• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

Post Formats

ถ้ำทะลุ

อุทยานธรณีสตูล

นักวิจัย

  • ผศ.ดร.ปรมิตา พันธ์วงศ์
  • รศ.ดร.นาฏสุดา ภูมิจำนงค์

อุทยานธรณีคืออะไร อุทยานธรณีเป็นมรดกทางธรรมชาติ ก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ สู่ชุมชน สังคมในท้องถิ่น ผ่านการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา ส่งผลให้มรดกทางธรรมชาติเกิดการอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

ทำไมสตูลจึงได้รับการรับรองเป็นอุทยานธรณีโลกแห่งแรกของประเทศไทย

สตูลมีความร่ำรวยด้านฟอสซิลมากมายและพบหินอายุเก่าแก่ต่างๆถึง 6 อายุ สาหร่าย

สโตมาโตไร ถ้ำ โบราณคดี ธรรมชาติที่โดดเด่น สถาปัตยกรรม ชาติพันธุ์มานิ ชุมชน วัฒนธรรม และการบริหารจัดการที่มีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนโดยเฉพาะชุมชนในพื้นที่

อุทยานธรณีสตูลอายุเท่าไร?

ธรณีวิทยาของภูมิประเทศอุทยานธรณีสตูลเป็นพื้นทะเลที่มีอายุมากกว่า 500 ล้านปีก่อนในสมัยแคมเบรียนซึ่งเป็นช่วงที่พื้นทะเลเป็นทรายเต็มไปด้วยสัตว์หน้าตาแปลก ๆ หลายชนิด สิ่งมีชีวิตบางชนิดที่มีลักษณะคล้ายแมงดาทะเลในปัจจุบันถูกเรียกว่าไตรโลไบต์ซึ่งฟอสซิลบนเกาะตะรุเตาเป็นหลักฐานว่าเคยมีสัตว์ชนิดนี้อยู่บริเวณนั้น

ถ้ำทะลุ-ป่าดึกดำบรรพ์

 

ถ้ำทะลุเป็นการเกิดถ้ำที่เรียกว่า วาโดส (Vadose cave)  ถ้ำวาโดสได้รับการพัฒนาส่วนใหญ่อยู่เหนือชั้นน้ำใต้ดิน  ภายในเขตวาโดสการระบายน้ำจะไหลออกมาอย่างอิสระภายใต้แรงโน้มถ่วงและโซนเหนือน้ำใต้ดินที่เรียกว่าโซนวาโดสนี้เนื่องจากโซนนี้มีอากาศการพัฒนาของถ้ำในเขตวาโดสส่วนใหญ่เกิดจากการกัดเซาะเนื่องจากน้ำไหล ลักษณะทางเดินในถ้ำของการพัฒนาวาโดสเป็นแนวตั้ง ร่องลึกที่พื้นทางเดินและชั้นบนผนัง ถ้าร่องรอยการกระทำของน้ำเป็นริ้วๆคล้ายเปลือกหอย (scallops) จะถูกพบที่ส่วนล่างของทางเดินน้ำที่ไหลเร็วทางเดินอาจแห้งหรืออาจมีลำธารและน้ำตกไหลอยู่ เนื่องจากแรงโน้มถ่วงควบคุมการไหลของน้ำหมายความว่าทางเดินในถ้ำวาโดส ทั้งหมดจะระบายน้ำลงสู่ที่ต่ำลักษณะของถ้ำวาโดส คือเพดานไม่มีการกัดกร่อนและการไล่ระดับสีลงอย่างต่อเนื่อง รูปแบบทางเดินหลักคดเคี้ยวและมีกุมภลักษณ์ (pothole) ทางเดินมักจะปรากฏเป็นรูปรูกุญแจ

ที่ตั้ง หมู่ 2 ต. เขาขาว อ. ละงู จ. สตูล

ลักษณะทางธรณี ถ้ำทะลุเป็นถ้ำแห้งขนาดความยาวประมาณ 80 เมตร หินยุคโอโดวิเชียนเช่นเดียวกับถ้ำที่พบในจังหวัดสตูล สีหินปูนคล้ำและพบฟอสซิลพวกนอติลอยด์จำนวนมาก ผนังถ้ำพบร่องรอยการกระทำของน้ำเป็นลักษณะกลมเว้าเห็นได้อย่างชัดเจนหรือที่เรียกว่ากุมลักษณ์บริเวณผนังถ้ำบางพื้นที่ ร่องรอยเหล่านี้บ่งชี้ว่าถ้ำทะลุเคยมีน้ำไหลผ่านซึ่งเป็นกระแสน้ำที่มีความเร็วและปริมาณมาก ปากถ้ำอยู่สูงจากระดับผิวดินเดิมเล็กน้อย เมื่อเดินเข้าสู่ตัวถ้ำ พบรอยพื้นถ้ำเก่าที่มีการทรุดตัวลงและเมื่อออกจากตัวถ้ำพบหลุมยุบดึกดำบรรพ์พื้นที่ประมาณ 12 ไร่ สันนิษฐานได้ว่าน้ำที่มีปริมาณมากได้ไหลออกจากตัวถ้ำและอาจมาจากบริเวณทิศทางรอบๆหลุ่มยุบและซึมลงใต้ผิวดินที่มีโครงสร้างของหินปูนและเมื่อน้ำฝนที่มีคุณสมบัติเป็นกรดคาร์บอนิคอ่อนไหลลงสู่ด้านล่างจะทำให้ชั้นหินปูนเกิดการละลายทำให้ผิวดินด้านบนค่อนๆทรุดจมตัวลงและเพิ่มขนาดความกว้างขึ้นเรื่อยๆเมื่อระยะเวลายาวนาน   

หลุมยุบ (sinkhole) เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างหนึ่งที่ดินยุบตัวลงเป็นหลุมลึกและมีเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 1-200 เมตร ลึกตั้งแต่ 1 ถึงมากกว่า 20 เมตร เมื่อแรกเกิดปากหลุมมีลักษณะเกือบกลมและมีน้ำขังอยู่ก้นหลุม ภายหลังน้ำจะกัดเซาะดินก้นหลุมกว้างขึ้น ลักษณะคล้ายลูกน้ำเต้า ทำให้ปากหลุมพังลงมาจนเหมือนกับว่าขนาดของหลุมยุบกว้างขึ้น โดยปกติหลุมยุบจะเกิดในบริเวณที่ราบใกล้กับภูเขาที่เป็นหินปูน เนื่องจากหินปูนมีคุณสมบัติละลายน้ำ ที่มีสภาพเป็นกรดอ่อนประกอบกับภูเขาหินปูนมีรอยเลื่อนและรอยแตกมากมาย สังเกตเห็นได้ว่าภูเขาหินปูนมีหน้าผาชัน หน้าผาเป็นรอยเลื่อนและรอยแตกในหินปูนนั่นเอง บริเวณใดที่รอยแตกของหินปูนตัดกันจะเป็น บริเวณที่ทำให้เกิดโพรงได้ง่าย โพรงหินปูนถ้าอยู่พ้นผิวดินก็คือถ้ำ ถ้าไม่โผล่เรียกว่าโพรงหินปูนใต้ดิน ซึ่งจำแนกเป็น 2 ระดับ คือ โพรงหินปูนใต้ดินระดับลึก ( ลึกจากผิวดินมากกว่า 50 เมตร) และโพรงหินปูนใต้ดินระดับตื้น ( ลึกจากผิวดินไม่เกิน 50 เมตร) ส่วนใหญ่หลุมยุบจะเกิดในบริเวณที่มีโพรงหินปูนใต้ดินระดับตื้น (dmr.go.th)

บริเวณพื้นที่หลุมยุบ ปัจจุบันมีสภาพคล้ายป่าดิบชื้นเนื่องจากถูกโอบล้อมด้วยแนวเทือกเขาหินปูน แสงแดดส่องถึงพื้นล่างค่อนข้างจำกัด ต้นไม้ส่วนมากเป็นพืชดั้งเดิมในท้องถิ่น นอกจากนี้บริเวณชะง่อนหินปูนพบต้นเขากวางอ่อนซึ่งเป็นพืชประจำถิ่นของบริเวณถ้ำเขาทะลุบริเวณหลุมยุบ  

 

 

 

 

 

 

 

 

 


Accordion Menu

Newsletter Subscribe

About The Flex

Good seasons, day place male evening life after together gathered let void she'd grass created days upon after above great. Creative, prolific and ever-ready to serve you.


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.