• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข่าวสิ่งแวดล้อม

ก.พ.ร. ขยายผลตามแผนแนวทาง “OG & MP” มาช่วยแก้วิกฤตมลพิษฝุ่น PM 2.5 ในจังหวัดเชียงใหม่

สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์  31 มกราคม 2566

สำนักงาน ก.พ.ร. นำแผนแนวทาง “OG & MP” มาขยายผลช่วยแก้วิกฤตมลพิษฝุ่น PM 2.5 ในจังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้ความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่มีความโปร่งใสและเท่าเทียมกันทางสังคม

วันนี้ (31 ม.ค.66) นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ มอบหมายให้ นายชัชวาลย์ ปัญญา รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นำส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ประชุมร่วมกับคณะของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนัก ก.พ.ร.) ซึ่งนำโดย นายไมตรี อินทุสุด ประธานอนุกรรมการเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาระบบการบริหารราชการในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น และนายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ประธานอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการเกี่ยวกับการส่งเสริมการบริหารภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วม เพื่อร่วมหารือเรื่องแผนการขยายผลแนวทางการพัฒนาระบบนิเวศภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย ในการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5)

โดยก่อนหน้านี้ ทางสำนัก ก.พ.ร. ได้จัดทำกรอบแนวทางการเสริมสร้างระบบนิเวศภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย หรือ “OG & MP” (Open Government and Meaningful Participation Ecosystem) และได้นำกรอบแนวทางดังกล่าวมาดำเนินนำร่อง ภายใต้การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ในการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ที่จังหวัดลำปาง และสิงห์บุรี ในปี 2564-2565 และในปีงบประมาณ 2566 ได้กำหนดขยายผลตามแผนแนวทาง OG & MP มาใช้ในการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยเปิดโอกาสให้ภาคส่วนอื่นเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารราชการตามหลักการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมที่เน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง หวังแก้วิกฤตด้วยความร่วมมือรูปแบบใหม่ระหว่าง “องค์กรภาครัฐ-เอกชน-ประชาชน-ประชาสังคม” ที่มีความโปร่งใส มีความรับผิดชอบและความเท่าเทียมกันทางสังคม

โดยที่ประชุมครั้งนี้ มีประเด็นหารือใน 4 หัวข้อหลัก ประกอบด้วย พื้นที่ดำเนินการ แนวทางการพัฒนาระบบนิเวศฯ การมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และปัญหาอุปสรรคต่างๆ ในการดำเนินการ ซึ่งในเบื้องต้นจังหวัดเชียงใหม่ได้มีการนำเสนอพื้นที่ให้ทางสำนัก ก.พ.ร. ให้เข้ามาดำเนินการเป็นพื้นที่ต้นแบบ คือ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย เขตพื้นที่รอยต่อระหว่างอำเภอแม่ออนและอำเภอสันกำแพง ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่เกิดไฟไหม้ซ้ำซาก แต่ละครั้งสร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง แก้ปัญหาได้ยาก ทั้งนี้ จะมีการพิจารณาให้แน่ชัดอีกครั้ง และเร่งดำเนินการให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.