หัวข้อ |
รายละเอียด |
ชื่อโครงการ MU-SDGs Case Study |
การยกระดับศักยภาพการแข่งขันการท่องเที่ยวเช่าเหมาลำยอร์ชเพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว Improving Competitiveness in Yacht Charter Tourism for Increasing Opportunity of Tourism Revenue |
แหล่งทุน |
กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) |
ส่วนงานหลัก |
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ |
ส่วนงานร่วม |
- |
ผู้ดำเนินการหลัก |
อ.ดร.รัชพงษ์ กลิ่นศรีสุข |
ผู้ดำเนินการร่วม |
- |
คำอธิบาย
|
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเช่าเหมาลำยอร์ช วิเคราะห์ความสามารถทางการแข่งขันของการท่องเที่ยวเช่าเหมาลำยอร์ช และเสนอแนะการยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวเช่าเหมาลำยอร์ช โดยเริ่มจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเช่าเหมาลำยอร์ช และสำรวจมารีน่า โดยมีพื้นที่ศึกษาจังหวัดภูเก็ต แล้ววิเคราะห์ผลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ |
เนื้อหา MU-SDGs Case Study
|
ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการ เพื่อศึกษาโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเช่าเหมาลำยอร์ช วิเคราะห์ความสามารถทางการแข่งขันของการท่องเที่ยวเช่าเหมาลำยอร์ช และเสนอแนะการยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวเช่าเหมาลำยอร์ช
การดำเนินการ การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเช่าเหมาลำยอร์ช และสำรวจมารีน่า โดยมีพื้นที่ศึกษาจังหวัดภูเก็ต แล้ววิเคราะห์ผลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
ผลการดำเนินงาน โซ่อุปทานการท่องเที่ยวเช่าเหมาลำยอร์ชในจังหวัดภูเก็ตสามารถแบ่งออกได้ 3รูปแบบ ได้แก่ 1) การเช่าแบบซุปเปอร์ยอร์ช 2) Luxury charter และ 3) One day trip charter และพบปัญหาสำคัญในโซ่อุปทาน จากนั้นวิเคราะห์สภาพแวดล้อมการแข่งขันของธุรกิจการท่องเที่ยวเช่าเหมาลำยอร์ชด้วยเครื่องมือ Five force model พบว่า ธุรกิจการเช่าแบบ One day trip charter มีสภาพแวดล้อมการแข่งขันสูงต่อการทำธุรกิจ ซึ่งหมายถึงมีโอกาสถูกทดแทนด้วยสินค้าและบริการอื่นๆ และจำนวนคู่แข่งมาก ส่วนธุรกิจการเช่าแบบ Superyacht charter และ Luxury charter ยังมีโอกาสในการทำธุรกิจอีกมาก เนื่องจากมีผู้ประกอบการน้อยราย และผู้ประกอบการใหม่เข้ามาทำธุรกิจยาก รวมถึงเป็นการท่องเที่ยวที่มีความเฉพาะตัว สินค้าและบริการอื่นไม่สามารถทดแทนได้ หลังจากนั้นวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันของการท่องเที่ยวเช่าเหมาลำยอร์ช ด้วย Diamond Model แล้วรวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่ได้มาวิเคราะห์ศักยภาพของการเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเช่าเหมาลำยอร์ชด้วย SWOT analysis และจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยเพื่อคัดเลือกปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่สำคัญที่ส่งผลต่อความสามารถทางการแข่งขันของการท่องเที่ยวเช่าเหมาลำยอร์ชสำหรับประเทศไทย
การนำไปใช้ประโยชน์ ระดับเชิงนโยบายกับหน่วยงานต่างๆ เช่น กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงคมนาคม เป็นต้น ที่สามารถนำผลวิจัยไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการวางแผนเชิงนโยบายสำหรับพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเช่าเหมาลำยอร์ชทั้งระบบที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และระดับเชิงปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการที่อยู่ในอุตสาหกรรมยอร์ช เช่น ผู้จัดการมารีน่า ผู้ประกอบการธุรกิจให้เช่าเรือยอร์ช เป็นต้น และสามารถนำผลวิจัยไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการวางแผนพัฒนาและยกระดับการท่องเที่ยวเช่าเหมาลำยอร์ช เพื่อสร้างความสามารถทางการแข่งขันในการเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเช่าเหมาลำยอร์ช
Abstract The purpose of research objectives is to 1) study about yacht charter tourism supply chain, 2) analyze the competitiveness of yacht charter tourism and 3) recommend the improving competitiveness in yacht charter tourism. The scope of the study is Phuket. Data were collected from relevant literature reviews, surveys marinas in Phuket and in-depth interviews with stakeholders in the yachting sector using semi-structured interviews. The research results show that the yacht charter tourism supply chain in Phuket can be divided into 3 types: 1) Superyacht charter 2) Luxury charter 3) One day trip charter. Supply chain bottlenecks of yacht charter tourism were investigated. To analyze the competitive environment of the yacht charter tourism business using Five force model, it was found that One day trip charter has a highly competitive environment for doing business. This means that it is likely to be replaced by other products and services and many competitors. Superyacht charter and Luxury charter also have many business opportunities because there are few operators and new entrepreneurs entering the business are difficult as well as being a unique travel destination and the products cannot be substituted. After that, the competitiveness of yacht charter tourism was analyzed with Diamond Model and data analysis summarizes collected data to analyze the potential of yacht charter tourism destinations with SWOT analysis. The study prioritizes factors to select important internal and external factors affecting the competitiveness of yacht charter tourism in Thailand. The overview of the assessment results of the level of competence of Thai entrepreneurs of yacht charter tourism can be concluded that the sum of the weighted scores of the internal factor assessment is equal to 3.5144 total and the weighted score of the external factor assessment is equal to 2.9398. The results can be interpreted that Thai yacht charter tourism industry are highly organizational strengths and medium chance of responding to external factors. The suggestion should use the growth and build strategy. Therefore, the study has proposed the recommendations for the improving competitiveness in yacht charter tourism that consist of five strategies as follows; 1) Empowering Partners about increasing the number of marinas, strengthening the Thai shipbuilding and yacht maintenance industry 2) Creating Transformation about removing regulatory barriers to immigration for yachtsmen and their crew, encourage foreign businessmen to enter the business charter and develop human resources related to yacht charter 3) Advancing Experience Development about designing impressive travel experiences, organized access to popular attractions and facilitate nautical tourists who will go to cross- border travel by yacht in the ASEAN region 4) Leveraging Momentum about brand building and communicating to the target audience, prepare local people to integrate yacht charter tourism supply chain and 5) Strengthening Enablers about developing strategies to drive yacht tourism action plans, establishing a committee to drive the action plan and amended the definition of Thai ships. |
ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น |
งานวิจัยนี้ทำการศึกษาโดยครอบคลุม 3 ประเด็น ได้แก่ 1) ศึกษาโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเช่าเหมาลำยอร์ช 2) วิเคราะห์ความสามารถทางการแข่งขันของการท่องเที่ยวเช่าเหมาลำยอร์ช 3) เสนอแนะการยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวเช่าเหมาลำยอร์ช โดยขอบเขตของพื้นที่ศึกษาเป็นจังหวัดภูเก็ต ซึ่งภาพรวมของผลการประเมินระดับความสามารถของผู้ประกอบการไทยที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเช่าเหมาลำยอร์ชจากงานวิจัย สามารถแปลผลได้ว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเช่าเหมาลำยอร์ชของไทยมีศักยภาพสูง และมีโอกาสปานกลางในการเติบโต ควรใช้กลยุทธ์การเติบโต เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดและรายได้ (Grow and build) สามารถนำผลวิจัยไปใช้เป็นข้อมูลประกอบการวางแผนพัฒนาและยกระดับการท่องเที่ยวเช่าเหมาลำยอร์ช เพื่อสร้างความสามารถทางการแข่งขันในการเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเช่าเหมาลำยอร์ช |
ผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก |
เพื่อส่งเสริมการยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการไทย จึงควรมีความร่วมมือของผู้ส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรมยอร์ชเพื่อช่วยกันผลักดันและขับเคลื่อนร่วมกัน ซึ่งควรประกอบไปด้วย - หน่วยงานภาครัฐ เช่น กรมเจ้าท่า กรมศุลกากร กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมสรรพากร กรมตำรวจ กรมสรรพสามิต กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นต้น - หน่วยงานภาคเอกชน เช่น ผู้ประกอบการเช่าเหมาลำยอร์ช ผู้ให้บริการมารีน่า เอเจนซี่ยอร์ช เอเจนซี่ซุปเปอร์ยอร์ช ผู้จำหน่ายอุปกรณ์ อะไหล่ และชิ้นส่วนเรือยอร์ช บริษัทต่อเรือและซ่อมบำรุงรักษาเรือยอร์ช เป็นต้น - ภาควิชาการ และภาคชุมชนที่เกี่ยวข้องกับในพื้นที่ และขจัดอุปสรรคสำคัญโดยเฉพาะกฎหมายเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการทำธุรกิจและส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ |
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม |
8 |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง
|
|
รูปหน้าปก |
|
รูปหน้ารายละเอียด |
|
Key Message
|
การยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวเช่าเหมาลำยอร์ชประกอบด้วย 5 ข้อ ได้แก่ 1) Empowering Partners เกี่ยวกับการเพิ่มจำนวนมารีน่าเพื่อรองรับการขยายตัว ของอุตสาหกรรมยอร์ช สร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมบำรุงเรือยอร์ชของไทย 2) Creating Transformation เกี่ยวกับการขจัดอุปสรรคด้านกฎระเบียบในการเข้าเมืองของเรือยอร์ชและลูกเรือส่งเสริมให้นักธุรกิจต่างชาติเข้ามาประกอบธุรกิจเช่าเหมาลำ พัฒนาบุคลากรด้านธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเช่าเหมาลำยอร์ชที่มีมาตรฐานสากล 3) Advancing Experience Development เกี่ยวกับการออกแบบประสบการณ์ท่องเที่ยวให้น่าประทับใจ จัดระเบียบการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม อำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวทางน้ำที่จะไปประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน 4) Leveraging Momentum เกี่ยวกับการสร้างแบรนด์และสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมาย สร้างความพร้อมให้กับคนท้องถิ่น 5) Strengthening Enablers เกี่ยวกับการจัดทำยุทธศาสตร์เพื่อขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการการท่องเที่ยวเชิงยอร์ช และจัดตั้งคณะขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ และแก้ไขคำจำกัดความคำว่าเรือ |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม
|
|
สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย |
ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation |
Partners/Stakeholders |
- กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา - กระทรวงคมนาคม - กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม - กระทรวงต่างประเทศ - กระทรวงอุตสาหกรรม - กระทรวงแรงงาน - กระทรวงคมนาคม - กระทรวงการคลัง - กระทรวงพาณิชย์ - กรมเจ้าท่า - กรมศุลกากร - กรมโยธาธิการและผังเมือง - กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง - กรมสรรพากร - กรมตำรวจ - กรมสรรพสามิต - กรมพัฒนาธุรกิจการค้า - สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง - สำนักงานโยธาธิการและผังเมือง - ผู้จัดการมารีน่า - ผู้ประกอบการธุรกิจให้เช่าเรือยอร์ช - สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต - สภาอุตสาหกรรมจังหวัดภูเก็ต - สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต - หอการค้าภูเก็ต - สมาคมธุรกิจเรือยอร์ชไทย เป็นต้น |
ตัวชี้วัด THE Impact Ranking |
- |
การยกระดับศักยภาพการแข่งขันการท่องเที่ยวเช่าเหมาลำยอร์ชเพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว
- Super User
- งานวิจัย
- ฮิต: 2468