• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

Research Highlight

หัวข้อ

รายละเอียด

ชื่อโครงการ

MU-SDGs Case Study

การใช้พื้นที่ซ้อนทับระหว่างช้างป่า (Elephas maximus) และชุมชน และการพัฒนาระบบเตือนภัยในภาคตะวันออกของประเทศไทย

Overlapping use areas between wild elephants (Elephas maximus) and communities, and warning system development in the eastern part of Thailand

แหล่งทุน

ทุน Fundamental Fund ประเภท Basic Research Fund ภายใต้แผนงานย่อย: พัฒนานักวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล

ส่วนงานหลัก

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

ส่วนงานร่วม

คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผู้ดำเนินการหลัก

รศ.ดร.รัตนวัฒน์ ไชยรัตน์

ผู้ดำเนินการร่วม

รศ.ดร.พรรณวิมล ตันหัน

ผศ.สพ.ญ.ดร.กาญจนา อิ่มศิลป์

ผศ.ดร.วิวัฒน์ วงศ์ก่อเกื้อ

คำอธิบาย

ศึกษาผลกระทบและทัศนคติ การติดตั้งกล้องดักถ่ายเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระจายเพื่อประเมินความเสี่ยง สร้างแผนที่แนวเชื่อมต่อที่ปลอดภัย การวิเคราะห์สารเคมีปนเปื้อนในพืชอาหาร และเครื่องมือแจ้งเตือนผ่านอินเตอร์เน็ตในพื้นที่ซ้อนทับภาคตะวันออกของประเทศไทย

เนื้อหา MU-SDGs Case Study

ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการ

การลดลงของช้างป่าจากการสูญเสียพื้นที่ป่า การล่า และการใช้งาน ทำให้มีการคุ้มครองจนมีประชากรช้างป่าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ผนวกกับการพัฒนาพื้นที่เกษตรและแหล่งน้ำทำให้มีการออกมาหากินนอกพื้นที่จนกลายเป็นความขัดแย้งที่เพิ่มมากขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกระจาย ประชากร ปัจจัยดึงดูด การตกค้างของสารเคมี และพัฒนาเครื่องเตือนภัยในพื้นที่ชุมชน

การดำเนินการ

1. สำรวจทางตรง สัมภาษณ์และตั้งกล้องดักถ่ายภาพกิจกรรมและผลกระทบจากช้าง

2. ทำแผนที่การกระจายและรูปแบบกิจกรรมเพื่อซ้อนทับกับกิจกรรมมนุษย์ ประเมินความเสี่ยงระหว่างช้างป่าและชุมชนเพื่อการจัดการ อนุรักษ์ ลดผลกระทบ และฟื้นฟูถิ่นที่อยู่อาศัยและหากินอย่างยั่งยืน

5. วิเคราะห์การปนเปื้อนสารเคมีในพืชอาหารและกองมูล

6. สร้างเครื่องเตือนภัยด้วยแสงเรเซอร์ผ่านเครือข่ายโทรศัพท์

7. จัดประชุมเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ชุมชน

ผลการดำเนินงาน

ประชากรส่วนใหญ่ปลูกพืชเกษตร ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และมันสำปะหลัง ตั้งแต่ 10 ถึงมากกว่า 100 ไร่ มีปัญหากรรมสิทธิ์ เงินทุน น้ำ และการบุกรุกของช้างป่า ทำให้ไม่ต้องการให้ช้างทำลายผลผลิต ทรัพย์สินและชีวิต คิดว่าช้างออกมาหาอาหาร แหล่งน้ำและบังเอิญทำร้ายคนมากกว่า 10 ครั้ง/ปี ถ้าอยู่ติดป่าได้รับผลกระทบตลอดปี ได้รับผลกระทบ 1-2 ครั้ง/ปีในพื้นที่ใหม่ แต่ไม่ได้รับการเยียวยาหรือไม่คุ้มค่า มีความตระหนักในการอนุรักษ์แต่ไม่เห็นด้วยกับการคุ้มครองช้างในชุมชน ควรสร้างเครือข่ายแจ้งเตือนภัย ฟื้นฟูแหล่งอาหาร ประกันผลผลิต จัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ติดปลอกคอและใช้รั้วรังผึ้ง เนื่องจากมีแนวโน้มกระจายเพิ่มขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2543 – 2564 จากการตั้งกล้องจำนวน 1,530 คืน พบช้างป่า 13 พื้นที่จาก 51 พื้นที่ จำนวน 94 ตัว มีอัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมีย 1:1.14 เพศเมียต่อลูกอ่อน 1:0.5 อัตราการเพิ่ม 1:0.84 ร้อยละความหนาแน่น 26.05 ร้อยละการกระจาย 33.33 การกระจายสัมพันธ์กับระยะทางจากแหล่งน้ำและระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ทำกิจกรรมตั้งแต่เวลา 17.00-08.00 น. และเพิ่มสูงสุดที่ 23.00 น. ช่วงฤดูแล้งพบหย่อมถิ่นที่อยู่อาศัย 3,552 หย่อม พื้นที่ 5,136.95 ตร.กม. หย่อมรองรับประชากร 253 หย่อม ผสมพันธุ์ 8 หย่อม การใช้ประโยชน์รูปแบบอื่น ๆ 253 หย่อม ช่วงฤดูฝนพบ 1,961 หย่อม พื้นที่ 3,850.86 ตร.กม. รองรับประชากร 223 หย่อม ผสมพันธุ์ 33 หย่อม การใช้ประโยชน์รูปแบบอื่น ๆ 1,705 หย่อม มีหย่อมที่สำคัญ 8 หย่อม ฤดูแล้งมีแนวเชื่อมต่อที่เหมาะสม 16 แนว ฤดูฝนมี 15 แนว ครอบคลุมพื้นที่เกษตรกรรม พืชยืนต้น ป่าดิบชื้น และป่าผลัดใบ ไม่พบการปนเปื้อนของสารฆ่าแมลงในกลุ่มออร์กาโนคลอรีนในพืชอาหารหลัก 10 ชนิด เครื่องมือเตือนภัยที่ทำงานได้ดีและอยู่ระหว่างพัฒนาประสิทธิภาพต่อไป

การนำไปใช้ประโยชน์

ภาครัฐ: กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

ชุมชน: ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่า

มีผลงานตีพิมพ์ระดับนานาชาติ Use of Human Dominated Landscape as Connectivity Corridors among Fragmented Habitats for Wild Asian Elephants (Elephas maximus) in the Eastern Part of Thailand. Diversity 2023;15(1):6. https://doi.org/10.3390/d15010006

ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์

เป็นการนำปัญหาที่พบในชุมชนมาทำการวิจัยด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์เพื่อให้ทราบแนวทางในการจัดการปัญหาที่ยั่งยืนจากผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงในพื้นที่ศึกษา พร้อมทั้งพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการลดผลกระทบให้กับชุมชนในพื้นที่ศึกษาและพื้นที่อื่น ๆ ที่ได้รับผลกระทบในรูปแบบที่เหมือนหรือใกล้เคียงกัน ซึ่งแตกต่างจากโครงการอื่น ๆ ที่เป็นการศึกษาปัญหาและเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหา ซึ่งบางครั้งอาจไม่สะท้อนความต้องการที่แท้จริงของชุมชนในพื้นที่ส่งผลให้การแก้ปัญหาจากโครงการวิจัยไม่ยั่งยืน

ผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก

ระดับชุมชน

จากผลการศึกษาสามารถลดความขัดแย้งระหว่างชุมชนและช้างป่าได้ รวมถึงการใช้เครื่องมือเตือนภัยที่เป็นนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงจากการสูญเสียผลผลิต ทรัพย์สิน และชีวิตของชุมชนในพื้นที่ซ้อนทับ และลดหากมีการประยุกต์ใช้ข้อมูลจากโครงการฯ ไปใช้จริงในพื้นที่

ระดับประเทศ

ผลการศึกษาและนวัตกรรมที่ได้จากโครงการฯ สามารถนำไปต่อยอดและใช้กับพื้นที่อื่น ๆ ที่มีปัญหาในลักษณะเดียวกันในระดับประเทศ

ระดับโลก

ผลจากการวิจัยสามารถตีพิมพ์ผลงานในระดับนานาชาติ ซึ่งประเทศต่าง ๆ สามารถเรียนรู้ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาจากโครงการฯ โดยเฉพาะประเทศที่มีปัญหาความขัดแย้งระหว่างมนุษย์และช้างป่า (Human – elephant conflicts; HEC) ที่กำลังขยายตัวเพิ่มขึ้นในหลายภูมิภาคในโลก

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

15

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

 

11

Key Message

การลดความขัดแย้งระหว่างชุมชนและช้างป่าด้วยแผนที่ความเสี่ยงเพื่อการตัดสินในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิตของชุมชน การจัดการประชากรช้างป่า และการพัฒนานวัตกรรมการเตือนภัยเพื่อลดการสูญเสียชีวิตอย่างยั่งยืน

Links ข้อมูลเพิ่มเติม

 

สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

อัลบั้มภาพ

 

Partners/Stakeholders

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

กรมป่าไม้

ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่าในพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต)

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับปัญหาช้างป่าทั้งระดับชุมชน อำเภอ จังหวัด และประเทศ

ตัวชี้วัด THE Impact Ranking

15.2.1, 15.3.5


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.