โครงการทบทวนและจัดทำแผนแม่บทเชิงกลยุทธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กทพ. ปีงบประมาณ 2564-2570
แหล่งทุน
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
ส่วนงานหลัก
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์
ส่วนงานร่วม
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
ผู้ดำเนินการหลัก
ผศ. ดร. กุลวดี แก่นสันติสุขมงคล
ผู้ดำเนินการรอง
นางอภิญญา สุนทรธาราวงศ์
นางสาวปรางศิริ ศรีศุภพัชร
นางสาวกนกพร ศิลาดี
นายเอกสิทธิ์ คำนวณวิทย์
นางสาววีรยา เล็กสาริกา
นางสาวปรางศิริ ศรีศุภพัชร
นางสาวกนกพร ศิลาดี
นายเอกสิทธิ์ คำนวณวิทย์
นางสาววีรยา เล็กสาริกา
คำอธิบาย
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ตระหนักถึงการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับความรับผิดชอบต่อสังคม โดยมุ่งเน้นการดำเนินงานเพื่อสังคม หรือ CSR in Process ซึ่งเป็นการบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการดำเนินงานหลักขององค์กรในทุกขั้นตอน โดยทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากองค์กรอย่างรับผิดชอบไม่ปล่อยปละละเลย โดยมีการดำเนินงานที่เน้นการพัฒนาและให้บริการทางพิเศษอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยถือเป็นพันธะหน้าที่ของ กทพ. ที่ให้ความสำคัญกับการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม รวมทั้งเคารพต่อผลประโยชน์และการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเป็นธรรมและโปร่งใส
เนื้อหา MU-SDGs Case Study
ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการ
1) เพื่อทบทวนแผนแม่บทเชิงกลยุทธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กทพ. ระยะยาว 3 ปี (2564-2566) และจัดทำแผนแม่บทเชิงกลยุทธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กทพ. ปีงบประมาณ 2564-2570
2) เพื่อนำแผนแม่บทเชิงกลยุทธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กทพ. ปีงบประมาณ 2564-2570 ไปจัดทำแผนปฏิบัติการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและแผนงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
การดำเนินการ
การดำเนินงานโครงการทบทวนและจัดทำแผนแม่บทเชิงกลยุทธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กทพ. ปีงบประมาณ 2564-2570 ดำเนินการทั้งหมด 11 ขั้นตอน โดยที่ปรึกษาดำเนินการทบทวนและสังเคราะห์ข้อมูลของแต่ละขั้นตอนผ่านการประชุมปฏิบัติการทั้งหมด 12 ครั้ง จากนั้นนำผลจากการประชุมเชิงปฏิบัติการเข้าไปประชุมหารือและระดมความคิดร่วมกับส่วนงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กทพ. จำนวน 6 ครั้ง นอกจากนี้ยังมีการสอบทานข้อมูลกับผู้บริหารของ กทพ. จำนวน 1 ครั้ง โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การทบทวนข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
ขั้นตอนที่ 2 การทบทวนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กทพ.
ขั้นตอนที่ 3 การทบทวนและสรุปความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กทพ.
ขั้นตอนที่ 4 การวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค (SWOT Analysis) ความได้เปรียบเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Advantage: SA) ความท้าทายเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Challenge : SC) ของ กทพ.
ขั้นตอนที่ 5 ทบทวนและจัดทำวัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Objective : SO)
ขั้นตอนที่ 6 ทบทวนและจัดทำยุทธศาสตร์ กลยุทธ์การขับเคลื่อนด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กทพ.
ขั้นตอนที่ 7 ทบทวนและจัดทำแผนงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กทพ.
ขั้นตอนที่ 8 ทบทวนและจัดทำแนวทางการดำเนินงานการจัดทำโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และภารกิจขององค์กร
ขั้นตอนที่ 9 การจัดทำแนวทางในการทบทวนแผนแม่บทฯ ประจำปี
ขั้นตอนที่ 10 การจัดทำร่างแผนแม่บทเชิงกลยุทธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กทพ. ปีงบประมาณ 2564-2570
ขั้นตอนที่ 11 การถ่ายทอดแผนสู่การนำไปปฏิบัติ
ผลการดำเนินงาน
การทบทวนแผนแม่บทเชิงกลยุทธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กทพ. ปีงบประมาณ 2564-2570 ได้ปรับปรุงองค์ประกอบต่าง ๆ ของแผนให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับบริบทภายในและภายนอกของ กทพ. มากยิ่งขึ้น รวมทั้งการปรับปรุงตัวชี้วัดของแผนแม่บทฯ ให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงานของ กทพ. ด้วยการสอบทานความเชื่อมโยงและความถูกต้องของขอบเขตวิธีการวัดกับส่วนงานที่มีความเกี่ยวข้องกับตัวชี้วัดนั้น ๆ เพื่อความถูกต้อง ชัดเจน จากแผนแม่บทเชิงกลยุทธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ระยะยาว 3 ปี (2564-2566) สู่แผนแม่บทเชิงกลยุทธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กทพ. ปีงบประมาณ 2564-2570
การนำไปใช้ประโยชน์
แผนแม่บทเชิงกลยุทธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กทพ. ปีงบประมาณ 2564-2570 ได้ถูกถ่ายระดับไปสู่แผนปฏิบัติการด้านความรับผิดชอบต่อสังคม และรวบรวมข้อมูลการดำเนินงานกับส่วนงานที่มีความเกี่ยวข้องซึ่งมีความสอดคล้องกับตัวชี้วัดของแผนแม่บทฯ ซึ่งสามารถสะท้อนความสำเร็จของการดำเนินงานในภาพรวมได้
1) เพื่อทบทวนแผนแม่บทเชิงกลยุทธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กทพ. ระยะยาว 3 ปี (2564-2566) และจัดทำแผนแม่บทเชิงกลยุทธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กทพ. ปีงบประมาณ 2564-2570
2) เพื่อนำแผนแม่บทเชิงกลยุทธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กทพ. ปีงบประมาณ 2564-2570 ไปจัดทำแผนปฏิบัติการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและแผนงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
การดำเนินการ
การดำเนินงานโครงการทบทวนและจัดทำแผนแม่บทเชิงกลยุทธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กทพ. ปีงบประมาณ 2564-2570 ดำเนินการทั้งหมด 11 ขั้นตอน โดยที่ปรึกษาดำเนินการทบทวนและสังเคราะห์ข้อมูลของแต่ละขั้นตอนผ่านการประชุมปฏิบัติการทั้งหมด 12 ครั้ง จากนั้นนำผลจากการประชุมเชิงปฏิบัติการเข้าไปประชุมหารือและระดมความคิดร่วมกับส่วนงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กทพ. จำนวน 6 ครั้ง นอกจากนี้ยังมีการสอบทานข้อมูลกับผู้บริหารของ กทพ. จำนวน 1 ครั้ง โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การทบทวนข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
ขั้นตอนที่ 2 การทบทวนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กทพ.
ขั้นตอนที่ 3 การทบทวนและสรุปความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กทพ.
ขั้นตอนที่ 4 การวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค (SWOT Analysis) ความได้เปรียบเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Advantage: SA) ความท้าทายเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Challenge : SC) ของ กทพ.
ขั้นตอนที่ 5 ทบทวนและจัดทำวัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Objective : SO)
ขั้นตอนที่ 6 ทบทวนและจัดทำยุทธศาสตร์ กลยุทธ์การขับเคลื่อนด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กทพ.
ขั้นตอนที่ 7 ทบทวนและจัดทำแผนงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กทพ.
ขั้นตอนที่ 8 ทบทวนและจัดทำแนวทางการดำเนินงานการจัดทำโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และภารกิจขององค์กร
ขั้นตอนที่ 9 การจัดทำแนวทางในการทบทวนแผนแม่บทฯ ประจำปี
ขั้นตอนที่ 10 การจัดทำร่างแผนแม่บทเชิงกลยุทธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กทพ. ปีงบประมาณ 2564-2570
ขั้นตอนที่ 11 การถ่ายทอดแผนสู่การนำไปปฏิบัติ
ผลการดำเนินงาน
การทบทวนแผนแม่บทเชิงกลยุทธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กทพ. ปีงบประมาณ 2564-2570 ได้ปรับปรุงองค์ประกอบต่าง ๆ ของแผนให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับบริบทภายในและภายนอกของ กทพ. มากยิ่งขึ้น รวมทั้งการปรับปรุงตัวชี้วัดของแผนแม่บทฯ ให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงานของ กทพ. ด้วยการสอบทานความเชื่อมโยงและความถูกต้องของขอบเขตวิธีการวัดกับส่วนงานที่มีความเกี่ยวข้องกับตัวชี้วัดนั้น ๆ เพื่อความถูกต้อง ชัดเจน จากแผนแม่บทเชิงกลยุทธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ระยะยาว 3 ปี (2564-2566) สู่แผนแม่บทเชิงกลยุทธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กทพ. ปีงบประมาณ 2564-2570
การนำไปใช้ประโยชน์
แผนแม่บทเชิงกลยุทธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กทพ. ปีงบประมาณ 2564-2570 ได้ถูกถ่ายระดับไปสู่แผนปฏิบัติการด้านความรับผิดชอบต่อสังคม และรวบรวมข้อมูลการดำเนินงานกับส่วนงานที่มีความเกี่ยวข้องซึ่งมีความสอดคล้องกับตัวชี้วัดของแผนแม่บทฯ ซึ่งสามารถสะท้อนความสำเร็จของการดำเนินงานในภาพรวมได้
ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น
ในการดำเนินงานมีการทบทวนกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กทพ. เพื่อให้การดำเนินงานแต่ละกิจกรรมได้บรรลุผลสำเร็จสอดคล้องกับความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียของ กทพ. ที่ประกอบไปด้วย 7 กลุ่ม ทั้งที่เป็นกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียภายในองค์กร และผู้มีส่วนได้เสียภายนอกองค์กรซึ่งมีทั้งชุมชนโดยรอบทางพิเศษและสังคม
Key Message
การดำเนินธุรกิจทางพิเศษควบคู่กับการปฏิบัติตามแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อให้ประโยชน์ตอบแทนแก่สังคม โดยเฉพาะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ กทพ. ที่มีความคาดหวังว่าจะได้รับการดูแลและเอาใจใส่จาก กทพ.
สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation
Partners/Stakeholders
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.)