MU-ITA
- Super User
- ปฏิทินกิจกรรม
- ฮิต: 425
ดอบแบบสอบถามวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก ประจำปีงบประมาณ 2568
แสกน QR Code หรือ คลิกลิงค์ https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSeRyjPl1Sc5vo7cOIr32wrL0jL_ChwRG-c-piLERnlqKb2neg/viewform
ดอบแบบสอบถามวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก ประจำปีงบประมาณ 2568
แสกน QR Code หรือ คลิกลิงค์ https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSeRyjPl1Sc5vo7cOIr32wrL0jL_ChwRG-c-piLERnlqKb2neg/viewform
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การประเมินการกักเก็บคาร์บอน และการพัฒนาโครงการ T-VER ภาคการปลูกป่าและการฟื้นฟูป่า” รุ่นที่ 2
ระหว่างวันที่ 22 – 23 เมษายน 2568
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้สนใจร่วมอบรม -> แบบฟอร์มออนไลน์สำหรับลงทะเบียนอบรม
**************************************************
ปัจจุบันประเทศไทยได้รับผลกระทบจากความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะการเกิดภาวะโลกร้อน ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน (Global Warming) คือ การเพิ่มขึ้นของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศ ทำให้โลกไม่สามารถระบายความร้อนที่ได้รับจากรังสีดวงอาทิตย์ออกไปได้ตามปกติ จึงทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น และส่งผลให้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงไป สาเหตุสำคัญเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม การคมนาคม เศรษฐกิจ การใช้พลังงานในรูปแบบต่างๆ ตลอดจนการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 หรือ Conference of the Parties ครั้งที่ 26 (COP26) มีความเชื่อมโยงกับความตกลงปารีส (Paris Agreement) โดยการประชุมได้กำหนดเป้าหมายไว้ 3 เรื่อง ได้แก่ 1) ยกระดับเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อให้อุณหภูมิโลกต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส และเข้าใกล้หรือถึง 1.5 องศาเซลเซียส 2) การปรับตัวเพื่อรองรับผลกระทบจากอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น และภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ 3) กลไกการสนับสนุนทางการเงิน เทคโนโลยีและองค์ความรู้ระหว่างประเทศพัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา โดยการประชุมครั้งนี้ยังได้กำหนดข้อตัดสินใจที่เรียกว่า Glasgow Climate Pact ซึ่งครอบคลุมเรื่องการยกระดับเป้าหมายเพื่อปรับปรุง Nationally Determined Contributions (NDCs) การลดก๊าซเรือนกระจก การสนับสนุนทางการเงินระยะยาว (Long-term Climate Finance) และการเร่งรัดการส่งแผนการปรับตัวแห่งชาติ (Adaptation Communication) เพื่อรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
"โครงการ T-VER" คือ กลไกลดก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศที่องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO) พัฒนาขึ้นตั้งแต่ปี 2557 โดยมีชื่อเต็มว่า โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program) หรือ T-VER โครงการนี้มีเป้าหมายส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนร่วมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศ โดยเฉพาะผู้ผลิตและใช้พลังงานหมุนเวียน ภาคอุตสาหกรรมที่มีกิจกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน การจัดการของเสีย การจัดการในภาคขนส่ง รวมถึงการปลูกต้นไม้และการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่า ซึ่งนอกจากจะช่วยกักเก็บก๊าซเรือนกระจกแล้ว ยังสามารถรักษาสมดุลของความหลากหลายทางชีวภาพได้อีกด้วย
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เล็งเห็นความสำคัญของโครงการดังกล่าว จึงได้จัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ "การประเมินการกักเก็บคาร์บอน และการพัฒนาโครงการ T-VER ภาคการปลูกป่าและการฟื้นฟูป่า" รุ่นที่ 2 ขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างระบบการประเมินการกักเก็บคาร์บอน และการพัฒนาโครงการ T-VER ตลอดจนให้องค์กรต่างๆ มีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่อง
3.1 เนื้อหาในส่วนของภาพรวมโครงการ ประกอบด้วย
- ภาพรวมของโครงการ T-VER ภาคการปลูกป่าและการฟื้นฟูป่า
- การพัฒนาข้อเสนอโครงการ (PDD, project design document)
- การกำหนดตัวแปรที่ต้องดำเนินการในภาคสนาม (หลักการจำแนกชั้นภูมิ)
- การสุ่มตัวอย่าง การวัดการเจริญเติบโตของต้นไม้ การควบคุมค่า CV
3.2 เนื้อหาในส่วนการพัฒนาเอกสารข้อเสนอโครงการ (Project Design Document: PDD)
ประกอบด้วย
ถูกต้องของข้อมูล
ระหว่างวันที่ 22 – 23 เมษายน 2568 (เวลา 09:00 – 16:00 น. – จำนวน 2 วัน)
ณ ห้องประชุมรองศาสตราจารย์ (พิเศษ) เล็ก มอญเจริญ (4218) ชั้น 2 อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
บุคลากรจากหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน รัฐวิสาหกิจ และผู้ที่สนใจทั่วไป จำนวน 50 คน
- ท่านละ 3,500 บ. (รวมอาหารว่าง และอาหารกลางวัน)
- โปรโมชั่นพิเศษ รับส่วนลด 10% สำหรับหน่วยงานที่มาจำนวน 3 คนขึ้นไป
รองศาสตราจารย์ ดร.ธรรมรัตน์ พุทธไทย
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมได้รับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการประเมินการกักเก็บคาร์บอน และการพัฒนาโครงการ T-VER ตลอดจนผู้เข้าอบรมสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการสร้างระบบการเมินการกักเก็บคาร์บอน และมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างต่อเนื่อง
กำหนดการ
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การประเมินการกักเก็บคาร์บอน และการพัฒนา
โครงการ T-VER ภาคการปลูกป่าและการฟื้นฟูป่า” รุ่นที่ 2
ระหว่างวันที่ 22 – 23 เมษายน 2568
ณ ห้องประชุมรองศาสตราจารย์ (พิเศษ) เล็ก มอญเจริญ (4218) ชั้น 2 อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เวลา |
รายละเอียด |
วันอังคารที่ 22 เมษายน 2568 |
|
08:30 – 09:00 น. |
ลงทะเบียน |
09:00 – 09:05 น. |
กล่าวต้อนรับผู้เข้ารับการฝึกอบรมและกล่าวเปิดโครงการฯ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
09:05 – 10:30 น. |
การพัฒนาเอกสารข้อเสนอโครงการ (project design document, PDD) 1. การพัฒนาเอกสารข้อเสนอโครงการ - ขั้นตอนการพัฒนาโครงการ - ส่วนประกอบในข้อเสนอโครงการ - ระเบียบวิธีการ (Methodology) - การวิเคราะห์กรณีฐาน (Baseline) วิทยากร: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รุ่งเรือง พูลศิริ ภาควิชาวนวัฒนวิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
10:30 – 12:00 น. |
อบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ (ต่อ) 2. เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการ - การกำหนดขอบเขตโครงการ - การเลือกระเบียบวิธีการ (Methodology) ที่เหมาะสม - สาระสำคัญที่จะต้องระบุในเนื้อหา - แนวทางการเขียนข้อมูลและการแสดงหลักฐาน - วิธีการติดตามประเมินผล (carbon monitoring) วิทยากร: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รุ่งเรือง พูลศิริ ภาควิชาวนวัฒนวิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
12:00 – 13:00 น. |
รับประทานอาหารกลางวัน |
13:00 – 16:00 น. |
การนำเข้าข้อมูลการสำรวจในระบบ และการคำนวณ และการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล วิทยากร: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รุ่งเรือง พูลศิริ ภาควิชาวนวัฒนวิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
วันพุธที่ 23 เมษายน 2568 |
|
08:30 – 09:00 น. |
ลงทะเบียน |
09:00 – 12:00 น. |
บรรยายหัวข้อ - ภาพรวมของโครงการ T-VER ภาคการปลูกป่าและการฟื้นฟูป่า - การพัฒนาข้อเสนอโครงการ (PDD, project design document) - การกำหนดตัวแปรที่ต้องดำเนินการในภาคสนาม (หลักการจำแนกชั้นภูมิ) - การสุ่มตัวอย่าง การวัดการเจริญเติบโตของต้นไม้ การควบคุมค่า CV วิทยากร: รองศาสตราจารย์ ดร.ธรรมรัตน์ พุทธไทย คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
12:00 – 13:00 น. |
รับประทานอาหารกลางวัน |
13.00 – 16:00 น. |
บรรยายหัวข้อ - การฝึกปฏิบัติการสำรวจ การเก็บข้อมูลภาคสนาม - เทคนิคการสำรวจภาคสนาม วิทยากร: รองศาสตราจารย์ ดร.ธรรมรัตน์ พุทธไทย คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
**หมายเหตุ – กำหนดการอบรมอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
ผู้ประสานงานโครงการอบรม
น.ส. วิลินธร ชูโต (เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม)
โทร 02441 5000 ต่อ 2225, มือถือ 0961566999
อีเมล: vilinthorn.xut@mahidol.ac.th
🌏💡 เวทีประลองไอเดียสร้างสรรค์สังคมปลอดคาร์บอน สำหรับเด็กมหิดลมาแล้ววว!! ✨
Agenda: Open Day MUICT & ENVI MAHIDOL HACKATHON 2025
💡 "Innovation for Carbon Neutrality Society" 💡
📅 วันที่: [8 มกราคม 2568]
⏰ เวลา: [13:00 - 17:00]
📍 สถานที่: [MaSHARES Co – Working & Maker Space @MB]
✨ มาร่วมสนุก สร้างสรรค์ และปลดปล่อยไอเดียไปด้วยกัน! ✨
กำหนดการ
⏰ 13:00 - 13:15
Welcome & Check-in
ลงทะเบียนเข้างาน พร้อมเตรียมตัวสนุกไปกับกิจกรรม!
ลงทะเบียนออนไลน์ได้ที่ https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSdQK7cWlgJcO1oxcQzwQFbsqUPHcOclhjjh8yiBgca4qdPKnQ/viewform
รายละเอียดงานทั้งหมด https://www.ict.mahidol.ac.th/hackathon2025/
⏰ 13:15 - 13:45
Let's Kick Off! แนะนำโครงการแบบ Exclusive
ร่วมพูดคุยกับทีมผู้บริหารและอาจารย์เพื่อเข้าใจเป้าหมายและแรงบันดาลใจของโครงการ
⏰ 13:45 - 15:45
ICE BREAKING: สนุก & สร้างทีม
ร่วมกิจกรรมสุดมันส์กับทีมพี่เลี้ยง iNT รู้จักเพื่อนใหม่ และรวมทีมสร้างไอเดีย
⏰ 15:45 - 16:00
พักรับประทานอาหารว่าง
เติมพลังหลังจากลุยกิจกรรม พร้อมรีเฟรชตัวเองให้พร้อมสำหรับช่วงสุดท้าย
⏰ 16:00 - 16:45
ICE BREAKING (ต่อ): ระดมไอเดีย
กลับมาลงลึกกับการระดมสมอง ปล่อยไอเดียสร้างสรรค์เพื่อสังคมปลอดคาร์บอน!
⏰ 16:45 - 17:00
Wrap Up & Let’s Celebrate!
สรุปกิจกรรม แชร์ประสบการณ์สุดประทับใจ และเตรียมพบกับ Hackathon ตัวจริง!
✨ เจอกันที่ MaSHARES Co-Working & Maker Space @MB! ✨
มาแล้วหลักสูตร “ความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ”
ซึ่งได้รับรองหลักสูตร จาก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
จัดในวันที่ 20-21 กุมภาพันธ์ 2568 | 08.00 – 17.00 น.
ณ อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ค่าลงทะเบียนเพียง 3,000-3,500 บาท/ท่าน
รับจำนวนจำกัด 50 ท่าน
ลงทะเบียนได้ที่ >> https://forms.gle/QQYYmasHXJWTZwPk7
รายละเอียดโครงการ https://rasen.mahidol.ac.th/biosafety2025/
🌍💡 ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมส่งผลงานและเข้าร่วมงานประชุมวิชาการระดับชาติ การพัฒนาอย่างยั่งยืน ครั้งที่ 1 ภายใต้หัวข้อ “เสริมสร้างผลกระทบเพื่อเปลี่ยนแปลงโลก (Real World Impact)” 🌱✨
พบกันวันที่ 5 มิถุนายน 2568 ตรงกับวันสิ่งแวดล้อมโลก ณ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
งานนี้เป็นเวทีสำคัญสำหรับการนำเสนอผลงานวิชาการ ทั้งภาคบรรยายและภาคโปสเตอร์จากหลากหลายสาขา
ไม่ว่าจะเป็นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 🌿
พลังงานและเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม 🔋
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ 🌪️
หรือการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน 🏢 มาร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืนกันเถอะ! 🌍✨
📩 เปิดรับบทความระหว่าง 1 ต.ค. 67 - 15 ก.พ. 68
📲 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://en.mahidol.ac.th/ensd