• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข่าวสิ่งแวดล้อม

สทนช. เฝ้าระวังเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากหลายพื้นที่จากฝนที่ตกหนัก คาดการณ์จะมีปริมาณน้ำฝนไหลเข้าเขื่อนต่างๆมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงฤดูฝน 2 เดือนที่เหลือ

สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์  3 สิงหาคม 2566

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เฝ้าระวังเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากหลายพื้นที่จากฝนที่ตกหนัก คาดการณ์จะมีปริมาณน้ำฝนไหลเข้าเขื่อนต่างๆมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงฤดูฝน 2 เดือนที่เหลือ

นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) กล่าวว่า จากการติดตามสถานการณ์น้ำพบช่วงนี้มีร่องมรสุมพาดผ่านพื้นที่ตอนบนของประเทศ ส่งผลให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังค่อนข้างแรงขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมในหลายพื้นที่ ทำให้ต้องระวังเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ขณะเดียวกันฝนที่ตกหนักลงมาช่วยเติมน้ำเข้าเขื่อนต่างๆด้วยตั้งแต่วันที 27 กรกฎาคม ถึง 2 สิงหาคม มีน้ำไหลเข้าอยู่ที่ 1,221 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ยังต่ำกว่าเกณฑ์ที่ประเมินไว้ ส่วนปริมาณน้ำทั้งประเทศอยู่ที่ 41,413 ล้านลูกบาศก์เมตร และมีน้ำใช้การอยู่ที่ 17,307 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยภาคกลางมีน้ำค่อนข้างน้อยที่สุดจากฝนที่ตกน้อยจนเสี่ยงเกิดภัยแล้งได้ จึงต้องบริหารจัดการน้ำรองรับผลกระทบเอลนีโญ ด้วยการเร่งสูบน้ำเข้าพื้นที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ ทั้งนี้ จากการคาดการณ์ไทยยังพบแนวร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของประเทศอยู่ ส่งผลให้ปริมาณฝนในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกหนัก

เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ย้ำว่า ภาพรวมปริมาณน้ำกักเก็บ ณ ปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 40 ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถบริหารจัดการได้ดีในระดับหนึ่ง ซึ่งไทยเหลือฤดูฝนอีก 2 เดือน คือ ระหว่างเดือนสิงหาคมถึงกันยายน ประกอบกับ มีโอกาสเกิดพายุหมุนเขตร้อนขึ้นอีก 1 – 2 ลูก หากพาดผ่านไทยจะเป็นเรื่องดีช่วยเติมน้ำในเขื่อนต่างๆที่มีปริมาณน้ำน้อย โดยเฉพาะเขื่อนสิริกิติ์และเขื่อนภูมิพล แต่เบื้องต้นได้บริหารความเสี่ยงกรณีไม่มีพายุจรเข้ามาในประเทศ จำเป็นต้องวางแผนบริหารจัดการน้ำระยะยาว 2 ปีจนถึงต้นหน้าแล้งปี 2567 ด้วยการรณรงค์ขอให้เกษตรงดการทำนาปีต่อเนื่อง // ขุดลอกแหล่งน้ำต่างๆไม่ให้ตื้นเขิน // ขุดสระไว้เก็บกักน้ำฝนที่ตกลงมา เพื่อเก็บน้ำไว้สำรองใช้ปีถัดไป


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.