• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

Post Formats

โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์วัวแดง (Bos javanicus) ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จังหวัดกาญจนบุรี ของมหาวิทยาลัยมหิดล

หัวข้อ

รายละเอียด

ชื่อโครงการ

MU-SDGs Case Study

โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์วัวแดง (Bos javanicus) ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จังหวัดกาญจนบุรี ของมหาวิทยาลัยมหิดล  Promoting Community Participation in Banteng (Bos javanicus) Conservation in Salakphra Wildlife Sanctuary

แหล่งทุน

เงินอุดหนุนกองทุนสิ่งแวดล้อม

ส่วนงานหลัก

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

ส่วนงานร่วม

-

ผู้ดำเนินการหลัก

รศ.ดร.รัตนวัฒน์ ไชยรัตน์

ผู้ดำเนินการร่วม

นายเสรี นาคบุญ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาน้ำพุ

คำอธิบาย

 

โครงการนี้เน้นสภาพปัจจุบันของวัวแดงในพื้นที่ต่าง ๆ เทียบกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระที่เป็นต้นแบบในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และมีการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้และศึกษาธรรมชาติ พร้อมทั้งพัฒนาโปรแกรมสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการเรียนรู้ของเยาวชน ประชาชน และชุมชนบนพื้นฐานจากงานวิจัยด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจการจัดการอนุรักษ์วัวแดงในพื้นที่อนุรักษ์อื่น ๆ ต่อไป

เนื้อหา MU-SDGs Case Study

 

ความสำคัญ วัตถุประสงค์โครงการ

วัวแดงมีความสำคัญอย่างมากในระบบนิเวศ เนื่องจากทำหน้าที่ถ่ายทอดพลังงานและหมุนเวียนธาตุอาหารในป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และป่าประเภทอื่น ๆ ที่มีหญ้าขึ้นปะปนเนื่องจากระบบย่อยอาหารของวัวแดงช่วยกระตุ้นให้เมล็ดพรรณไม้งอกได้อย่างรวดเร็ว   ในประเทศไทยวัวแดงมีภัยคุกคามจากการบุกรุกพื้นที่ป่าที่ราบต่ำที่เป็นพื้นที่หากินส่วนใหญ่ของวัวแดง ซึ่งการบุกรุกพื้นที่ป่าและการล่าสัตว์ป่าของมนุษย์ถือเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อการลดจำนวนลงของประชากรวัวแดง  หากวัวแดงหมดไปจะส่งผลต่อการล่มสลายของระบบนิเวศเนื่องสัตว์ผู้ล่าชั้นบนสุด เช่น เสือโคร่งที่คอยควบคุมประชากรสัตว์ป่าชนิดอื่นต้องสูญพันธุ์ไปจากพื้นที่ด้วย

 

ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาน้ำพุได้ริเริ่มจัดทำโครงการปล่อยวัวแดงคืนสู่ธรรมชาติครั้งแรกของโลกภายใต้การมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรต่าง ๆ เพื่อการศึกษา วิจัย ปกป้อง คุ้มครอง ขยายพันธุ์และประชาสัมพันธ์โครงการฯ อย่างไรก็ตาม เพื่อลดความเสี่ยงต่อการผสมพันธุ์แบบเลือดชิดของวัวแดงในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จึงจำเป็นต้องมีการสำรวจและจัดทำแผนการอนุรักษ์วัวแดงเพื่อใช้เป็นคู่มือใช้ในการอนุรักษ์ ส่งเสริมและพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้การอนุรักษ์วัวแดงที่สามารถต่อยอดและขยายผลไปสู่พื้นที่อนุรักษ์แห่งอื่น ๆ ต่อไป

 

โครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการประสานความร่วมมือของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการอนุรักษ์วัวแดงและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ต้นแบบเพื่อความยั่งยืนในการบริหารจัดการชนิดพันธุ์สัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ การพัฒนาเครื่องมือและกลไกในการศึกษา จัดการ และเผยแพร่การอนุรักษ์วัวแดงอย่างมีส่วนร่วม

และการบูรณาการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และสิ่งแวดล้อมศึกษาในการกระตุ้นประสบการณ์เกี่ยวกับชีวิตสัตว์ป่าในธรรมชาติ และการบริการเศรษฐกิจ-สังคมบนฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุมชน

 

การดำเนินการ

การสร้างองค์ความรู้ จิตสำนึก และความตระหนักเกี่ยวกับความสำคัญของการอนุรักษ์วัวแดโดยประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาสาสมัครอนุรักษ์วัววแดง และชุมชน รับฟังความคิดเห็นและจัดทำแผน มาตรการและคู่มือการอนุรักษ์วัวแดง คู่มือการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และสิ่งแวดล้อมศึกษาต่อชุมชนที่อยู่ในพื้นที่  พัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ภายใต้การมีส่วนร่วมของชุมชน  และนำเสนอข้อมูลโครงการต้นแบบสลักพระให้กับพื้นที่อนุรักษ์อื่น ๆ

 

ผลการดำเนินการ

 

ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

 

ผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก

ผลประโยชน์ต่อชุมชน

1) กลุ่มเครือข่ายชุมชน 35 ชุมชน เข้าใจการอนุรักษ์วัวแดง และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อให้เกิดความยั่งยืน

2) มีศูนย์เรียนรู้การอนุรักษ์วัวแดงในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ เกี่ยวกับการอนุรักษ์วัวแดง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำหรับ เยาวชน ประชาชน และชุมชนท้องถิ่น

3) ประชาชนและชุมชน รวมทั้งภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ได้รับรู้ข้อมูลและข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์วัวแดงอย่างต่อเนื่องและมีบทบาทสำคัญในการขยายผล เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์วัวแดง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และความสำเร็จไปสู่ชุมชนอื่น ๆ

4) ประชาชนและชุมชนมีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์วัวแดง โดยเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมภายใต้โครงการตั้งแต่การรับรู้ปัญหา ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมปฏิบัติ ร่วมติดตามประเมินผล และร่วมรับผลประโยชน์ ซึ่งเป็นผลงานที่ชุมชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงและจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงความคิดและพฤติกรรมด้านคุณค่าการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และขยายผลความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการไปสู่พื้นที่อื่นได้

5) ได้ฐานข้อมูลวัวแดงในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระในการให้ความรู้เรื่องการอนุรักษ์วัวแดงให้แก่ชุมชนทั้งในท้องถิ่นและประชาชนทั่วไป

ผลประโยชน์ต่อระบบนิเวศ

1) ทำให้ระบบนิเวศป่าไม้ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีจำนวน 602,000 ไร่ ได้รับการปกป้องคุ้มครองโดยการมีส่วนร่วมของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของวัวแดง

2) ความซับซ้อนของสายใยอาหารจะกลับมา โดยมีวัวแดงเป็นตัวกลางในระบบ

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

15

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

 

 

รูปหน้าปก (ที่จะโชว์หน้าเว็บ)

 

รูปหน้ารายละเอียด

 

Key Message

 

การส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนรอบพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระในการอนุรักษ์การจัดการทรัพยากรสัตว์ป่า โดยผ่านกระบวนการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายในการปกป้อง คุ้มครอง และฟื้นฟู เพื่อการปกป้อง คุ้มครอง และฟื้นฟูพื้นที่อนุรักษ์ พื้นที่ป่าต้นน้ำ ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า

Links ข้อมูลเพิ่มเติม

 

สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

อัลบั้มภาพ

 

Partners/Stakeholders

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

ชุมชนรอบเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ 28 ชุมชน

ชุมชนของพื้นที่อนุรักษ์อื่น ๆ ที่ยังคงพบวัวแดงในพื้นที่ รวม 17 พื้นที่

ตัวชี้วัด THE Impact Ranking

15.2.3, 15.3.5


Accordion Menu

Newsletter Subscribe

About The Flex

Good seasons, day place male evening life after together gathered let void she'd grass created days upon after above great. Creative, prolific and ever-ready to serve you.


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.