• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข่าวสิ่งแวดล้อม

เอ็นไอเอ จับมือ อิสราเอล โชว์นวัตกรรมแปรรูปขยะพลาสติก สู่น้ำมันแนฟทาครั้งแรกในไทย

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 1 มิถุนายน 2567

ที่มา : MGR Online (https://mgronline.com/smes/detail/9670000046061)

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมอิสราเอล (Israel Innovation Authority) หรือ IIA โชว์นวัตกรรมการรีไซเคิลขยะพลาสติกผสมพีวีซีด้วยกระบวนการซูปเปอร์ออกไซด์เพื่อผลิตน้ำมัน แนฟทาสำหรับอุตสาหกรรมเคมีครั้งแรกของประเทศไทย ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของ 2 บริษัทนวัตกรรม ได้แก่ บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) จากประเทศไทย และบริษัท พลาสติกแบ๊ค (Plastic Back) จากประเทศอิสราเอล โดยนวัตกรรมนี้จะช่วยแก้ปัญหากระบวนการกำจัดและเปลี่ยนขยะพลาสติกที่มีพีวีซีปนเปื้อนซึ่งยากต่อการกำจัดและได้ผลผลิตเป็นน้ำมันแนฟทาสำหรับใช้ในโรงงาน ทดแทนแนฟทาจากฟอสซิลซึ่งมีราคาสูงมากได้ และโครงการนี้ถือเป็นหนึ่งในตัวอย่างความสำเร็จของโครงการพัฒนาความร่วมมือกับหน่วยงานระหว่างประเทศเพื่อการเติบโตของธุรกิจนวัตกรรม (Bilateral Programs for Parallel Support)

          ดร. กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กล่าวว่า “NIA มุ่งส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมที่สร้างมูลค่าและส่งผลกระทบเชิงบวกทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อเร่งสร้างโอกาสการเติบโตให้กับผู้ประกอบธุรกิจนวัตกรรม จึงได้ดำเนิน “โครงการพัฒนาความร่วมมือกับหน่วยงานระหว่างประเทศเพื่อการเติบโตของธุรกิจนวัตกรรม” ขึ้น โดยร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมอิสราเอล หรือ IIA พัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบธุรกิจนวัตกรรมในสาขาธุรกิจที่มีความสนใจร่วมกันระหว่างสองประเทศ โดย “โครงการรีไซเคิลขยะพลาสติกผสมพีวีซีด้วยกระบวนการซูปเปอร์ออกไซด์เพื่อผลิตน้ำมันแนฟทาสำหรับอุตสาหกรรมเคมี” ระหว่างบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท พลาสติกแบ๊ค ในครั้งนี้ถือเป็นก้าวแรกของความสำเร็จที่มีการนำนวัตกรรมจากอิสราเอลมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทยนับตั้งแต่มีการลงนามความร่วมมือ (MoU) ด้านนวัตกรรมในปี 2561 ซึ่งนอกจากจะสามารถนำน้ำมันแนฟทาจากกระบวนการรีไซเคิลทางเคมีมาใช้เป็นสารตั้งต้นในโรงงานอุตสาหกรรมหรือขายทดแทนแนฟทาจากฟอสซิลที่ปัจจุบันมีราคาขายประมาณ 550 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันแล้ว ยังช่วยลดปริมาณการใช้สารตั้งต้นในกลุ่มฟอสซิลให้แก่โรงงานปิโตรเคมี และเพิ่มอัตราส่วนของผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ต่ำ (Green polymer) ได้อีกด้วย”


© 2025 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.