• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

การวางแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเล : การประยุกต์สู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่

หัวข้อ

รายละเอียด

ชื่อโครงการ

MU-SDGs Case Study

การวางแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเล : การประยุกต์สู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่

Marine Spatial Planning: Application to local practices 

แหล่งทุน

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

ส่วนงานหลัก

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ส่วนงานร่วม

1. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

2. Research Center for Coastal Zone and islands, First Institute of

Oceanography, Ministry of Natural Resources, Qingdao, China

ผู้ดำเนินการหลัก

ศ. ดร.สุวลักษณ์ สาธุมนัสพันธุ์

ผู้ดำเนินการร่วม

1. อาจารย์ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง : คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

2. Dr. Zhiwei Zhang: Research Center for Coastal Zone and islands, First Institute of Oceanography, Ministry of Natural Resources, Qingdao, China

คำอธิบาย

 

โครงการได้รวบรวมองค์ความรู้ทั้งในระดับสากลและระดับชาติ และจัดการประชุมผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง อันจะนำมาซึ่งข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนการวางแผนการใช้ประโยชน์ทางทะเลสำหรับประเทศไทย และสามารถต่อยอดผลการศึกษาไปสู่การวิจัยในพื้นที่นําร่องต่อไป

 

เนื้อหา MU-SDGs Case Study

 

วัตถุประสงค์

การรวบรวมและทบทวนความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับ MSP ทั้งในระดับนานาชาติและระดับชาติ เพื่อให้ได้มาซึ่งภาพรวมองค์ความรู้ สถานภาพการดำเนินงาน  แรงขับเคลื่อน และปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของ MSP ซึ่งจะนำไปสู่การจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางเพื่อการขับเคลื่อน MSP

สำหรับประเทศไทย

การดำเนินการ

1) การรวบรวมองค์ความรู้ระดับนานาชาติอย่างเป็นระบบ 2) การรวบรวมองค์ความรู้ระดับชาติ (Grey Literature Review) และพันธกรณี นโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 3) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเลของประเทศไทย และ 4) การจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการขับเคลื่อนการวางแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเลสำหรับประเทศไทย

ผลการดำเนินงาน

1) ภาพรวมองค์ความรู้ MSP: ผลงานวิจัยและบทความทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับ MSP ในระดับสากลบนฐานข้อมูล Scopus ในช่วงปี พ.ศ. 2546 - 2565 (มิถุนายน 2565) มีจำนวนทั้งสิ้น 1,825 ฉบับ ตีพิมพ์อยู่ในวารสารชั้นนำระดับโลกที่รวบรวมงานวิจัยด้านนโยบายทางทะเลและการจัดการทะเลและชายฝั่ง การผลิตผลงานวิจัยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดยมีการกระจายตัวตามสังกัดผู้เขียนอยู่ในภูมิภาคยุโรปสูงสุด (60%) ผลงานวิจัยส่วนใหญ่เป็นบทความวิชาการ (77%) ทั้งนี้ ในส่วนของบทความทางวิชาการของประเทศไทยที่ปรากฎในฐานข้อมูลนานาชาติตามช่วงเวลาที่สืบค้นพบว่ามีเพียง 1 ฉบับเท่านั้นในขณะผลงานวิจัย MSP ในประเทศไทย จากการสืบค้นในฐานข้อมูลระดับชาติ ช่วงปี พ.ศ. 2546 -2565 พบว่ามีผลงานที่เกี่ยวข้องกับ MSP ค่อนข้างจำกัด

2) สถานภาพ/การพัฒนา และแรงขับเคลื่อน MSP : สรุปสถานภาพและการพัฒนา MSP ทั่วโลก โดยโดยมีกระบวนการทำ MSP ซึ่งจำแนกได้  6 ระยะ ครอบคลุม 10 ขั้นตอน (Ehler and Douvere, 2009)  ในระดับนานาชาติ MSP มีจุดเริ่มต้นจากการฟื้นฟูและอนุรักษ์แนวปะการัง Great Barrier Reef ในออสเตรเลียปี พ.ศ. 2518 ซึ่งปัจจุบันมีสถานภาพอยู่ในช่วงการทบทวนแก้ไขแผนการจัดการ (ระยะที่ 6) ตามมาด้วยเขตการใช้ประโยชน์ในทะเลของจีนในปี พ.ศ. 2532 ที่ปัจจุบันโครงการส่วนใหญ่ของประเทศจีนอยู่ในช่วงการติดตามประเมินผลและทบทวนแผนการจัดการแล้ว (ระยะ 5-6) เช่นเดียวกับ MSP ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา และการประยุกต์ใช้ในรูปแบบต่าง ๆ ทั่วยุโรป และจากการสนับสนุนของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยสมุทรศาสตร์ (IOC) ขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 ปัจจุบัน ประเทศหมู่เกาะขนาดเล็ก เช่น ฟิจิ ปาปัวนิวกินี และมอนต์เซอร์รัต รวมถึงประเทศในภูมิภาคแอฟริกาเริ่มเตรียมการพัฒนาแผนและพัฒนาแผนการจัดการแล้ว (ระยะ 1-2) เพื่อผลักดัน MSP ลงไปสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง ขณะที่ประเทศไทยมีการดำเนินงานผ่านโครงการนำร่อง MSP (Flagship Project) ประจำปีงบประมาณ 2564 มีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก โดยดำเนินโครงการ MSP ในพื้นที่นำร่องสามแห่ง ได้แก่ เกาะล้าน และเกาะสีซัง จังหวัดชลบุรี (ระยะ 2) และพื้นที่อ่าวพังงา (จังหวัดพังงา กระบี่และภูเก็ต) (ระยะ 1)

แรงขับเคลื่อน MSP จำแนกได้  17 ประเด็น เมื่อพิจารณาภาพรวมในระดับสากล แรงขับเคลื่อน MSP ที่กล่าวถึงมากที่สุดสามอันดับแรก คือ ความกังวลด้านการอนุรักษ์ (21.2%) ความกังวลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ (18.4%) และความขัดแย้งระหว่างการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ (16.0%) ตามลำดับ ขณะที่แรงขับเคลื่อนสำคัญของประเทศไทยที่กล่าวถึงมากที่สุดสามอันดับแรก คือ ความกังวลด้านการอนุรักษ์ (28.9) ความชัดแย้งการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ (23.7%) และนโยบายและภาระผูกพันด้านกฎหมาย (23.7%) ตามลำดับ

3) ปัจจัยทีส่งผลต่อความสำเร็จของ MSP: ประเทศที่นำ MSP ไปประยุกต์ใช้และมีความก้าวหน้าหรือมีความสำเร็จ  มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จ คือ การมีข้อมูลที่ดีบนฐานทางวิทยาศาสตร์ มีการพัฒนาฐานข้อมูลและระบบในการจัดการประมวลผลที่มีประสิทธิภาพ การมีส่วนร่วมที่มีความหมาย จากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่หลากหลายและต่อเนื่อง และที่สำคัญคือการมีหน่วยงานผู้รับผิดชอบและกฎหมายที่ชัดเจนและเข้มแข็ง ในขณะที่ประเทศซึ่งกำลังเริ่มพัฒนาแผน MSP ของตน ในที่นี้หมายรวมถึงประเทศไทยด้วย ยังต้องพิจารณาปรับปรุง/แก้ไขในหลายปัจจัยทั้งปัจจัยข้อมูลและโปรแกรมประมวลผลที่มีประสิทธิภาพ หน่วยงานผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน ศักยภาพและความรู้ความเข้าใจของเจ้าหน้าที่ต่อ MSP กฎหมายที่สนับสนุน MSP งบประมาณสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง นโยบายเชิงปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ

4) ข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อน MSP สำหรับประเทศไทย มี 7 ประเด็น ได้แก่:

(1) การมีนโยบายเชิงปฏิบัติที่ชัดเจน (2) ความชัดเจนของหน่วยงานที่มีภาระหน้าที่เกี่ยวข้องกับ MSP (3) การพัฒนาขีดความสามารถของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง (4) ความยั่งยืนและเพียงพอทางการเงิน (5) ข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ การเข้าถึงข้อมูลและการจัดทำแผนที่การใช้ประโยชน์ทางทะเลในภาพรวมของประเทศ (6) การบูรณาการ (7) กระบวนการมีส่วนร่วมที่มีคุณภาพ

 

การนำไปใช้ประโยชน์

1. การนำเสนอปากเปล่า ในการประชุมเผยแพร่ผลงาน/สัมมนาระดับชาติ: 

1.1 หัวข้อ “การทบทวนสถานภาพการวางแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเลในระดับสากล” สำหรับการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์ทางทะเล ครั้งที่ 7 พ.ศ.2565 ภายใต้หัวข้อ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อทะเลที่ยั่งยืน วันที่ 6 กันยายน 2565 (จัดโดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ร่วมกับสมาคมวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งประเทศไทยและมหาวิทยาลัยรามคำแหง, แหล่งอ้างอิง https://drive.google.com/drive/folders/1ci-SrvQiJQ4ARzC2UKJlpmw4yl_BcZ6C?fbclid=IwAR2sncyz2y2CmOkY3Gjve8mEOnmlg4Bqd8E_ianExvubw8o2OKteosFHZ3A)

1.2 หัวข้อ “การวางแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเลคืออะไร และประยุกต์สู่การปฏิบัติได้อย่างไร” สำหรับการสัมมนาเชิงวิชาการเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศกับการวางแผนเชิงพื้นที่ทางทะเลตามแนวทางการจัดการแบบองค์รวม วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 (จัดโดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน), แหล่งอ้างอิง https://www.gistda.or.th/news_view.php?n_id=6779&lang=TH)

2. การนำเสนอปากเปล่า ในการประชุมเผยแพร่ผลงาน/สัมมนาระดับนานาชาติ:

หัวข้อ “MSP Enabling Conditions and Recommendations from Asia's Perspective” ในงาน Regional Forum for Accelerating Marine Spatial Planning in the Western Pacific วันที่ 16 ธันวาคม 2565 (จัดโดย The Intergovernmental Oceanographic Commission of UNESCO, แหล่งอ้างอิง https://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/pf0000384990)

3. การถ่ายทอดองค์ความรู้:

3.1 หัวข้อ การวางแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเล: การประยุกต์สู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่” โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร "การวางแผนเชิงพื้นที่ทางทะเล" ในช่วงวันที่ 31 กรกฎาคม - 5 สิงหาคม 2565 ณ โรงแรมเอราวัณพังงา ต.โคกกลอย อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา และช่วงวันที่ 12 - 16 มิถุนายน 2566 ณ โรงแรมนิภา การ์เด้น จังหวัดสุราษฎร์ธานี (จัดโดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, แหล่งอ้างอิง https://www.dmcr.go.th/detailAll/60809/nws/257 และ https://dmcrth.dmcr.go.th/omcrc/detail/17750/)

3.2 หัวข้อ “การวางแผนการใช้พื้นที่ทะเล (Marine Spatial Planning : MSP)”  ในการอบรมหลักสูตรการคุ้มครองและจัดการทรัพยากรทางทะเลของประเทศไทย วันที่ 25 พฤษภาคม 2566

(จัดโดยศูนย์ฝึกอบรมสถาบันมหาสมุทรระหว่างประเทศประจำประเทศไทย (IOI Thailand) และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, แหล่งอ้างอิง https://www.ioinst.org/ioi-ocean-academy-1/thailand/)

3.3 แลกเปลี่ยนประสบการณ์เขียนข้อเสนอการวิจัยและนวัตกรรม ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และโครงการวิจัยเรื่อง “การวางแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเล: การประยุกต์สู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่”  ในงานการชี้แจงกรอบการวิจัยและนวัตกรรมของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำปีงบประมาณ 2567 วันที่ 24 มิถุนายน 2566 (จัดโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ,  แหล่งอ้างอิง https://www.nrct.go.th/news/การชี้แจงกรอบการวิจัยและนวัตกรรมของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ-วช-ประจำปีงบประมาณ-2567)

 

ผลงานตีพิมพ์ -

ความแตกต่าง หรือมีเอกลักษณ์ที่ต่างจากโครงการอื่น

เป็นโครงการวิจัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่ออนาคตของประเทศไทย เพราะมีการนำหลักการวางแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเล (Marine Spatial Planning: MSP) มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการ ส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์จากทะเลอย่างมั่นคงและยั่งยืน รักษาความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทางทะเลไปพร้อมกับการพัฒนาของภาคเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแนวทางเศรษฐกิจสีน้ำเงิน (Blue Economy)

ผลกระทบในระดับชุมชน ประเทศ ระดับโลก

ระดับชุมชน:

-          (การศึกษาในระดับพื้นที่มีแผนจะดำเนินงานต่อในปีที่ 2)

 

ระดับประเทศ:

ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น 4 ด้าน ได้แก่

ด้านนโยบาย:  กำหนดทิศทางและขับเคลื่อน MSP ในระยะยาว และผลักดันให้เกิดการบรรลุ SDGs โดยการดำเนินการตาม MSP ที่เป็นรูปธรรมสามารถช่วยสนับสนุนให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายที่ 14 และเป้าหมายอื่น ๆ ที่สอดคล้อง เช่น เป้าหมายที่ 3 และ 8

ด้านวิชาการ: สร้างองค์ความรู้ MSP สำหรับนักวิชาการและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

ด้านสังคม: ช่วยลดความขัดแย้งในการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติและการใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเล ลดความเหลื่อมล้ำและความยากจนในสังคม

ด้านเศรษฐกิจ: เพิ่มโอกาสให้ไทยได้พัฒนาเศรษฐกิจภาคทะเลให้เป็น Blue Economy และเพิ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่มีความยั่งยืนต่อไป

 

ระดับโลก:

    -

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม

14

SDGs อื่น ๆ ที่สอดคล้อง

3, 8

รูปหน้าปก

รูปหน้ารายละเอียด

 

Key Message

 

การวิจัย MSP จะช่วยขับเคลื่อนให้เกิดการดำเนินการวางแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเลอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ และเอื้อให้เกิดการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์ในทะเลไทยให้มีความสมดุลและยั่งยืนในระยะยาว

Links ข้อมูลเพิ่มเติม

 

สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย

ยุทธศาสตร์ 1 Global Research and Innovation

Partners/Stakeholders

·        คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

·        Research Center for Coastal Zone and islands, First Institute of Oceanography, Ministry of Natural Resources, Qingdao, China

·        คณะอนุกรรมการจัดทำการแบ่งเขตการใช้ประโยชน์ทางทะเลของประเทศไทย และคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาและจัดการความรู้เพื่อผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (อจชล.) เพื่อดำเนินการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย ผ่านคณะกรรมการนโยบายการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (นปท.)

·        หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเลทั้งในระดับชาติและระดับพื้นที่ เช่น สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมประมง กรมเจ้าท่า กรมการท่องเที่ยว กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ  กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจังหวัด  ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลระดับจังหวัด สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค คณะกรรมการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจังหวัด  และคณะกรรมการประมงจังหวัด

ตัวชี้วัด THE Impact Ranking

14.5.3


© 2025 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.