• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

Post Formats

การเก็บตัวอย่างน้ำ

ห้องปฏิบัติการสิ่งแวดล้อมและมาตรฐานสากล คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ม.มหิดล สามารถให้การวิเคราะห์ได้ทั้งน้ำอุปโภค-บริโภค และน้ำเสีย บริการตรวจวิเคราะห์หาค่า BOD, COD, DO, Coliform Bacteria, Oil & Grease, ค่าการนำไฟฟ้า ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง ความกระด้างของน้ำ ของแข็งละลายทั้งหมด โลหะที่มีอยู่ในน้ำ และสารกลุ่ม pesticide (organochlorines), ซัลเฟต ฟอสเฟต ไนเตรต คลอไรด์ แอมโมเนีย ฯลฯ รวมถึงให้คำปรึกษาและแนะนำในการควบคุมคุณภาพน้ำ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการบำบัดน้ำเสียตามหลักวิชาการบริการจัดการคุณภาพน้ำ เป็นต้น

ห้องปฏิบัติการสิ่งแวดล้อมและมาตรฐานสากล เห็นความสำคัญต่อผลการตรวจวัดและวิเคราะห์เป็นอย่างมาก เพื่อให้ผลการตรวจวัดและวิเคราะห์ที่ได้มีความถูกต้อง ดังนั้น จึงควรคำนึงถึงการเก็บตัวอย่างน้ำก่อนนำมาวิเคราะห์ ดังนี้

จุดเก็บน้ำ

จุดเก็บตัวอย่างน้ำทิ้ง โรงงานอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรม

  1. การเก็บตัวอย่างน้ำทิ้งให้เก็บ ณ จุดที่ระบายลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือออกสู่สิ่งแวดล้อมนอกเขตที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมหรือนิคมอุตสาหกรรม ในกรณีที่มีการระบายทิ้งหลายจุดให้เก็บทุกจุด
  2. วิธีการเก็บ ความถี่และระยะเวลาในการเก็บตัวอย่างน้ำทิ้งให้เป็นไป ดังนี้
    - โรงงานอุตสาหกรรม จำพวกที่ 2 และจำพวกที่ 3 ให้เก็บแบบจ้วง 1 ครั้ง
    - นิคมอุตสาหกรรม ให้เก็บแบบผสมผสาน โดยเก็บ 4 ครั้งๆ ละ 500 มิลลิลิตร ทุก 2 ชั่วโมงต่อเนื่องกัน

จุดเก็บตัวอย่างน้ำผิวดิน

  1. แหล่งน้ำไหล ซึ่งได้แก่ แม่น้ำ ลำคลอง เป็นต้น ให้เก็บที่จุดกึ่งกลางความกว้างของแหล่งน้ำ และกึ่งกลางความลึก เว้นแต่แบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมดและแบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์ม ให้เก็บที่ระดับความลึก 30 เซนติเมตร (โดยเปิดขวดโคลิฟอร์ม ใต้น้ำ และเก็บปริมาตร 2 ใน 3 ขวด)
  2. แหล่งน้ำนิ่ง ซึ่งได้แก่ ทะเลสาบ หนอง บึง อ่างเก็บน้ำ เป็นต้น ให้เก็บที่ระดับความลึก 1 เมตร สำหรับแหล่งน้ำที่มีระดับความลึกเกิน 2 เมตร และให้เก็บที่จุดกึ่งกลางความลึกเว้นแต่แบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมดและแบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์ม ให้เก็บที่ระดับความลึก 30 เซนติเมตร (โดยเปิดขวดโคลิฟอร์ม ใต้น้ำ และเก็บปริมาตร 2 ใน 3 ขวด)

จุดเก็บตัวอย่างน้ำทิ้งชุมชน

  1. น้ำทิ้งชุมชนมีจุดที่ระบายน้ำทิ้งอยู่หลายจุดแต่มักจะมีท่อระบายน้ำทิ้งรวมและมักจะเก็บที่ท่อระบายน้ำโสโครก หรือเก็บน้ำในบ่อตรวจการระบาย (Manhole) หรือจากบ่อสูบ แต่จุดเก็บตัวอย่างที่สำคัญจุดหนึ่งที่ต้องเก็บคือจุดที่ระบายน้ำทิ้งลงสู่แหล่งรองรับน้ำทิ้ง

วิธีเก็บน้ำตัวอย่าง

สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

  • 1.การเก็บตัวอย่างแบบจ้วง (Grab Sampling)
    เป็นการเก็บตัวอย่างครั้งเดียว ที่จุดเดียวในเวลาใดเวลาหนึ่ง แล้วนำมาวิเคราะห์โดยจะได้ผลแสดงคุณสมบัติของน้ำเสีย ณ จุดนั้นและในเวลานั้นเท่านั้น แต่ไม่ได้เป็นตัวแทนของน้ำเสียอย่างแท้จริง การเก็บตัวอย่างแบบนี้จะทำให้ทราบถึงคุณสมบัติของน้ำเสียในแต่ละจุดว่ามีคุณสมบัติเป็นอย่างไร มีความเข้มข้นระดับไหนสมควรจะนำมารวมกับน้ำเสียจากจุดอื่นๆ ก่อนเข้าระบบบำบัดหรือไม่ หรือควรแยกออกมาบำบัดเฉพาะส่วนจะเหมาะสมและประหยัดกว่า ซึ่งจะเห็นความผันแปรของปริมาณและความเข้มข้นของน้ำเสียในจุดต่างๆ ได้อย่างชัดเจน
  • 2.การเก็บตัวอย่างแบบผสมรวม (Composite Sampling)
    การเก็บตัวอย่างน้ำเสีย ณ จุดหนึ่งจุดใดติดต่อกันตลอดวัน แล้วจึงนำน้ำเสียจากจุดเก็บต่างๆ มาร่วมกันการเก็บน้ำเสียแบบนี้ปริมาณที่เก็บจะต้องเป็นปฏิภาคโดยตรงกับปริมาณของการไหลของน้ำเสีย ถ้าน้ำเสียไหลออกมากก็เก็บมาก ถ้าไหลออกมาน้อยก็เก็บน้อย การเก็บแต่ละครั้งจะห่างกันประมาณ 2 ชั่วโมง หรือ 3 ชั่วโมง ตามความเหมาะสมจนครบ 1 วัน (ถ้าเก็บ 2 ชั่วโมงครั้งจะต้องเก็บ 12 ตัวอย่าง) แล้วจึงนำเอาน้ำเสียที่เก็บได้มารวมกันก็จะได้น้ำเสียที่เป็นตัวแทนจริงๆ (ปริมาณน้ำเสียรวมเพื่อการวิเคราะห์จะต้องไม่น้อยกว่า 4 ลิตร) ผลจากการวิเคราะห์ของน้ำเสียที่เก็บด้วยวิธีนี้สามารถนำไปออกแบบระบบบำบัดได้
  • 3.การเก็บตัวอย่างจากบ่อรวม (Sump Sampling)
    เป็นการเก็บน้ำเสียจากบ่อ (Sump) ที่เป็นที่รวมของน้ำเสียจากแหล่งต่างๆ น้ำเสียจากบ่อรวม จัดได้ว่าเป็นตัวแทนของน้ำเสียที่แท้จริงได้เช่นเดียวกัน หากน้ำเสียถูกกักไว้ในบ่อนานกว่า 6 ชั่วโมง เมื่อนำมาวิเคราะห์ทราบคุณสมบัติแล้วสามารถนำไปออกแบบระบบบำบัดได้เช่นกัน
ที่มา : "คู่มือวิเคราะห์น้ำเสีย" โดยสมาคมวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย, พิมพ์ครั้งที่ 4 .2547 หน้า 1--3

การเก็บรักษาสภาพตัวอย่างน้ำ

เพื่อให้ได้ผลการวิเคราะห์คุณลักษณะหรือค่าดัชนีคุณภาพน้ำหรือผลการวิเคราะห์ปริมาณของสารที่ต้องการทราบในตัวอย่างน้ำมีความถูกต้องและน่าเชื่อถือมากที่สุดจะต้องทำการเก็บตัวอย่างและทำการวิเคราะห์ในทันทีแต่ถ้าหากไม่สามารถดำเนินการวิเคราะห์ได้ในทันทีจะต้องทำการรักษาสภาพของตัวอย่างให้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพน้อยที่สุด ซึ่งวิธีการรักษาสภาพของตัวอย่างน้ำที่ใช้กันทั่วไปและใช้กันมากที่สุดก็คือการเก็บตัวอย่างไว้ในตู้เย็นที่อุณหภูมิต่ำ (ประมาณ 4 องศาเซลเซียส) เพื่อลดการเปลี่ยนแปลงลักษณะของน้ำ หลักการโดยทั่วไปใช้ในการรักษาสภาพตัวอย่างน้ำ เช่น การชะลอปฏิกิริยาทางชีววิทยา (Biological Reaction) การชะลอการเปลี่ยนแปลงของสารประกอบในกระบวนการไฮโดรไลซีส (Hydrolysis of compounds and complexes) ลดการระเหยขององค์ประกอบไอน้ำ

ปริมาณตัวอย่างที่ใช้ในการวิเคราะห์

  1. วิเคราะห์พารามิเตอร์ BOD ใช้ปริมาณน้ำอย่างน้อย 1 ลิตร
  2. วิเคราะห์พารามิเตอร์ pH TSS TDS TKN และ COD ใช้ปริมาณน้ำอย่างน้อย 3 ลิตร
  3. วิเคราะห์พารามิเตอร์ Oil & Grease ใช้ปริมาณน้ำอย่างน้อย 2 ลิตร (ใส่ในขวดแก้ว)
  4. วิเคราะห์พารามิเตอร์ Total Coliform Bacteria และ Fecal Coliform Bacteria ให้มารับขวดที่ฆ่าเชื้อแล้ว ที่งานปฏิบัติการสิ่งแวดล้อมฯ
  5. วิเคราะห์ในพารามิเตอร์ ข้อ 1 ข้อ 2 และอื่นๆ เพิ่มเติม ให้ใช้ปริมาณน้ำอย่างน้อย 5 ลิตร

ภาชนะที่ใช้ในการเก็บตัวอย่าง (Sample Bottle)

  1. ควรใช้ขวดแก้วปากกว้าง หรือขวดพลาสติกที่มีคุณภาพดี ล้างให้สะอาด และก่อนที่จะบรรจุน้ำตัวอย่างลงในขวดให้ล้างขวดด้วยน้ำตัวอย่าง อย่างน้อย 2-3 ครั้ง
  2. วิเคราะห์พารามิเตอร์ Total Coliform Bacteria และ Fecal Coliform Bacteria ให้มารับขวดที่ฆ่าเชื้อแล้ว ที่งานปฏิบัติการสิ่งแวดล้อมฯ
  3. ติดฉลากที่ขวดเก็บตัวอย่าง เพื่อบอกรายละเอียดของตัวอย่าง เช่น จุดเก็บตัวอย่าง วันที่ ชื่อผู้เก็บ เป็นต้น

ข้อแนะนำสำหรับการตรวจคุณภาพน้ำบริโภค : Suggestions for drinking water sample containers

พารามิเตอร์ ภาชนะและปริมาตรตัวอย่าง การเก็บรักษา
pH , Color , Turbidity , TS , TDS , Total Hardness , Chloride , Nitrate , Nitrite , Sulphate ขวดแก้ว หรือขวดพลาสติก PP/PE ปริมาตร 2,000 ml แช่เย็นที่ 4 °C ในที่มืด
Total Coliform Bacteria (TCB)
Fecal Coliform Bacteria (FCB)
ขวดแก้วที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้วเก็บน้ำไม่เต็มขวดเหลือที่ว่างไว้ ¾ นิ้ว แช่เย็นที่ 4 °C ในที่มืด
Heavy Metals
(Fe , Mn , Cu , Zn , Pb , Cr , Cd)
ขวดพลาสติก PP/PE ปริมาตร 500 ml เติมกรด HNO3 2-3 ml (pH < 2) แช่เย็นที่ 4 °C ในที่มืด

พารามิเตอร์ที่ตรวจวิเคราะห์ในคุณภาพน้ำ : Parameter analysis of drinking water

ลำดับที่ พารามิเตอร์ วิธีตรวจวิเคราะห์
1 pH pH Meter
2 Color Visual Comparison Method
3 Turbidity Turbidity meter
4 Total Solids (TS) Dried at 103-105 ºC
5 Total Dissolved Solids (TDS) Dried at 103-105 ºC or 180 ºC
6 Total Hardness EDTA Titrimetric Method
7 Chloride Argentometric Method
8 Nitrate  
9 Nitrite Colorimetric Method
10 Sulphate Turbidimetric Method
11 Heavy Metals (Fe , Mn , Cu , Zn , Pb , Cr , Cd) AAS (Flame)
12 Total Coliform Bacteria (TCB) MPN Technique
13 Fecal Coliform Bacteria (FCB) MPN Technique

ข้อแนะนำสำหรับการเตรียมน้ำตรวจคุณภาพน้ำทิ้ง : Suggestions for wastewater sample containers

ลำดับที่ พารามิเตอร์ วิธีตรวจวิเคราะห์
pH , EC , TSS , TDS , Settleable Solids , BOD , Total Phosphate , Orthophosphate , Ammonia ขวดพลาสติก PP/PE ปริมาตร 2,000 ml แช่เย็นที่ 4 ºC ในที่มืด
Chlorine (Residual) ขวดพลาสติก PP/PE
ปริมาตร 2,000 ml
แช่เย็นที่ 4 ºC ในที่มืด
Sulfide ขวดบีโอดี 300 ml 2 N. Zn(C4H6O4) 0.6 ml แช่เย็นที่ 4 ºC ในที่มืด
TKN , COD ขวดพลาสติก PP/PE ปริมาตร 1,000 ml เติมกรด H2SO4 2-3 ml (pH < 2) แช่เย็นที่ 4 ºC ในที่มืด
Total Coliform Bacteria (TCB)
Fecal Coliform Bacteria (FCB)
ขวดแก้วที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้วเก็บน้ำไม่เต็มขวดเหลือที่ว่างไว้ ¾ นิ้ว แช่เย็นที่ 4 oC ในที่มืด
Heavy Metals
(Fe , Mn , Cu , Zn , Pb , Cr , Cd)
ขวดพลาสติก PP/PE ปริมาตร 500 ml เติมกรด HNO3 2-3 ml(pH < 2) แช่เย็นที่ 4 ºC ในที่มืด

พารามิเตอร์ที่ตรวจวิเคราะห์ในคุณภาพน้ำทิ้ง : Parameter analysis of wastewater

ลำดับที่ พารามิเตอร์ วิธีตรวจวิเคราะห์
1 pH pH Meter
2 Conductivity (EC) Conductivity Meter
3 Suspended Solids (SS) Dried at 103-105 ºC
4 Settleable Solids Imhoff cone
5 Total Dissolved Solids (TDS) Dried at 103-105 ºC or 180 ºC
6 Sulfide Iodmetric Method
7 Total Kjeldahl Nitrogen (TKN) Kjeldahl Method
8 Grease & Oil Soxhlet Extraction Method
9 Biochemical Oxygen Demand (BOD) Azide Modification (at 20ºC for 5 days)
10 Chemical Oxygen Demand (COD) Closed Reflux
11 Total Phosphate , Orthophosphate , Ascorbic acid
12 Chlorine (Residual) Iodmetric Method I
13 Ammonia Distillation and Titrimetric Method
14 Heavy Metals (Fe , Mn , Cu , Zn , Pb , Cr , Cd) AAS (Flame)
15 Total Coliform Bacteria (TCB) MPN Technique
16 Fecal Coliform Bacteria (FCB) MPN Technique

ข้อแนะนำสำหรับการเตรียมน้ำตรวจคุณภาพน้ำผิวดิน : Parameter analysis of surface water

พารามิเตอร์ ภาชนะและปริมาตรตัวอย่าง การเก็บรักษา
pH , Color , DO, BOD , TS Nitrate , Ammonia ขวดแก้ว หรือขวดพลาสติก PP/PE ปริมาตร 2,000 ml แช่เย็นที่ 4 ºC ในที่มืด
Total Coliform Bacteria (TCB)
Fecal Coliform Bacteria (FCB)
ขวดแก้วที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว เก็บน้ำไม่เต็มขวดเหลือที่ว่างไว้ ¾ นิ้ว แช่เย็นที่ 4 ºC ในที่มืด
Heavy Metals
(Fe , Mn , Cu , Zn , Pb , Cr , Cd)
ขวดพลาสติก PP/PE ปริมาตร 500 ml เติมกรด HNO3 2-3 ml
แช่เย็นที่ 4 ºC ในที่มืด

พารามิเตอร์ที่ตรวจวิเคราะห์ในคุณภาพน้ำผิวดิน : Parameter analysis of surface water

ลำดับที่ พารามิเตอร์ วิธีตรวจวิเคราะห์
1 pH pH Meter
2 Color  
3 DO Azide Modification
4 BOD Azide Modification (at 20ºC for 5 days)
5 Total Solids (TS) Dried at 103-105 ºC
6 Ammonia Distillation and Titrimetric Method
7 Heavy Metals (Fe , Mn , Cu , Zn , Pb , Cr , Cd) AAS (Flame)
8 Total Coliform Bacteria (TCB) MPN Technique
9 Fecal Coliform Bacteria (FCB) MPN Technique

การบริการตรวจวัดและวิเคราะห์ด้านอากาศ

ห้องปฏิบัติการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ม.มหิดล สามารถให้บริการตรวจวิเคราะห์หาฝุ่นรวม (TSP) ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5), ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10) ในบรรยากาศ, ตรวจวิเคราะห์ Nitrogen Dioxide, Sulfur Dioxide ตลอดจนตรวจวัดก๊าซ และสารระเหยชนิดต่างๆ ในบรรยากาศ พร้อมทั้งมีรถปฏิบัติการตรวจวัดคุณภาพอากาศแบบเคลื่อนที่ สำหรับติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศในบรรยากาศและสภาพอากาศทางอุตุนิยมวิทยาในระดับพื้นผิว


บริการตรวจวัดและวิเคราะห์ด้านดิน

ห้องปฏิบัติการสิ่งแวดล้อมและมาตรฐานสากล คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สามารถให้บริการตรวจวิเคราะห์หาปริมาณธาตุอาหารของพืชในดิน เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปตัสเซียม ค่าปริมาณสารอินทรีย์วัตถุ ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง และขนาดอนุภาพของดิน เป็นต้น ดังนั้น การนำดินมาวิเคราะห์ที่ให้ผลวิเคราะห์ออกมาได้ถูกต้อง จึงควรคำนึงถึงการเก็บตัวอย่างดิน และการเตรียมตัวอย่างดินก่อนนำมาวิเคราะห์ ดังนี้

การเก็บตัวอย่างดิน

การเก็บตัวอย่างดินที่นิยมทำกันมีอยู่ 2 ประเภท ประเภทแรกเป็นการเก็บตัวอย่างดินเพื่อใช้ในการจำแนกดิน และประเภทที่ 2 เป็นการเก็บตัวอย่างดินเฉพาะหน้าดิน เพื่อใช้ตรวจวิเคราะห์สำหรับประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินหรือเพื่อนำมาใช้แนะนำการใช้ปุ๋ยสำหรับพืชที่ต้องการปลูก (สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน, 2547)

การเก็บตัวอย่างดิน

1) เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บตัวอย่างดิน

  1. อุปกรณ์ขุดดิน ได้แก่ เสียม จอบ พลั่ว ออร์เกอร์ (Auger) เป็นต้น
  2. ถังพลาสติก หรือแผ่นพลาสติกขนาด 1x1 เมตร
  3. กระดาษกาว หรือสติ๊กเกอร์ สำหรับเขียนชื่อตัวอย่าง
  4. ถุงพลาสติกร้อน ขนาด 10 x 15 นิ้ว และยางรัดของ

2) หลักการในการเก็บตัวอย่างดิน เพื่อให้ได้ข้อมูลจากการศึกษาและวิเคราะห์ที่ถูกต้อง ควรมีหลักการดังนี้

  1. ตัวอย่างดินจะต้องเป็นตัวแทนที่ดีของดินในบริเวณที่ศึกษา โดยใช้วิธีการเก็บดินที่ถูกต้องเหมาะสม
  2. อุปกรณ์และภาชนะต่าง ๆ ที่ใช้ในการเก็บและเตรียมตัวอย่างดินจะต้องสะอาด
  3. พื้นที่ในการเก็บตัวอย่างดินต้องไม่เกิน 50 ไร่ ซึ่งต้องเป็นดินลักษณะเหมือนกัน หากมีลักษณะแตกต่างกันต้องแยกเก็บ
  4. การเก็บตัวอย่างดินควรเก็บหลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิต หรือก่อนการเตรียมดินในการปลูกพืชครั้งต่อไป แนะนำให้เก็บก่อนปลูก 2 เดือน
  5. เพื่อแนะนำการจัดการดินที่ถูกต้อง และเหมาะสม ควรบันทึกข้อมูลการใช้และการจัดการดินในช่วงเวลาที่ผ่านมาอย่างละเอียด

3) วิธีการเก็บตัวอย่างดิน

  1. การเก็บตัวอย่างดินในกรณีที่เป็นที่นาหรือ ที่ยังไม่มีการเพาะปลูกให้กระจายเก็บตัวอย่างดินแปลงละ 15 จุด
  2. ก่อนการเก็บตัวอย่างดินให้นำเศษหญ้า เศษใบไม้ที่คลุมดินออก แล้วทำการเก็บตัวอย่างดินดังนี้
    1. ใช้พลั่วขุดดินเป็นรูปลิ่มลึก 15 เซนติเมตร หลังจากนั้นเก็บดิน ใช้พลั่วแซะข้างหลุมที่เรียบหนา 2 – 3 เซนติเมตร จนถึงก้นหลุม ดินที่เก็บได้ใส่ถังพลาสติก หรือถุงพลาสติกคลุกเคล้าให้เข้ากัน ถ้าเป็นไม้ผลให้เก็บในส่วนที่เป็นทรงพุ่มต้นละหนึ่งจุด ทั้งหมด 15 ต้น
    2. นำดินที่เก็บทั้ง 15 จุด เทรวมกันอีกครั้งบนแผ่นพลาสติกที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมแล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน โดยยกมุมพลาสติกทีละสองมุมที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกัน ให้สลับมุมกัน 3 – 4 ครั้ง
    3. ทำกองดินเป็นรูปฝาชี ใช้มือขีดเป็นเครื่องหมายบวก (+) ซึ่งดินจะถูกแบ่งเป็น 4 ส่วน นำ 1 ส่วนไปวิเคราะห์ ให้ได้น้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม เขียนชื่อตัวอย่าง วันที่เก็บตัวอย่าง บนกระดาษกาว ให้ถูกต้อง ชัดเจน
  3. กรณีต้องการศึกษาคุณสมบัติในแต่ละชั้นดินให้ใช้ออร์เกอร์ (Auger) ในการเก็บ เก็บตัวอย่างดินส่วนที่ไม่ได้สัมผัสออร์เกอร์ (Auger) ใส่ถุงพลาสติก แยกส่วนที่ความลึกต่าง ๆ กัน

การเตรียมตัวอย่างดิน

การเตรียมตัวอย่างดินที่นำมาวิเคราะห์จะต้องปฏิบัติดังนี้

  1. จะต้องนำดินผึ่งตากให้แห้งในที่ร่ม การผึ่งดินต้องวางในห้องที่สะอาด ไม่มีฝุ่นหรือสารเคมีปนเปื้อน เลือกเศษพืชหรือเศษกรวดหินทิ้งให้หมด ซึ่งระยะเวลาในการตากให้แห้งขึ้นอยู่กับความชื้นของตัวอย่างดิน ซึ่งอาจใช้เวลาประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ ควรเขียนชื่อตัวอย่างดินให้ชัดเจน
  2. ดินที่แห้งแล้วให้บดด้วยเครื่องบดดินที่สะอาดไม่มีสิ่งเจือปน และร่อนด้วยตะแกรงขนาด 2 มิลลิเมตร หลังจากนั้นนำดินที่ร่อนผ่านตะแกรงเก็บใส่ในถุงพลาสติกหรือกระบอกเก็บตัวอย่างดิน เขียนชื่อตัวอย่างให้ถูกต้อง ชัดเจน

 



Accordion Menu

Newsletter Subscribe

About The Flex

Good seasons, day place male evening life after together gathered let void she'd grass created days upon after above great. Creative, prolific and ever-ready to serve you.


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.