบต่างๆ ที่ช่วยให้การขับเคลื่อนนวัตกรรมการเงินแบบใหม่สามารถริเริ่มได้ในประเทศไทย การทำงานของโครงการ BIOFIN อยู่ในการกำกับดูแลของคณะกรรมการระดับชาติ คือ “คณะกรรมการกำกับโครงการ BIOFIN ประเทศไทย” โดยมีรองเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นประธาน
การที่จะทำให้คนร่วมสนับสนุนโครงการ จำเป็นต้องทำการเตรียมยุทธศาสตร์การสื่อสารให้ชัดเจนและเกิดประสิทธิผล ให้สังคมสนใจ และผู้ที่ครอบครองรถยนต์ ผู้ที่สนใจจะซื้อรถใหม่ สนใจว่าโครงการนี้จัดตั้งขึ้นมาด้วยวัตถุประสงค์เพื่อการสร้างกลไกทางเงินเพื่อสนับสนุนช่องว่างความต้องการงบประมาณในการนำไปช่วยอนุรักษ์สัตว์ป่าและถิ่นอาศัยเพราะงบประมาณปกติของภาครัฐไม่เพียงพอ และประชาชนสามารถช่วยสนับสนุนได้ผ่านการซื้อป้ายทะเบียนพิเศษเพื่อการนี้ และเงินที่ได้จากโครงการนี้มีกระบวนการในการจัดสรรเพื่อนำไปใช้อย่างไร ให้เกิดความโปร่งใส ความมั่นใจ ประชาชนที่สนใจจึงสามารถตัดสินใจเข้าร่วมได้อย่างมั่นใจ มีการสื่อสารสาธารณะและการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ที่ชัดเจน สื่อสารให้สังคมทราบอย่างมีประสิทธิภาพ
การดำเนินการ
- คณะทำงานขับเคลื่อนกลไกการเงิน เรื่อง ป้ายทะเบียนเพื่อการอนุรักษ์ ประกอบด้วยหน่วยงานหลักจากกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมพิจารณาแนวทางที่เป็นไปได้และมาตรการที่จำเป็นเพื่อให้การจัดสรรงบประมาณบางส่วนจากกรมการขนส่งทางบก นำไปใช้ในงานอนุรักษ์ธรรมชาติของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช และจัดทำ Roadmap ของโครงการ
- กำหนดผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมเป็นคณะทำงาน และประชุมคณะทำงานเพื่อพิจารณาแผนงานและการปฎิบัติงานของโครงการระยะ 3 ปี (พ.ศ 2566 – 2568)
- ดำเนินโครงการตามแผนงาน และรายงานผลการดำเนินงานให้คณะกรรมการกำกับโครงการ BIOFIN ประเทศไทย โดยสามารถขออนุมัติงบประมาณดำเนินงานจาก Global BIOFIN เพื่อดำเนินงานในระยะที่ 2 ต่อไป
ผลการดำเนินงาน
การนำเสนอ Roadmap ในการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนกลไกการเงิน
การนำไปใช้ประโยชน์
ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการนำร่องกลไกการเงินป้ายทะเบียนรถเพื่อการอนุรักษ์สัตว์ป่าจะช่วยสร้างรายได้ ผ่านการนำกลไกด้านการตลาดมาระดมทุนจากประชาชนและจัดสรรเงินรายได้ ไปสู่การบูรณาการงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อปิดช่องว่างทางการเงินด้านความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย
ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น
ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น
Key Message
แผนการดำเนินการเพื่อการระดมทุนจากภาคประชาชนเพื่อร่วมสนับสนุนการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพผ่านโครงการป้ายทะเบียนรถเพื่อการอนุรักษ์
Links ข้อมูลเพิ่มเติม
สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
Partners/Stakeholders
- กรมการขนส่งทางบก
- สำนักงานโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
- กองทุนสิ่งแวดล้อม