• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข่าวสิ่งแวดล้อม

ก.ทรัพย์ ติดตามประเด็นสำคัญด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจากการประชุมเอเปค 2022 เพื่อนำกลับมาพัฒนาและต่อยอดในอนาคต

สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์  17 พฤศจิกายน 2565

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ติดตามประเด็นสำคัญด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจากการประชุมเอเปค 2022 เพื่อนำกลับมาพัฒนาและต่อยอดในอนาคต

นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ติดตามการทำงานศูนย์ประสานงานเอเปค ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อติดตามประเด็นสำคัญด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องภายใต้บทบาทของกระทรวงทรัพย์ ณ อาคารกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นช่วงการประชุมเอเปค 2022 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ถือเป็นการประชุมเอเปคครั้งแรกที่ได้นำแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจโดยคำนึงถึงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อมุ่งไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน โดยได้นำโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG) มาเป็นแนวคิดหลักขับเคลื่อนที่คาดหวังว่าเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วย เศรษฐกิจชีวภาพ – เศรษฐกิจหมุนเวียน – เศรษฐกิจสีเขียว จะเป็นผลลัพธ์สำคัญของการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 นี้ ทั้งนี้ ในส่วนของกระทรวงทรัพย์ได้ขับเคลื่อนงานตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG ไปสู่การดำเนินงานในเชิงรูปธรรม ด้วยการแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (BCG Model) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เน้นการดำเนินงาน 4 ประเด็นหลัก คือ การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติเพื่อความสมดุลของระบบนิเวศและเป็นฐานการพัฒนา // การใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนเพื่อสร้างและกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม // การลดการใช้ทรัพยากร ลดขยะและของเสีย และสุดท้าย การมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำและวิถีชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยกระทรวงทรัพย์จะดำเนินการพัฒนาฐานข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ครอบคลุมพื้นที่เป้าหมาย เพิ่มพื้นที่สีเขียวทั้งในพื้นที่ป่าธรรมชาติ ป่าเศรษฐกิจ และพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองและชนบท ควบคู่กับส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้รับการรับรองและส่งเสริมการตลาดมากขึ้น รวมถึง ลดการใช้ทรัพยากร นำพลาสติกเป้าหมายกลับมาใช้ประโยชน์ให้ได้ร้อยละ 100 และลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.