สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ 30 มกราคม 2566
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ร่วมกับ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย ร่วมกันผลักดัน "กรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก" หวังลดภัยคุกคามต่อความหลากหลายทางชีวภาพในไทย
นายพิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กล่าวว่า สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ร่วมกับ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย ได้จัดประชุมเผยแพร่สรุปผลการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพสมัยที่ 15 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง "กรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออล ว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก" เพื่อมุ่งสู่โลกที่มนุษย์อยู่อย่างเป็นมิตรกับธรรมชาติ พร้อมบรรยายในหัวข้อ "Tackling Biodiversity & Climate Crises Together" เพื่อนำเสนอความสำคัญของการเชื่อมโยงการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งเป็นปัญหาที่ไม่สามารถดำเนินการแยกกันได้ โดยจะพูดคุยถึงประเด็นการรับรองกรอบงานความหลากหลายทางชีวภาพของโสกฉบับใหม่ต่อจากแผนกลยุทธ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และเป้าหมายไอจิซึ่งสิ้นสุดลงตั้งแต่ปี 2563 หลังได้เจรจาต่อรองนานกว่า 4 ปี ซึ่งกรอบงานโลกฉบับใหม่นี้ได้รับการรับรองใช้ชื่อว่า "กรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก" มี 4 เป้าประสงค์หลักที่ต้องการให้บรรลุวิสัยทัศน์ปี 2050 - การอยู่ร่วมกันอย่างสอดคล้องและเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ ภายในปี 2050 และเป้าหมายที่ต้องการให้บรรลุภายใน 2030 แบ่งเป็น 3กลุ่ม คือ ลดภัยคุกคามต่อความหลากหลายทางชีวภาพ เช่น การฟื้นฟู การเพิ่มพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง การลดมลพิษ และการกำจัดชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานที่มีผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ // การไช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน เช่น การใช้ผลิตภัณฑ์จากฐานชีวภาพ การบริหารจัดการพื้นที่เกษตรและประมงในรูปแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสุดท้าย กลไกการผลักดันให้ความหลากหลายทางชีวภาพเป็นกระแสหลัก เช่น ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนมากขึ้น โดยเฉพาะภาคธุรกิจ สถาบันการเงิน การเสริมสร้างสมรรถนะ
เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กล่าวย้ำว่า กรอบงานคุนหมิง-มอนหรีออลฯ มีความสำคัญเพราะเป็นกรอบที่ประเทศภาคีจะนำไปถ่ายทอดสู่การดำเนินงานในระดับประเทศผ่านการจัดทำเป้าหมายระดับชาติ กลยุทธิ์และแผ่นปฏิบัติการความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (NBSAP) ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศ ซึ่ง สผ. ในฐานะหน่วยประสานงานกลางของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ จะขับเคลื่อนงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศในระยะต่อไป โดยต้องการแรงผลักดันจากภาครัฐกำหนดนโยบายต่างๆและความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในสังคมเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกโฉม พร้อมกับการรับรองกรอบงานคุณหมิง-มอนทรีออลฯ ซึ่งที่ประชุม CBD COP 15 ได้นำเสนอชุดตัวชี้วัดต่างๆเพื่อติดตามการดำเนินงานตามเป้าหมาย ทั้งนี้ ประเทศภาคีสามารถเลือกมาใช้ได้ตามความเหมาะสมกับบริบทของประเทศ