• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข่าวสิ่งแวดล้อม

การรุกรานทางชีวภาพสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจเท่าไหร่?

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  27 กรกฎาคม 2567

ที่มา https://www.the101.world/economic-cost-of-biological-invasion/

การระบาดของ ‘ปลาหมอคางดำ’ ทำให้นักการเงินอย่างผมต้องรื้อฟื้นความทรงจำเกี่ยวกับ ‘เอเลียนสปีชีส์’ (alien species) หรือที่แปลเป็นไทยว่าชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ซึ่งผมจำได้แบบงูๆ ปลาๆ ว่าเป็นสัตว์หรือพืชจากประเทศหนึ่งที่ย้ายถิ่นฐานมาตั้งรกรากที่ประเทศหนึ่ง ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดนั้น

เมื่อพืชหรือสัตว์เดินทางข้ามเขตกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติมาสู่ดินแดนแห่งใหม่ เราจะเรียกพวกมันว่าชนิดพันธุ์ต่างถิ่น “แต่เมื่อใดก็ตามที่สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นสามารถปรับตัวเข้ากับระบบนิเวศใหม่และขยายพันธุ์ได้เองตามธรรมชาติ พร้อมทั้งทำลายสมดุลในระบบนิเวศจนเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน เราจะเรียกสิ่งมีชีวิตกลุ่มนี้ว่า ‘ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน’ (Invasive Alien Species)”

ส่วนปลาหมอคางดำที่กำลังระบาดในปัจจุบันก็ชัดเจนว่าเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน เพราะความทนทายาทซึ่งสามารถปรับตัวอยู่ในน้ำได้เกือบทุกประเภท แพร่พันธุ์รวดเร็ว และกินสารพัดอาหารทั้งพืช สัตว์ และลูกปลาต่างๆ ทำให้ปลาหมอคางดำอาจกลายเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สร้างผลกระทบมหาศาลต่อระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพในแหล่งน้ำของไทย ซึ่งในแวดวงวิชาการเรียกสถานการณ์เช่นนี้ว่า ‘การรุกรานทางชีวภาพ’ (biological invasion)

ปัจจุบัน ประเทศไทยไม่มีกฎหมายโดยตรงที่กำกับดูแลเรื่องชนิดพันธุ์ต่างถิ่น แต่เป็นการควบคุมแบบกระจัดกระจายในกฎหมายฉบับต่างๆ อาทิ พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562, พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 ความตื่นตัวของประชาชนเรื่องชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในตอนนี้จึงถือเป็นโอกาสอันดีที่ประเทศไทยจะรื้อโครงสร้างการจัดการชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ปิดช่องโหว่ที่หละหลวมจนนำไปสู่การรุกรานทางชีวภาพ โดยการสร้างมาตรฐานกลางเพื่อการป้องปรามและจัดการที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.