• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

การจัดการความรู้เพื่อการบริหารจัดการพันธุ์ข้าว และกระบวนการจัดการเครือข่ายของ Young Smart Farmer เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม

หัวข้อ

รายละเอียด

ชื่อโครงการ

MU-SDGs Case Study

การจัดการความรู้เพื่อการบริหารจัดการพันธุ์ข้าว และกระบวนการจัดการเครือข่ายของ Young Smart Farmer เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม (Knowledge management for rice varieties and network management of Young Smart Farmer to cope with climate variability)

แหล่งทุน

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

ส่วนงานหลัก

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

ผู้ดำเนินการหลัก

รศ.ดร.นพพล อรุณรัตน์

ผู้ดำเนินการร่วม

 

หน่วยงานเครือข่ายให้การสนับสนุน และส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล และกลุ่มคัดเลือกและผลิตภัณฑ์ข้าวชุมชนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดพิจิตร จังหวัดยโสธร และจังหวัดพัทลุง

คำอธิบาย

 

ถอดกระบวนการเรียนรู้ การสั่งสม การถ่ายทอดองค์ความรู้ของเกษตรกรด้านการบริหารจัดการพันธุ์ข้าวในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย รวมถึงวิเคราะห์กระบวนการสร้างและการจัดการเครือข่ายของ Young Smart Farmer เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและการใช้ประโยชน์เชิงนโยบายสาธารณะด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน

เนื้อหา MU-SDGs Case Study

ข้าวเป็นสินค้าเกษตรหลักที่สำคัญของประเทศไทย และเป็นอาหารหลักของคนไทย การปลูกข้าวให้ได้ผลผลิตดีนั้นมีปัจจัยหลายประการ ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของดิน ปริมาณน้ำ เทคโนโลยี แต่ที่สำคัญที่สุด คือ พันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ซึ่งให้ผลผลิตสูง ต้านทานโรคและแมลงศัตรูพืช ทนต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม และได้ผลผลิตตรงตามความต้องการของตลาด อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่พบในปัจจุบัน คือ เกษตรกรส่วนใหญ่ยังขาดแคลนเมล็ดพันธุ์คุณภาพดี และมักใช้เมล็ดพันธุ์ที่เก็บไว้เองต่อเนื่องกันหลายปี ทำให้เมล็ดพันธุ์ไม่บริสุทธิ์ ประกอบกับ ยังขาดความรู้เกี่ยวกับวิธีการคัดเลือกและเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์อย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ ในขณะที่การซื้อเมล็ดพันธุ์จากบริษัทเอกชนก็ยังไม่สามารถรับรองคุณภาพได้  การลงทุนสร้างโรงงานปรับปรุงคุณภาพเมล็ดพันธุ์หรือศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวเพิ่มเติม รัฐบาลจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนมาก

   งานวิจัยนี้ จึงมุ่งถอดกระบวนการเรียนรู้ การสั่งสม การถ่ายทอดองค์ความรู้ของเกษตรกรด้านการบริหารจัดการพันธุ์ข้าวในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย รวมถึงวิเคราะห์กระบวนการสร้างและการจัดการเครือข่ายของ Young Smart Farmer และจัดทำคู่มือและสื่อ Infographic สรุปองค์ความรู้การบริหารจัดการพันธุ์ข้าวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและการใช้ประโยชน์เชิงนโยบายสาธารณะด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน

คณะผู้วิจัยดำเนินงานด้วยการวิจัยเอกสาร ศึกษาบริบทชุมชน สัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่มและถอดบทเรียนจากกลุ่มเกษตรกร 4 ภาค 4 จังหวัด 4 อำเภอ 4 ตำบล คือ ภาคเหนือ: ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเหนือตอนล่าง: ตำบลหนองพระ อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: ตำบลกุดชุม อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร และภาคใต้: ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ผลการดำเนินงานที่สำคัญ พบว่า จุดเริ่มต้นของการก่อตั้งกลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์ขยาย เนื่องจากการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ดี มีคุณภาพ ประกอบกับราคาเมล็ดพันธุ์ข้าวตามท้องตลาดที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้ได้ผลผลิตไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้ประสบปัญหาต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ เกิดจากการตระหนักว่าเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นเมืองเริ่มสูญหายไป จึงมีความจำเป็นที่จะต้องอนุรักษ์และขยายพันธุ์สืบต่อไป เกษตรกรจะปลูกเมล็ดพันธุ์ชั้นพันธุ์ขยาย ในช่วงฤดูฝน เกษตรกรจะมีการร่วมกันวางแผน หารือ และแลกเปลี่ยนปัญหาทั้งก่อนเพาะปลูกและระหว่างเพาะปลูก รวมถึงร่วมกันตรวจแปลงอย่างน้อย 3 ครั้ง ก่อนการเก็บเกี่ยว ซึ่งทุกๆ ขั้นตอนของการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว เป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

จุดเริ่มต้นของการสร้างกลุ่มและเครือข่าย Young Smart Farmer เกิดจากการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าว และร่วมกันอนุรักษ์เมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นเมือง ด้วยเหตุนี้ เกษตรกรจึงก่อตั้งกลุ่มโดยมีการจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน และเกิดเครือข่ายของเกษตรกรที่มีเป้าหมายเหมือนกัน สำหรับการทำกิจกรรมกลุ่มหรือปรับตัวดำรงอยู่ คือ กลุ่มดำเนินการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันภายในกลุ่ม เพื่อวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ต้องการเมล็ดพันธุ์ ซึ่งในทุกๆ พื้นที่ จะมีหน่วยงานภาครัฐเข้ามาช่วยสนับสนุนด้านความรู้ เทคนิค ควบคุมและตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าว ปัจจุบันการสื่อสารเข้าถึงมากยิ่งขึ้นสมาชิกสามารถติดต่อกันผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้ โดยส่วนใหญ่จะติดต่อกันผ่านทางแอปพลิเคชั่นไลน์ (LINE) หรือ เฟสบุ๊ค (Facebook) เพื่อร่วมกันแบ่งปันประสบการณ์ แลกเปลี่ยนความรู้ สร้างเครือข่าย รวมถึงเป็นการประชาสัมพันธ์ให้คนภายนอกได้รู้กลุ่ม และเป็นช่องทางในการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์และผลผลิตทางการเกษตร การจัดทำคู่มือสรุปองค์ความรู้ ภายใต้ชื่อ คู่มือนาแปลงใหญ่ฉบับชาวบ้าน มีขั้นตอนดังนี้ 1) ออกแบบเนื้อหา คำนึงถึงผู้ที่จะใช้ประโยชน์จากคู่มือเป็นสำคัญ 2) ทดสอบความเข้าใจของกลุ่มเป้าหมาย 3) ออกแบบรูปเล่มให้น่าหยิบ และน่าอ่าน 4) ผลิตและการเผยแพร่คู่มือสู่เกษตรกรในพื้นที่ศึกษาและหน่วยงานภาครัฐด้านการเกษตรในท้องถิ่นและส่วนกลาง การสนับสนุนปัจจัยการผลิตให้กับกลุ่มเกษตรกรที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ เช่น รถเกี่ยวข้าว เครื่องคัดแยกเมล็ดพันธุ์ และเครื่องอบข้าวเปลือกเพื่อลดความชื้น การสนับสนุนองค์ความรู้หรือเทคโนโลยี การจัดอบรมเสริมความรู้เกี่ยวกับการผลิตเมล็ดพันธุ์ขยาย และการพัฒนาพันธุ์หลักให้กับเกษตรกร การพัฒนาการข้อมูลพยากรณ์อากาศในระดับท้องถิ่น และคืนข้อมูลการพยากรณ์อากาศให้กับเกษตรกรผ่านหลายช่องทาง เช่น สื่อสังคมออนไลน์ (Line กลุ่มเกษตรกร, Facebook กลุ่มเกษตรกร) การเพิ่มทักษะในด้านการผลิต และการตลาด ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม และการสนับสนุนด้านเงินทุนให้แก่เกษตรกรรุ่นใหม่ เป็นจำเป็นที่หน่วยงานภาครัฐควรสนับสนุนเพื่อสร้างแรงจูงใจและไม่ส่งผลกระทบให้เกษตรกรรุ่นใหม่หันไปประกอบอาชีพเพื่อหารายได้นอกภาคการเกษตร

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

12

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

13 15

Key Message

 

การจัดการความรู้เพื่อการบริหารจัดการพันธุ์ข้าว และกระบวนการจัดการเครือข่ายของ Young Smart Farmer เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม

Links ข้อมูลเพิ่มเติม

http://www.thai-explore.net/search_detail/result/9555

สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

Partners/Stakeholders

หน่วยงานเครือข่ายให้การสนับสนุน และส่งเสริมการเกษตร อปท. และเกษตรกรในพื้นที่

ตัวชี้วัด THE Impact Ranking

13.3.1, 13.3.3, 13.3.4, 15.2.1, 15.2.5


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.