• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

Post Formats

การพัฒนาการตรวจวัดปริมาณฝุ่นละอองโดยใช้อุปกรณ์บันทึกข้อมูลขนาดเล็ก

หัวข้อ

รายละเอียด

ชื่อโครงการ

MU-SDGs Case Study

การพัฒนาการตรวจวัดปริมาณฝุ่นละอองโดยใช้อุปกรณ์บันทึกข้อมูลขนาดเล็ก

Development on particulate matter based on small data logger

อยู่ระหว่างยื่นขอจดอนุสิทธิบัตร “อุปกรณ์วัดความหนาแน่นฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5”

แหล่งทุน

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

ส่วนงานหลัก

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

ส่วนงานร่วม

-

ผู้ดำเนินการหลัก

นายวรงค์  บุญเชิดชู

ผู้ดำเนินการร่วม

-

คำอธิบาย

ความต้องการอุปกรณ์วัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 มาสนับสนุนการติดตามระดับความหนาแน่นฝุ่นละอองฯ ในพื้นที่ที่ห่างไกลจุดตรวจวัดที่รับรองโดยกรมควบคุมมลพิษที่มีระยะมากกว่า 3 กิโลเมตรขึ้นไป ส่งผลให้การวัดความหนาแน่นฝุ่น PM2.5 มีความถูกต้องลดลงตามระยะทางที่เพิ่มขึ้น หรือการตรวจวัดที่มีสภาพแวดล้อมที่มีความซับซ้อนของสิ่งปลูกสร้าง หรือสภาพภูมิประเทศ หรือมีจำนวนจุดวัดน้อยและไม่ครอบคลุมพื้นที่ จึงทำให้ต้องพัฒนาอุปกรณ์วัดความหนาแน่นฝุ่นที่ให้ผลได้ใกล้เคียงกับสถานีตรวจวัดที่ผ่านการรับรองจากกรมควบคุมมลพิษ และสามารถสร้างได้เป็นจำนวนมากในราคาที่มีต้นทุนต่ำ สร้างง่าย และให้ผลการวัดที่ใกล้เคียงกับแนวโน้มการเปลี่ยนความหนาแน่นของสถานีวัดฯ

เนื้อหา MU-SDGs Case Study

 

วัตถุประสงค์
    การพัฒนาสร้างอุปกรณ์วัดความหนาแน่นฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 มีโครงสร้างอุปกรณ์ไม่ซับซ้อน ซ่อมแซมง่าย สามารถใช้ทำงานได้ในระยะเวลานานในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูงและทำงานภายใต้อุณหภูมิที่มีความแตกต่างระหว่างวันสูงและทำงานตลอด 24 ชั่วโมง มีต้นทุนในการสร้างต่ำและติดตั้งได้รวดเร็ว เพื่อนำมาใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ผ่านการวิเคราะห์แบบ Interpolated เพื่อหาค่าเฉลี่ยระหว่างจุดวัดที่ใช้อุปกรณ์นี้ เช่นกรณีที่รถตรวจคุณภาพอากาศมี 1 หน่วย จึงไม่อาจสะท้อนข้อมูลความเป็นจริงของพื้นที่ตรวจวัดได้ถูกต้อง จึงต้องใช้อุปกรณ์วัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในการเสริมจุดการวัดความหนาแน่นฝุ่น PM2.5 ให้ครอบคลุมพื้นที่ด้วยอุปกรณ์วัด ฯ ที่พัฒนาในจำนวนมากขึ้นเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความถูกต้องเชิงพื้นที่สูงขึ้น และสะท้อนสภาพความเป็นจริงได้ใกล้เคียงของพื้นที่ให้ได้มากที่สุด

การดำเนินการ

    สถานีวัดความหนาแน่นฝุ่นละอองขนาดเล็กPM2.5 ที่สร้างขึ้นนี้มีประสิทธิภาพการทำงานที่อยู่ในระดับที่ยอมรับได้โดยการปรับค่าความคลาดเคลื่อนของการวัดด้วยโมเดลทางคณิตศาสตร์และการปรับปรุงในส่วนของฮาร์ดแวร์ที่นำมาใช้ โดยให้ค่าความคลาดเคลื่อนในการวัดฝุ่นละออง PM2.5 มีค่าเฉลี่ยรายชั่วโมงอยู่ที่ ± 8.3 µg/cu.m สำหรับระดับฝุ่นไม่เกิน 150 µg/cu.m, R2 = 0.93 เมื่อเปรียบเทียบกับผลจากรถตรวจวัดคุณภาพอากาศ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ประจำอยู่ที่มหาลัยมหิดล ศาลายา ระหว่าง ก..  – มี.. 62 มีจำนวนข้อมูลเฉลี่ยรายชั่วโมง 582 ชุด

    เซอร์เซ็นวัดความหนาแน่นฝุ่นถูกเลือกมาจากการทดสอบความแม่นยำในการทำงานโดยใช้ CV วิเคราะห์ ผลที่ได้คือ PlantTower PMS5003 มีความแตกต่างของ CV ระหว่างตัวทดสอบจำนวน 2 ตัว มีค่าน้อยว่า 0.5% แสดงให้เห็นว่ามีความแม่นยำในการผลิตในระดับสูง และสามารถนำเอามาใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องปรับแก้ใด ๆ  ในการทดแทนเมื่อเซอร์เซ็นชำรุด นอกจากนี้ยังพบว่าอิทธิพลของความชื้นสัมพัทธ์ในระดับที่เกิดสภาวะเป็นไอน้ำในอากาศก็มีผลต่อเซ็นเซอร์ด้วย จากการวิเคราะห์ค่า MAE ระหว่างเซ็นเซอร์และเครื่องมือ FEM แสดงให้เห็นว่าก่อนและหลังใช้โมเดล Hydroscopic growth rated with one parameter เพื่อวิเคราะห์เชิงย้อนกลับของอิทธิพลของน้ำในอากาศในรูปแบบของอัตราส่วนสามารถทำให้ค่า MAE ลดลงได้ถึง 34% ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีความคลาดเคลื่อนน้อยลงของการตรวจวัดภายใต้ความชื้นในอากาศที่อยู่ในระดับสูงได้

   ต่อมาจึงนำมาวิเคราะห์การถดถอยแบบไม่เชิงเส้นชนิดดีกรีลำดับที่สี่หรือ Quartic function  เนื่องจากความสามารถรองรับจำนวนจุดตัดของกราฟบนแกน x ที่เป็นตัวแทนของข้อมูลจากเครื่องมือ FEM ใน 1 ช่วงเวลาหนึ่งถึง 4 จุด และรองรับจุดวิกฤติได้ถึง 3 จุด ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะการทำงานของเซ็นเซอร์ PMS5003 เมื่อนำเอาข้อมูลความหนาแน่นฝุ่น PM2.5 เฉลี่ยรายชั่วโมงเปรียบเทียบกับเครื่องมือ FEM พบว่า ประสิทธิภาพของวิเคราะห์การถดถอยแบบไม่เชิงเส้นชนิดดีกรีลำดับที่สี่ให้ผลลัพธ์ RMSE = 8.3 โดย R2 = 0.93 เปรียบเทียบกับการใช้การวิเคราะห์ถดถอยแบบเชิงเส้นให้ค่า RMSE = 12.8 โดย R2 = 0.92

    เพื่อให้มีการนำเอาข้อมูลไปใช้ควบคู่กับข้อมูลของรถตรวจอากาศได้เร็วขึ้นจึงได้นำเอาโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภท 2G ใช้เป็นช่องทางในการส่งข้อมูลจากอุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้นเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลคุณภาพอากาศของคณะสิ่งแวดล้อม ฯ และสามารถส่งออกข้อมูลออกข้อมูลผ่านเว็บไซด์

https://en.mahidol.ac.th/enair/service

การนำไปใช้งาน

    คณะได้ดำเนินการทดสอบการติดตั้งและการปรับแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากการคาดการณ์ในห้องทดลองและพื้นที่ศึกษาที่มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยเขตศาลายา จังหวัดนครปฐม ในพื้นที่จังหวัดลำปาง จำนวน 13 จุด และที่กาญจนบุรี จำนวน 2 จุด จากการติดตั้งพบว่าข้อมูลที่ได้จากอุปกรณ์มีความสมบรูณ์ประมาณ 75-80% จากความถี่การส่งข้อมูลทุกๆ 20 นาที มีอุปกรณ์บางตัวหยุดทำงานเป็นช่วงๆ หรือบางตัวเซ็นเซอร์วัดความหนาแน่นฝุ่นทำงานผิดพลาด เป็นต้น

จังหวัดลำปาง

    โดยสถานที่ติดตั้งทางคณะได้เลือกเป็นสถานที่ราชการ โรงเรียน โรงพยาบาล เป็นหลักเนื่องจากเป็นที่ชุมชน และมีความเสี่ยงในการสัมผัสฝุ่นสูงกว่าสถานที่อื่นๆ

จังหวัดกาญจนบุรี

โครงการนี้แตกต่าง และมีเอกลักษณ์จากคนอื่นอย่างไร

    เป็นการสร้างโมเดลคณิตศาสตร์เพื่อช่วยลดความคลาดเคลื่อนการวัดของอุปกรณ์วัดความหนาแน่นฝุ่นระดับ PM2.5 ที่พัฒนาขึ้นมีความแตกต่างจากการอุปกรณ์ที่มีขายอยู่ในท้องตลาด ซึ่งส่วนใหญ่ใช้วิธีปรับแก้ค่าที่ได้จากการวิเคราะห์ที่แบ่งตามระดับความชื้นสัมพัทธ์ในช่วงที่กำหนด และประมาณค่าจากการใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นด้วยการเพิ่มปัจจัยระดับความชื้นสัมพัทธ์เข้าไปในการวิเคราะห์ ซึ่งแตกต่างจากวิธีที่พัฒนาขึ้น โดยใช้โมเดลคณิตศาสตร์คำนวณความหนาแน่นฝุ่นจากอัตราขยายตัวของมวลฝุ่นละอองที่ทำให้ความหนาแน่นฝุ่นเพิ่มมากกว่าที่ควรจากการดูดซึมความชื้นในอากาศเข้าไป และเมื่อใช้ร่วมกับการวิเคราะห์ถดถอยแบบไม่เชิงเส้นแบบดีกรีสี่ ทำให้ค่าคาดการณ์ที่วัดได้มีความใกล้เคียงกว่าการใช้วิเคราะห์ถดถอยแบบเชิงเส้น โดยมีผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงกับเครื่องวัดฯ BAM1020 ซึ่งผลทดสอบให้ค่า R2 > 92% และค่า RMSE ~8.3 µg/cu.m ในระดับความชื้นฯ 40-95%

ส่งผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก อย่างไร

มีความตื่นตัวในเรื่องของฝุ่นละอองขนาด PM2.5 ที่มากับปัญหาสุขภาพในระยะยาว

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

11

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

3, 13

รูปภาพประกอบ

รูปหน้าปก

 

รูปหน้ารายละเอียด

 

Key Message

 

การพัฒนาอุปกรณ์วัดความหนาแน่นฝุ่น PM2.5 ต้นทุนต่ำ มีความถูกต้องสูง และสามารถผลิตเป็นจำนวนมากได้ จะช่วยให้มีเกิดความสนใจภัยที่มากับฝุ่น PM2.5 ซึ่งใช้ระยะเวลานานในการแสดงอาการ ในการหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีความเสี่ยงจาก PM2.5

Links ข้อมูลเพิ่มเติม

-

สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

ยุทธศาสตร์ 3 Policy Advocacy and Leaders in Professional / Academic Services

อัลบั้มภาพ

 

Partners/Stakeholders

-

ตัวชี้วัด THE Impact Ranking

13.3.4


Accordion Menu

Newsletter Subscribe

About The Flex

Good seasons, day place male evening life after together gathered let void she'd grass created days upon after above great. Creative, prolific and ever-ready to serve you.


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.