• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข่าวสิ่งแวดล้อม

สนทช. เดินหน้าศึกษาการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) พื้นที่ลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อเร่งรัดวางแผนบริหารจัดการน้ำเชื่อมโยงเป็นโครงข่ายทั้งระบบ

สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์  19 พฤษภาคม 2565

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สนทช.) เดินหน้าศึกษาการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) พื้นที่ลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อเร่งรัดวางแผนบริหารจัดการน้ำเชื่อมโยงเป็นโครงข่ายทั้งระบบ

นายสราวุธ ชีวะประเสริฐ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สนทช.) กล่าวในการจัดกิจกรรมสร้างการรับรู้ผ่านสื่อในพื้นที่ลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ “โครงการศึกษาการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์และแผนหลักการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำพื้นที่ลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ” ที่จังหวัดนครพนมว่า สทนช. ได้ให้กลุ่มบริษัทที่ศึกษาโครงการศึกษาการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์และแผนหลักการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำพื้นที่ลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือในพื้นที่ลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อศึกษาและจัดทำรายงานการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) ของพื้นที่ลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ และทบทวนวิเคราะห์การดำเนินงานพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ศึกษาโครงการที่ผ่านมาสำหรับประกอบการจัดทำแผนหลักการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) พร้อมประเมินผลการดำเนินงานช่วงปี 2561 - 2564 และจัดทำแผนปฏิบัติการการบริหารทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2566 – 2570 ทั้งนี้ พื้นที่ศึกษาลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือมี 36 ลุ่มน้ำสาขา แบ่งเป็น 9 กลุ่มลุ่มน้ำสาขา ครอบคลุม 10 จังหวัด คือ เลย หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี รวมพื้นที่กว่า 29.8 ล้าน

สำหรับตามเป้าหมายของการพัฒนาที่สร้างความมั่นคงของทรัพยากรน้ำลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมและมีความเชื่อมโยงกับแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) 6 ด้าน ประกอบด้วย 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ คือ การจัดหาและจัดสรรทรัพยากรน้ำอย่างเป็นธรรมและมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน ด้วยการมีส่วนร่วมของผู้ใช้น้ำ // การป้องกัน คุ้มครอง และฟื้นฟูการให้บริการระบบนิเวศที่เชื่อมโยงกับทรัพยากรน้ำด้วยการมีส่วนร่วมระหว่างผู้ใช้น้ำ // การส่งเสริมการปรับตัวของผู้ใช้น้ำต่อปัญหาด้านทรัพยากรน้ำ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสุดท้าย การสร้างความเข้มแข็งและส่งเสริมศักยภาพการบริหารจัดการลุ่มน้ำ


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.