สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 23 กุมภาพันธ์ 2567
ที่มา : เทคโนโลยีชาวบ้าน (https://today.line.me/th/v2/article/8nRJVlZ)
ถังหมักขยะอินทรีย์แบบใช้อากาศ ใช้งานง่าย เก็บกลิ่น 2 เดือนเป็นปุ๋ย จากลักษณะนิสัยและพฤติกรรมที่ยึดติดความสะดวกสบายของผู้คนในปัจจุบัน ทำให้มีปริมาณขยะอินทรีย์เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่างๆ มากมาย เกิดเป็นปัญหาขยะล้นเมือง และปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อมตามมา ทั้งทางด้านทัศนียภาพ กลิ่น และแมลงพาหะนำโรค รวมถึงปัญหาด้านการขาดแคลนพื้นที่กำจัดขยะและวิธีการจัดการที่ไม่เหมาะสม ในเมื่อเศษอาหารประจำวันที่ดูจะเพิ่มขึ้นทุกวัน กลายเป็นปัญหาของสังคม ทิ้งอย่างไร กำจัดอย่างไรก็ไม่รู้จักหมดสิ้น คงต้องใช้วิธีการนำเศษอาหารที่เป็นขยะประจำวันมาแปรเปลี่ยนเป็นปุ้ยใช้ปลูกพีชซะเลย งานนี้ประหยัดค่าปุ๋ย แถมได้พีชผักที่ปลอดภัยไว้รับประทานในบ้านด้วย “ถังหมักขยะอินทรีย์แบบใช้อากาศ Zero organic waste” ผลงานของภาควิชาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมคณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา เป็นผู้ประดิษฐ์ คิดค้นขึ้นมา โดยมีจุดประสงค์เพื่อแก้ปัญหาขยะล้นชุมชนในภาคตะวันออก พื้นที่ฝังกลบไม่สามารถรองรับขยะที่เพิ่มปริมาณสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลต่อสุขภาพและอนามัย จึงกลายเป็นที่มาของการประดิษฐ์ถังหมักขยะอินทรีย์แบบใช้อากาศขึ้นมา หรือที่เรียกว่า “ถังหมักขยะอินทรีย์ รักษ์โลก“ นั่นเอง
วิธีใช้งาน
1.ใส่เศษใบไม้สดหรือแห้ง กากมะพร้าว ปัยคอก 1-2 กิโลกรัม
2.โรยกันถัง ก่อนใส่เศษอาหารโรยเชื้อ พด.1 ประมาณ 1-2 ช้อนชา หรือปุ๋ยคอกประมาณ 0.5-1 กิโลกรัม ให้ทั่วเพื่อช่วยเพิ่มการย่อยสลาย
3.ทิ้งเศษอาหารได้ต่อเนื่อง หากมีกลิ่นหรือหนอน แก่ไขได้โดยเติมเศษใบไม้ลงในถัง
4.ขยะที่ย่อยยาก เช่น กระดูก เปลือกหอย หรือเปลือกไข่ สามารถทิ้งลงถังหมักได้ แต่ต้องใช้เวลาหมักเพิ่มขึ้น
5.ใช้เวลาหมักประมาณ 1-2 เดือน หลังจากทิ้งครั้งแรก สามารถเปิดฝาถังด้านล่างเพื่อนำปุยอินทรีย์ไปใช้ ปัยอินทรีย์ชนิดแห้งนำไปผสมดินปลูกได้เลย
6.ไม่ควรใช้ปุ๋ยหมักเพียงอย่างเดียว เพราะมีปริมาณธาตุอาหารสูงมาก อาจทำให้ต้นไม้ตายได้
7.ปุยชนิดน้ำต้องเจือจางก่อนนำไปใช้