• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข่าวสิ่งแวดล้อม

บอร์ดสิ่งแวดล้อม มีมติเห็นชอบแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศเพื่อความยั่งยืน และมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM 2.5 ปี 2567

สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์  26 ตุลาคม 2566

คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ หรือ บอร์ดสิ่งแวดล้อม มีมติเห็นชอบแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศเพื่อความยั่งยืน และมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM 2.5 ปี 2567 เพื่อบริหารจัดการภาพรวมสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ทั้งประเทศโดยเฉพาะ

นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ หรือ บอร์ดสิ่งแวดล้อม ที่มี พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะเป็นประธาน ได้มีมติเห็นชอบแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศเพื่อความยั่งยืนตามที่ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี มีคำสั่ง โดยมี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานคณะกรรมการ และนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เป็นรองประธานคณะกรรมการ ถือเป็นกรรมการชุดใหญ่บริหารจัดการภาพรวมสถานการณ์ฝุ่นละออง PM 2.5 ของประเทศโดยเฉพาะ ซึ่งเน้นพื้นที่ป่าเฝ้าระวังป้องกันเข้มข้นที่มีการเผาไหม้มากที่สุดใน 10 พื้นที่ป่าสงวนฯ และ 10 พื้นที่ป่าอนุรักษ์ โดยขอให้มีความชัดเจนการแก้ปัญหา ส่วนของกระทรวงมหาดไทยขอให้เน้นย้ำในท้องถิ่น โดยเฉพาะพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือที่เกิดปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่น PM 2.5 เพราะมีกลุ่มที่มีความเสี่ยงอีก 8 จังหวัด เพื่อขับเคลื่อนอย่างมีประสิทธิภาพและลดความซ้ำซ้อนลง พร้อมทั้ง จะเชิญภาคเอกชนเข้ามาร่วมกันแก้ปัญหาในเขตป่ากับภาครัฐและประชาชนในพื้นที่

ทั้งนี้ บอร์ดสิ่งแวดล้อม ยังได้เห็นชอบมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM 2.5 ปี 2567 ประกอบด้วย การขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” และ “มาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ปี 2567” พร้อมเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการแห่งชาติด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า การเผาในที่โล่ง หมอกควัน และฝุ่นละออง เพื่อให้เป็นกลไกการบริหารจัดการทั้งในระดับชาติและระดับพื้นที่ พร้อมยกระดับมาตรการป้องกันและแก้ปัญหาทั้งการเผาในพื้นที่ป่า พื้นที่โล่ง และพื้นที่การเกษตร รวมถึง การแก้ปัญหาหมอกควันข้ามแดนที่ประสานความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว เพื่อลดผลกระทบสุขภาพต่อประชาชนของแต่ละประเทศ


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.