• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
  • ขอแสดงความยินดีกับบุคลากรคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
    ในโอกาสได้รับการคัดเลือกเป็นบุคลากรดีเด่นของส่วนงาน ประจำปี พ.ศ. 2566

    บุคลากรดีเด่นของส่วนงาน ประจำปี พ.ศ. 2566
    ⭐️ พนักงานมหาวิทยาลัย ประเภทวิชาการ
    📍ระยะเวลาปฏิบัติงานติดต่อกันไม่เกิน 10 ปี: รศ. ดร.สุรีย์วัลย์ สิทธิจันดา
    📍ระยะเวลาปฏิบัติงานติดต่อกันตั้งแต่ 10 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี: ผศ. ดร.มณฑิรา ยุติธรรม
    📍ระยะเวลาปฏิบัติงานติดต่อกัน 20 ปี ขึ้นไป: รศ. ดร.รัตนวัฒน์ ไชยรัตน์

    ⭐️ พนักงานมหาวิทยาลัย ประเภทวิชาชีพ/สนับสนุนทั่วไป
    📍 ระยะเวลาปฏิบัติงานติดต่อกันไม่เกิน 10 ปี: นางสาวอิสรีย์ อภิญญา เจ้าหน้าที่วิจัย
    📍 ระยะเวลาปฏิบัติงานติดต่อกันตั้งแต่ 10 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี: นางสาวลัดดา เสียงอ่อน นักวิทยาศาสตร์
    📍 ระยะเวลาปฏิบัติงานติดต่อกัน 20 ปี ขึ้นไป: นายวรงค์ บุญเชิดชู นักวิชาการคอมพิวเตอร์ (ผู้ชำนาญการพิเศษ)

  • ขอแสดงความยินดีกับบุคลากรคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
    ในโอกาสได้รับการคัดเลือกเป็นบุคลากรดีเด่นของมหาวิทยาลัยมหิดลและส่วนงาน ประจำปี พ.ศ. 2566


    บุคลากรดีเด่นของมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี พ.ศ. 2566
    กลุ่มที่ 1 ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ประเภทวิชาการ
    ผศ. ดร.ปิยะกาญจน์ เที้ยธิทรัพย์

  • คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ขอแสดงความยินดีแด่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัชพงษ์ กลิ่นศรีสุข อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ในโอกาสได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ ตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป

  • ขอแสดงความยินดี รศ.ดร.สยาม อรุณศรีมรกต ผลงานตีพิมพ์เรื่อง


    Online learning challenges in Thailand and strategies to overcome the challenges from the students’ perspectives

  • ข่าว "ม.มหิดลจัดทำฐานข้อมูลบัญชีการปล่อยมลพิษสารตั้งต้นก่อฝุ่น PM2.5 ทุติยภูมิ" โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิรทยา เริ่มมนตรี อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ได้สร้างแบบจำลองคุณภาพอากาศ ภายใต้หลักการฟิสิกส์ และเคมี เพื่อจำลองปฏิกิริยาในบรรยากาศ เพื่อทำ "ฐานข้อมูลบัญชีการปล่อยฝุ่น PM2.5 ปฐมภูมิ" ที่เกิดจากการปล่อยโดยตรง ควบคู่ไปกับ "ฐานข้อมูลบัญชีการปล่อยฝุ่น PM2.5 ทุติยภูมิ" ซึ่งเกิดจากการรวมตัวและ/หรือการแปลงสภาพของมลพิษปฐมภูมิที่อยู่ในบรรยากาศ ซึ่งยังคงมีการศึกษาน้อยในปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังได้เตือนเกษตรกรไทยให้ใช้ปุ๋ยแต่เท่าที่จำเป็น เพื่อเพื่อควบคุมการระบายสารแอมโมเนีย ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของมลพิษสารตั้งต้นก่อฝุ่น PM2.5 ข่าวได้รับการเผยแพร่แล้วทางสื่อมวลชนดังนี้

    1.คอลัมน์บทความพิเศษ นสพ.กรุงเทพธุรกิจ 18-10-66 หน้า 6 https://op.mahidol.ac.th/.../twitter/news2023-10-18-5.pdf
    2.เมดิคอลไทม์ 14-10-66 http://medi.co.th/news_detail41.php?q_id=2831...
    3.TCIJ 19-10-66
    https://www.facebook.com/100046841476896/posts/pfbid0voNYWX5eFJ1zMj83DNyU1yA8amjbLWnNUgoqascDeZRJPWD9sGRc2Rx5SFCwmmmfl/?mibextid=oUgV5P
    4.นิตยสารสาระวิทย์ 20-10-66 https://www.nstda.or.th/sci2pub/pm2-5-database/

    สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ) งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210

  • คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และสมาคมศิษย์เก่าคณะฯ ขอแสดงความยินดีแก่ ดร.จิรพันธ์ โชติรัตนศักดิ์ ในโอกาสได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมศิษย์เก่าคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2566 เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2566

  • คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ขอแสดงความยินดีแด่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปรมิตา พันธ์วงศ์ ในโอกาสได้รับรางวัลชนะเลิศการนำเสนอผลงานภาคบรรยายประเภทนักวิจัยรุ่นใหม่ ในหัวข้อ "พลวัตป่าชายเลนและการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในบางขุนเทียน ระหว่างช่วง 1000 ปีที่ผ่านมา" ณ การประชุมการป่าไม้ ประจำปี พ.ศ. 2566 “ป่าไม้ไทยสู่เศรษฐกิจสีเขียว” จัดขึ้นเมื่อวันที่ 23-25 สิงหาคม 2566 ณ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร

  • วันที่ 23 สิงหาคม 2566 เวลา 10.00 น. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับ “รางวัลชมเชย” จากโครงการ MU Green Ranking 2022 โดยมี อาจารย์ ดร.วีรฉัตร์ ฉัตรปัญญาเจริญ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและกายภาพ เป็นผู้แทนคณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้ารับมอบประกาศนียบัตร และเข้าร่วมกิจกรรมการประชุมวิชาการมหิดลสู่การขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2566 พร้อมด้วยคุณอภิรมย์ อังสุรัตน์ หัวหน้างานกายภาพและบริการพื้นฐาน ณ มหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล

    ทั้งนี้ โครงการ MU Green Ranking 2022 จัดขึ้นเพื่อพิจารณาข้อมูลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมจากระบบ MU-Ecodata และประเมินตามคู่มือเกณฑ์การประเมิน MU Green Ranking ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการวางแผนการดำเนินงานและสนับสนุนการพัฒนามหาวิทยาลัยมหิดล สู่การเป็นมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน โดยคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มีผลคะแนนตามเกณฑ์ประเมินคิดเป็นร้อยละ 78.90 จากตัวชี้วัดทั้งหมด 7 หมวด ได้แก่ คะแนนองค์กร, ตัวชี้วัดด้านวัตถุดิบ, ตัวชี้วัดด้านพลังงาน, ตัวชี้วัดด้านน้ำ, ตัวชี้วัดด้านกากของเสีย, ตัวชี้วัดด้านอาคาร และตัวชี้วัดด้านก๊าซเรือนกระจก

  • ขอแสดงความยินดีแด่ วารสาร Environment and Natural Resources Journal โดย คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ รองศาสตราจารย์ ดร.เบญจภรณ์ ประภักดี รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และบรรณาธิการวารสาร EnNRJ ในโอกาสที่ได้รับรางวัลประเภทที่ 2: High Citation Award ในพิธีมอบรางวัล TCI-TSRI Journal Award ซึ่งมอบให้กับบรรณาธิการวารสารที่มีผลผลิตและผลการดำเนินงานโดดเด่นในช่วงระยะเวลาที่เข้าร่วมโครงการในระหว่างปี 2563-2565 โดยศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย [Thai-Journal Citation Index (TCI) Centre] และ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม [Thailand Science Research and Innovation (TSRI)]

    พิธีมอบรางวัลดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการประชุมเรื่อง “นโยบาย ผลสัมฤทธิ์ และการมอบรางวัลแก่วารสารในโครงการ TCI-TSRI-Scopus Collaboration Project” จัดโดย ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย [Thai-Journal Citation Index (TCI) Centre] ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว./TSRI), สถาบันนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (STIPI) แห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เมื่อวันศุกร์ที่ 26 พฤษภาคม 2566 ณ โรงแรมอีสตินพญาไท ถ.พญาไท กรุงเทพฯ

  • คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ขอแสดงความยินดีแด่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นวพร กาญจนศิรานนท์ อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ในโอกาสได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป

  • คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ขอแสดงความยินดีแด่

    ▪️ นางสาวบุญญารักษ์ ชวนชิต นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม (ES) ชั้นปีที่ 4

    ▪️ นางสาวสุวพิชญ์ ม่วงทิม นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม (ES) ชั้นปีที่ 4

    ในโอกาสได้รับคัดเลือกให้รับทุนเพื่อเข้าร่วมโครงการ ASEAN in Today's World 2023 ระหว่างวันที่ 13 - 24 มีนาคม 2566 ณ มหาวิทยาลัยมหิดล

    โครงการดังกล่าวจัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล กับ Kyushu University ประเทศญี่ปุ่น เพื่อส่งเสริมให้นิสิตนักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาภายในประเทศไทยได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมในระดับนานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเอเชียตะวันออก (East Asia) และ อาเซียนศึกษา (ASEAN Studies) ร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศญี่ปุ่นและมหาวิทยาลัยในเครือข่าย ASEAN University Network (AUN) จากประเทศฟิลิปปินส์ เวียดนาม และมาเลเซีย ผ่านกิจกรรมที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักตลอดระยะเวลาเข้าร่วมโครงการ

  • คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ขอแสดงความยินดีแด่

    ▪️ รองศาสตราจารย์ ดร.เบญจภรณ์ ประภักดี
    ▪️ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุกัญญา เสรีนนท์ชัย
    ▪️ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรีย์วัลย์ สิทธิจันดา
    ▪️ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณภัสนันท์ พสุการัชต์ชัย และ
    ▪️ อาจารย์ ดร.วิชญา รงค์สยามานนท์

    ในโอกาสที่ผ่านการประเมินระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ระดับที่ 2 (Mahidol University Professional Standards Framework : MUPSF - Level 2) จัดขึ้นโดยกองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเป็นการยกย่องคณาจารย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพอาจารย์ตามกรอบ United Kingdom Professional Standards Framework: UKPSF ประเภท Senior Fellow และอาจารย์ผู้ผ่านการประเมินระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ระดับที่ 2 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอาจารย์และบุคลากรให้มีศักยภาพด้านการศึกษาในการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งหวังให้เกิด Innovative Pedagogy โดยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติการจริง ตลอดจนสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนเพื่อให้สามารถพัฒนาตนเองได้ ซึ่งถือเป็นวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ในการดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 2 Innovative Education and Authentic Learning ของมหาวิทยาลัยมหิดล

  • คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ขอแสดงความยินดีแด่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพียงใจ พีระเกียรติขจร อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ในโอกาสได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน 2565 เป็นต้นไป

  • คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ขอแสดงความยินดีแด่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วันวิสาข์ ปั้นศักดิ์ ในโอกาสได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ในสาขาวิชาปฐพีศาสตร์ และอนุสาขาวิชาการจัดการดิน

  • คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ขอแสดงยินดีกับ นางสาวภัสสร อิงอุดมนุกูล และ นางสาวณัฐนิชา ยิ้มพราย นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม (ES) ในโอกาสได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนนำเสนอผลงานวิจัย Senior Project จากผลงานวิจัยเรื่อง “การติดตามอาณาเขตหากินของวัวแดง (Bos javanicus) ภายหลังการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จังหวัดกาญจนบุรี (Monitoring home range of banteng (Bos javanicus) after reintroduction in Salakphra Wildlife Sanctuary, Kanchanaburi Province)” โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.รัตนวัฒน์ ไชยรัตน์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ในงาน Young Rising Stars of Science Award 2022 จัดโดย สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีนิสิต/นักศึกษาชั้นปีสุดท้ายในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต และหลักสูตรอื่นที่เกี่ยวข้องจากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ที่มีผลงานโครงการวิจัยทางวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี Senior Project โดดเด่น ร่วมนำเสนอผลงานในงาน The 48th International Congress on Science, Technology and Technology – based Innovation (STT48) ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน ถึง วันที่ 1 ธันวาคม 2565

  • คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ขอแสดงยินดีกับทีมนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม (ES) ประกอบด้วย นางสาวภัคจิรา กาญจนวิชานนท์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4, นางสาวปภาวรินท์ ทรงพัฒนาศิลป์ นักศึกษาชั้นปีที่ ชั้นปีที่ 4 ร่วมกับ นายธนวินท์ ธีระแสงจันทร์ นักศึกษาจากวิทยาลัยนานาชาติ, นายอิชฌน์ อมรเวชยกุล จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ และนางสาวณีรนุช สุดเจริญ จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสได้รับรางวัลต่อยอดจากการประกวดนวัตกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ครั้งที่ 2 ในหัวข้อ “PRESERVE” 4ภายใต้โครงการ “PTTEP Teenergy” ปีที่ 8 จำนวนเงิน 40,000 บาท จากผลงาน "กล่องฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเล : เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่งทะเลและเพิ่มพูนการกักเก็บคาร์บอน" โดยมี อ. ดร.บุญลือ คะเชนทร์ชาติ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

    ขอขอบคุณข้อมูลจาก งานบริการการศึกษา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ เพจ Facebook PTTEP CSR https://www.facebook.com/pttepcsr/photos/a.807605355951254/5883026258409113/

  • คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ขอแสดงความยินดีกับ นางสาวพิณทิพย์ คงชาตรี นักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ในโอกาสเข้ารับทุนการศึกษาจาก บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (Bangkok Commercial Asset Management PCL หรือ BAM) โดยมี คุณมณีรัตน์ ศรีเสาวชาติ ประธานคณะกรรมการกำกับกิจการเพื่อความยั่งยืน พร้อมด้วย คุณบัณฑิต  อนันตมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และคุณวีรเวช ศิริชาติไชย รองผู้จัดการใหญ่ มอบทุนการศึกษาให้กับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา และนิสิต/นักศึกษาระดับอุดมศึกษา เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2565 ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคาร BAM สำนักงานใหญ่  โดยในปีนี้จัดโครงการมอบทุนต่อเนื่องเป็นปีที่ 15 ภายใต้ชื่อ “เด็กไทยยุคใหม่ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.เบญจภรณ์ ประภักดี รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ เข้าร่วมพิธีในครั้งนี้ด้วย

  • 23 พฤศจิกายน 2565 เวลา 13.00 น. - 16.00 น. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรม "สร้างแรงบันดาลใจ กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ" โดยได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดี เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรมและร่วมแสดงความยินดีกับทีมนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม (ES) ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศและรองชนะเลิศอันดับ 1 ในงาน PTTEP Teenergy ปีที่ 8 กับการประกวดนวัตกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ครั้งที่ 2

    โดยทีมที่ได้รางวัลชนะเลิศ ในหัวข้อ “PRESERVE” ได้แก่หัวข้อเรื่อง “กล่องฟื้นฟูหญ้าทะเล เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่งทะเลและเพิ่มพูนการกักเก็บคาร์บอน” ประกอบด้วย นางสาวภัคจิรา กาญจนวิชานนท์ ชั้นปีที่ 4, นางสาวปภาวรินท์ ทรงพัฒนาศิลป์ ชั้นปีที่ 4 ร่วมกับนักศึกษาจากวิทยาลัยนานาชาติ นายธนวินท์ ธีระแสงจันทร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ นายอิชฌน์ อมรเวชยกุล และคณะวิทยาศาสตร์ นางสาวณีรนุช สุดเจริญ โดยมี อ. ดร.บุญลือ คะเชนทร์ชาติ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

    และทีมที่ได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ในหัวข้อ “PROTECT” ได้แก่หัวข้อเรื่อง “เครื่องดูดไมโครพลาสติก” ประกอบด้วยนางสาวชนัญชิดา พลภักดี ชั้นปีที่ 3, นายชนาธิป สีหราช ชั้นปีที่ 3 และนายภิญโญ จันทเลิศ ชั้นปีที่ 2 โดยมี อ. ดร.นรินทร์ บุญตานนท์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

    กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีสำหรับนักศึกษาในการแบ่งปันประสบการณ์ต่างๆ ที่จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจ รวมถึงจุดประกายความคิดความกล้าแสดงออก และส่งเสริมให้นักศึกษานำศักยภาพของตนเองออกมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งกับการการเรียน การใช้ชีวิต รวมถึงเพื่อความสำเร็จในการประกอบอาชีพต่อไปในอนาคต โดยมี หน่วยกิจการนักศึกษาและกิจกรรมพิเศษ เป็นผู้ประสานงานหลัก ณ ห้องประชุมศำสตรเมธี ดร.พงศ์พิศน์ ปิยะพงศ์ (4228) อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล ชั้น 2 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

  • ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาหลักสูตร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม (ES) และอาจารย์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ม.มหิดล ทั้งสองกลุ่มที่กวาดรางวัลชนะเลิศและ รองชนะเลิศอันดับ 1
    ในงาน PTTEP Teenergy ปีที่ 8 กับการประกวดนวัตกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ครั้งที่ 2 โดย
    ? รางวัลชนะเลิศ ในหัวข้อ “PRESERVE” ได้แก่หัวข้อเรื่อง
    “กล่องฟื้นฟูหญ้าทะเล เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่งทะเลและเพิ่มพูนการกักเก็บคาร์บอน”
    นางสาวภัคจิรา กาญจนวิชานนท์ ชั้นปีที่ 4
    นางสาวปภาวรินท์ ทรงพัฒนาศิลป์ ชั้นปีที่ 4
    ร่วมกับนักศึกษาจากวิทยาลัยนานาชาติ นายธนวินท์ ธีระแสงจันทร์
    คณะวิศวกรรมศาสตร์ นายอิชฌน์ อมรเวชยกุล
    และคณะวิทยาศาสตร์ นางสาวณีรนุช สุดเจริญ
    อาจารย์ที่ปรึกษา อ. ดร.บุญลือ คะเชนทร์ชาติ
    ได้รับเงินรางวัล 130,000 บาทพร้อมโลห์เชิดชูเกียรติ
    ? รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ในหัวข้อ “PROTECT” ได้แก่หัวข้อเรื่อง “เครื่องดูดไมโครพลาสติก”
    นางสาวชนัญชิดา พลภักดี ชั้นปีที่ 3
    นายชนาธิป สีหราช ชั้นปีที่ 3
    นายภิญโญ จันทเลิศ ชั้นปีที่ 2
    อาจารย์ที่ปรึกษา อ. ดร.นรินทร์ บุญตานนท์
    ได้รับเงินรางวัล 70,000 บาทพร้อมโลห์เชิดชูเกียรติ

  • ขอแสดงความยินดีกับทีม TKN22 ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 2 ในการประกวด Innovation for Campus Sustainability 2022 รอบ Prototype Presentation Round กับธีม "Net Zero Innovation : นวัตกรรมคาร์บอนต่ำ"

    วันที่ 6 กรกฎาคม 2565 นางสาวกมลชนก สาลี ผู้ปฏิบัติงานวิจัยและประสานงาน โครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ (บัณฑิตจากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล) ได้ร่วมนำเสนอผลงานการเพิ่มมูลค่าขยะพลาสติกโพลิเมอร์ Upcycle polyware เช่น หน้ากากอนามัยรวมไปถึง PP HDPE ผลิตเป็น นาฬิกา เก้าอี้ ที่ใส่ทิชชู่ ในการประกวด Innovation for Campus Sustainability 2022 รอบ Prototype Presentation Round กับธีม ” Net Zero Innovation : นวัตกรรมคาร์บอนต่ำ ” ณ มหิดลสิทธาคาร ซึ่งจัดโดยมหาวิทยาลัยมหิดล ในนามทีม TKN22 โดยมีนักศึกษาจากคณะวิทยาศาสตร์ สาขาวัสดุศาสตร์และวิศวกรรมนาโน หลักสูตรนานาชาติ (นาย พงศ์พันธุ์ ไพโรจน์, นางสาว อิสริยา รัตนภูมิ, นาย ณพงษ์ ตั้งวิรุฬห์) ร่วมทีมด้วยจากการประกวดดังกล่าว ทีม TKN22 ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 2 โครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติจึงขอแสดงความยินดีกับผู้ได้รับรางวัลทุกท่าน มา ณ โอกาสนี้

© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.