• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข่าวสิ่งแวดล้อม

สทนช. ระบุ ประเทศไทยมีน้ำใช้การอยู่ที่ 19,000 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยพบมีอ่างเก็บน้ำมีน้ำน้อย 8 แห่ง พร้อมคาดการณ์จะมีพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำป่าไหลหลากและดินโคลนถล่ม 3 จังหวัด รวม 12 อำเภอ

สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์  23 สิงหาคม 2566

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ระบุ ประเทศไทยมีน้ำใช้การอยู่ที่ 19,000 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยพบมีอ่างเก็บน้ำมีน้ำน้อย 8 แห่ง พร้อมคาดการณ์จะมีพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำป่าไหลหลากและดินโคลนถล่ม 3 จังหวัด รวม 12 อำเภอ

นายธรรมพงศ์ เนาวบุตร ผู้อำนวยการกลุ่มวิเคราะห์และติดตามสถานการณ์น้ำ รักษาการในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญด้านวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวว่า จากการประชุมติดตามสถานการณ์น้ำของประเทศ พบช่วงวันที่ 9 – 15 สิงหาคม มีปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำทั้งประเทศมีน้ำจากฝนตกไหลเข้าสะสมประมาณ 991 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ภาคเหนือสูงสุดบริเวณเขื่อนสิริกิติ์ ส่งผลให้ประเทศมีน้ำใช้การอยู่ที่ 19,000 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยพบอ่างเก็บน้ำหรือเขื่อนที่ค่อนข้างน่าเป็นห่วงมีปริมาณน้ำน้อย 8 แห่ง คือ เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน เขื่อนภูมิพล เขื่อนแม่มอก บึงบอระเพ็ด เขื่อนจุฬาภรณ์ อ่างเก็บน้ำคลองสียัด และอ่างเก็บน้ำปราณบุรี ทั้งนี้ ได้คาดการณ์ปริมาณฝนช่วงวันที่ 28 – 29 สิงหาคมนี้ จะมีฝนตกมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคตะวันออกในจังหวัดจันทบุรีและตราดจะมีฝนตกต่อเนื่องอาจเกิดน้ำป่าไหลหลากและดินโคลนถล่มได้ เบื้องต้นคาดการณ์จะมีพื้นที่เสี่ยงภัย 3 จังหวัด รวม 12 อำเภอ คือ จันทบุรี บริเวณขลุง ท่าใหม่ เขาคิชฌกูฏ เมืองจันทบุรี มะขาม แก่งหางแมว // ระยอง บริเวณเขาชะเมา // ตราด บริเวณเกาะช้าง บ่อไร่ แหลมงอบ เมืองตราด เขาสมิง ทำให้ต้องกำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบความมั่นคงและความปลอดภัยของแนวพนังกั้นน้ำ ระบบการระบายน้ำ การซักซ้อมแผนเผชิญเหตุ และการเร่งกักเก็บน้ำ

ขณะที่สถานการณ์เอลนีโญมีแนวโน้มต่อเนื่องถึงปีหน้า กอนช.จึงได้ออกมาตรการเพิ่มเติมจาก 12 มาตรการรับมือฤดูฝนเดิม 3 มาตรการ ทั้งการจัดสรรน้ำให้เป็นไปตามลำดับความสำคัญในพื้นที่ต่างๆเน้นเพื่อการอุปโภค-บริโภคเป็นหลัก // การควบคุมการเพาะปลูกข้าวนาปีต่อเนื่อง และสุดท้าย ขอความร่วมมือจากประชาชนเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำด้านอุปโภค-บริโภค ภาคอุตสาหกรรม และภาคเกษตรกรรม


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.