• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

Post Formats

เสริมพลังชุมชน บรรลุเป้าหมาย Net Zero สร้างความเชื่อมั่น-ยกระดับมาตรฐานส่งออก ‘ส้มโอ จ.นครปฐม’

เสริมพลังชุมชน บรรลุเป้าหมาย Net Zero สร้างความเชื่อมั่น-ยกระดับมาตรฐานส่งออก ‘ส้มโอ จ.นครปฐม’

Empower the community, Achieve the Net Zero goal, Build confidence, Raise the export standard of 'Pomelo, Nakhon Pathom Province'

Image
แหล่งทุน
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้ดำเนินการหลัก
รศ.ดร.นพพล อรุณรัตน์
ผู้ดำเนินการรอง
  • แกนนำกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเกาะลัดอีแท่น
  • สำนักงานเทศบาลเมืองไร่ขิง
  • สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด (ทสจ.) นครปฐม
  • สมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (สทอ.)

คำอธิบาย

ส่งเสริมให้ชาวสวนส้มโอชุมชน “เกาะลัดอีแท่น” ตระหนักถึง “การเพิ่มการกักเก็บคาร์บอน” เสนอแนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและพลังงานในรูปแบบที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การใช้พลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์ การพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อการปรับตัวให้เท่าทันสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง การเสริมสร้างชุมชนเกษตรเชิงอนุรักษ์ และการประกอบการเพื่อชุมชนยั่งยืน ตลอดจนกิจกรรมจิตอาสาเพื่อการพัฒนาต่างๆ

เนื้อหา MU-SDGs Case Study

“เกาะลัดอีแท่น” เป็นเกาะที่เกิดขึ้นจากการขุดคลองลัดเชื่อมแม่น้ำท่าจีน สันนิษฐานว่า คลองลัดนี้ได้มีการขุดมาตั้งแต่ก่อนสมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อให้ชาวบ้านที่ใช้การคมนาคมทางน้ำโดยการเรือพาย สามารถพายเรือเข้าคลองลัดไปถึงที่หมายได้เร็วขึ้น โดยไม่ต้องพายเรืออ้อมไปตามแม่น้ำ ซึ่งต้องใช้เวลานาน

เกาะลัดอีแท่น ได้รับการส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรผสมผสานวัฒนธรรม อยู่ในพื้นที่อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม รูปร่างเหมือนกระเพาะหมู ซึ่งเกิดจากการขุดคลอง ปากคลองอยู่ระหว่างตำบลทรงคนองและตำบลหอมเกร็ด บริเวณเหนือวัดทรงคนองทะลุไปอีกด้านหนึ่งของแม่น้ำท่าจีน บริเวณที่คลองตัดผ่านนี้กลายเป็น “เกาะลัดอีแท่น” ประกอบด้วย 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลไร่ขิง ตำบลบางเตย และตำบลทรงคนอง สภาพพื้นที่อุดมสมบูรณ์ด้วยแหล่งน้ำ เหมาะสำหรับการทำสวนผลไม้ โดยเฉพาะส้มโอหลากหลายพันธุ์ที่ขึ้นชื่อว่ารสชาติดี เช่น ส้มโอขาวผ่อง ส้มโอขาวแป้น ส้มโอขาวทองดี ส้มโอขาวน้ำผึ้ง ส้มโอขาวหอม ส้มโอทับทิมสยาม เป็นต้น

ในปี พ.ศ. 2554 ได้เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ ทำให้พื้นที่เกษตรโดยเฉพาะสวนส้มโอเสียหายเกือบทั้งหมด หลังจากนั้นชาวสวนจึงเริ่มปลูกส้มโอใหม่ โดยขยายพันธุ์จากกิ่งพันธุ์ที่ยังเหลือในพื้นที่และบางส่วนหาซื้อจากพื้นที่อื่น ที่เคยนำกิ่งพันธุ์จากพื้นที่ไปปลูก จนในปัจจุบันนี้มีผลผลิตที่ยังคงคุณภาพดีเช่นเดิม ส่วนที่เพิ่มเติม คือ ทุกพื้นที่เกษตรกรรมบนเกาะแห่งนี้ ลดการใช้สารเคมี หรือหันมาทำการเกษตรแบบอินทรีย์ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งนอกจากจะสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนแล้ว ยังได้รับประโยชน์อีกรูปแบบหนึ่ง ที่เป็นผลจากการคงความเป็นธรรมชาติเอาไว้ นั่นคือ เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร (Agrotourism) ที่ในปัจจุบันทุกคนกำลังให้ความสนใจ

“คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์” กับ “แกนนำชุมชนเกาะลัดอีแท่น” ประกอบด้วย คุณลือยศ บรรพกาญจน์ รองนายกเทศมนตรีเมืองไร่ขิง คุณเอกวิทย์ นวเศรษฐ สถาปนิกและเจ้าของคาเฟ่ MADI ณ ลัดอีแท่น Ms. Judy Mutziger นักอนุรักษ์และนักวิชาการอิสระ คุณปาริชาต สุนทรารักษ์ ผู้แทนสมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (Thai Ecotourism and Adventure Travel Association: TEATA) ตลอดจนบุคลากรจากเทศบาลเมืองไร่ขิง และผู้แทนจากบริษัทท่องเที่ยวเอกชน มีความร่วมมือด้านการวิจัย บริการวิชาการ การเรียนการสอน และพันธกิจสัมพันธ์กับสังคม โดยมีเป้าหมาย เพื่อพัฒนาพื้นที่ชุมชนตลอดริมแม่น้ำท่าจีนที่ประสบปัญหาน้ำท่วมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ด้วย
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและพลังงานทางเลือก การจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียน (Outdoor Classroom) การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อการคิดค้นนวัตกรรมพลังงานสะอาด กิจกรรมเพื่อสังคม (Corporate Social Responsibility) การพัฒนาที่อยู่อาศัยเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่น รวมถึงการเสริมสร้างธุรกิจชุมชนเพื่อความยั่งยืน

ปัจจุบัน คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ และชุมชนเกาะลัดอีแท่น กำลังดำเนินการประเมินการกักเก็บคาร์บอนในสวนส้มโอ สำรวจความคิดเห็นของเกษตรกรด้านการรับรู้และความเข้าใจในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับคาร์บอนเครดิต ตลอดจนการส่งเสริมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) เพื่อพัฒนาชุมชนควบคู่กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

 

Key Message

การพัฒนาชุมชนเกาะลัดอีแท่นให้เป็นชุมชนเกษตรเชิงอนุรักษ์ แหล่งท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero)  และเสริมสร้างธุรกิจชุมชนเพื่อความยั่งยืน

สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

  • ยุทธศาสตร์ที่ 1 World Class Research & Innovation
  • ยุทธศาสตร์ที่ 2 Innovative Education and Authentic Learning
  • ยุทธศาสตร์ที่ 3 Policy Advocacy, Leaders in Professional / Academic Services and Excellence in Capacity Building for Sustainable Development Goals

Partners/Stakeholders

  • แกนนำกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเกาะลัดอีแท่น
  • สำนักงานเทศบาลเมืองไร่ขิง
  • สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด (ทสจ.) นครปฐม
  • สมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (สทอ.)
Image
Image
Image
Image
Image
Image

Accordion Menu

Newsletter Subscribe

About The Flex

Good seasons, day place male evening life after together gathered let void she'd grass created days upon after above great. Creative, prolific and ever-ready to serve you.


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.