• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
  • คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ขอแสดงความยินดีแด่นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย

    1. นายคณพล คิลานนท์
    2. นางสาวพรนภา วาตาดา และ
    3. นางสาวหทัยชนก แก้วกันจร

    ในโอกาสได้รับรางวัล Young Rising Stars of Science 2021 ระดับ Gold จากสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2564 จากการประกวดผลงานโครงงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Senior Project) จากโครงงานวิจัยหัวข้อ "การสร้างแบบจำลองการกระจายตัวของฝุ่นละอองขนาดเล็กด้วยMachine Learning (Modelling Fine Atmospheric Particulate Matter Dispersion Using Machine Learning)" โดยมี อาจารย์ ดร.พูนเพิ่ม วรรธนะพินทุ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ

  • เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2565 ผศ.ดร.ธรรมรัตน์ พุทธไทย ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและกิจกรรมพิเศษ พร้อมด้วยผู้แทนสโมสรนักศึกษาคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้ารับโล่เชิดชูเกียรติระดับทองแดงระดับประเทศ ใน “งานมอบรางวัลผลการดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของเยาวชนภายในมหาวิทยาลัย (Green Youth)” ณ โรงแรมแกรนด์ริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี จัดขึ้นโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สส.) เพื่อป็นการส่งเสริมให้เยาวชนเรียนรู้ ซึมซับ และปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต โดยเน้นการลงมือปฏิบัติเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น ทั้งภายในมหาวิทยาลัยและขยายผลไปยังชุมชน สังคมโดยรอบ และช่วยยกระดับแนวทางการดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัย นำไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว หรือ Green University ในระดับสากลต่อไป

  • คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ขอแสดงความยินดีแด่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรันย์ ศรีรัตนา ทาบูกานอน และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิรทยา เริ่มมนตรี อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ในโอกาสได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นไป

  • ขอแสดงความยินดีกับ นางสาวซอนย่า แยปปิเน่น คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ในโอกาสได้รับรางวัลชมเชย จากกิจกรรม APEC Youth Voices Matter: Speaking Contest
    มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ จัดกิจกรรม APEC Youth Voices Matter: Speaking Contest
    วันที่ 31 สิงหาคม 2565 รองศาสตราจารย์ ดร.นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรม APEC Youth Voices Matter: Speaking Contest จัดโดย กองวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ ณ อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
    ในโอกาสนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.ชลธิศ ธีระฐิติ ผู้อำนวยการบริหารสำนักงานมหาวิทยาลัยเครือข่ายอาเซียน นางสาวชลทิพา วิญญุนาวรรณ นักการทูตชำนาญการ (ที่ปรึกษา) กองประชาสัมพันธ์การทูตสาธารณะ กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ นายฤทธิชัย ทับสุวรรณ นักการทูตชำนาญการ (ที่ปรึกษา) กองประชาสัมพันธ์การทูตสาธารณะ กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ อาจารย์ ดร.ฉันฐรัช หงษ์บุญไตร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และอาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินในกิจกรรมดังกล่าว โดยมี ผลการตัดสินรางวัลดังนี้
    รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้แก่ นายเฉลิมเกียรติ ยะพลหา คณะวิทยาศาสตร์
    รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ นายชอน กัลอัพ คณะวิศวกรรมศาสตร์
    รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 3 ได้แก่ นางสาวษัณณพร เจริญทิพย์ คณะศิลปศาสตร์ และ นางสาวพิชญ์สินี เลิศจตุรวิทย์ คณะศิลปศาสตร์
    รางวัลชมเชย ได้แก่
    - นายณฐนน กิตติมงคลสุข โรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
    - Ms. Shormeli Akter วิทยาลัยนานาชาติ
    - นางสาวพัชรนันท์ พลอมรวรีย์ คณะศิลปศาสตร์
    - นางสาวซอนย่า แยปปิเน่น คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์
    - นางสาวอิสริญาจ์ ศรีเศวตศุภรักษ์ คณะเภสัชศาสตร์
    กิจกรรมดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักรู้และความมีส่วนร่วม ในโอกาสที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเครือข่าย Asia-Pacific Economic Cooperation (APEC): Open. Connect. Balance. ประจำปี 2565 อีกทั้งยังส่งเสริมให้เกิดความรัก ความผูกพันในฐานะประชาคมภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิก ให้แก่นักเรียนและนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลที่จะเป็นกำลังสำคัญในการเปลี่ยนแปลงอนาคต โดยเน้นย้ำแนวคิดความเป็นพลเมืองโลก (Global Citizenship) และการนับรวมทุกกลุ่มคน (Inclusiveness)
  • คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ขอแสดงความยินดีแด่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรีย์วัลย์ สิทธิจันดา อาจารย์ประจำ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสได้รับการจดอนุสิทธิบัตรการประดิษฐ์ผลงาน “สารผสมสำหรับการผลิตไฮเทน” จาก กรมทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2565

  • 15 มิถุนายน 2565 เวลา 09.00 น. รองศาสตราจารย์ ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดี พร้อมด้วย คณะกรรมการประจำส่วนงาน คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมแสดงความยินดีกับบุคลากรและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในโอกาสที่คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการรับรองสำนักงานสีเขียว ปี 2564 (Green Office) ระดับดีมาก จากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (โดยมีระยะเวลาการรับรองตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2568) โดยมี คุณอภิรมย์ อังสุรัตน์ หัวหน้างานกายภาพและบริการพื้นฐาน เป็นผู้แทนรับมอบโล่รางวัลและเกียรติบัตรดังกล่าว

    โครงการส่งเสริมสำนักงานสีเขียว (Green Office) ปี 2564 จัดขึ้นโดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมให้หน่วยงานนำความรู้สำนักงานสีเขียว (Green Office) ไปประยุกต์ใช้ในสำนักงานและส่งเสริมให้มีการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในหน่วยงานทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษา และหน่วยงานท้องถิ่น โดยเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการมีส่วนร่วม เพื่อลดการใช้พลังงานและทรัพยากร ลดการเกิดของเสียและน้ำเสีย ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่บรรยากาศ รวมถึงมีการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในทุกภาคส่วน อันนำไปสู่การผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

    โดยกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นก่อนเข้าสู่วาระการประชุมคณะกรรมการประจำส่วนงาน คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งที่ 6/2565 ณ ห้องประชุมนาท ตัณฑวิรุฬห์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

  • คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ขอแสดงความยินดีกับ รศ.ดร.นาฎสุดา ภูมิจำนงค์ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Geoscience เป็นผลงานในวารสารระดับ Top1% โดยอาจารย์ทำงานร่วมกับนักวิจัยจากหลายประเทศ เป็นตัวอย่างที่ดีในการสร้างความร่วมมือกับสถาบันชั้นนำและตีพิมพ์ร่วมกันในวารสารที่มีชื่อเสียง

    ที่มา: รายการ [RERUN] EP.18 MUREX Live Podcast ประจำวันอังคารที่ 17 พฤษภาคม 2565

  • 18 พฤษภาคม 2565 เวลา 09.00 น. รองศาสตราจารย์ ดร.สุระ พัฒนเกียรติ คณบดี พร้อมด้วย คณะกรรมการประจำส่วนงาน คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมแสดงความยินดีกับ งานปฏิบัติการสิ่งแวดล้อมและมาตรฐานสากล โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.จำลอง อรุณเลิศอารีย์ รองคณบดี เป็นผู้แทนหน่วยงานในโอกาสได้รับโล่รางวัลห้องปฏิบัติการต้นแบบด้านความปลอดภัย ประจำปี 2564 และ งานกายภาพและบริการพื้นฐาน โดยมี คุณอภิรมย์ อังสุรัตน์ หัวหน้างานกายภาพและบริการพื้นฐาน ในโอกาสได้รับป้ายรางวัลสถานศึกษาปลอดภัยดีเด่น ประจำปี 2564 โดยคณะได้รับรางวัลดีเด่นต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 จากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ซึ่งการมอบรางวัลดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Safety Day รณรงค์ชีวอนามัยและความปลอดภัยครั้งที่ 6 จัดขึ้นโดยมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นจิตสำนึกด้านความปลอดภัยให้เกิดเป็นวัฒนธรรมความปลอดภัย (Safety We Care) รวมถึงตั้งเป้าหมายไม่เกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน ลดสถิติการประสบอันตรายภายในมหาวิทยาลัย เพื่อการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของมหาวิทยาลัยอย่างยั่งยืน โดยกิจกรรมจัดขึ้นก่อนเข้าสู่วาระการประชุมคณะกรรมการประจำส่วนงาน คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งที่ 5/ 2565 ณ ห้องประชุมนาท ตัณฑวิรุฬห์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

  • วันที่ 9 พฤษภาคม 2565 เจ้าหน้าที่จากศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร จังหวัดลำปาง ได้เดินทางส่งมอบใบรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) สำหรับพืชอาหาร เพื่อรับรองผลผลิตการเกษตรภายใต้โครงการศึกษาวิจัยและการจัดการสวนป่าเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน ณ พื้นที่ศูนย์ การศึกษา วิจัย และถ่ายทอดเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการจัดการลุ่มน้ำอย่างบูรณาการในพื้นที่ภาคเหนือ (ศทสล.) คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง

     

  • ขอแสดงความยินดีแด่บุคลากรผู้เข้ารับเกียรติบัตรข้าราชการ ลูกจ้างและพนักงานมหาวิทยาลัยดีเด่น ของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2564 ดังมีรายนามต่อไปนี้


    กลุ่มที่ 1 ข้าราชการประเภทวิชาการ ประเภทวิชาชีพเฉพาะ/เชี่ยวชาญเฉพาะ
    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยะกาญจน์ เที้ยธิทรัพย์


    กลุ่มที่ 2 ข้าราชการ ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ (ตำแหน่งปฏิบัติการ)
    นางจินตนา ประสพถิ่น ตำแหน่ง ผู้ปฏิบัติงานบริหารชำนาญงาน


    กลุ่มที่ 3 ลูกจ้างประจำเงินงบประมาณ
    นายไพศาล ไชยศรีรัมย์ ตำแหน่ง ช่างไฟฟ้า


    กลุ่มที่ 4 ลูกจ้างประจำเงินนอกประมาณ
    นายมนัส ทองหล่อง ตำแหน่ง ช่างซ่อมบำรุง


    กลุ่มที่ 5
    5.1 พนักงานมหาวิทยาลัย ประเภทวิชาการ ที่มีระยะเวลาปฏิบัติงานติดต่อกันตั้งแต่ 3 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี
    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กันต์ ปานประยูร
    5.2 พนักงานมหาวิทยาลัย ประเภทวิชาการ ที่มีระยะเวลาปฏิบัติงานติดต่อกันเกินกว่า 10 ปี
    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จงดี โตอิ้ม
    5.3 พนักงานมหาวิทยาลัย ประเภทวิชาชีพหรือบริหารงานทั่วไป ที่มีระยะเวลาปฏิบัติงานติดต่อกัน
    ตั้งแต่ 3 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี
    นางสาวอิสรีย์ อภิญญา ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่วิจัย
    5.4 พนักงานมหาวิทยาลัย ประเภทวิชาชีพหรือบริหารงานทั่วไป ที่มีระยะเวลาปฏิบัติงานติดต่อกัน
    ตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
    นายวรงค์ บุญเชิดชู ตำแหน่ง นักวิชาการคอมพิวเตอร์ (ผู้ชำนาญการพิเศษ)

© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.