• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

Research Highlight

โครงการจ้างขับเคลื่อนกิจกรรมและประเมินการบริหารจัดการและเพิ่มพื้นที่สีเขียวที่ยั่งยืน

Image
Image
แหล่งทุน
กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
ส่วนงานหลัก
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ส่วนงานร่วม

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล

สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้ดำเนินการหลัก
รองศาสตราจารย์ ดร.สยาม อรุณศรีมรกต

คำอธิบาย

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ขับเคลื่อนกิจกรรมและประเมินการบริหารจัดการและเพิ่มพื้นที่สีเขียวที่ยั่งยืน เพื่อกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนเห็นความสำคัญของพื้นที่สีเขียว เข้ามามีส่วนร่วมจัดการพื้นที่สีเขียวของตนเองและของประเทศอย่างเหมาะสม บนหลักการและแนวคิดการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจสีเขียว (Green growth) โดยดำเนินการทบทวนและปรับปรุงเกณฑ์ประเมินการจัดการพื้นที่สีเขียว ของกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม และจัดทำเกณฑ์ประเมินการจัดการพื้นที่สีเขียว สำหรับกลุ่มหน่วยงานราชการ และรับสมัครหน่วยงานเข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วย กลุ่มองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มหน่วยงานราชการ กลุ่มสถานศึกษา กลุ่มภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจ และดำเนินการให้คำแนะนำในการดำเนินการตามเกณฑ์ที่กำหนด และตรวจประเมินเพื่อให้การรับรองเกณฑ์ประเมินการจัดการพื้นที่สีเขียว

เนื้อหา MU-SDGs Case Study

ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการ

ปัจจุบันทั่วโลกให้ความสำคัญกับการลดก๊าซเรือนกระจก ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เกิดภาวะสภาพอากาศแปรปรวน ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ โดยมีแนวทางการขับเคลื่อนที่สำคัญในการมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ปี ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ปี ค.ศ. 2065 ดังที่นายกรัฐมนตรีได้แสดงเจตนารมณ์ไว้ในที่ประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26 หรือ COP26 ณ เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร ที่ผ่านมา เพื่อผลักดันให้เกิดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แนวทางหนึ่งที่ประเทศกำลังดำเนินการอย่างต่อเนื่อง นั้นก็คือ การเพิ่มพื้นที่สีเขียวทั่วประเทศ เพราะพื้นที่สีเขียว ที่มีต้นไม้เป็นองค์ประกอบหลัก จะมีศักยภาพในการดูดซับก๊าซเรือนกระจก เก็บกักคาร์บอนไว้ ทำให้ก๊าซเรือนกระจกลดลง และช่วยบรรเทาปัญหาสิ่งแวดล้อม ยังเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และที่รวมกลุ่มทางสังคมของคน การเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อลดภาวะโลกร้อน มุ่งไปสู่เมืองคาร์บอนต่ำ ดังนั้นการที่จะเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองและชนบทได้ตามเป้าหมายจะต้องอาศัยความร่วมมือจาก ทุกภาคส่วน มีการวางแผนพัฒนาพื้นที่สีเขียวอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างการมีส่วนร่วมใน การจัดการพื้นที่สีเขียวอย่างมีระบบองจังหวัด ประเทศ และยูเนสโก ซึ่งจะเป็นแนวทางไปสู่ความสำเร็จของการจัดการที่ยั่งยืนและเกิดการบริหารจัดการจากทุกภาคส่วน ทั้งประชาชนในพื้นที่จะเกิดความภาคภูมิใจอนุรักษ์หวงแหนทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมในพื้นที่ ซึ่งส่งผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนทุกมิติ และการเพิ่มพื้นที่อุทยานธรณีของประเทศไทย


การดำเนินการ

1. ทบทวนและปรับปรุงเกณฑ์ประเมินการจัดการพื้นที่สีเขียว ของกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม และจัดทำเกณฑ์ประเมินการจัดการพื้นที่สีเขียว สำหรับกลุ่มหน่วยงานราชการ
2. เชิญชวน และคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย สมัครเข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วย กลุ่มองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มหน่วยงานราชการ กลุ่มสถานศึกษา กลุ่มภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจ อย่างน้อยกลุ่มละ 3 แห่ง โดยรวมจำนวนทั้งหมดต้องไม่น้อยกว่า 20 แห่ง
3. ลงพื้นที่ของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อชี้แจงโครงการ เกณฑ์ประเมินฯ ขั้นตอนการดำเนินงาน สำรวจพื้นที่ พร้อมให้คำปรึกษาแนะนำแก่กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ จำนวนอย่างน้อย 1 ครั้ง/แห่ง
4. จัดกิจกรรมขับเคลื่อนการเพิ่มพื้นที่สีเขียว เช่น การมอบกล้าไม้ การปลูกต้นไม้ การอนุรักษ์หรือดูแลรักษาต้นไม้ การออกแบบและวางผังการเพิ่มพื้นที่สีเขียว การเลือกพรรณไม้ การสำรวจเก็บข้อมูลต้นไม้ เป็นต้น
5. จัดการตรวจประเมินการจัดการพื้นที่สีเขียวของกลุ่มเป้าหมาย

ผลการดำเนินงาน

มีหน่วยงานเข้าร่วมการดำเนินงานทั้งสิ้น 26 แห่ง จากการตรวจประเมินการจัดการพื้นที่สีเขียว ทั้ง 26 แห่ง พบว่ามีหน่วยงานที่ผ่านเกณฑ์การจัดการพื้นที่สีเขียว ระดับดีเยี่ยม จำนวน 17 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 65.38 หน่วยงานที่ผ่านเกณฑ์การจัดการพื้นที่สีเขียว ระดับดีมาก จำนวน 4 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 15.38 หน่วยงานที่ผ่านเกณฑ์การจัดการพื้นที่สีเขียว ระดับดี จำนวน 3 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 11.54 และหน่วยงานระดับมุ่งมั่นพัฒนา จำนวน 2 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 7.69

การนำไปใช้ประโยชน์

หน่วยงานเข้าร่วมการดำเนินงานทั้ง 26 แห่ง มีการนำเกณฑ์ประเมินการจัดการพื้นที่สีเขียวไปประยุกต์ใช้เกิดการขับเคลื่อนกิจกรรมและประเมินการบริหารจัดการและเพิ่มพื้นที่สีเขียวที่ยั่งยืน

ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

มีการพัฒนาเกณฑ์ประเมินการจัดการพื้นที่สีเขียว เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนกิจกรรมและประเมินการบริหารจัดการและเพิ่มพื้นที่สีเขียวที่ยั่งยืนโดยเฉพาะ

ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

เกิดการเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อลดภาวะโลกร้อน มุ่งไปสู่เมืองคาร์บอนต่ำ โดยการส่งเสริมการปลูกป่าธรรมชาติ ป่าเศรษฐกิจ ได้ถูกกำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ตามนโยบายของรัฐบาล ที่ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจควบคู่กับการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ตั้งเป้าหมายเพิ่มพื้นที่สีเขียวทุกประเภท ให้ได้ร้อยละ 55 ภายในปี พ.ศ. 2580

Key Message

การพัฒนาเกณฑ์ประเมินการจัดการพื้นที่สีเขียว เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนกิจกรรมและประเมินการบริหารจัดการและเพิ่มพื้นที่สีเขียวที่ยั่งยืน เพื่อลดภาวะโลกร้อน มุ่งไปสู่เมืองคาร์บอนต่ำ

สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

ยุทธศาสตร์ 3 “Policy Advocacy and Leaders in  Professional / Academic Services”

Partners/Stakeholders

กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
ภาพประกอบ
Image
Image

© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.