• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

Post Formats

ม.มหิดลจัดทำฐานข้อมูลบัญชีการปล่อยมลพิษสารตั้งต้นก่อฝุ่น PM2.5 ทุติยภูมิ

ข่าว "ม.มหิดลจัดทำฐานข้อมูลบัญชีการปล่อยมลพิษสารตั้งต้นก่อฝุ่น PM2.5 ทุติยภูมิ" โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิรทยา เริ่มมนตรี อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ได้สร้างแบบจำลองคุณภาพอากาศ ภายใต้หลักการฟิสิกส์ และเคมี เพื่อจำลองปฏิกิริยาในบรรยากาศ เพื่อทำ "ฐานข้อมูลบัญชีการปล่อยฝุ่น PM2.5 ปฐมภูมิ" ที่เกิดจากการปล่อยโดยตรง ควบคู่ไปกับ "ฐานข้อมูลบัญชีการปล่อยฝุ่น PM2.5 ทุติยภูมิ" ซึ่งเกิดจากการรวมตัวและ/หรือการแปลงสภาพของมลพิษปฐมภูมิที่อยู่ในบรรยากาศ ซึ่งยังคงมีการศึกษาน้อยในปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังได้เตือนเกษตรกรไทยให้ใช้ปุ๋ยแต่เท่าที่จำเป็น เพื่อเพื่อควบคุมการระบายสารแอมโมเนีย ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของมลพิษสารตั้งต้นก่อฝุ่น PM2.5 ข่าวได้รับการเผยแพร่แล้วทางสื่อมวลชนดังนี้

1.คอลัมน์บทความพิเศษ นสพ.กรุงเทพธุรกิจ 18-10-66 หน้า 6 https://op.mahidol.ac.th/.../twitter/news2023-10-18-5.pdf
2.เมดิคอลไทม์ 14-10-66 http://medi.co.th/news_detail41.php?q_id=2831...
3.TCIJ 19-10-66
https://www.facebook.com/100046841476896/posts/pfbid0voNYWX5eFJ1zMj83DNyU1yA8amjbLWnNUgoqascDeZRJPWD9sGRc2Rx5SFCwmmmfl/?mibextid=oUgV5P
4.นิตยสารสาระวิทย์ 20-10-66 https://www.nstda.or.th/sci2pub/pm2-5-database/

สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ) งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210


ขอแสดงความยินดี

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และสมาคมศิษย์เก่าคณะฯ ขอแสดงความยินดีแก่ ดร.จิรพันธ์ โชติรัตนศักดิ์ ในโอกาสได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมศิษย์เก่าคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2566 เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2566


ขอร่วมชื่นชมและแสดงความยินดี

ขอร่วมชื่นชมและแสดงความยินดี แด่ ผู้ร่วมผลักดันให้อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ “เมืองโบราณศรีเทพ” จ.เพชรบูรณ์ ขึ้นทะเบียนมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งที่ 4 ของไทย


คุณสวนิต เทียมทินกฤต ศิษย์เก่าหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม (ES 3) และ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารสิ่งแวดล้อม (ET27) ปัจจุบันดำรงตำแหน่งนักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการพิเศษ


คุณชญาน์ทิพ กุลสุขรังสรรค์ ศิษย์เก่าหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม (ES 22) เจ้าหน้าที่ประสานงานด้านมรดกโลก กลุ่มงานประสานการบริหารจัดการมรดกโลก กองจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และคณะทำงานทุกท่าน




ม.มหิดล คิดค้น ‘สมการประเมินคาร์บอนเครดิต’ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเชิงลึก

ภาคตะวันออกของประเทศไทย แม้จะนับเป็นที่ “หยั่งราก” แหล่งที่สองของ “ต้นยางพารา” พืชเศรษฐกิจของประเทศไทย และปลูกในพื้นที่ที่ไม่กว้างใหญ่มากนักเมื่อเทียบกับพื้นที่ปลูกยางพาราในภาคอื่นๆ
สิ่งสำคัญที่ซ่อนอยู่ในพื้นที่เพาะปลูกต้นยางพาราซึ่งไม่แพ้มูลค่าการส่งออก คือ “ค่าคาร์บอนเครดิต” หรือตัวเลขของการ “ปล่อย” หรือ “กักเก็บ” ก๊าซเรือนกระจกในระดับโครงการ (Project Base) ซึ่งวัดออกมาเป็นหน่วยของ “ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า” ที่องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำหนดให้สามารถซื้อขายเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มณฑิรา ยุติธรรม ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเมืองน่าอยู่และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คือหนึ่งในความภาคภูมิใจในฐานะ “ปัญญาของแผ่นดิน” ตามปณิธานของมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้คิดค้นและพัฒนานวัตกรรม “สมการเพื่อการประเมินค่าคาร์บอนเครดิตในพื้นที่ปลูกยางพารา” ภายใต้ทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
เหตุผลที่เลือกศึกษาการประเมินค่าคาร์บอนเครดิตในยางพารา เนื่องจากเป็นต้นไม้ยืนต้นที่มีอายุยาวนานมากกว่า 25 ปี อีกทั้งเคยมีการศึกษาว่าหากเปรียบเทียบปริมาณการกักเก็บคาร์บอนระหว่างพื้นที่ปลูกยางพารา กับป่าเสื่อมโทรมในประเทศ จะพบปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ปลูกยางพาราสูงกว่าเดิมการสำรวจพื้นที่เพื่อประเมินค่าคาร์บอนต้องสิ้นเปลืองทั้งกำลังทรัพยากรมนุษย์และงบประมาณ ทีมวิจัยจึงได้คิดค้นและพัฒนา “สมการเพื่อการประเมินค่าคาร์บอนเครดิต” ที่คำนวณจากขนาดพื้นที่ และอายุของยางพารา เพื่อหาค่าเฉลี่ยของปริมาณการกักเก็บก๊าซคาร์บอน ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับมาเป็นตัวช่วยสำคัญในเก็บข้อมูล ซึ่งทำให้สามารถประหยัดได้ทั้งกำลังทรัพยากรมนุษย์และงบประมาณตามข้อมูลโดยการยางแห่งประเทศไทย ปี 2561 พบพื้นที่ปลูกต้นยางพาราในภาคตะวันออกของประเทศไทย สายพันธุ์ RRIM 600 RRIT 251 ประมาณ2 ล้านไร่ มีการกักเก็บคาร์บอนที่อยู่ในดินประมาณ16.19 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าที่ระดับความลึกของดิน 0 – 50 เซนติเมตร มีการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพเหนือดิน 19.66 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าและมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการปลูกยางพารา 1.93 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มณฑิรา ยุติธรรม กล่าวต่อไปว่า การศึกษาในระยะแรกจะแยกเก็บข้อมูลตามช่วงอายุของต้นยางพารา โดยแยกเป็นอายุ 1 ปี 5 ปี 10 ปี 15 ปี และ 20 ปี โดยมีนักศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ร่วมเก็บข้อมูลในทุกมิติ จากการสัมภาษณ์เกษตรกรผู้เก็บน้ำยาง ศูนย์รับซื้อน้ำยาง สหกรณ์รับซื้อผลิตภัณฑ์ยาง ฯลฯ และในอนาคตจะได้มีการต่อยอดเพื่อศึกษาแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในเชิงลึก เพื่อเสนอองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) สู่การประยุกต์ใช้จริงระดับนโยบายในภาคอื่น ๆ ของประเทศไทยต่อไปซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดความตระหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สร้างผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนเป็นปัจจัยสำคัญที่คอยชี้ชะตาการสนับสนุนอย่างเต็มรูปแบบได้ต่อไปในอนาคต

Accordion Menu

Newsletter Subscribe

About The Flex

Good seasons, day place male evening life after together gathered let void she'd grass created days upon after above great. Creative, prolific and ever-ready to serve you.


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.