หัวข้อ |
รายละเอียด |
ชื่อโครงการ MU-SDGs Case Study |
การใช้พื้นที่ซ้อนทับระหว่างช้างป่า (Elephas maximus) และชุมชน และการพัฒนาระบบเตือนภัยในภาคตะวันออกของประเทศไทย Overlapping use areas between wild elephants (Elephas maximus) and communities, and warning system development in the eastern part of Thailand |
แหล่งทุน |
ทุน Fundamental Fund ประเภท Basic Research Fund ภายใต้แผนงานย่อย: พัฒนานักวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล |
ส่วนงานหลัก |
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ |
ส่วนงานร่วม |
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
ผู้ดำเนินการหลัก |
รศ.ดร.รัตนวัฒน์ ไชยรัตน์ |
ผู้ดำเนินการร่วม |
รศ.ดร.พรรณวิมล ตันหัน ผศ.สพ.ญ.ดร.กาญจนา อิ่มศิลป์ ผศ.ดร.วิวัฒน์ วงศ์ก่อเกื้อ |
คำอธิบาย |
ศึกษาผลกระทบและทัศนคติ การติดตั้งกล้องดักถ่ายเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระจายเพื่อประเมินความเสี่ยง สร้างแผนที่แนวเชื่อมต่อที่ปลอดภัย การวิเคราะห์สารเคมีปนเปื้อนในพืชอาหาร และเครื่องมือแจ้งเตือนผ่านอินเตอร์เน็ตในพื้นที่ซ้อนทับภาคตะวันออกของประเทศไทย |
เนื้อหา MU-SDGs Case Study |
ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการ การลดลงของช้างป่าจากการสูญเสียพื้นที่ป่า การล่า และการใช้งาน ทำให้มีการคุ้มครองจนมีประชากรช้างป่าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ผนวกกับการพัฒนาพื้นที่เกษตรและแหล่งน้ำทำให้มีการออกมาหากินนอกพื้นที่จนกลายเป็นความขัดแย้งที่เพิ่มมากขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกระจาย ประชากร ปัจจัยดึงดูด การตกค้างของสารเคมี และพัฒนาเครื่องเตือนภัยในพื้นที่ชุมชน การดำเนินการ 1. สำรวจทางตรง สัมภาษณ์และตั้งกล้องดักถ่ายภาพกิจกรรมและผลกระทบจากช้าง 2. ทำแผนที่การกระจายและรูปแบบกิจกรรมเพื่อซ้อนทับกับกิจกรรมมนุษย์ ประเมินความเสี่ยงระหว่างช้างป่าและชุมชนเพื่อการจัดการ อนุรักษ์ ลดผลกระทบ และฟื้นฟูถิ่นที่อยู่อาศัยและหากินอย่างยั่งยืน 5. วิเคราะห์การปนเปื้อนสารเคมีในพืชอาหารและกองมูล 6. สร้างเครื่องเตือนภัยด้วยแสงเรเซอร์ผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ 7. จัดประชุมเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ชุมชน ผลการดำเนินงาน ประชากรส่วนใหญ่ปลูกพืชเกษตร ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และมันสำปะหลัง ตั้งแต่ 10 ถึงมากกว่า 100 ไร่ มีปัญหากรรมสิทธิ์ เงินทุน น้ำ และการบุกรุกของช้างป่า ทำให้ไม่ต้องการให้ช้างทำลายผลผลิต ทรัพย์สินและชีวิต คิดว่าช้างออกมาหาอาหาร แหล่งน้ำและบังเอิญทำร้ายคนมากกว่า 10 ครั้ง/ปี ถ้าอยู่ติดป่าได้รับผลกระทบตลอดปี ได้รับผลกระทบ 1-2 ครั้ง/ปีในพื้นที่ใหม่ แต่ไม่ได้รับการเยียวยาหรือไม่คุ้มค่า มีความตระหนักในการอนุรักษ์แต่ไม่เห็นด้วยกับการคุ้มครองช้างในชุมชน ควรสร้างเครือข่ายแจ้งเตือนภัย ฟื้นฟูแหล่งอาหาร ประกันผลผลิต จัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ติดปลอกคอและใช้รั้วรังผึ้ง เนื่องจากมีแนวโน้มกระจายเพิ่มขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2543 – 2564 จากการตั้งกล้องจำนวน 1,530 คืน พบช้างป่า 13 พื้นที่จาก 51 พื้นที่ จำนวน 94 ตัว มีอัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมีย 1:1.14 เพศเมียต่อลูกอ่อน 1:0.5 อัตราการเพิ่ม 1:0.84 ร้อยละความหนาแน่น 26.05 ร้อยละการกระจาย 33.33 การกระจายสัมพันธ์กับระยะทางจากแหล่งน้ำและระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ทำกิจกรรมตั้งแต่เวลา 17.00-08.00 น. และเพิ่มสูงสุดที่ 23.00 น. ช่วงฤดูแล้งพบหย่อมถิ่นที่อยู่อาศัย 3,552 หย่อม พื้นที่ 5,136.95 ตร.กม. หย่อมรองรับประชากร 253 หย่อม ผสมพันธุ์ 8 หย่อม การใช้ประโยชน์รูปแบบอื่น ๆ 253 หย่อม ช่วงฤดูฝนพบ 1,961 หย่อม พื้นที่ 3,850.86 ตร.กม. รองรับประชากร 223 หย่อม ผสมพันธุ์ 33 หย่อม การใช้ประโยชน์รูปแบบอื่น ๆ 1,705 หย่อม มีหย่อมที่สำคัญ 8 หย่อม ฤดูแล้งมีแนวเชื่อมต่อที่เหมาะสม 16 แนว ฤดูฝนมี 15 แนว ครอบคลุมพื้นที่เกษตรกรรม พืชยืนต้น ป่าดิบชื้น และป่าผลัดใบ ไม่พบการปนเปื้อนของสารฆ่าแมลงในกลุ่มออร์กาโนคลอรีนในพืชอาหารหลัก 10 ชนิด เครื่องมือเตือนภัยที่ทำงานได้ดีและอยู่ระหว่างพัฒนาประสิทธิภาพต่อไป การนำไปใช้ประโยชน์ ภาครัฐ: กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ชุมชน: ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่า มีผลงานตีพิมพ์ระดับนานาชาติ Use of Human Dominated Landscape as Connectivity Corridors among Fragmented Habitats for Wild Asian Elephants (Elephas maximus) in the Eastern Part of Thailand. Diversity 2023;15(1):6. https://doi.org/10.3390/d15010006 |
ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ |
เป็นการนำปัญหาที่พบในชุมชนมาทำการวิจัยด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์เพื่อให้ทราบแนวทางในการจัดการปัญหาที่ยั่งยืนจากผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงในพื้นที่ศึกษา พร้อมทั้งพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการลดผลกระทบให้กับชุมชนในพื้นที่ศึกษาและพื้นที่อื่น ๆ ที่ได้รับผลกระทบในรูปแบบที่เหมือนหรือใกล้เคียงกัน ซึ่งแตกต่างจากโครงการอื่น ๆ ที่เป็นการศึกษาปัญหาและเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหา ซึ่งบางครั้งอาจไม่สะท้อนความต้องการที่แท้จริงของชุมชนในพื้นที่ส่งผลให้การแก้ปัญหาจากโครงการวิจัยไม่ยั่งยืน |
ผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก |
ระดับชุมชน จากผลการศึกษาสามารถลดความขัดแย้งระหว่างชุมชนและช้างป่าได้ รวมถึงการใช้เครื่องมือเตือนภัยที่เป็นนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงจากการสูญเสียผลผลิต ทรัพย์สิน และชีวิตของชุมชนในพื้นที่ซ้อนทับ และลดหากมีการประยุกต์ใช้ข้อมูลจากโครงการฯ ไปใช้จริงในพื้นที่ ระดับประเทศ ผลการศึกษาและนวัตกรรมที่ได้จากโครงการฯ สามารถนำไปต่อยอดและใช้กับพื้นที่อื่น ๆ ที่มีปัญหาในลักษณะเดียวกันในระดับประเทศ ระดับโลก ผลจากการวิจัยสามารถตีพิมพ์ผลงานในระดับนานาชาติ ซึ่งประเทศต่าง ๆ สามารถเรียนรู้ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาจากโครงการฯ โดยเฉพาะประเทศที่มีปัญหาความขัดแย้งระหว่างมนุษย์และช้างป่า (Human – elephant conflicts; HEC) ที่กำลังขยายตัวเพิ่มขึ้นในหลายภูมิภาคในโลก |
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม |
15 |
SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง
|
11 |
Key Message |
การลดความขัดแย้งระหว่างชุมชนและช้างป่าด้วยแผนที่ความเสี่ยงเพื่อการตัดสินในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิตของชุมชน การจัดการประชากรช้างป่า และการพัฒนานวัตกรรมการเตือนภัยเพื่อลดการสูญเสียชีวิตอย่างยั่งยืน |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม |
|
สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย |
ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation |
อัลบั้มภาพ |
|
Partners/Stakeholders |
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมป่าไม้ ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่าในพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับปัญหาช้างป่าทั้งระดับชุมชน อำเภอ จังหวัด และประเทศ |
ตัวชี้วัด THE Impact Ranking |
15.2.1, 15.3.5 |
การใช้พื้นที่ซ้อนทับระหว่างช้างป่า (Elephas maximus) และชุมชน และการพัฒนาระบบเตือนภัยในภาคตะวันออกของประเทศไทย
- Super User
- งานวิจัย
- ฮิต: 6394