• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข่าวสิ่งแวดล้อม

กอนช. เฝ้าระวังฝนตกหนักหลายพื้นที่ทั่วประเทศ โดยมีพื้นที่เสี่ยงเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำไหลหลากใน 17 จังหวัด ช่วง 27 พ.ค. – 1 มิ.ย.นี้

สำนักข่าว กรมปราะชาสัมพันธ์  23 พฤษภาคม 2566

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เฝ้าระวังฝนตกหนักหลายพื้นที่ทั่วประเทศ โดยมีพื้นที่เสี่ยงเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำไหลหลากใน 17 จังหวัด ช่วงวันที่ 27 พฤษภาคม – 1 มิถุนายนนี้

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้ออกประกาศเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำไหลหลาก ฉบับที่ 4 หลัง กรมอุตุนิยมวิทยา ได้คาดการณ์มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยจะมีกำลังแรงขึ้น หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลางจะเคลื่อนเข้ามาปกคลุมประเทศลาวและกัมพูชา ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบริเวณภาคตะวันออก ส่วนภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในช่วงวันที่ 27 พฤษภาคม – 1 มิถุนายน เบื้องต้นได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำด้วยฝนคาดการณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) พบพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำนองไม่สามารถระบายได้ทันใน ภาคเหนือ คือ เพชรบูรณ์ บริเวณอำเภอหล่มเก่า // ภาคกลาง คือ เพชรบุรี บริเวณอำเภอท่ายาง บ้านลาด และเมืองเพชรบุรี , ประจวบคีรีขันธ์ บริเวณอำเภอหัวหิน และปราณบุรี // ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สุรินทร์ บริเวณอำเภอเมืองสุรินทร์ , บุรีรัมย์ บริเวณอำเภอเมืองบุรีรัมย์ , อุบลราชธานี บริเวณอำเภอเมืองอุบลราชธานี และพิบูลมังสาหาร // ภาคตะวันออก คือ ชลบุรี บริเวณอำเภอเมืองชลบุรี , ระยอง บริเวณอำเภอเมืองระยอง และแกลง , จันทบุรี บริเวณอำเภอเมืองจันทบุรี , ตราด บริเวณอำเภอเมืองตราด และเขาสมิง // ภาคใต้ คือ ชุมพร บริเวณอำเภอพะโต๊ะ , ระนอง บริเวณอำเภอกะเปอร์ เมืองระนอง และสุขสำราญ , พังงา บริเวณอำเภอกะปง คุระบุรี ตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า และท้ายเหมือง , ภูเก็ต บริเวณอำเภอกะทู้ ถลาง และเมืองภูเก็ต , กระบี่ บริเวณอำเภอเกาะลันตา คลองท่อม เมืองกระบี่ เหนือคลอง และอ่าวลึก , ตรัง บริเวณอำเภอเมืองตรัง กันตัง และปะเหลียน , สตูล บริเวณอำเภอทุ่งหว้า

ทั้งนี้ กอนช.ได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตรในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ หรือพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำนองไม่สามารถระบายได้ทัน พร้อมเตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก กำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ และลอกท่อระบายน้ำ


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.