• +662 441 5000
  • This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ปี 2566

โครงการอบรมพัฒนานักศึกษา ด้วยการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง” (Transformative Learning)

ภาพบรรยากาศกิจกรรมภายใต้ “โครงการอบรมพัฒนานักศึกษา ด้วยการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง” (Transformative Learning)” สัปดาห์ที่ 3 และ 4

โดยมี อาจารย์ สัญชัย สูติพันธ์วิหาร เป็นวิทยากรบรรยายและนำกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาได้เรียนรู้ทำความรู้จักตนเอง มีการคิดแบบมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) เรียนรู้ทำความรู้จักผู้อื่น มีทักษะการสื่อสาร (Communication) ให้นักศึกษาสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น หรือทำงานเป็นทีม (Collaboration) ให้นักศึกษาตระหนักเห็นคุณค่าของการมีชีวิตอยู่ และมีแรงบันดาลในใจการเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเอง มีความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ทั้งนี้เพื่อตอบสนองต่อทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 โดยมี นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมกิจกรรม ณ ห้องประชุมรองศาสตราจารย์ (พิเศษ) เล็ก มอญเจริญ อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


เทคนิคการให้คำปรึกษา และการดูแลสุขภาพจิตตนเองหลังให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา

30 มกราคม 2566 เวลา 09.00 - 12.00 น. บุคลากรคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมฟังการบรรยาย หัวข้อ "เทคนิคการให้คำปรึกษา และการดูแลสุขภาพจิตตนเองหลังให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา" โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัชรินทร์ เสรี ประธานหลักสูตรจิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัวโครงการร่วมสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กศ.ด.(การศึกษาพิเศษ) เป็นวิทยากรบรรยาย ณ ห้องประชุมนาท ตัณฑวิรุฬห์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และในรูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom

ท่านสามารถเรียกดูเอกสารประกอบการบรรยาย ได้ที่
https://drive.google.com/file/d/17RjLnbfoywCl1vs40WKVqRoc0GwpNX3j/view?usp=sharing


ตรวจประเมิน ISO 140001:2015 และ ISO 45001:2018

30 มกราคม 2566 เวลา 08.30 น. บุคลากรคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้การต้อนรับคณะกรรมการตรวจประเมินระบบมาตรฐานสากลการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001:2015 และ ระบบมาตรฐานสากลอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ISO 45001:2018 จากหน่วยงานภายนอก ณ ห้องประชุมเทพนมเมืองแมน คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


โครงการค่ายเยาวชนรักษ์สิ่งแวดล้อม (โรงเรียนสอาดเผดิมวิทยา)

เมื่อวันที่ 18 - 20 มกราคม 2566 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดโครงการค่ายเยาวชนรักษ์สิ่งแวดล้อม (โรงเรียนสอาดเผดิมวิทยา)
โดยได้ให้ความรู้และจัดกิจกรรมห้องเรียนธรรมชาติ ให้กับ นักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4 - 6 ณ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี และ เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี


โครงการอบรมพัฒนานักศึกษา ด้วยการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง” สัปดาห์ที่ 2

18 มกราคม 2566 ภาพบรรยากาศกิจกรรมภายใต้ “โครงการอบรมพัฒนานักศึกษา ด้วยการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง” (Transformative Learning)” สัปดาห์ที่ 2 โดยมี อาจารย์ สัญชัย สูติพันธ์วิหาร เป็นวิทยากรบรรยายและนำกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาได้เรียนรู้ทำความรู้จักตนเอง มีการคิดแบบมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) เรียนรู้ทำความรู้จักผู้อื่น มีทักษะการสื่อสาร (Communication) ให้นักศึกษาสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น หรือทำงานเป็นทีม (Collaboration) ให้นักศึกษาตระหนักเห็นคุณค่าของการมีชีวิตอยู่ และมีแรงบันดาลในใจการเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเอง มีความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ทั้งนี้เพื่อตอบสนองต่อทักษะที่จำเป็นในอนาคต 21st century โดยมี นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมกิจกรรม ณ ห้องประชุมรองศาสตราจารย์ (พิเศษ) เล็ก มอญเจริญ อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


Tips and Tricks with Two Editors: What an editor wants

17 มกราคม 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.จำลอง อรุณเลิศอารีย์ รองคณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้แทนคณบดีกล่าวต้อนรับ ศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ ปัญหา บรรณาธิการวารสาร Tropical Natural History วารสารทางการของพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ รองศาสตราจารย์ ดร.ดุษณี ธนะบริพัฒน์ บรรณาธิการวารสาร Current Applied Science and Technology จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในโอกาสเป็นวิทยากรผู้ร่วมเสวนาด้านการวิจัย เรื่อง “Tips and Tricks with Two Editors: What an editor wants” ทั้งนี้โดยมี อาจารย์ ดร.วิชญา รงค์สยามานนท์ รองบรรณาธิการวารสาร Environment and Natural Resources Journal คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ดำเนินรายการ
การเสวนาดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อให้ความรู้ แนะนำเทคนิค วิธีการ รวมถึงสาระสำคัญสำหรับการเตรียมบทความทางวิชาการให้ได้รับการตีพิมพ์ โดยถ่ายทอดจากประสบการณ์ของบรรณาธิการวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่อยู่ในฐาน Scopus โดยมีผู้สนใจจากทั้งภายในและภายนอกส่วนงานเข้าร่วมรับฟังการเสวนา ซึ่งจัดขึ้น ณ ห้องศาสตรเมธี ดร.พงศ์พิศน์ ปิยะพงศ์ อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และในรูปแบบออนไลน์ผ่านทาง Cisco Webex และ Facebook Live จำนวน 40 คน


© 2024 Faculty of Environment and Resource Studies, Mahidol University . All Rights Reserved.