• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข่าวสิ่งแวดล้อม

สถานการณ์ของฝุ่น PM 2.5 ว่า กลับมาหนักกว่าปีที่แล้ว

สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์  3 พฤศจิกายน 2565

รศ. ดร. วิษณุ อรรถวานิช อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญงานวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ วิเคราะห์สถานการณ์ของฝุ่น PM 2.5 ว่า ฝนในปลายปีนี้และต้นปีหน้ามีแนวโน้มน้อยกว่าปีที่แล้ว ซึ่งนั่นจะเริ่มส่งผลกระทบหลังจากเข้าสู่ฤดูหนาวที่จะทำให้ฝุ่น PM2.5 กลับมาเพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มจะรุนแรงกว่าปีที่ผ่านมา โดยในช่วงเดือนพฤศจิกายนฝุ่น PM2.5 จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น หากมาตรการที่ใช้ในการแก้ปัญหายังเหมือนปีที่แล้ว ประชาชนไทยจะต้องเจอกับปัญหาฝุ่นที่หนักขึ้น

-ภาคกลาง และ กรุงเทพมหานคร - ปริมณฑล ฝุ่นจะหนักที่สุดในช่วงเดือนธันวาคม – มกราคม เนื่องด้วยอากาศหนาวเย็น ลมอ่อน และปรากฏการณ์ฝาชีครอบต่ำ ทำให้ฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่จากภาคอุตสาหกรรม การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงในรถยนต์และรถบรรทุก และการเผาในภาคเกษตรที่จะเป็นช่วงที่นาข้าวเก็บเกี่ยวเสร็จและจะมีการจัดการแปลงด้วยการเผาเพื่อปลูกข้าวรอบใหม่ นอกจากนี้ยังมีฝุ่นข้ามพรหมแดนจากประเทศกัมพูชามาสมทบเพิ่มด้วย

-ภาคอีสาน จะเจอกับฝุ่น PM 2.5 ในช่วงเดือนธันวาคมเป็นต้นไปจนถึง – มีนาคม จากภาคเกษตรที่มีการเผานาข้าว อ้อย และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ รวมถึงยังได้รับฝุ่นข้ามพรมแดนบางส่วนจากประเทศลาวและเวียดนาม

-ภาคเหนือ จะได้รับผลกระทบจากฝุ่น PM 2.5 ยาวนาน ตั้งแต่เดือนมกราคม – เมษายน ด้วยสาเหตุจากการเผาไหม้ทางภาคการเกษตร และการเผาไหม้ในพื้นที่ป่าที่ต่อเนื่องกัน รวมทั้งยังได้รับผลกระทบจากฝุ่นข้ามพรมแดนจากประเทศเมียนมา

-แหล่งกำเนิดฝุ่นหลักจะมี 3 แหล่ง คือ ภาคเกษตร ภาคยานยนต์ และภาคอุตสาหกรรม

โดยภาคเกษตร ในช่วงพฤศจิกายนจะเป็นช่วงนาข้าวจะเริ่มเก็บเกี่ยวข้าว หลังจากนั้นก็จะมีการเผาเพื่อปรับพื้นที่รอปลูกข้าวรอบใหม่ รวมถึงยังมีการเผาไร่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่ยังเป็นปัญหาหลัก โดยที่รัฐยังไม่ได้มีนโยบายส่งเสริมการลดการเผาอย่างจริงจัง

-ขณะที่ภาคยานยนต์ จะเป็นปัญหาเดิมที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้ เรื่องของควันดำ และการที่ยังไม่มีการปรับมาตรฐานน้ำมันยูโร 4 ให้เป็นยูโร 5 ที่มีการเลื่อนมาตั้งแต่ปี 63 และเลื่อนออกไปเป็นปี 67

-ภาคโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งปกติจะมีการเดินเครื่องทำงานตลอด 24 ชม. แต่กลับไม่พบข้อมูลของกรมโรงงานที่มีการเปิดเผยให้ทราบว่าโรงงานเหล่านี้มีการปล่อยมลพิษออกมามากเท่าไหร่ เหมือนกับข้อมูลการเผาไหม้ในแต่ละพื้นที่ ทั้งที่เป็นเรื่องที่ต้องเปิดเผยให้กับประชาชนได้รับรู้


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.