สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 26 มีนาคม 2567
ที่มา https://mgronline.com/daily/detail/9670000025677
นับตั้งแต่ต้นปี 2567 เป็นต้นมา ทะเลตรังพบพะยูนเกยตื้นตายแล้ว 4 ตัว โดยที่ผ่านมาจะพบว่า พะยูนเกยตื้นมากที่สุดในช่วงปลายปีประมาณ พ.ย. – ธ.ค. ส่วนที่ตายในปีนี้อาจเกี่ยวเนื่องกับปลายปีที่ผ่านมา คาดว่าในช่วงกลางๆ ปีมีโอกาสการเกิดขึ้นน้อยลง แต่ถือว่าเป็นตัวเลขค่อนข้างน่าเป็นห่วง
จากที่มีการเก็บข้อมูลมาหลายปี สาเหตุหลักของการเกยตื้นส่วนใหญ่เกิดจากอาการป่วย แต่ว่าค่อนข้างวินิจฉัยยาก เพราะส่วนใหญ่พบตอนซากเน่า อวัยวะภายในค่อนข้างที่จะพิสูจน์ยาก ซึ่งกรณีพะยูนตัวล่าสุด พบพยาธิในกระเพาะมากขึ้นชี้ชัดว่ามันป่วย พบหนองพบก้อนเนื้อที่คล้ายมะเร็งลักษณะผิดปกติในอวัยวะภายใน ซึ่งค่อนข้างจะเจอในสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ของการเกยตื้น
ทั้งนี้ วิกฤตหญ้าทะเลลุกลามหนัก จ.ตรัง พบเสื่อมโทรมมาตั้งแต่ปี 2562 พบการตายของหญ้ามีเพิ่มขึ้นอีกหลายชนิด เช่น หญ้าคาทะเล หญ้าใบมะกรูด ซึ่งเป็นอาหารของพะยูน จากการสำรวจพบว่ามี 2 เกาะ ที่ได้รับผลกระทบรุนแรงคือ รอบเกาะลิบง และ บริเวณเกาะมุกด์ กินพื้นที่กว่า 10,000 ไร่
สุดท้ายยังคงต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิด สำหรับการปัญหาการเสื่อมโทรมของแหล่งหญ้าทะเล โดยเฉพาะในทะเล จ.ตรัง และ จ.กระบี่ ตลอดจนการขับเคลื่อนแนวทางอนุรักษ์พะยูนในทะเลไทย ที่ต้องยอมรับว่าเป็นความท้าทายอย่างมาก นับเป็นภารกิจที่ต้องร่วมมือร่วมใจจากทุกฝ่าย