• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข่าวสิ่งแวดล้อม

เรื่องน่ารู้ “เห็ดเผาะสิรินธร” สะท้อนความหลากหลายทางชีวภาพป่าไม้

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  7 กุมภาพันธ์ 2567

ที่มา https://www.thaipbs.or.th/now/content/740

“เห็ดเผาะสิรินธร” หรือ 𝘴𝘵𝘳𝘢𝘦𝘶𝘴 𝘴𝘪𝘳𝘪𝘯𝘥𝘩𝘰𝘳𝘯𝘪𝘢𝘦 Watling, C. Phosri, N. Suwannasai, A.W. Wilson & M.P. Martin จะมีขนาดใหญ่กว่า “เห็ดเผาะ” ทั่วไปประมาณ 2-3 เท่า ขนาดของดอกเห็ดบางดอกมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 5.5 เซนติเมตร เมื่อเจริญเติบโตผิวภายนอกจะแตกออกเป็นแฉกรูปดาว เห็ดเผาะสิรินธรเป็นเห็ดเอคโตไมคอร์ไรซาซึ่งมีความสัมพันธ์กับไม้ในวงศ์ยาง (Dipterocarpaceae) สามารถนำมาบริโภคได้และเริ่มมีชาวบ้านเก็บหามาจำหน่าย โดยเรียกว่า “เห็ดเผาะผา” พบครั้งแรกของโลกในไทย และพบได้เพียง 2 แห่งเท่านั้น

ทั้งนี้ “เห็ดเผาะสิรินธร” ถูกค้นพบกระจายอยู่บนพื้นดินในป่าภูเขียว ซึ่งเป็นกลุ่มในป่าธรรมชาติร่วมกับไม้วงศ์ยางในระหว่างการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพของเห็ดขนาดใหญ่ในช่วงเดือน กรกฎาคม – กันยายน ปี 2555จากผลการศึกษาและตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์ทางพันธุกรรม ฯ ทำให้ยืนยันได้ว่าเห็ดชนิดนี้เป็นเห็ดชนิดใหม่ ซึ่งพบครั้งแรกของโลกในประเทศไทย

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อให้กับเห็ดชนิดใหม่นี้ว่า “เห็ดเผาะสิรินธร”

ในปัจจุบันพบ “เห็ดเผาะสิรินธร” ได้เพียง 2 แห่งในประเทศไทย คือ ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ และ ป่าชุมชนใกล้โรงเรียนประชานุเคราะห์ 31 อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.