• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข่าวสิ่งแวดล้อม

นิเวศวิทยาและประชากรช้างป่า (Elephas maximus) ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวงและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว

MU-SDGs Case Study*

นิเวศวิทยาและประชากรช้างป่า (Elephas maximus) ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวงและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว

(Ecology and Population of Wild Elephant (Elephas maximus) in Phu Luang and Phu Khieo Wildlife Sanctuary)

ผู้ดำเนินการหลัก*

รองศาสตราจารย์ ดร. รัตนวัฒน์ ไชยรัตน์

ส่วนงานหลัก*

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ดำเนินการร่วม

ผศ.ดร.สุกัญญา เสรีนนท์ชัย

ผศ.ดร.นพพล อรุณรัตน์

นายจิรชัย อาคะจักร

ดร.ศรินธร ไชยรัตน์

นางสาวศิริกรณ์ ศรีโพธิ์

ส่วนงานร่วม

-กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

-มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

- มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

เนื้อหา*

          โครงการศึกษานิเวศวิทยาและประชากรช้างป่า (Elephas maximus) ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวงและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวมีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินและเปรียบเทียบประชากร การกระจาย และความต้องการทางนิเวศวิทยาของช้างป่า เพื่อใช้ในการวางแผนการจัดการและการอนุรักษ์ และการลดผลกระทบระหว่างช้างป่าและชาวบ้านในการอยู่ร่วมกันโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่น และสังเคราะห์กลยุทธ์การสื่อสารและพัฒนาสื่อเสริมสร้างความเข้าใจและความตระหนักในการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างป่าด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น โดยทำการสำรวจโดยตรงและสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบ ช่วงเวลา และสถานที่ทำกิจกรรมของช้างป่า ตลอดจนผลกระทบในพื้นที่ร่วมกับการติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพสัตว์ป่าบริเวณรอยต่อระหว่างพื้นที่เกษตรกรรมกับแนวเขตของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว พบว่าช้างป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง ช้างป่าส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าชั้นกลาง (75%) พบพฤติกรรมการหากินมากที่สุดเวลา 15.01-19.00 น. พบธาตุแคลเซียมในกองมูลมากที่สุด (62.81%) พืชอาหาร พบธาตุเหล็ก (Fe) มากที่สุด (88.54%) ส่วน ขป ภูเขียว มีการกระจายใกล้เคียงกันทั้งในพื้นที่ป่าชั้นใน (34%) ป่าชั้นกลาง (30.8%) และป่าชั้นนอก (28.6%) พบการทำกิจกรรมมากที่สุดระหว่าง 22.01-24.00 น. พืชอาหารพบธาตุไนโตรเจน (N) มากที่สุด (56.16%) จากการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุแบบโลจิสติกในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จำนวน 66 ตัวอย่าง มีพื้นที่เหมาะสมมากที่สุด 169.58 ตร.กม. (18.62%) เป็นพื้นที่ราบด้านบนเทือกเขา พื้นที่เหมาะสมมาก 425.26 ตร.กม. (46.69%) พื้นที่ที่เหมาะสมปานกลาง 279.57 ตร.กม. (30.69%) ส่วนเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว มีพื้นที่เหมาะสมมากที่สุด 168.24 ตร.กม. (6.5%) พื้นที่เหมาะสมมาก 983.62 ตร.กม. (37.99%) พื้นที่เหมาะสมปานกลาง 704.77 ตร.กม. (27.22%)

 

          การศึกษาวิจัยเชิงสังคมด้านการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมและความตั้งใจในการแสดงพฤติกรรมเพื่อสร้างเสริมการอยู่ร่วมกันด้วยความเข้าใจกันระหว่างคนกับช้างป่า พบว่าปัญหาระหว่างคนกับช้างป่ามีมาอย่างต่อเนื่อง และมีความรุนแรงมากขึ้น กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้วางแนวทางการจัดการและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่ การจัดการช้างป่าในพื้นที่อนุรักษ์ และการจัดการช้างป่านอกพื้นที่อนุรักษ์ มีการจัดการต่าง ๆ เช่น การใช้รั้วผึ้ง โครงการฟื้นฟูอาหารช้าง ศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังช้างป่าด้วยระบบเตือนภัยล่วงหน้า เป็นต้น แนวทางการประกันภัยพืชผล เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรที่ส่งผลต่อการประกอบอาชีพและป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากช้างป่า รวมทั้งแนวทางการจัดการปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างอย่างยั่งยืน โดยการสร้างจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมของชุมชนด้วย เพื่อให้หน่วยงานในพื้นที่ได้นำแผนการจัดการและแนวทางต่าง ๆ นี้ ไปดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมและช่วยให้คนกับช้างป่าสามารถอยู่ร่วมกันได้ต่อไป

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม*

SDG15

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG หลัก*

15.5, 15.7, 15.c

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

SDG13

เป้าประสงค์ย่อยใน SDG อื่นๆ

13.3

Links ข้อมูลเพิ่มเติม *

https://www.youtube.com/watch?v=JFCwyvbSzsY

MU-SDGs Strategy*

ยุทธศาสตร์ที่ 1

Partners/Stakeholders*

- คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ม. มหิดล

- กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

- มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

- มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

- สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทย

- อุทยานแห่งชาติกุยบุรี จ. ประจวบคีรีขันธ์

- เครือข่ายองค์กรอนุรักษ์สัตว์ป่ากุยบุรี

- องค์กรชุมชน ต. พวา อ. แก่งหางแมว จ. จันทบุรี

ภาพประกอบ (3-5 ภาพ)*

      

Key Message*

การสร้างองค์ความรู้ด้านนิเวศวิทยาและประชากรของช้างป่าจากสองพื้นที่ศึกษาเพื่อสร้างความเข้าใจและความตระหนักในการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้างป่าด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมและการลงมือปฏิบัติจริงของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในท้องถิ่น

ตัวชี้วัด THE Impact* Rankings ที่สอดคล้อง

15.2.3, 15.2.4 และ 13.3.3  


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.