• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข่าวสิ่งแวดล้อม

นักศึกษาสาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ ม.มหิดล เปิดเผยผลการศึกษาข้อมูล ประสิทธิภาพการสวมใส่หน้ากากอนามัย N95 ในช่วงวิกฤติหมอกควัน ต่อเนื่องไม่ควรเกิน 4 ชั่วโมง

สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์  6 มกราคม 2566

นางสาวธฤษวรรณ รัศมี และ นางสาววริศรา ทองระย้า นักศึกษาสาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ได้เปิดเผย ผลการทดสอบและวิเคราะห์ผลประสิทธิภาพของหน้ากาก N95 เมื่อสวมเกิน 4 ชั่วโมง ว่า " ในช่วงวิกฤติหมอกควัน ระดับฝุ่นละอองสูงเกินระดับมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศของประเทศไทย ฝุ่นละอองเหล่านี้สามารถเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจและส่งผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชนได้ คนไทยเผชิญปัญหาวิกฤติหมอกควันบ่อยครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูแล้งที่แหล่งกำเนิดฝุ่นมาจากการเผาไหม้ชีวมวล การเผาป่า การจราจร การก่อสร้าง เป็นต้น หน้ากาก N95 เป็นทางเลือกที่อาจใช้เพื่อลดผลกระทบทั้งจากไวรัส COVID -19 และฝุ่นละอองขนาดเล็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ หน้ากากดังกล่าวมีคุณสมบัติการกรองละอองฝุ่นในอากาศที่มีขนาดเล็ก 0.3 ไมโครเมตรขึ้นไปได้อย่างน้อย 95% ภายใต้มาตรฐานของหน่วยงาน U.S. National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH) ซึ่งเป็นหน่วยงานทางสุขศาสตร์อุตสาหกรรมของสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ดี ประสิทธิภาพการใช้งานหน้ากาก N95 อาจเปลี่ยนแปลงตามเวลาการใช้งานต่อเนื่อง เป็นที่น่าสนใจว่า ระยะเวลาการใช้งานหน้ากาก N95 ในช่วงวิกฤติหมอกควันที่เหมาะสมควรจะเป็นเท่าไหร่ดี โดย ผลการศึกษาดังกล่าวได้รับการแนะนำและควบคุมคุณภาพโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอริกา พฤฒิกิตติ อาจารย์ประจำหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี สำหรับวิธีการการศึกษาข้อมูล นางสาวธฤษวรรณ รัศมี และนางสาววริศรา ทองระย้า นักศึกษาสาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ได้มีการทดสอบการสูญเสียแรงดันของแผ่นกรองจากหน้ากาก N95 ภายใต้สภาวะจำลองในช่วงวิกฤติหมอกควัน (ระดับละอองฝุ่นขนาดน้อยกว่า 10 ไมโครเมตร ระหว่างการทดลองเฉลี่ย 143.39 ?g m-3 สูงกว่าค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศ ที่ประเทศไทยกำหนดไว้ที่ 120 ?g m-3 เฉลี่ยในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง) ใช้ปั๊มดูดอากาศอัตราต่ำ เพื่อจำลองอัตราการหายใจของมนุษย์ วิธีทดสอบมุ่งเน้นประเมินประสิทธิภาพของวัสดุ ที่ทำหน้ากากอนามัยเพียงอย่างเดียว ไม่ได้พิจารณาปัจจัยเรื่องการสวมใส่ ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าการสูญเสียแรงดันคงที่ในช่วงเริ่มต้นถึงประมาณนาทีที่ 240 หรือประมาณ 4 ชั่วโมง ในชั่วโมงที่ 5 การสูญเสียแรงดันเพิ่มขึ้นมากบ่งชี้ว่าฝุ่นละอองสะสมบนหน้ากากมากจนผู้สวมใส่อาจหายใจไม่สะดวก ในชั่วโมงที่ 7 และ 8 การสูญเสียแรงดันลดลง บ่งชี้ว่าแผ่นกรองอาจเกิดการฉีดขาด ดังนั้น ทางที่ดีไม่ควรใส่หน้ากาก N95 ต่อเนื่องเกิน 4 ชั่วโมงในสภาวะที่ฝุ่นในช่วงวิกฤติหมอกควัน ซึ่ง ผลการศึกษาดังกล่าวได้รับการแนะนำและควบคุมคุณภาพโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอริกา พฤฒิกิตติ อาจารย์ประจำหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี เป็นข้อมูล ที่ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ เพื่อให้ประชาชนและนักศึกษา ได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์ ที่ใช้ป้องกันตนเองในการกรองฝุ่นละออง

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ยังมีโครงการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้การจัดการฝุ่นละอองในหลากหลายประเด็น หากประชาชนท่านใดต้องการปรึกษาข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอริกา พฤฒิกิตติ Email This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it." สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ในวันและเวลาราชการ ที่เบอร์โทรศัพท์ 034-585058


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.