• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข่าวสิ่งแวดล้อม

ก.ทรัพย์ฯ เดินหน้ามาตรการแก้ปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ปี 67 เพื่อรับมือผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญ พร้อมดึงภาคเอกชนลดฝุ่นผ่านการให้สิทธิประโยชน์และแรงจูงใจตอบแทน

สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์  27 ตุลาคม 2566

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เดินหน้ามาตรการแก้ปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ปี 2567 เพื่อรับมือผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญ พร้อมดึงภาคเอกชนร่วมกับภาครัฐและประชาชนลดฝุ่นผ่านการให้สิทธิประโยชน์และแรงจูงใจตอบแทน

นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวถึงสถานการณ์ฝุ่นละออง PM 2.5 ว่า ภาพรวมฝุ่น PM 2.5 และจุดความร้อน (Hotspot) ปีนี้มีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ทั้งในกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ ประกอบกับได้รับผลกระทบ จากปรากฏการณ์เอลนีโญจะมีกำลังแรงขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายปี 2566 อุณหภูมิเฉลี่ยมีแนวโน้มจะสูงกว่าค่าปกติ อากาศร้อนและแล้งมากขึ้น และปริมาณฝนรวมต่ำกว่าค่าปกติร้อยละ 10 ส่งผลให้สถานการณ์ไฟป่า หมอกควันและฝุ่นละอองปี 2567 จะมีความรุนแรงมากขึ้น ดังนั้น ภาครัฐจึงได้ยกระดับมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM 2.5 ปี 2567 ด้วยการกำหนดพื้นที่เป้าหมายเน้นพื้นที่เผาซ้ำซากร้อยละ 50 และกำหนดเป้าลดการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตรลงให้ได้ร้อยละ 50 หรือลดลง 3.25 ล้านไร่จากปีนี้มีพื้นที่เผาไหม้ร้อยละ 66 หรือ 6.5 ล้านไร่ ทั้งใน 10 ป่าอนุรักษ์ และ 10 ป่าสงวน // ให้ภาคเอกชนร่วมลงทุน โดยให้สิทธิประโยชน์และแรงจูงใจตอบแทน ด้วยการยกเว้นภาษีเงินได้ร้อยละ 200 พร้อมให้คาร์บอนเครดิต ให้เอกชนร่วมยกระดับราคาสินค้าที่ไม่เผา เช่น สนับสนุนเครื่องจักรกลให้เกษตรกรเก็บเกี่ยวไร่อ้อยแต่ไม่รับอ้อยไฟไหม้ ส่วนพื้นที่นาข้าวให้บริหารจัดการน้ำให้เหมาะสมและสนับสนุนเครื่องอัดฟางข้าวและไถกลบ แล้วบริหารจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร โดยเฉพาะพื้นที่เกษตรรอบโรงไฟฟ้าชีวมวลในรัศมี 50 กิโลเมตร ด้วยการนำมาแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม และปลดล็อคระเบียบให้เอื้อต่อการทำงาน // ยกระดับการเจรจาให้เข้มข้นจากระดับภูมิภาคอาเซียนไปสู่ระดับทวิภาคีและใช้เงื่อนไขทางการค้า // ใช้การสื่อสารเชิงรุก ส่งจุด ต่อเนื่อง บ่อยครั้ง และแจ้งเตือนทุกที่ // ตั้งคณะกรรมการแห่งชาติเพื่อสั่งการระดับชาติสู่ศูนย์ปฏิบัติการระดับจังหวัดแบบถาวร


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.