• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร

การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร


⇒ สมัครอบรมออนไลน์ https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSeKTMMGS9i7XPNvnr-jd4ZY9np8YwrnLw7mcZVGlDJTq5ypQQ/viewform


โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ

“การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร และมาตรฐาน ISO 14064

ระหว่างวันที่ 16 – 17 พฤษภาคม 2567

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล

**************************************************

  1. หลักการและเหตุผล

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกและภาวะโลกร้อน (Global Warming) มีสาเหตุหลักจาก

กิจกรรมในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ซึ่งในปัจจุบันมีการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม การคมนาคมเศรษฐกิจ

การใช้พลังงานรูปแบบต่างๆ ที่สูงขึ้น รวมทั้งการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในรูปแบบอื่นๆ สิ่ง

เหล่านี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนทั้งสิ้น ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน เป็นปัญหาสำคัญที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกต่างตื่นตัวที่จะดำเนินงานเพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้น หลายประเทศมีการคำนวณหาปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ เพื่อติดตามตรวจสอบและรายงานผลการปล่อยหรือดูดกลับก๊าซเรือนกระจกตลอดจนพยายามที่จะหาแนวทางในการบริหารจัดการ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมีประสิทธิภาพ

"คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint)" คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมการดำเนินงานขององค์กร หรือจากผลิตภัณฑ์ โดยคำนวณออกมาในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ซึ่งปัจจุบันองค์กรต่างๆ ให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อม จึงทำการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization: CFO) เพื่อนำข้อมูลการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการดำเนินงานขององค์กรทั้งการผลิตและการบริการขององค์กร ซึ่งนำไปสู่การกำหนดแนวทางการบริหารจัดการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในระดับหน่วยงาน บริษัท โรงงาน ระดับอุตสาหกรรม และส่วนงานภาครัฐต่างๆ สำหรับประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นอันดับที่ 21 ของโลก ในปี พ.ศ. 2562 ประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 354 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และคาดว่าจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุดเท่ากับ 368 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ภายในปี พ.ศ. 2568 (องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก) และการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากการใช้พลังงาน ในปี พ.ศ. 2565 พบว่าประเทศไทยอยู่ที่ระดับ 247 ล้านตัน (สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน)

           ในการประชุมสมัชชาประเทศว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP 26) ณ เมือง     กลาสโกว์ สหราชอาณาจักร ผู้แทนกว่า 200 ประเทศได้เข้าร่วมเพื่อสร้างพันธสัญญาในการวางแผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยมีเป้าหมายร่วมกันเพื่อจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิของโลกไม่ให้เกิน 2 องศาเซลเซียสและให้พยายามตั้งเป้าไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ประเทศไทยได้ประกาศ  เจตนารมย์ที่จะบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 และ บรรลุเป้าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero emissions) ภายในปี ค.ศ. 2065 ซึ่งการบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนนั้นอาจจะตั้งเป้าหมายระดับบุคคล องค์กร หรือประเทศ สามารถทำได้โดยการ "ลด" และ "ชดเชย" การปล่อยคาร์บอนจนเป็นกลาง โดยผ่านกลไกดังต่อไปนี้ 1) ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น การใช้พลังงานหมุนเวียนแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล 2) ดูดกลับก๊าซเรือนกระจกจากชั้นบรรยากาศ เช่น การปลูกป่าเพื่อเพิ่มแหล่งสะสมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตามธรรมชาติ (Carbon Sink) การใช้เทคโนโลยีในการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และนำกลับมากักเก็บใต้พื้นดิน หรือใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ และ 3) ชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยการซื้อคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit Offset) เป็นต้น ในส่วนการบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) นั้น ในเป้าหมายระดับประเทศ พยายามลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านมาตรการต่างๆ ที่สามารถทำได้แล้ว กิจกรรมในบางประเภทก็ยังมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่ดี เพื่อให้บรรลุเป้าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์จึงใช้มาตรการกำจัดก๊าซเรือนกระจกผ่านกิจกรรมที่สามารถดูดซับก๊าซเรือนกระจกออกจากชั้นบรรยากาศในระยะยาว เช่น การปลูกป่า การปลูกพืชคลุมดินเพิ่มเติมในพื้นที่เกษตรเพื่อเพิ่มการตรึงคาร์บอนในดิน หรือใช้เทคโนโลยีในการดูดคาร์บอนที่ดักจับและกักเก็บโดยตรง เป็นต้น

การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรเป็นเทคนิควิธีที่แสดงข้อมูลการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร และจะนำไปสู่การกำหนดแนวทางการบริหารจัดการเพื่อหาแนวทางในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้ดำเนินการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร” เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างระบบการประเมินและทวนสอบคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของหน่วยงาน เพื่อจัดเก็บข้อมูลการปล่อยและดูดกลับของก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมการดำเนินงานขององค์กร ตลอดจนเพื่อให้หน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ได้มีแนวทางในการดำเนินการจัดทำระบบการประเมินและทวนสอบคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร อันเป็นการเสริมสร้างศักยภาพในการบริหารจัดการข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อใช้จัดทำนโยบายและยุทธศาสตร์การมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ได้ต่อไป

 

  1. วัตถุประสงค์
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับก๊าซเรือนกระจก นโยบายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission)
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รับหลักการพื้นฐานสำหรับการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร

 

  1. เนื้อหาการฝึกอบรม

          3.1 เนื้อหาในส่วนการพัฒนาอย่างยั่งยืน

                     3.1.1 หลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์กร

                     3.1.2 โมเดลสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environment, Social and

                            Governance: ESG model)

3.2 เนื้อหาในส่วนการอบรมความรู้พื้นฐานการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร ประกอบด้วย

3.2.1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับก๊าซเรือนกระจก

3.2.2 หลักการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร

3.2.3 การกำหนดขอบเขตการจัดทำบัญชีรายการก๊าซเรือนกระจก

3.2.4 การจัดประเภทและระบุแหล่งปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก

3.2.5 การเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการประเมินก๊าซเรือนกระจก

3.2.6 การคำนวณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก

3.2.7 กิจกรรมและแนวทางการลดก๊าซเรือนกระจก

3.2.8 ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutrality)

3.2.9 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero emissions)

3.2.10 การประเมินก๊าซเรือนกระจกขององค์กรตามมาตรฐาน ISO-14064

 

3.3 เนื้อหาในส่วนการจัด Workshop ฝึกปฏิบัติการประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจก

3.3.1 การระบุแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร

3.3.2 การกำหนดขอบเขต

3.3.3 การจัดทำ Verification Sheet

3.3.4 การจัดทำรายงานการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร

 

  1. ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินงาน

ระหว่างวันที่ 16 – 17 พฤษภาคม 2567 (เวลา 09:00 16:00 น. – จำนวน 2 วัน)                      

ณ ห้องประชุมรองศาสตราจารย์ (พิเศษ) เล็ก มอญเจริญ (4218) ชั้น 2 อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

  1. กลุ่มเป้าหมายของผู้เข้าอบรม

          ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน พนักงาน คณาจารย์ นักวิจัย ทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องจากทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน รัฐวิสาหกิจ และผู้สนใจทั่วไป จำนวน 50 คน

 

  1. ค่าลงทะเบียน

ท่านละ 4,000 บาท (รวมอาหารว่าง และอาหารกลางวัน)

 

  1.  ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมได้รับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับก๊าซเรือนกระจก นโยบายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ตลอดจนได้รับหลักการสำหรับการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร

กำหนดการ

โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร และมาตรฐาน ISO 14064”

ระหว่างวันที่ 16 – 17 พฤษภาคม 2567 เวลา 09:00 – 16:00 น.

ณ ห้องประชุมรองศาสตราจารย์ (พิเศษ) เล็ก มอญเจริญ (4218) ชั้น 2 อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

เวลา

รายละเอียด

วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม 2567

08:30-09:00 น.

ลงทะเบียนและรับเอกสาร

09:00-09:05 น.

กล่าวต้อนรับผู้เข้ารับการฝึกอบรมและกล่าวเปิดโครงการฯ

โดย รองศาสตราจารย์ ดร. กิติกร จามรดุสิต

     คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 

09:05-12:00 น.

บรรยายหัวข้อ

-          การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable development)

-          โมเดลสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environment, Social and Governance: ESG model)

-          ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับก๊าซเรือนกระจก

-          ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutrality)

-          การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero emissions)

-          หลักการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร

-          การกำหนดขอบเขตการจัดทำบัญชีรายการก๊าซเรือนกระจก

วิทยากร: รองศาสตราจารย์ ดร. กิติกร จามรดุสิต

13.00-16:00 น.

บรรยายหัวข้อ

-          การจัดประเภทและระบุแหล่งปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก

-          การเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการประเมินก๊าซเรือนกระจก

-          การคำนวณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก

-          กิจกรรมและแนวทางการลดก๊าซเรือนกระจก

 

-          สรุปประเด็นการเรียนการสอน และการถาม-ตอบ

วิทยากร: รองศาสตราจารย์ ดร. กิติกร จามรดุสิต

วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม 2567

08:30-09:00 น.

ลงทะเบียน

09:00-12:00 น.

บรรยายหัวข้อ

-          การประเมินก๊าซเรือนกระจกขององค์กรตามมาตรฐาน ISO-14064

วิทยากร:  ดร. พูนเพิ่ม วรรธนะพินทุ

             Regional Sustainability Manager - SEA  

             บริษัท บูโร เวอริทัส เซอทิฟิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด   

13.00-16:00 น.

อบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ

-          ระบุแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจก

-          กำหนดขอบเขต

-          การจัดทำ Verification Sheet

-          การคำนวณปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก

-          การจัดทำรายงานการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร

-          การทวนสอบปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร

-          สรุปประเด็นการเรียนการสอน และการถาม-ตอบ

วิทยากร: อ.ดร.ภาณุวัฒน์ ประเสริฐพงษ์

 

ผู้ประสานงานโครงการอบรม

น.ส. วิลินธร ชูโต (เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม)

โทร 0 2441 5000 ต่อ 2225, มือถือ 0961566999

อีเมล: vilinthorn.xut@mahidol.ac.th


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.