• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข่าวสิ่งแวดล้อม

กอนช. เฝ้าระวังฝนตกหนักมากในภาคตะวันออก และระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลากดินถล่มใน 10 จังหวัด

สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์  10 มิถุนายน 2566

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เฝ้าระวังฝนตกหนักมากในภาคตะวันออก และระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลากดินถล่มใน 10 จังหวัด

นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) กล่าวถึงสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศวันนี้ (10 มิ.ย.66) ว่า ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากในภาคตะวันออก ช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมามีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.บึงกาฬ ตราด ระนอง ตาก สระบุรี และกาญจนบุรี ทำให้ต้องเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำถึงวันที่ 11 มิถุนายน ในภาคเหนือ บริเวณจ.เชียงใหม่ เชียงราย น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก และแม่ฮ่องสอน // ภาคตะวันออก บริเวณ จ.ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี สระแก้ว และตราด // ภาคใต้ บริเวณ จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล และยะลา ทั้งนี้ สทนช. ยังได้คาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำหลากดินถล่มล่วงหน้า 3 วัน พบมีพื้นที่เสี่ยงน้ำหลากดินถล่มในจังหวัดพิษณุโลก บริเวณอำเภอนครไทยและวังทอง // ตาก บริเวณอำเภอท่าสองยาง // ระนอง บริเวณอำเภอเมืองระนอง // ตราด บริเวณอำเภอบ่อไร่ เกาะช้าง เขาสมิง เมืองตราด และแหลมงอบ // จันทบุรี บนิเวณอำเภอขลุงเขาคิชฌกูฏ ท่าใหม่ มะขาม แก่งหางแมว เมืองจันทบุรี นายายอาม และโป่งน้ำร้อน // ระยอง บริเวณอำเภอเขาชะเมา แกลง และบ้านค่าย // นครนายก บริเวณอำเภอปากพลี // ปราจีนบุรี บริเวณอำเภอนาดี ประจันตคาม และกบินทร์บุรี // ชลบุรี บริเวณอำเภอบ่อทอง และศรีราชา // กาญจนบุรี บริเวณอำเภอทองผาภูมิ

ทั้งนี้ กอนช. ยังได้เร่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเดินหน้าแผน 12 มาตรการรับมือฤดูฝนปีนี้อย่างเคร่งครัด โดยกรมทรัพยากรน้ำ ตรวจสอบระบบส่งสัญณาณด้วยภาพ (CCTV) ที่สถานีโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อบำรุงรักษาให้ระบบสัญญาณด้วยภาพ (CCTV) อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน เพื่อรองรับสถานการณ์น้ำช่วงฤดูฝน ส่วนกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เร่งติดตามความต้องการน้ำพบพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลัง บริเวณ หมู่ที่ 9 บ้านทรัพย์น้ำโจน ตำบลคลองสมบูรณ์ อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร และพื้นที่ใกล้เคียงรวมประมาณ 40,000 ไร่ มีความเเห้งแล้งและต้องอาศัยน้ำฝนในการเพาะปลูก จึงเร่งวางแผนปฏิบัติการช่วยเหลือต่อไป


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.