• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข่าวสิ่งแวดล้อม

ปภ.แนะวิธีรับมือดินถล่ม ลดเสี่ยงอันตรายจากภัยพิบัติในช่วงฤดูฝน

สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์  27 สิงหาคม 2566

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แนะวิธีเตรียมพร้อมรับมือและปฏิบัติตนอย่างปลอดภัยจากดินถล่ม น้ำป่าไหลหลาก ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน เพื่อความปลอดภัย ซึ่งก่อนจะเกิดดินถล่มมักมีสัญญาณเตือนก่อน เช่น ฝนตกหนักต่อเนื่อง ติดต่อกันเป็นเวลานานบนภูเขาสูง มากกว่า 100 มิลลิเมตรต่อวัน หรือนานกว่า 6 ชั่วโมง ระดับน้ำในแม่น้ำและลำห้วยเพิ่มสูงขึ้น น้ำมีสีขุ่นมากกว่าปกติ รวมถึงมีกิ่งไม้หรือท่อนไม้ ไหลปนมากับกระแสน้ำ มีเสียงดังผิดปกติมาจากภูเขาหรือลำห้วย อาทิ เสียงหักของต้นไม้ เสียงแตกของหิน เสียงไหลของโคลน สัตว์ป่ามีอาการแตกตื่น อาทิ ฝูงนกบินวนไปมาบนท้องฟ้า ดินมีสภาพอิ่มน้ำ หรือชุ่มน้ำมากกว่าปกติ

โดยวิธีการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือดินถล่ม ต้องเริ่มที่สำรวจสภาพความเสี่ยงภัย หากอยู่ในพื้นที่เสี่ยงดินถล่ม ให้เตรียมพร้อมรับมือ และหมั่นสังเกตความผิดปกติทางธรรมชาติ เฝ้าระวังสถานการณ์ภัย โดยติดตามพยากรณ์อากาศและประกาศเตือนภัย พร้อมปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด รวมถึงติดตั้งเครื่องวัดปริมาณน้ำฝนในพื้นที่เสี่ยง ศึกษาเส้นทางอพยพหนีภัย ซึ่งต้องอยู่ห่างจากแนวการไหลของดินและน้ำ ไม่อยู่ใกล้ลำน้ำ เพราะอาจได้รับอันตรายจากดิน หิน ต้นไม้ที่ไหลมาตามลำน้ำ หากพลัดตกน้ำ ให้หาต้นไม้ใหญ่ยึดเกาะและปีนให้พ้นน้ำ ห้ามว่ายน้ำหนี เพราะอาจกระแทกกับหินหรือซากต้นไม้ได้ ห้ามเข้าใกล้หรือกลับเข้าไปในบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหาย เพราะอาจเกิดดินถล่มซ้ำ ไม่ขับรถเร็วและชิดไหล่ทาง เพื่อลดความเสี่ยงจากหินหล่นหรือดินสไลด์ปิดทับเส้นทาง หากพบดินถล่มปิดทับเส้นทาง ห้ามขับรถผ่านเส้นทางดังกล่าว เพราะอาจได้รับอันตรายจากดินที่ทรุดตัว หากระดับน้ำในร่องน้ำเพิ่มสูงขึ้นและมีสีเดียวกับดินภูเขา มีร่องรอยดินสไลด์ ให้หยุดรถในบริเวณที่ปลอดภัยทันที


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.