• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข่าวสิ่งแวดล้อม

สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 11 ตรวจสอบเหตุร้องเรียนน้ำผุดในพื้นที่การเกษตร จังหวัดนครราชสีมา

สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์  23 มกราคม 2566

วันนี้ (23 ม.ค.66) นายยศฐ์วพงศ์ วัชรมโนภาส นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการ พร้อมเจ้าหน้าที่ ร่วมกับสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนครราชสีมา ปลัดอำเภอเฉลิมพระเกียรติ องค์การบริหารส่วนตำบลช้างทอง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 6 ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 8 ตัวแทนเจ้าหน้าที่ฟาร์มไก่ เข้าร่วมประชุมและลงพื้นที่ตรวจสอบแก้ไขเหตุร้องเรียนปัญหาน้ำผุดในพื้นที่การเกษตรทำให้พืชผลการเกษตรเสียหาย ตำบลช้างทอง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา มีข้อสรุปดังนี้

1. จากการประชุมสรุปข้อมูลเบื้องต้นทราบว่าพื้นที่ทำการเกษตรเป็นพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง และปลูกอ้อย เมื่อช่วงเดือนตุลาคม 2565 ถึงปัจจุบัน ยังมีน้ำซึมใต้ผิวดิน ส่งผลให้การปลูกมันสำปะหลังมีความเสียหายไม่ได้ผลผลิต และไม่สามารถเข้าไปในพื้นที่เพื่อตัดอ้อยได้ โดยพื้นที่การเกษตรที่ได้รับผลกระทบ มีฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ซึ่งมีบ่อพักเก็บน้ำทิ้งและเมื่อช่วงปีที่ผ่านมาได้มีฝนตกอย่างต่อเนื่องทำให้ระดับน้ำในบ่อสูงขึ้นจากเดิมประมาณ 50 เปอร์เซนต์

2. ตรวจสอบบริเวณพื้นที่การเกษตรที่ได้รับผล กระทบพบว่ามีสภาพพื้นดินโดยรอบมีความชื้นแชะ และมีน้ำผุดจากใต้พื้นดินอย่างต่อเนื่อง โดยมีโดยมีระยะห่างจากบ่อพักน้ำทิ้งฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่ที่ใกล้ที่สุดประมาณ 160 เมตร ได้ตรวจวัดคุณภาพน้ำเบื้องต้นด้วยเครื่องวัดภาคสนามพบว่า มีค่า TDS เท่ากับ 255 มก./ล

3. ตรวจสอบบริเวณบ่อพักน้ำทิ้งของฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่พบว่ามีระดับน้ำสูงกว่าระดับพื้นที่การเกษตร ขณะตรวจสอบไม่พบการระบายน้ำทิ้งออกนอกบริเวณสถานประกอบการ มีปริมาตรน้ำทิ้งในบ่อประมาณ 40,000 ลูกบาศก์เมตร ได้ตรวจวัดคุณภาพน้ำเบื้องต้นด้วยเครื่องวัดภาคสนามพบว่า มีค่า TDS เท่ากับ 7,650 มก./ล

4.สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 11 (นครราชสีมา) จะส่งรายงานการตรวจคุณน้ำเบื้องต้นให้อำเภอเฉลิมพระเกียรติเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการหาสาเหตุถึงผลกระทบดังกล่าว

ทั้งนี้คณะผู้ตรวจสอบได้มีข้อเสนอแนะหาขอพิสูจน์ โดยขุดดินตามแนวขวางกับทิศทางการไหลบริเวณระหว่างที่การเกษตรกับแนวบ่อพักน้ำทิ้งฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่ เพื่อให้ได้ข้อยุติ และช่วยเหลือ หรือเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบดังกล่าวต่อไป


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.