• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

โครงการเทิดพระเกียรติเพื่อศึกษาการพัฒนาชุมชนโครงการหลวงเพื่อเป็นชุมชนคาร์บอนต่ำและยั่งยืน

หัวข้อ

รายละเอียด

ชื่อโครงการ

MU-SDGs Case Study

โครงการเทิดพระเกียรติเพื่อศึกษาการพัฒนาชุมชนโครงการหลวงเพื่อเป็นชุมชนคาร์บอนต่ำและยั่งยืน
Royal initiative Project on the Study of Community Development towards Low carbon and Sustainable Community

แหล่งทุน

งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยมหิดล

ส่วนงานหลัก

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

ส่วนงานร่วม

(ชื่อหน่วยงาน)

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

ผู้ดำเนินการหลัก

(หัวหน้าโครงการ)

รศ.ดร.กัมปนาท ภักดีกุล

ผู้ดำเนินการร่วม

(รายชื่อผู้ดำเนินงาน จากหน่วยงานภายนอก)

นายวธัญญู วรรณพรหม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

 

คำอธิบาย

การศึกษาและยกระดับการพัฒนาโครงการหลวงให้เป็นชุมชนคาร์บอนต่ำและยั่งยืน โดยการสร้างมาตรฐานการพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูงคาร์บอนต่ำและยั่งยืนให้ชุมชนโครงการหลวงใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสู่ต้นแบบชุมชนบนพื้นที่สูงคาร์บอนต่ำและยั่งยืนที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน

เนื้อหา MU-SDGs Case Study

ปัจจุบันชุมชนในพื้นที่โครงการหลวงหันมาทำการเกษตรโดยอาศัยฐานความรู้ที่เหมาะสมภายใต้ระบบการอนุรักษ์ดินและน้ำ เกษตรกรเลิกการปลูกฝิ่น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และมีสวนร่วมในการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าต้นน้ำลำธาร ทั้งนี้มูลนิธิโครงการหลวงได้มุ่งพัฒนาชุมชนพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงในเชิงคุณภาพทุกมิติทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดความยั่งยืนระยะยาวและเป็นแหล่งเรียนรู้การพัฒนาพื้นที่สูง แม้ว่าการดำเนินงานของมูลนิธิโครงการหลวงจะประสบผลสำเร็จในการทำให้เกษตรกรเลิกการปลูกฝิ่น หันมาประกอบอาชีพบนฐานความรู้ในรูปแบบต่างๆ ทำให้ มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น รวมทั้งมีการฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำลำธารดังกล่าว แต่ปัจจุบันมีปัจจัยภายนอกที่สำคัญคือ ความแปรปรวนของภูมิอากาศ หรือสภาวะโลกร้อน ส่งผลกระทบต่อทั้งคน การเจริญเติบโตและผลผลิตของพืช ตลอดจนส่งผลต่อคุณภาพของดิน และการขาดแคลนน้ำ การศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนในโครงการหลวงเป็นชุมชนคาร์บอนต่ำให้เกิดความยั่งยืนในระยะต่อไป  ซึ่งจะเกิดประโยชน์ต่อพื้นที่ชุมชนในโครงการหลวงเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในระยะยาว และเป็นต้นแบบในการพัฒนาชุมชนคาร์บอนต่ำบนพื้นที่สูง รวมถึงเป็นแหล่งเรียนรู้ของการพัฒนาชุมชนในชนบทเพื่อเป็นชุมชนที่ยั่งยืนต่อไป ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญของการลดการปลดปล่อยคาร์บอนเพิ่มขึ้นจากการเน้นการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเช่นที่ผ่านมา ภายใต้หลักการของการมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ชุมชนโครงการหลวงเติบโตอย่างสมดุล สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ และเกิดความยั่งยืนในที่สุด

โครงการเทิดพระเกียรติเพื่อศึกษาการพัฒนาชุมชนโครงการหลวงเพื่อเป็นชุมชนคาร์บอนต่ำและยั่งยืน มุ่งศึกษาและยกระดับการพัฒนาโครงการหลวงเพื่อให้เป็นชุมชนคาร์บอนต่ำและยั่งยืน โดยการศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาและพัฒนาต้นแบบชุมชนบนพื้นที่สูงคาร์บอนต่ำและยั่งยืน 2) ประเมินชุมชนโครงการหลวงในบริบทของชุมชนคาร์บอนต่ำและยั่งยืน 3) พัฒนาและยกระดับชุมชนโครงการหลวงให้เป็นต้นแบบของชุมชนบนพื้นที่สูงคาร์บอนต่ำและยั่งยืน โดยการสร้างมาตรฐานการพัฒนาให้ชุมชนโครงการหลวงใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสู่ต้นแบบชุมชนบนพื้นที่สูงคาร์บอนต่ำและยั่งยืนที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน การสร้างมาตรฐานดังกล่าวใช้เทคนิคการวิจัย EDFR (The Delphi Ethnographic Delphi Futures Research) เน้นให้เกิดความสมดุลทั้ง 3 มิติ คือ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม จึงทำให้ได้มาตรฐานการพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูงคาร์บอนต่ำและยั่งยืน แบ่งเป็น 4 มิติ ได้แก่ 1) ด้านการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 2) ด้านการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าไม้ 3) ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน 4) ด้านความเข้มแข็งของชุมชนในการรองรับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งกำหนดเป็นเกณฑ์การประเมินตามมาตรฐานดังกล่าวได้ 19 ข้อ 32 ตัวชี้วัด นำไปใช้ในการศึกษาและประเมินชุมชนโครงการหลวง 11 แห่ง 12 ชุมชน แบ่งเป็น 3 ลักษณะ ตามภูมิสังคมบนพื้นที่สูง ได้แก่ ชุมชนป่าเมี่ยง ชุมชนที่ปลูกข้าวเป็นหลัก และชุมชนที่มีฐานจากการปลูกฝิ่น จากผลการศึกษาพบว่าชุมชนโครงการหลวงทุกชุมชนสามารถเป็นชุมชนต้นแบบให้กับชุมชนบนพื้นที่สูงอื่นๆต่อไปได้ในอนาคต โดยชุมชนโครงการหลวงดังกล่าวได้รับการรับรองมาตรฐานการพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูงคาร์บอนต่ำและยั่งยืน แบ่งเป็น ระดับดีเยี่ยม จำนวน 11 แห่ง และระดับดีมาก จำนวน 1 แห่ง

นอกจากนี้คณะผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลการใช้พลังงานของชุมชนโครงการหลวงทั้ง 12 แห่ง ในปี พ.ศ. 2559 พบว่าปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของชุมชนโครงการหลวงเทียบต่อคนต่อปี มาจากพลังงานฟอสซิล ซึ่งเกิดจากการขนส่งและเดินทางเป็นหลัก รองลงมาคือ จากพลังงานชีวมวลที่ชุมชนใช้ดำเนินชีวิตประจำวัน และพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในชุมชนปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาน้อยที่สุด โดยค่าเฉลี่ยการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของชุมชนโครงการหลวงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของประเทศไทย

การศึกษาผลการยกระดับและปรับปรุงกิจกรรมการพัฒนาชุมชนโครงการหลวงพบว่า สมาชิกในชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันทำกิจกรรมพัฒนาเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเก็บกักก๊าซเรือนกระจกไม่ให้ปล่อยออกสู่บรรยากาศอย่างต่อเนื่อง สมาชิกในชุมชนมีคุณภาพชีวิตและความปลอดภัยที่ดีมากยิ่งขึ้น ช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลดมลพิษและผลกระทบที่จะเกิดกับโลกในอนาคต ทำให้ชุมชนเป็นที่รู้จัก สร้างชื่อเสียง และรายได้จากการเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ อย่างไรก็ตามกิจกรรมที่ต้องเร่งดำเนินการ ได้แก่ ส่งเสริมเกษตรกรให้น้ำพืชด้วยวิธีการแบบประหยัด ปรับปรุงฟาร์มปศุสัตว์ตามมาตรฐานการเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่สูง ปรับปรุงกระบวนการจัดการขยะชุมชน และเพิ่มครัวเรือนให้ติดตั้งระบบบำบัดน้ำทิ้งหรือฟาร์มปศุสัตว์ก่อนปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้ยังมีการจัดทำหนังสือเผยแพร่องค์ความรู้ ได้แก่ 1) กัมปนาท ภักดีกุล และ สยาม อรุณศรีมรกต. (2562) การพัฒนาชุมชนคาร์บอนต่ำและยั่งยืน กรณีศึกษาชุมชนโครงการหลวงบนพื้นที่สูง คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ISBN 978-616-565-462-3. 2) กัมปนาท ภักดีกุล และ สยาม อรุณศรีมรกต. (2562) คู่มือการพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูงคาร์บอนต่ำและยั่งยืน คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ISBN 978-616-443-373-1.

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

13

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

(ใส่ได้ไม่เกิน 3 SDGs)

6, 12, 15

รูปหน้าปก

 

รูปหน้ารายละเอียด

 

Key Message

การพัฒนาต้นแบบชุมชนบนพื้นที่สูงคาร์บอนต่ำและยั่งยืน โดยการสร้างมาตรฐานการพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูงคาร์บอนต่ำและยั่งยืนให้ชุมชนโครงการหลวงใช้เป็นมาตรฐานเดียวกัน

Links ข้อมูลเพิ่มเติม

https://www.royalprojectthailand.com/node/2841

https://www.hrdi.or.th/articles/Detail/54

สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

 

Partners/Stakeholders

1) มูลนิธิโครงการหลวง

2) สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)    

3) ชุมชนโครงการหลวง             

ตัวชี้วัด THE Impact Ranking

13.3.4, 13.3.2

 


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.