• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข่าวสิ่งแวดล้อม

ก.ทรัพย์ และ GC ร่วมกันพัฒนาพื้นทางเดินอัพไซเคิลช่วยลดพลาสติกใช้แล้วกว่า 4,500 กิโลกรัม พร้อมต่อยอดสู่การเป็นต้นแบบพื้นที่สีเขียวในเขตเมือง

สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์  9 สิงหาคม 2566

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ร่วมกันพัฒนาพื้นทางเดินอัพไซเคิลช่วยลดพลาสติกใช้แล้วกว่า 4,500 กิโลกรัม พร้อมต่อยอดสู่การเป็นต้นแบบพื้นที่สีเขียวในเขตเมือง และส่งเสริมการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ได้ร่วมกันจัดทำโครงการพัฒนาพื้นทางเดินอัพไซเคิล ภายในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นพัฒนาพื้นที่สาธารณะประโยชน์ในชุมชนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ถือเป็นต้นแบบความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนและสร้างประโยชน์ต่อชุมชน ควบคู่กับรักษาความสมบูรณ์ทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมพัฒนาการก่อสร้างถนนทางเดินอัพไซเคิลและท่าน้ำอัพไซเคิลจากพลาสติกใช้แล้ว บริเวณพื้นที่รอบสระน้ำของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมระยะทาง 320 เมตร สามารถลดปริมาณขยะพลาสติกไปสู่หลุมฝังกลบมากกว่า 4,500 กิโลกรัม และช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 4,700 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หรือเท่ากับการปลูกต้นไม้ได้มากกว่า 495 ต้น สิ่งสำคัญโครงการนี้ที่ได้รับฟังความคิดเห็น การออกแบบ และการเลือกใช้วัสดุร่วมกับชุมชนในพื้นที่แล้วที่คำนึงถึงระบบนิเวศและการใช้งานอย่างสมดุล โดยยังคงรักษาความเป็นธรรมชาติที่หลากหลาย และสามารถพัฒนาให้เป็นพื้นที่สาธารณะประโยชน์ในชุมชนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมต่อยอดสู่การเป็นต้นแบบของการพัฒนาพื้นที่สีเขียวในเขตเมือง

สำหรับโครงการพัฒนาพื้นทางเดินอัพไซเคิลจะส่งเสริมให้สังคมเห็นถึงประโยชน์ของการหมุนเวียนทรัพยากร ผ่านการมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี หมุนเวียนกลับมาสร้างคุณค่า และสร้างประโยชน์ให้ “พลาสติก เทิร์นเมือง” เป็นผลิตภัณฑ์รีไซเคิลส่งต่อสู่การอัพไซเคิล ถือเป็นการหมุนเวียนใช้ทรัพยากรแบบ Closed loop ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ต่อยอดสู่การพัฒนาสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.